กลไกการกำกับดูแลกันเองบนอินเทอร์เน็ต + กฎหลักมารยาทเน็ต

วันก่อนไปเสวนาเรื่อง “กติกาพลเมืองชาวเน็ต” มา ในนามเครือข่ายพลเมืองเน็ต ดู+ดาวน์โหลดสไลด์ที่ใช้ได้ที่นี่ค่ะ อีกสักพักเครือข่ายฯ คงจะเริ่มรณรงค์เรื่องนี้กับเจ้าของเว็บโดยตรง

ประเด็นหลักๆ เรื่องนี้ (ความเห็นส่วนตัว):

  • กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ “ทื่อ” และ “หยาบ” เกินกว่าที่จะใช้กำกับดูแลการแสดงออกในอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ลิดรอนสิทธิในการแสดงออกของคน (ไม่นับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์หรือ cybercrime ซึ่งรัฐควรปรามปรามอยู่แล้ว)
  • ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรมีใครมองอินเทอร์เน็ตว่าเป็น “ของฟร๊” หรือ “โลกเสรีสุดขั้ว” ที่จะทำอะไรก็ได้ไม่มีใครว่า คุณภาพของสังคมเน็ตก็เหมือนกับคุณภาพของสังคมนอกเน็ต คือจะ “ดี” และมี “วุฒิภาวะ” ได้ก็ด้วยการสร้าง “วัฒนธรรม” ที่ดี คือให้สมาชิกปฏิบัติตามมารยาทสังคมขั้นต่ำ
  • “มารยาทเน็ต” (netiquette) จำเป็นต่อการสร้างสังคมดังกล่าว ที่น่าสนใจคือเรื่องมารยาทเน็ตนี้มี “มาตรฐานสากล” ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแล้วระดับหนึ่งว่า ควรเป็นมารยาท “ขั้นต่ำ” ที่พลเมืองเน็ตใช้ในการเข้าสังคมเน็ต ไม่ว่าจะมาจากวัฒนธรรมอะไร
  • ถ้าอยากให้คนใช้เน็ตมีมารยาทเน็ต อยากสร้าง “วัฒนธรรมที่ดี” ของชุมชนเน็ต เจ้าของเว็บหรือเจ้าของเว็บบอร์ดก็ควรมีการบังคับใช้มารยาทเป็น “กฏกติกา” ของสังคม อย่างโปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติ เช่น มีมาตรการแบน user ที่มาก่อ “สงครามเกรียน” ซ้ำซาก, ไม่ลบกระทู้ใดๆ ยกเว้นกระทู้ที่มีเนื้อหาขัดต่อกฏกติกาที่ประกาศอย่างชัดเจน ฯลฯ
  • เว็บบอร์ดที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศว่าเป็น “สังคมที่ดี” ที่คนอยากมีส่วนร่วม ล้วนแต่มีการบังคับใช้กฎกติกาที่สะท้อนมารยาทเน็ตทั้งสิ้น

เอกสารประกอบ:

  1. กฏหลักของมารยาทเน็ต (โดยความช่วยเหลือของ กอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ) แปลจาก The Core Rules of Netiquette by Virginia Shea
  2. สไลด์ด้านบน: PDF format [0.3MB], Powerpoint format [1MB]