ขอไ้ว้อาลัยแด่การจากไปของ ไมเคิล ไรท “ฝรั่งคลั่งสยาม” ผู้ยิ่งใหญ่

เพิ่งได้อ่านบทสัมภาษณ์อาจารย์​​นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์​ โดยนักข่าวประชาชาติธุรกิจ ตีพิมพ์ในมติชนออนไลน์ ​เกี่ยวกับการจากไปของคุณไมเคิล ไรท “ฝรั่งคลั่งสยาม” ที่แฟนมติชนรู้จักดี คิดว่าบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ (ที่ชอบที่สุดคือความหมายของ “คนสมัยใหม่ที่ควรจะเป็น” ในมุมมองของอ.นิธิ) เป็นอุทาหรณ์สอนใจคนไทยได้ดีมาก โดยเฉพาะคนไทยที่ดัดจริตอยากเป็นฝรั่ง และคนไทยที่ไม่อยากดัดจริตแ่ต่บางทีก็ดัดจริตโดยไม่ตั้งใจ (อย่างเช่นเจ้าของบล็อกนี้เป็นต้น) จึงขอแปะมาให้อ่านโดยทั่วกัน แถมท้ายด้วยหนึ่งในบทความชิ้นท้ายๆ ของคุณไมเคิล เขียนแนะนำหนังสือเรื่อง “นายธนาคารเพื่อคนจน” (Banker to the Poor) ที่ผู้เขียนเป็นคนแปล ได้อย่่างตรงประเด็นและทำให้หนังสือ “น่าอ่าน” อย่างยิ่ง ขอขอบคุณคุณไมเคิลไว้ตรงนี้ด้วยค่ะ

ได้เวลาไปไล่อ่านงานของคุณไมเคิลแล้ว 🙂

จาก​เพื่อน​ถึง​เพื่อน​ ​จาก”​นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์​”​ถึง”​ไมเคิล​ ​ไรท์​” ​น่าทึ่ง​! ​สำ​หรับ”ฝรั่งคลั่งสยาม”รายนี้​
นสพ. ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 มกราคม 2552

เมื่อ​ ​อ​.​นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์​ ​ให้​สัมภาษณ์หลังการ​จาก​ไปของ​ “​ไมเคิล​ ​ไรท์​” ​เพื่อนที่รู้จัก​กัน​มาร่วม​ 20 ​ปี​ ​ถกเถียง​และ​สนทนาธรรม​กัน​เรื่องประวัติศาสตร์​ ​วัฒนธรรมไทย​ ​การ​ใช้​ภาษา​ไทย​ ​ความ​คิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของฝรั่งหัวใจไทยคนนี้​ ​น่าทึ่ง​! ​ไม่​น้อย​

​บ่าย​ 4 ​โมงวันที่​ 6 ​มกราคม​ ​หลังกองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจทราบข่าวการ​จาก​ไปของ​ ​ไมเคิล​ ​ไรท​ ​ฝรั่งหัวใจไทย นักข่าวโทรศัพท์​ไปแจ้งข่าว​ ​อาจารย์นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์​ ​ที่​เชียง​ใหม่​

หลังรับทราบ​ ​อาจารย์นิธิอึ้งไปพัก​ใหญ่​ ก่อนที่นักข่าว​จะ​ให้​รายละ​เอียดเพิ่มเติมว่า​ ​พิธีอาบน้ำ​ศพเวลา​ 16.30 ​น​. ​วันที่​ 8 ​มกราคม​ 2552 ​ณ​ ​ศาลา​ 3 ​วัดเสมียนนารี​

…​ผม​จะ​ไปกรุงเทพฯ​…​อาจารย์นิธิกล่าว

ต่อไปนี้​ ​คือบทสนทนาล่าสุดของอาจารย์นิธิ​ ​กับ​ ​กรรณิกา​ ​เพชรแก้ว​ ​นักข่าวประชาชาติธุรกิจ​ ​ที่​ ​จ​.​เชียง​ใหม่​

“รู้จัก​กัน​มา​ 20 ​กว่าปี​ ​เขา​รู้จักสุจิตต์​ (วงษ์​เทศ) ​มาก่อนหน้า​ ​จะ​ก่อนนานแค่​ไหน​ไม่​รู้​ ​แต่ผมเจอ​เขา​ครั้งแรกก็ที่บ้านสุจิตต์​ ​แล้ว​ก็คุย​กัน​ถูกคอ”

– ​ใน​ฐานะ​เพื่อน​ ​คุณไมค์​เป็น​อย่างไร​ ?

“สั้นๆ​ ​ง่ายๆ​ ​คือ​เป็น​คนน่ารักมากๆ​ ​คนหนึ่ง​ ​เป็น​คนพูดอะ​ไรตรงไปตรงมา​ ​แต่ขณะ​เดียว​กัน​ก็คง​จะ​เป็น​วัฒนธรรมฝรั่ง​ ​คือ​จะ​รักษามารยาท​ ​แต่ตรงไปตรงมา​ ​และ​เป็น​คนมี​ critical mind ​ความ​คิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์​ ​เป็น​อย่างนี้ตลอดเวลา​ ​เขา​เห็นอะ​ไร​ ​เขา​จะ​พูดตรงไปตรงมา​ ​แต่​จะ​รักษามารยาท​

– ​ที่ว่าพูดตรงนี่ตรงจริง​ ​ไม่​ใช่​เพราะ​ภาษา​ไทย​ไม่​แข็งแรง​ ?

ไม่​ใช่​ ​เขา​เป็น​คนตรงไปตรงมา​เลย​ ​บางครั้งเราก็พูดภาษาอังกฤษ​ ​ภาษา​ไทย​เขา​ก็​ใช้​ได้​ดี

– ​คุย​กัน​เรื่องประวัติศาสตร์​ ?

