ว่าจะไม่โพสความเห็นแบบปัจจุบันทันด่วนไม่คิดให้รอบคอบในบล้อกนี้อีก แต่เห็นข่าวรมต. กระทรวงไอซีทีพูดเรื่องล้มแผนแปรรูป ทศท. และ กสท. ก็อดไม่ได้ ขอระบายหน่อย เพราะตอนนี้รู้สึกรำคาญและิผิดหวังมากๆ ที่สังคมไทยดูเหมือนจะมีคนล้าหลังที่มองโลกแบบ “ขาว-ดำ” แบบนี้เยอะเหลือเกิน และใครนึกจะพูดอะไรก็พูด วันนี้พูดอย่างพรุ่งนี้พูดอีกอย่าง บอกจะทำอะไรก็ไม่ทำ
สงสัยเป็นเพราะประชาสังคมและสื่อของเรายังอ่อนแอมาก ไม่เคยเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจคนไหน “รับผิดชอบ” และมี “ความรับผิด” ต่อคำพูดและการกระทำของตัวเองจริงๆ จังๆ ใครพูดอะไรแล้วก็แล้วกันไป แถมใครพูดอะไรมาก็เชื่อเขาหมด ไม่พยายามหาข้อมูลด้วยตัวเองอีกต่างหาก
เห็นรมต. แบบนี้แล้วเศร้าใจ น่าเสียดายที่มี รมต. แบบคุณหมอมงคล ณ สงขลา (ที่กำลังสู้กับบริษัทยายักษ์ใหญ่เพื่อประโยชน์ของคนไทย อย่างถูกวิธีและน่าชมเชยมากๆ) น้อยเหลือเกินในรัฐบาลชุดนี้
ข่าวด้านล่างใน quote, ความเห็นของผู้เขียนท่อนถัดไป
……
‘สิทธิชัย’ ดึงรัฐวิสาหกิจกลับมาเป็นสมบัติของชาติ ยกเลิกแผนดัน ‘กสท.-ทีโอที’ เข้าตลาดหุ้น ขิงแก่ ‘สิทธิชัย’ รับหัวโบราณ เชื่อพนง.รัฐวิสาหกิจไม่มีใครอยากจะไปเป็นบริษัทเอกชน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เมื่อเวลา 08.45 น. นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร ( ไอซีที ) ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมการประชุมครม. ถึงแนวคิดการยกเลิกการนำการสื่อสารแห่งประเทศไทย ( กสท.) และบริษัททีโอที จำกัด ( มหาชน ) แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ว่า 2 หน่วยงานนี้เกี่ยวข้องกับความมั่นคงจึงไม่เหมาะสมที่เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เพราะเท่ากับเอาสมบัติของชาติไปขายให้เอกชนและการควบคุมจะเป็นไปอย่างลำบาก
ดังนั้นหน่วยงานนี้ควรจะเป็นสมบัติของแผ่นดินต่อไป เพื่อให้การควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่คิดว่าจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวเองในการทำงานด้วย
ข้อเท็จจริงที่ว่า ทศท. และ กสท. “เกี่ยวข้องกับความมั่นคง” ไม่ได้แปลว่าไม่ควรให้เอกชนทำโดยเด็ดขาด เพราะมีวิธีการต่างๆ มากมายที่รัฐสามารถใช้ในการ “ควบคุม” รัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเข้าตลาดไปแ้ล้ว เช่น กำหนดข้อบังคับต่างๆ ในโครงสร้างบริษัท (ดูวิธีการกำกับดูแล “กิจการจำเป็น” ของอเมริกา เป็นตัวอย่างก็ได้ ถ้าคิดไ่ม่ออก) เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ และที่อ้างว่าเป็น “สมบััติชาติ” นั้นก็ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นสมบัติชาติแล้วไง? ไม่ได้หมายความว่าต้องบริหารสมบัิตินี้ในรูปรัฐวิสาหกิจเพียงอย่างเดียวถึงจะทำได้
ว่าจะไม่โพสความเห็นแบบปัจจุบันทันด่วนไม่คิดให้รอบคอบในบล้อกนี้อีก แต่เห็นข่าวรมต. กระทรวงไอซีทีพูดเรื่องล้มแผนแปรรูป ทศท. และ กสท. ก็อดไม่ได้ ขอระบายหน่อย เพราะตอนนี้รู้สึกรำคาญและิผิดหวังมากๆ ที่สังคมไทยดูเหมือนจะมีคนล้าหลังที่มองโลกแบบ “ขาว-ดำ” แบบนี้เยอะเหลือเกิน และใครนึกจะพูดอะไรก็พูด วันนี้พูดอย่างพรุ่งนี้พูดอีกอย่าง บอกจะทำอะไรก็ไม่ทำ
สงสัยเป็นเพราะประชาสังคมและสื่อของเรายังอ่อนแอมาก ไม่เคยเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจคนไหน “รับผิดชอบ” และมี “ความรับผิด” ต่อคำพูดและการกระทำของตัวเองจริงๆ จังๆ ใครพูดอะไรแล้วก็แล้วกันไป แถมใครพูดอะไรมาก็เชื่อเขาหมด ไม่พยายามหาข้อมูลด้วยตัวเองอีกต่างหาก
เห็นรมต. แบบนี้แล้วเศร้าใจ น่าเสียดายที่มี รมต. แบบคุณหมอมงคล ณ สงขลา (ที่กำลังสู้กับบริษัทยายักษ์ใหญ่เพื่อประโยชน์ของคนไทย อย่างถูกวิธีและน่าชมเชยมากๆ) น้อยเหลือเกินในรัฐบาลชุดนี้
