ขอส่งท้ายปีเก่าและสวัสดีปีใหม่ผู้มาเยือนบล็อกนี้ทุกท่านด้วยงานที่ให้นักศึกษาในวิชาธุรกิจกับสังคมและชุมชน ทำเป็นรายงานกลุ่มเมื่อเทอมที่แล้วค่ะ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ ท่าน ไฟล์เหล่านี้ใช้สัญญา Creative Commons แบบ by-nc-sa ดังนั้นเชิญเผยแพร่และนำไปใช้ได้ตามสะดวก
โจทย์ของงานกลุ่มคือให้สรุปประเด็นหลักของหนังสือที่ผู้เขียนเลือกให้อ่าน และเขียนนัยยะต่อภาคธุรกิจและข้อเสนอแนะต่อซีอีโอ มี 8 เล่ม 8 กลุ่ม คลิ้กที่รูปปกหนังสือด้านล่างเพื่อดาวน์โหลดรายงานไปอ่านได้ตามอัธยาศัย เป็นไฟล์ PDF ความยาวชิ้นละประมาณ 13-21 หน้า
ผู้เขียนเลือกหนังสือเหล่านี้ให้นักศึกษาอ่านเพราะคิดว่าสรุป “พรมแดน” และ “ความก้าวหน้า” ล่าสุดของมิติต่างๆ ในวิวาทะเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรูปแบบใหม่ๆ ของธุรกิจ/ทุนนิยมได้ค่อนข้างดี น่าเสียดายที่เมืองไทยยังไม่ค่อยรู้เรื่องนี้กันเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเพราะมีหลายคนที่อ้างตัวว่าเป็น “กูรูด้านซีเอสอาร์” แต่กลับไม่เข้าใจประเด็นที่แท้จริง รู้แต่เรื่องการตลาดหรือทำพีอาร์อิงกระแสแบบฉาบฉวย ปี 2553 นี้ ผู้เขียนหวังว่าเราจะมองทะลุความฉาบฉวยเหล่านั้นกันได้เสียที 😉
ขอขอบคุณผู้ช่วยผู้เขียน คุณกอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ ที่ช่วย edit รายงานทุกฉบับให้สละสลวยมากขึ้นและ(แทบ)ไม่มีที่ผิด แต่นักศึกษาทุกกลุ่มก็ทุ่มเทกันทำงานและเขียนมาดีมากแล้ว ต้องขอขอบคุณ ณ โอกาสนี้ด้วย
ขอให้ทุกท่านมีสติและรู้เท่าทันความทุกข์และความสุขในปีใหม่นี้ค่ะ 🙂 (อยากแต่งกลอน แต่คิดว่าบทที่เขียนเมื่อปีที่แล้วยังใช้ได้ดีสำหรับปีนี้ ก็เลยคิดใหม่ไม่ออก)
ขอส่งท้ายปีเก่าและสวัสดีปีใหม่ผู้มาเยือนบล็อกนี้ทุกท่านด้วยงานที่ให้นักศึกษาในวิชาธุรกิจกับสังคมและชุมชน ทำเป็นรายงานกลุ่มเมื่อเทอมที่แล้วค่ะ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ ท่าน ไฟล์เหล่านี้ใช้สัญญา Creative Commons แบบ by-nc-sa ดังนั้นเชิญเผยแพร่และนำไปใช้ได้ตามสะดวก
โจทย์ของงานกลุ่มคือให้สรุปประเด็นหลักของหนังสือที่ผู้เขียนเลือกให้อ่าน และเขียนนัยยะต่อภาคธุรกิจและข้อเสนอแนะต่อซีอีโอ มี 8 เล่ม 8 กลุ่ม คลิ้กที่รูปปกหนังสือด้านล่างเพื่อดาวน์โหลดรายงานไปอ่านได้ตามอัธยาศัย เป็นไฟล์ PDF ความยาวชิ้นละประมาณ 13-21 หน้า
ผู้เขียนเลือกหนังสือเหล่านี้ให้นักศึกษาอ่านเพราะคิดว่าสรุป “พรมแดน” และ “ความก้าวหน้า” ล่าสุดของมิติต่างๆ ในวิวาทะเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรูปแบบใหม่ๆ ของธุรกิจ/ทุนนิยมได้ค่อนข้างดี น่าเสียดายที่เมืองไทยยังไม่ค่อยรู้เรื่องนี้กันเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเพราะมีหลายคนที่อ้างตัวว่าเป็น “กูรูด้านซีเอสอาร์” แต่กลับไม่เข้าใจประเด็นที่แท้จริง รู้แต่เรื่องการตลาดหรือทำพีอาร์อิงกระแสแบบฉาบฉวย ปี 2553 นี้ ผู้เขียนหวังว่าเราจะมองทะลุความฉาบฉวยเหล่านั้นกันได้เสียที 😉
ขอขอบคุณผู้ช่วยผู้เขียน คุณกอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ ที่ช่วย edit รายงานทุกฉบับให้สละสลวยมากขึ้นและ(แทบ)ไม่มีที่ผิด แต่นักศึกษาทุกกลุ่มก็ทุ่มเทกันทำงานและเขียนมาดีมากแล้ว ต้องขอขอบคุณ ณ โอกาสนี้ด้วย
ขอให้ทุกท่านมีสติและรู้เท่าทันความทุกข์และความสุขในปีใหม่นี้ค่ะ 🙂 (อยากแต่งกลอน แต่คิดว่าบทที่เขียนเมื่อปีที่แล้วยังใช้ได้ดีสำหรับปีนี้ ก็เลยคิดใหม่ไม่ออก)