“ก็​แบบ​นั้น​ ​เพราะ​ไมค์​เขา​เป็น​คน​ไม่​ค่อยสนใจเรื่องการเมืองเรื่องปัจจุบัน​เท่า​ไหร่​ ​คือพูด​ถึง​บ้างนิดๆ​ ​หน่อยๆ​ ​แต่สนใจเรื่องวัฒนธรรมมากกว่า​ ​ไม่​ใช่​แค่ประวัติศาสตร์​ ​พูด​ถึง​ประวัติศาสตร์​ใน​แง่​เป็น​ส่วน​หนึ่งของวัฒนธรรม”

– ​ใน​การถกเถียงด้านวิชาการที่​ส่วน​ใหญ่​เกี่ยว​กับ​ประวัติศาสตร์​และ​วัฒนธรรมไทย​ ​นักวิชาการจำ​นวนหนึ่ง​ไม่​ยอมรับคุณไมค์​ ​เพราะ​ไม่​ได้​เรียนมา​โดย​ตรง​ ​แต่​เรียนรู้​จาก​การอ่าน​เท่า​นั้น​ ?

“ผมว่า​ไม่​ยอมรับ​เป็น​คนๆ​ ​มากกว่า​ ​แล้ว​ทำ​ไมยอมรับกรมพระยาดำ​รงฯ​ ​ท่านก็​ไม่​เคยเรียนเหมือน​กัน​ ​ท่านก็มา​จาก​การอ่านเหมือน​กัน”


เพิ่งได้อ่านบทสัมภาษณ์อาจารย์​​นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์​ โดยนักข่าวประชาชาติธุรกิจ ตีพิมพ์ในมติชนออนไลน์ ​เกี่ยวกับการจากไปของคุณไมเคิล ไรท “ฝรั่งคลั่งสยาม” ที่แฟนมติชนรู้จักดี คิดว่าบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ (ที่ชอบที่สุดคือความหมายของ “คนสมัยใหม่ที่ควรจะเป็น” ในมุมมองของอ.นิธิ) เป็นอุทาหรณ์สอนใจคนไทยได้ดีมาก โดยเฉพาะคนไทยที่ดัดจริตอยากเป็นฝรั่ง และคนไทยที่ไม่อยากดัดจริตแ่ต่บางทีก็ดัดจริตโดยไม่ตั้งใจ (อย่างเช่นเจ้าของบล็อกนี้เป็นต้น) จึงขอแปะมาให้อ่านโดยทั่วกัน แถมท้ายด้วยหนึ่งในบทความชิ้นท้ายๆ ของคุณไมเคิล เขียนแนะนำหนังสือเรื่อง “นายธนาคารเพื่อคนจน” (Banker to the Poor) ที่ผู้เขียนเป็นคนแปล ได้อย่่างตรงประเด็นและทำให้หนังสือ “น่าอ่าน” อย่างยิ่ง ขอขอบคุณคุณไมเคิลไว้ตรงนี้ด้วยค่ะ

ได้เวลาไปไล่อ่านงานของคุณไมเคิลแล้ว 🙂

จาก​เพื่อน​ถึง​เพื่อน​ ​จาก”​นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์​”​ถึง”​ไมเคิล​ ​ไรท์​” ​น่าทึ่ง​! ​สำ​หรับ”ฝรั่งคลั่งสยาม”รายนี้​
นสพ. ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 มกราคม 2552

เมื่อ​ ​อ​.​นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์​ ​ให้​สัมภาษณ์หลังการ​จาก​ไปของ​ “​ไมเคิล​ ​ไรท์​” ​เพื่อนที่รู้จัก​กัน​มาร่วม​ 20 ​ปี​ ​ถกเถียง​และ​สนทนาธรรม​กัน​เรื่องประวัติศาสตร์​ ​วัฒนธรรมไทย​ ​การ​ใช้​ภาษา​ไทย​ ​ความ​คิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของฝรั่งหัวใจไทยคนนี้​ ​น่าทึ่ง​! ​ไม่​น้อย​

​บ่าย​ 4 ​โมงวันที่​ 6 ​มกราคม​ ​หลังกองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจทราบข่าวการ​จาก​ไปของ​ ​ไมเคิล​ ​ไรท​ ​ฝรั่งหัวใจไทย นักข่าวโทรศัพท์​ไปแจ้งข่าว​ ​อาจารย์นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์​ ​ที่​เชียง​ใหม่​

หลังรับทราบ​ ​อาจารย์นิธิอึ้งไปพัก​ใหญ่​ ก่อนที่นักข่าว​จะ​ให้​รายละ​เอียดเพิ่มเติมว่า​ ​พิธีอาบน้ำ​ศพเวลา​ 16.30 ​น​. ​วันที่​ 8 ​มกราคม​ 2552 ​ณ​ ​ศาลา​ 3 ​วัดเสมียนนารี​

…​ผม​จะ​ไปกรุงเทพฯ​…​อาจารย์นิธิกล่าว

ต่อไปนี้​ ​คือบทสนทนาล่าสุดของอาจารย์นิธิ​ ​กับ​ ​กรรณิกา​ ​เพชรแก้ว​ ​นักข่าวประชาชาติธุรกิจ​ ​ที่​ ​จ​.​เชียง​ใหม่​

“รู้จัก​กัน​มา​ 20 ​กว่าปี​ ​เขา​รู้จักสุจิตต์​ (วงษ์​เทศ) ​มาก่อนหน้า​ ​จะ​ก่อนนานแค่​ไหน​ไม่​รู้​ ​แต่ผมเจอ​เขา​ครั้งแรกก็ที่บ้านสุจิตต์​ ​แล้ว​ก็คุย​กัน​ถูกคอ”

– ​ใน​ฐานะ​เพื่อน​ ​คุณไมค์​เป็น​อย่างไร​ ?