ข่าวด้านล่างใน quote, ความเห็นของผู้เขียนท่อนถัดไป
……
‘สิทธิชัย’ ดึงรัฐวิสาหกิจกลับมาเป็นสมบัติของชาติ ยกเลิกแผนดัน ‘กสท.-ทีโอที’ เข้าตลาดหุ้น ขิงแก่ ‘สิทธิชัย’ รับหัวโบราณ เชื่อพนง.รัฐวิสาหกิจไม่มีใครอยากจะไปเป็นบริษัทเอกชน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เมื่อเวลา 08.45 น. นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร ( ไอซีที ) ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมการประชุมครม. ถึงแนวคิดการยกเลิกการนำการสื่อสารแห่งประเทศไทย ( กสท.) และบริษัททีโอที จำกัด ( มหาชน ) แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ว่า 2 หน่วยงานนี้เกี่ยวข้องกับความมั่นคงจึงไม่เหมาะสมที่เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เพราะเท่ากับเอาสมบัติของชาติไปขายให้เอกชนและการควบคุมจะเป็นไปอย่างลำบาก
ดังนั้นหน่วยงานนี้ควรจะเป็นสมบัติของแผ่นดินต่อไป เพื่อให้การควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่คิดว่าจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวเองในการทำงานด้วย
ข้อเท็จจริงที่ว่า ทศท. และ กสท. “เกี่ยวข้องกับความมั่นคง” ไม่ได้แปลว่าไม่ควรให้เอกชนทำโดยเด็ดขาด เพราะมีวิธีการต่างๆ มากมายที่รัฐสามารถใช้ในการ “ควบคุม” รัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเข้าตลาดไปแ้ล้ว เช่น กำหนดข้อบังคับต่างๆ ในโครงสร้างบริษัท (ดูวิธีการกำกับดูแล “กิจการจำเป็น” ของอเมริกา เป็นตัวอย่างก็ได้ ถ้าคิดไ่ม่ออก) เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ และที่อ้างว่าเป็น “สมบััติชาติ” นั้นก็ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นสมบัติชาติแล้วไง? ไม่ได้หมายความว่าต้องบริหารสมบัิตินี้ในรูปรัฐวิสาหกิจเพียงอย่างเดียวถึงจะทำได้
นอกจากนี้ การ “แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์” ก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐจะต้อง “ไม่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่” (คือมีอำนาจควบคุม) ต่อไป ที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจทุกบริษัทที่แปรรูปเข้าตลาดไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ปตท. การบินไทย อสมท. ฯลฯ ก็ล้วนแต่ยังมีรัฐเป็น “เจ้าของใหญ่” อยู่ทั้งสิ้น ปัญหาที่ผ่านๆ มาที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นปัญหาในระดับ “ภาคปฏิบััติ” (implementation) ทั้งนั้น เช่น นักการเมืองโกงๆ ฉวยโอกาสได้หุ้นไปโดยมิชอบ รัฐบาลหน้าเลือดเลือกทำตัวเป็น “ผู้ถือหุ้นที่กระหายอยากได้กำไรสูงๆ” แทนที่จะเป็น “รัฐบาลผู้ปกป้องประโยชน์สาธารณะ” ยังไม่นับปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน นักการเมืองโกงใช้ข้อมูลภายในปั่นหุ้น ฯลฯ ไม่ใช่เป็นปัญหาในระดับหลักการ (principle) ของการแปรรูปแม้แต่น้อย แสดงว่าถ้ารัฐแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่าง “ถูกวิธี” ให้เหมาะสมกับลักษณะกิจการของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ระััดับประโยชน์สาธารณะที่ต้องคงไว้ (เช่น ไม่ให้ค่าไฟแพงเกินเหตุ) การแปรรูปนั้นจะต้อง “ดีกว่า” ไม่แปรรูปแน่ๆ
เพราะใครๆ ก็รู้ว่ารัฐวิสาหกิจไร้ประสิทธิภาพขนาดไหน และทั้ง ทศท. และ กสท. เป็น “เสือนอนกิน” ขนาดไหน