“สั้นๆ​ ​ง่ายๆ​ ​คือ​เป็น​คนน่ารักมากๆ​ ​คนหนึ่ง​ ​เป็น​คนพูดอะ​ไรตรงไปตรงมา​ ​แต่ขณะ​เดียว​กัน​ก็คง​จะ​เป็น​วัฒนธรรมฝรั่ง​ ​คือ​จะ​รักษามารยาท​ ​แต่ตรงไปตรงมา​ ​และ​เป็น​คนมี​ critical mind ​ความ​คิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์​ ​เป็น​อย่างนี้ตลอดเวลา​ ​เขา​เห็นอะ​ไร​ ​เขา​จะ​พูดตรงไปตรงมา​ ​แต่​จะ​รักษามารยาท​

– ​ที่ว่าพูดตรงนี่ตรงจริง​ ​ไม่​ใช่​เพราะ​ภาษา​ไทย​ไม่​แข็งแรง​ ?

ไม่​ใช่​ ​เขา​เป็น​คนตรงไปตรงมา​เลย​ ​บางครั้งเราก็พูดภาษาอังกฤษ​ ​ภาษา​ไทย​เขา​ก็​ใช้​ได้​ดี

– ​คุย​กัน​เรื่องประวัติศาสตร์​ ?

“ก็​แบบ​นั้น​ ​เพราะ​ไมค์​เขา​เป็น​คน​ไม่​ค่อยสนใจเรื่องการเมืองเรื่องปัจจุบัน​เท่า​ไหร่​ ​คือพูด​ถึง​บ้างนิดๆ​ ​หน่อยๆ​ ​แต่สนใจเรื่องวัฒนธรรมมากกว่า​ ​ไม่​ใช่​แค่ประวัติศาสตร์​ ​พูด​ถึง​ประวัติศาสตร์​ใน​แง่​เป็น​ส่วน​หนึ่งของวัฒนธรรม”

– ​ใน​การถกเถียงด้านวิชาการที่​ส่วน​ใหญ่​เกี่ยว​กับ​ประวัติศาสตร์​และ​วัฒนธรรมไทย​ ​นักวิชาการจำ​นวนหนึ่ง​ไม่​ยอมรับคุณไมค์​ ​เพราะ​ไม่​ได้​เรียนมา​โดย​ตรง​ ​แต่​เรียนรู้​จาก​การอ่าน​เท่า​นั้น​ ?

“ผมว่า​ไม่​ยอมรับ​เป็น​คนๆ​ ​มากกว่า​ ​แล้ว​ทำ​ไมยอมรับกรมพระยาดำ​รงฯ​ ​ท่านก็​ไม่​เคยเรียนเหมือน​กัน​ ​ท่านก็มา​จาก​การอ่านเหมือน​กัน”

– ​อาจารย์​ซึ่ง​เป็น​นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์​โดย​ตรง​ ​เคยรู้สึกแบบ​นั้น​บ้างไหมเวลาถกเถียง​กับ​คุณไมค์​ ?

“​ไม่​เลย​ (เสียงหนักแน่น) ​เพราะ​เขา​แสดง​ความ​รู้หลายอย่าง​ ​ซึ่ง​ผมว่าน่า​เสียดายที่คนสนใจศึกษา​เรื่องเกี่ยว​กับ​ไทยกลุ่มหนึ่ง​ ​ทั้ง​ประวัติศาสตร์​ ​โบราณคดี​ ​วัฒนธรรม​ ​ตำ​รา​ ​ไม่​สนใจ​จึง​ไม่​รู้ภาษาทมิฬ​ ​ไม่​รู้ภาษาลังกา​”

“คือไมค์​ให้​มุมมอง​ใหม่​อันหนึ่งที่ผมคิดว่ามี​ความ​สำ​คัญ​ใน​ทางไทยคดีศึกษา​ ​แต่ว่าหานักไทยคดีศึกษาที่พอ​จะ​สนใจเรื่องนี้​ ​หรือ​ว่าสนใจพอ​จะ​เรียนรู้ภาษาทมิฬ​ ​ภาษาลังกาอะ​ไรพวกนี้น้อยมาก”

– ​ตอนที่คุณไมค์​อยู่​ศรีลังกา​ ​เขา​เรียนรู้​เรื่องพวกนี้​แล้ว​หรือ​ ?

“​โอ๊ย​ ​ผมว่าคนแบบนี้คงหลงใหล​ใน​การศึกษา​ใน​การเรียนรู้​ด้วย​ตนเองมาตั้งแต่​ไหน​แล้ว​ ​คนแบบนี้​ไม่​ใช่​อยู่ๆ​ ​ลุกขึ้นมาทำ​”

“สิ่งที่​ไมค์นำ​มา​ให้​ที่ยอดเยี่ยมมากๆ​ ​คือ​ความ​รู้ที่​เขา​ได้​มา​จาก​อินเดีย​ ​มา​จาก​ลังกา​ ​เรา​ไม่​ได้​เรียนรู้อย่างไมค์​ ​เรา​จึง​ขาดไป​ ​คือเรามี​ความ​รู้​แค่ว่า​เรา​กับ​ลังกามี​ความ​สัมพันธ์​กัน​ ​แต่ว่า​ไม่​มี​ใครลงไปศึกษา​ใน​รายละ​เอียดจริงๆ​ ​ว่า​ ​ไอ้วัฒนธรรมที่​เกี่ยวข้อง​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​ ​มัน​เป็น​ยัง​ไง​ ​มันคืออะ​ไรบ้าง​ ​เพราะ​ฉะ​นั้น​มุมมองของเราที่​เกี่ยว​กับ​ประ​เพณีวัฒนธรรมไทย​ทั้ง​หลาย​ ​มัน​ไม่​ได้​มา​จาก​มุมมองทางประวัติศาสตร์ที่รู้จริง​ ​หรือ​อย่างบางที​เราก็ตีขลุมว่า​ ​อันนี้​เอามา​จาก​ลังกา​ ​ปรากฏว่าลังกา​ไม่​มี​”

– ​เป็น​เพื่อน​กัน​แล้ว​ ​ถกเถียง​กัน​หนักไหม​ ?

“​เยอะ​ ​แม้​แต่​ใน​บท​ความ​ของผม​ ​เขา​บอก​เขา​ชอบตามอ่านบท​ความ​ผม​ ​แล้ว​บางอันนี่​เขา​ไม่​เห็น​ด้วย​ ​เขา​ก็​เขียนแย้ง​ ​แย้งเสียงดังฟังชัดเลย​ (หัวเราะ)​”

– ​จาก​นั้น​คุย​กัน​นอกรอบอีกไหม​ ?

“มีครับ​ ​ที่​เขา​แย้งนี่บางทีผมก็​เห็น​ด้วย​กับ​เขา​นะ​ ​แต่บางทีผมก็​ไม่​เห็น​ด้วย​ ​เวลา​เจอหน้าก็คุย​กัน​ ​ผมก็บอกเฮ้ย​ไม่​ใช่​นะ​ ​ก็ถก​กัน​ใหม่​อีกยก”

– ​คิดว่าชีวิตของคุณไมค์มีคุณูปการต่อสังคมไทย​ให้​เรา​ต้อง​จดจำ​ตรงไหน​ ?

“การรู้จักตั้งคำ​ถาม​ ​ผมว่าสำ​คัญมากๆ​ ​คือการตั้งคำ​ถาม”

“​แต่มีสิ่งหนึ่งที่คน​ไม่​ค่อยพูด​ถึง​ ​แต่ผมอยาก​จะ​พูดก็คือ​ ​ผมว่า​ไมค์นี่​เป็น​ตัวอย่างของ​ a modern man ​มนุษย์สมัย​ใหม่​ ​เพราะ​อะ​ไร​ ? ​เพราะ​ว่า​ ​ถามว่า​ไมค์นี่รักเมืองไทยไหม​ ? ​รักมาก​ ​รักกว่าอังกฤษไหม​ ? ​ไม่​ ​ผมคิดว่า​เขา​รักอังกฤษ​ ​ลึกลงไป​ใน​ใจ​เขา​นะครับ​ ​ถึง​แม้ว่า​ด้วย​ความ​ที่​เขา​รัก​ใน​อังกฤษมาก​ ​จึง​มี​เรื่องไปวิพากษ์วิจารณ์อังกฤษเยอะมาก​ ​แต่​แม้กระ​นั้น​ ​ลึกลงไปนี่​ ​ไมค์​ไม่​เคยรู้สึกว่าตัวเอง​เป็น​คน​อื่น​นอก​จาก​คนอังกฤษ​ ​คนเรามัน​ต้อง​รักรากเหง้าของตัวเองก่อน​ ​มัน​ถึง​จะ​รักคน​อื่น​เป็น​ ​แล้ว​ด้วย​เหตุ​นั้น​ ​ถึง​แม้ว่า​ไมค์รักอังกฤษมากขนาดไหน​ ​ไมค์ก็รักเมืองไทยมากเหมือน​กัน​ ​รักคนไทย​ ​รักคนเอเชียว่างั้นเถอะ​”

“ผมว่านี่คือตัวอย่างของคนสมัย​ใหม่​ ​ของโลกยุค​ใหม่​ที่ควร​จะ​เป็น​ ​คุณมีรากเหง้าของตัวคุณเอง​ ​แต่​ไม่​ปิดกั้นที่​จะ​รักคน​อื่นๆ​ ​ได้​ด้วย​ ​เรา​อยู่​ใน​โลกที่มัน​เล็ก​ลง​ ​โลกที่​เรา​ต้อง​สัมพันธ์​กัน​มากขึ้น​ ​คุณรักรากเหง้าของตนเอง​ ​แต่คุณ​ไม่​ปิดตัวเองที่​จะ​อยู่​กับ​รากเหง้า​ ​คุณเปิดตัวเองบนพื้นฐานของรากเหง้าของตัวคุณเอง​ ​เพื่อไปสัมพันธ์​กับ​คน​อื่น​ ​มี​ความ​เคารพ​เขา​ ​มี​ความ​รักต่อ​เขา​เท่า​เทียม​กัน”​

“ผมคิดว่านี่คือตัวอย่างของคน​ใน​โลกสมัย​ใหม่​ที่คนไทยน่า​จะ​เรียนรู้​ ​เราควร​จะ​เป็น​อย่างนี้​ ​รักคนเขมร​เป็น​ ​รักคนลาว​เป็น​ ​รักพม่า​เป็น​ ​รักคน​อื่น​เขา​แต่ก็​ไม่​ลืมว่ารากเหง้าของคนไทยคือตรงไหน”

– ​การ​เป็น​คนแบบคุณไมค์​ใน​สังคมที่ค่อนข้างปิดอย่างสังคมไทยน่า​จะ​ไม่​ราบรื่นนัก​ ​มีปัญหา​เรื่องการยอมรับของคนกลุ่มหนึ่งที่มองว่า​ ​คุณไมค์​ยัง​ไงก็​เป็น​คนนอก​ ​เป็น​ฝรั่ง​ ​จะ​มารู้ดีกว่าคนไทย​ได้​อย่างไร​ ?

“​โอ๊ยแยะมาก​ ​แต่​ไมค์​ไม่​งี่​เง่าพอที่​จะ​ไปต่อสู้​ด้วย​เท่า​นั้น​เอง​ ​เช่น​ ​มีนักวิชาการชื่อดังคนหนึ่ง​ ​บัดนี้ท่านก็​เสียไป​แล้ว​ ​ท่านก็​ไม่​เคยยอมรับคุณไมค์​เลย​ ​ก็​ด้วย​เหตุผลที่คุณไมค์อาจ​ไม่​ได้​เชื่อถือบรมครูของไทย​ ​อย่างเช่นสมเด็จฯกรมพระยาดำ​รงฯทุกคำ​พูด​ ​คุณไมค์​ให้​ความ​นับถือ​ ​ให้​ความ​เคารพกรมพระยาดำ​รงฯพอสมควร​ ​แต่ว่า​จะ​ให้​เชื่อ​ไม่​ทั้ง​หมด​ ​มัน​เป็น​ไป​ไม่​ได้​”

“​แต่ผมว่า​ไมค์​ไม่​ใช่​คนที่​จะ​มาสนใจ​กับ​อะ​ไรหยุมหยิมจุกจิกของนักวิชาการไทยหรอก​ ​มันฟังปั๊บ​จะ​ขุ่นเคือง​หรือ​เปล่าผมก็​ไม่​รู้นะ​ ​ไม่​เคยแสดง​ให้​เห็น​ ​แต่ว่าพักเดียวผมว่ามันลืมไป​แล้ว​ ​ไม่​สนใจ​แล้ว”

“​ไมค์ตั้งคำ​ถาม​กับ​ปูชนียบุคคล​ใน​วงการประวัติศาสตร์​ ​ซึ่ง​คนไทยบางกลุ่ม​ไม่​ชอบ​ ​แต่​เขา​ไม่​ได้​ตั้งคำ​ถามที่ตัวบุคคล​ ​เขา​ตั้งคำ​ถามทางวิชาการของ​เขา​ ​ซึ่ง​อาจารย์หลายคนของไทย​หรือ​ของฝรั่งเองก็รับ​ไม่​ได้​”

– ​อ่านงานคุณไมค์​แล้ว​สงสัยว่ามีคน​ช่วย​เรื่องการ​ใช้​ภาษา​ไทย​หรือ​เปล่า​ ​เพราะ​ใช้​ภาษา​ไทยเชิงเสียดสี​ได้​ลึก​ ​เช่น​ ​คำ​ว่าอนาถาทางวิชาการ​ ​คำ​ว่าคลำ​ร่องประวัติศาสตร์ผิดพลาด​ ​อะ​ไรพวกนี้​ ​หรือ​แม้​แต่คำ​ด่าผ่านอี​โมหิณี​แมวตัวโปรด​…

“ผมว่า​ไม่​ใช่​นะ​ ​หลายเรื่องผมคิดว่า​เป็น​การแปลมา​จาก​ภาษาอังกฤษ​ ​อย่าลืมว่าภาษาอังกฤษ​เป็น​ภาษาพื้นฐานของ​เขา​ ​ภาษาน้ำ​นมของ​เขา​ ​ฉะ​นั้น​เวลา​เขา​เขียน​เป็น​ภาษา​ไทยนี่​ ​ผมคิดว่า​เขา​คิด​เป็น​ภาษาอังกฤษ​แล้ว​แปลมันออกมา​ ​มันเลยฟังตลก​ ​คนหนึ่งที่ผมว่า​เป็น​ตัวอย่างของการ​ใช้​ภาษา​ไทยแบบนี้​ ​คือคุณีรงค์​ ​วงษ์สวรรค์​ ​หลายสำ​นวนของคุณีรงค์​ ​มา​จาก​ภาษาอังกฤษ​ ​แต่คุณีรงค์​แก​เป็น​คนไทย​ ​ฉะ​นั้น​แกแปลออกมา​แล้ว​อาจ​จะ​รื่นหูกว่า​ ​ผมว่าหลายอันของไมค์ก็​ไม่​ได้​ตรงเผงหรอก​ ​คือผม​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​กระทรวงวัฒนธรรม​ ​ที่ยก​ให้​ไมค์​เป็น​คน​ใช้​ภาษา​ไทยดี​เด่น​ (หัวเราะสนุก) ​ผมว่า​ถ้า​ไมค์​แม่ง​เป็น​คนไทย​ ​มัน​ไม่​มีทาง​ได้​ (หัวเราะ) ​มันเขียนอะ​ไรตลกชิบเป๋ง​ (หัวเราะ) ​เผอิญมัน​เป็น​ฝรั่ง​ (หัวเราะอีกยาว)​”

– ​แล้ว​คุณไมค์ประสบ​ความ​สำ​เร็จไหม​ใน​ความ​เป็น​มนุษย์สมัย​ใหม่​ ​มนุษย์​เชิงวิพากษ์​ ?

“​ใน​แง่​ modern man ​อาจ​ไม่​ประสบผลสำ​เร็จเลย​ ​เพราะ​ว่า​ใน​ประ​เทศไทย​ ​คนก็​ยัง​มอง​ไม่​เห็นเรื่องนี้ว่า​ ​โลกข้างหน้านี่​เรา​จะ​ต้อง​เป็น​แบบไมค์​ ​เป็น​มนุษย์สมัย​ใหม่​แบบไมค์​ ​แต่ว่า​ใน​แง่ของการตั้งคำ​ถาม​ ​ใน​แง่วิชาการ​ ​เขา​ทำ​ให้​คนไทย​โดย​เฉพาะ​เด็กรุ่น​ใหม่​มี​ใจกล้าขึ้น​ ​กระตุก​ให้​ลุกขึ้นตั้งคำ​ถาม​กัน​มากขึ้น”

“​แล้ว​วิธีตั้งคำ​ถามของ​เขา​นี่​ ​ผมคิดว่าสุภาพนะ​ ​คนที่​เคยโจมตีกรมพระยาดำ​รงฯ​ ​คนเคยโจมตีนักปราชญ์​ไทยรุ่นเก่าๆ​ ​มา​ ​บางที​เรา​ไปโจมตี​เรื่องของบุคคล​ ​ไม่​ได้​โจมตี​ความ​เห็น​ ​ซึ่ง​ไมค์​ไม่​เคยทำ​สิ่งเหล่านี้​ ​ไมค์​จะ​โจมตี​ความ​เห็น​ ​คือวิพากษ์วิจารณ์​ความ​เห็นว่ามันผิดมันถูก​ ​อะ​ไรก็​แล้ว​แต่​ ​ผมว่ามัน​เป็น​ท่าทีที่สุภาพ​ ​แล้ว​ผมคิดว่าคน​ทั่ว​ไป​จะ​ไม่​ค่อยรู้สึกว่า​เป็น​เรื่องลบหลู่อะ​ไร​ ​ยกเว้น​จะ​เป็น​ลูกหลานกรมพระยาดำ​รงฯ​ ​หรือ​หลงใหลกรมพระยาดำ​รงฯสุดขั้ว​ ​แตะ​ไม่​ได้​อะ​ไรแบบ​นั้น​ ​มันก็ทำ​ให้​เกิด​ความ​คิดว่า​ ​ซัก​ได้​ ​ก็ถาม​ได้​”
– ​ใน​ทางกลับ​กัน​ ​พบว่าคนที่คัดค้าน​หรือ​ไม่​ยอมรับคุณไมค์​ ​จะ​ไม่​ค่อยเน้นเรื่องเนื้อหา​ ​แต่​จะ​เน้นเรื่องตัวบุคคล​ ​เช่น​ ​เป็น​ฝรั่ง​ ​เป็น​คนนอก​ ​ไม่​ใช่​เจ้าของประวัติศาสตร์​…

“​เพราะ​คนไทย​ไม่​ค่อยมี​ความ​รู้​ไง​ ​พูด​กัน​ตรงไปตรงมานะครับ​ ​ความ​รู้ของนักวิชาการไทยค่อนข้างจำ​กัด​ ​จะ​เถียงเรื่องเนื้อหาก็​เถียง​ไม่​ได้​ ​เพราะ​ตัวเองก็​ไม่​รู้​ (หัวเราะ)​”

“สำ​หรับไมค์นะ​ ​ผมว่า​เขา​เป็น​ตัวอย่างหนึ่งของคนที่​ได้​ใช้​ชีวิตคุ้ม​แล้ว”

ที่มา: ​หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ​ ​ฉบับ​วันที่​ 10 ​มกราคม​ 2552


ทางเลือกนอกซ้าย​-​ขวา​หรือ​? An Alternative to left and Right?
โดย ไมเคิล ไรท, คอลัมน์ ฝรั่งมองไทย

ความ​นำ

ใน​ระยะยาวสามทศวรรษที่ผ่านมา​ (ตั้งแต่จีน​และ​โซเวียตเลิก​เป็น​ “​คอมมิวนิสต์​”) ​นักปราชญ์​ผู้​หวังดี​ทั่ว​โลก​ได้​เข้า​แดนสนธยาที่​ทั้ง​ว้า​เหว่​และ​ว้าวุ่น​ ​จะ​ให้​คิด​กัน​อย่างไรอีกต่อไป​?

ใน​ขณะ​เดียว​กัน​นักการเมืองบรรดานักฉวยโอกาสก็​เริงร่า​เพราะ​ได้​รับการปลดปล่อย​จาก​ขอบข่ายที่สถานการณ์​และ​อุดมการณ์ตี​ไว้​มา​แต่ก่อน

ฝ่ายสังคมนิยมใจซื่อเริ่มปวดร้าวก่อนเพื่อน​เพราะ​ถือว่า​ ​การวิ​เคราะห์ปัญหาของมาร์กซ์​ ​ว่า​ด้วย​ทุน​นั้น​ยัง​ดี​อยู่​, ​แต่​เห็น​ได้​ประจักษ์ว่า​ ​วิธี​แก้​ ​นั้น​ผิดพลาด​ใช้​งาน​ไม่​ได้

ฝ่ายทุนนิยมใจซื่อค่อยเริ่มปวดขมับภายหลังเมื่อสำ​คัญว่าทุนนิยม​ “​เสรี​” ​ของพวก​ Neo-Cons/Neo-Lib ​ที่ปราศ​จาก​ขอบข่ายทางจรรยา​และ​อุดมการณ์​นั้น​, ​แทนที่​จะ​สร้าง​ความ​สุข​ความ​เจริญ​, ​กำ​ลังนำ​ไปสู่​ความ​ปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ​และ​สังคม

ว่าง่ายๆ​ ​ทั้ง​สองฝ่ายรู้ตัวว่าทฤษฎีของตนมีปัญหาผิดพลาดจนตรอก​, ​และ​พึ่งเริ่มลงมือคิดหาทางแก้​ไข​ ​ผม​กับ​อีนังโมหิณีก็จนใจมา​เป็น​สิบปี​แล้ว​เช่นเดียว​กัน​, ​หาทางออก​ไม่​ได้​ ​แต่​เมื่อ​เร็ว​นี้​เรา​ได้​อ่านหนังสือสำ​คัญมาก​, ​คือ​ Banker to the Poor ​โดย​ Muhammad Yunus, ​โรงพิมพ์​ Public Affairs, N.Y., 2003

หนังสือเล่มนี้​ช่วย​ให้​ผมคิดนอกกรอบ​, ​และ​ให้​กำ​ลังใจว่า​ ​นักคิด​ผู้​หวังดี​ยัง​มีทางเลือก​ใหม่​และ​เป็น​ทางเลือกที่​ใช้​งาน​ได้​สำ​เร็จ​ใน​โลกแห่ง​ความ​เป็น​จริง

Banker to the Poor

อาจารย์มูฮัมมัด​ ​ยูนุส​ (ชาวบังกลา​เทศ) ​เป็น​นักเศรษฐศาสตร์สาย​ใหญ่​, ​ไม่​ใช่​นักนั่งเทียนเพ้อฝัน​ ​เมื่อท่านจบปริญญา​เอก​ใน​ตะวันตก​แล้ว​ท่านกลับไปรับราชการ​เป็น​อาจารย์มหาวิทยาลัยต่างจังหวัด​จึง​มี​โอกาสศึกษาผลการพัฒนา​เศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่​เห็นประจักษ์รอบด้าน​ใน​ชนบท

ยูนุสสังเกตว่าการพัฒนา​แบบทุนนิยมมีผลดีจริง​, ​แต่ทำ​ประ​โยชน์​เฉพาะชนชั้นที่มีทุน​ (ที่ดิน​, ​กิจการ​, ​รถ​, ​ร้านรวง) ​อยู่​แล้ว​ ​ที่​เชื่อ​กัน​ว่าการพัฒนา​จะ​มี​ “​ผลไหลลงข้างล่าง​” Trickle Down Effect ​เป็น​ไป​ไม่​ได้​เพราะ​ชนชั้นล่างสุด​ (ที่มี​เป็น​ล้านๆ​ ​คน) ​เข้า​ไม่​ถึง​ทุน​, ​คือคนอนาถา​ไม่​มีทรัพย์ค้ำ​ประ​กัน​ ​ระบอบการเงินการธนาคาร​ช่วย​ไม่​ได้​ ​หาก​เขา​จำ​เป็น​ต้อง​ยืมเงินก็​ต้อง​อาศัยฉลามเงินกู้ที่คิดดอกสัปดาห์ละ​ 10% ​แล้ว​กลาย​เป็น​ทาสหนี้ตลอดชีวิต

อาจารย์ยูนุสพาลูกศิษย์​ไปสำ​รวจหมู่บ้านคนอนาถา​ใกล้​วิทยา​เขต​ ​เขา​ให้​ตัวอย่างว่าวันหนึ่ง​เขา​เยี่ยมกระท่อมโทรมๆ​ ​แล้ว​เจอะหญิงม่ายอายุ​ 21 ​ติดลูกน้อยสามคน​, ​กำ​ลังต่อม้านั่ง​ด้วย​ไม้​ไผ่​ ​ไม้​ไผ่​นั้น​มีราคา​ 5 ​บาท​ ​แต่​เธอ​ไม่​มีทุนซื้อเอง​ ​เธอ​ต้อง​ยืมเงิน​ 5 ​บาท​จาก​พ่อค้าคนกลาง​แล้ว​ขายม้านั่ง​ให้​พ่อค้าคนกลาง​ใน​ราคา​ 5.50 ​บาท​, ​มีกำ​ไรตัวละ​ 2 ​สลึง​ ​เลี้ยงท้องเลี้ยงปากตัว​และ​ลูกๆ

ยูนุส​จึง​รำ​พึงว่า​ ​หากแม่คนนี้มีทาง​เข้า​ถึง​แหล่งทุน​ใน​ราคาถูก​ ​เธออาจ​จะ​ได้​ซื้อวัตถุดิบ​ด้วย​ตนเอง​ใน​ราคาตลาด​ (กิ​โลละ​ 3 ​บาท​?) ​แล้ว​ขายผลผลิต​ใน​ตลาดตัวละ​ 7 ​บาท​ (?), ​เป็นกำ​ไรตัวละ​ 4 ​บาท​ ​แน่นอนที​เดียวแม่ม่ายคนนี้​จะ​ไม่​กลาย​เป็น​เศรษฐี​, ​แต่อย่างน้อยเธอ​และ​ลูกคงกินอิ่มท้อง​และ​นาน​เข้า​อาจ​จะ​ส่งลูกเรียน​ให้​มีอนาคต

นี่คือจุดกำ​เนิด​ความ​คิดเรื่อง​ “​เงินกู้ขนาดจิ๋ว​” Micro Credit, ​และ​นำ​ไปสู่การก่อตั้ง​ “​ธนาคารของชาวบ้าน​” Grameen Bank ​ที่มีหลักการ​ให้​กู้ยืมแต่ละราย​ไม่​กี่ร้อย​หรือ​พันบาท​ด้วย​อัตราดอกเบี้ยต่ำ​และ​ระยะผ่อนส่งยาว​หรือ​ยืดหยุ่น

ตอนแรกๆ​ ​ยูนุสพบอุปสรรค​จาก​ธนาคารพาณิชย์​และ​ราชการมากมาย​ ​เช่น​ :-

ธนาคารพาณิชย์คัดค้านว่ากิจการแบบนี้​ไม่​คุ้มทุน​, ​ทำ​ไร​ไม่​ได้​, ​และ​คนยากจนคงเอา​เงินกู้​ไปกินเหล้า​เล่นเบี้ย​กัน​ ​แต่ยูนุส​ให้​เงินกู้​กับ​แม่บ้าน​เป็น​หลัก​และ​จัดตั้ง​เป็น​กลุ่มๆ​ ​ละห้าคนเพื่อสนับสนุน​และ​ควบคุม​กัน​เอง​ ​ปรากฏว่า​เขา​ได้​ต้น​และ​ดอกคืนทัน​ ​(​หรือ​ก่อน) ​กำ​หนด​เพราะ​ผู้​ยืม​ได้​ประ​โยชน์ทันต่อเห็น​จึง​ต้อง​การรักษาสิทธิ์ยืมงวดต่อไป

องค์การพัฒนาคัดค้านว่า​ ​คนยากจนขาดฝีมือ​และ​ปัญญา​จึง​ต้อง​ฝึกอบรมเสียก่อน​ ​ใน​ทางตรง​กัน​ข้ามยูนุสสังเกตว่าคนยากจนแต่ละคนมีฝีมือถนัดทางหนึ่งทาง​ใด​, ​รู้​แหล่งวัตถุดิบ​ใน​ท้องถิ่น​, ​และ​รู้ว่าตลาดท้องถิ่น​ต้อง​การอะ​ไร​, ​จึง​ควรเคารพปัญญา​ความ​สามารถ​ของชาวบ้าน

ว่าง่ายๆ​ ​คนจน​นั้น​ก็จน​ไม่​ใช่​เพราะ​ “​โง่​” ​แต่​เพราะ​เข้า​ไม่​ถึง​แหล่งทุนหมุนเวียนบำ​รุงกิจการของตน

ความ​สำ​เร็จ

ธนาคารครามมีณ​ (ภาษาพังคาลี​, ​แปลว่า​ “​ของชาวบ้าน​”) ​เริ่มก่อตั้งราว​ 30 ​ปีที่​แล้ว​ ​โดย​ที่ท่าน​ผู้​รู้​ส่วน​ใหญ่​ยิ้มแต่สั่นหัวว่า​ “​ไป​ไม่​รอด​”

แต่​ใน​ปี​ 2001 ​ธนาคารมีลูกค้า​ 54 ​ล้านครอบครัว​ ​ใน​จำ​นวน​นั้น​เคย​เป็น​อนาถาสุดๆ​ ​ราว​ 30 ​ล้านครอบครัว​, ​แต่ธนาคาร​ได้​ต้นคืนพร้อม​ทั้ง​ดอกทันต่อกำ​หนด​ 98% (ดีกว่าอัตราของธนาคารพาณิชย์​และ​ธนาคารของรัฐหลาย​เท่า)

ธนาคาร​ยัง​ทำ​กำ​ไร​ได้​สม่ำ​เสมอเว้นแต่​ใน​ปีที่บังกลา​เทศเกิดวินาสภัยธรรมชาติ​, ​แต่ธนาคารยอมขาดทุน​ใน​ปี​นั้นๆ​ ​เพราะ​รู้​อยู่​ว่า​ใน​ปีต่อมา​เมื่อกิจการชาวบ้านฟื้นฟู​แล้ว​ธนาคารก็​จะ​กลับมีกำ​ไรอีก

นี่​หรือ​ทางเลือก​?

อาจารย์ยูนุสถูกฝ่ายขวาหาว่า​เป้น​ “​คอมมิวนิสต์​” ​และ​ถูกฝ่ายซ้ายว่า​เป็น​ “​ใส้ศึก​” ​ซี​.​ไอ​.​เอ​.” ​ตลอดมา​ ​ท่านยอมรับว่า​ใน​แง่​เศรษฐศาสตร์ท่าน​เป็น​ทุนนิยม​, ​แต่​ใน​แง่สังคมศาสตร์ท่าน​เป็น​สังคมนิยม

ยูนุสวิ​เคราะห์ปัญหา​โลกปัจจุบันว่า​ “​ทุน​” ​และ​ “​สังคม​” ​ได้​แยกตัวออก​จาก​กัน​ ​ฝ่ายทุนนิยม​ ​เข้า​ใจว่าตนมีหน้าที่ทำ​กำ​ไรเพียงอย่างเดียว​ (ปล่อยสังคมไปตามยถากรรม) ​ฝ่ายสังคมนิยมมุ่งสร้างโลกอันอุดมที่ยุติธรรมเสมอภาค​ ​(​โดย​ไม่​ยอมรับ​ความ​สำ​คัญของบทบาททุน)

ผลก็คือ​ความ​แปลกแยก​และ​ความ​แตกแยกทางสังคม​ ​คล้าย​กับ​ว่าคนรวย​กับ​คนจนต่าง​อยู่​คนละ​โลก​ ​วิธี​แก้ของอาจารย์ยูนุสมีประ​เด็นสำ​คัญคือ​ ​ทั้ง​รัฐบาล​และ​นายทุนเอกชนควรอำ​นวย​ให้​คนยากจน​เข้า​ถึง​ทุน​, ​คือมี​โอกาสกู้ยืม​ด้วย​เงื่อนไขอย่างพอเพียง

ความ​ส่งท้าย

โครงการ​ Grameen Bank ​นี้มีลักษณะคล้าย​กับ​ “​เศรษฐกิจพอเพียง​” ​ของ​ใน​หลวง​และ​ยัง​สนับสนุนขบวนการ​ CSR (Corporate Social Responsibility) ​ที่จริงหนังสือ​ Banker to the Poor ​เล่มนี้น่า​จะ​ใช้​เป็น​ตำ​ราคู่มือสำ​หรับ​ CSR ​ได้​ดี

ที่สำ​คัญคือหนังสือเล่มนี้​เบิกทางคิด​ใหม่​สำ​หรับ​ผู้​หวังดีที่สิ้นศรัทธา​ใน​ “​สังคมนิยม​” ​ที่หมดน้ำ​ยา​และ​เอือมระอา​กับ​ “​ทุนนิยม​” ​เลอะ​เทอะที่ทำ​สังคมแตกแยกฉิบหาย

อนึ่ง​ ​สำ​นักพิมพ์มติชน​ได้​พิมพ์​ฉบับ​แปลของหนังสือเล่มนี้​ใน​ชื่อ​ “​นายธนาคารเพื่อคนจน​” ​สำ​นวนแปลของ​ “​สฤณี​ ​อาชวานันทกุล​” ​วางแผง​ทั่ว​ประ​เทศปลายเดือนกรกฎาคมนี้