จริงๆ แล้วในกรณีนี้ ผู้เขียนคิดว่าถึงรัฐ “อยาก” จะเอา ทศท. และ กสท. เข้าตลาดขนาดไหน ก็ทำได้ยากมากๆ อยู่ดี เพราะทั้งสององค์กรยัง “แย่” มาก (ในด้านการให้บริการ ศักยภาพในการทำกำไร ฯลฯ) ดังนั้นคงไม่มีนักลงทุนคนไหนอยากซื้อหุ้น IPO แต่ความยากนี้ไม่ได้แปลว่าควรเปลี่ยนทั้งสององค์กรให้กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิม เพราะ “การเอาหุ้นเข้าตลาด” เป็นคนละเรื่องกันกับ “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัท” ฉะนั้นรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเป็นบริษัทไปแล้วอาจไม่จำเป็นต้องเข้าตลาด (ที่ผ่านมา รัฐบาลทักษิณพยายามปั่นหัวคนให้เชื่อว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะรัฐบาลนั้นเต็มไปด้วยนัก “ธุรกิจการเมือง” ที่จ้องจะเอาผลประโยชน์จากหุ้นพวกนี้อยู่แล้ว) ถ้ารัฐวิสาหกิจที่แปรรูปไปแล้วยัง “ไม่พร้อม” ที่จะเข้าตลาด หรือ “ไม่น่าสนใจ” สำหรับนักลงทุน หรือ “ไม่มีความจำเป็น” ที่จะต้องใช้เิงิน ก็ยังไม่ต้องเข้าตลาดก็ได้ แต่ก็ควรตั้งเป็นเป้าหมายในอนาคต เพราะยิ่งมีผู้ถือหุ้นมากรายเท่าไหร่ (โดยรัฐยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่) ก็ยิ่งช่วยเพิ่มแรงกดดันในทางที่ดีให้ทั้งสององค์กรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงผู้บริโภคมากขึ้นเท่านั้น
ลำพังการ “แปรรูปเป็นบริษัท” โดยไม่เข้าตลาดหุ้น ก็มีประโยชน์มากมายในตัวมันเอง เช่น ความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ความสามารถในการใ้ห้เงินเดือนที่สูสีกับเอกชนเพื่อดึงคนเก่งๆ มาทำงาน ฯลฯ
น่าจะมีใครไปนั่งอธิบายให้ รมต. ไอซีที เข้าใจถึงประโยชน์และวิธีกาีรแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างละเอียดเสียที ก่อนที่ท่านจะพูดไปกันใหญ่ :/
“ผมอาจจะอายุเยอะแล้ว และเป็นคนหัวโบราณ ผมไม่เห็นด้วยที่จะเอารัฐวิสาหกิจไปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เชื่อว่าพนักงานทุกคนอยากเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่มีใครอยากจะไปเป็นบริษัทเอกชน”
แน่นอน ไม่มีพนักงานรัฐวิสาหกิจคนไหนอยากเป็นบริษัทหรอก เพราะถ้ารัฐวิสาหกิจแปรรูปไปเป็นบริษัทแล้ว แปลว่าตัวเองต้องทำงานจริงจังให้คุ้มค่าจ้าง ไม่ใช่ทำงานเช้าชามเย็นชาม ขี้เกียจขนาดไหนก็สบายใจเพราะรู้ว่ารัฐไม่อยากไล่คนออก
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวคิดนี้จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงุทนหรือไม่เพราะนโยบายแปรรูป รัฐวิสาหกิจกลับไปกลับมา นายสิทธิชัย กล่าวว่า รัฐบาลนี้ไม่เคยกลับไปกลับมา ตนบอกตั้งแต่ต้นเลยว่าไม่เห็นด้วยไม่เคยกลับไปกลับมา
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ก็มีรัฐวิสาหกิจบางแห่งกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว รมว.ไอซีที กล่าวว่า ก็เขาเปลี่ยนผิด และในความคิดของตนเห็นว่ามันผิดเราจะปล่อยให้ผิดไปอย่างนั้นหรือ ทั้งนี้ตนจะพยายามผลักดันเรื่องการนำรัฐวิสาหกิจกลับมาเหมือนเดิมให้ได้ แต่ไม่ทราบว่าจะทันหรือไม่ แต่พยายามจะเริ่มไว้ก่อน และถือว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่โชคดีที่แปรรูปไม่ทัน
เฮ่อ ได้ยินแล้วเซ็ง โดยหลักการ การแปรรูป “กิจการแข่งขันได้” อย่างทีวีและการบิน แล้วเอาเข้าตลาดหุ้น เป็นสิ่งที่รัฐควรทำอยู่แล้ว ส่วนกิจการที่มีทั้งส่วนที่ “แข่งขันได้” กับส่วนที่เป็น “บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน” อย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้น ที่ไม่ได้แปรรูป (เพราะศาลตัดสินระงับ) น่ะเป็นเพราะ “วิธีการ” และ “กระบวนการ” แปรรูปเข้าตลาดของรัฐบาลทักษิณนั้นผิดพลาดและเอาเปรียบประชาชน คือเอาส่วนที่ “ไม่ควรเข้าตลาด” เพราะเป็นสมบัติสาธารณะจริงๆ คือโครงข่ายไฟฟ้า สายไฟฟ้าและเขื่อน “ยัด” เข้าไปในบริษัทที่จะเข้าตลาดด้วย ไม่ได้แยกชิ้นส่วนเหล่านั้นออกมาก่อน แล้วก็ไม่ได้ตั้งหน่วยงานกำำกับดูแล อย่างที่ควรจะทำ แต่ถ้าทำทุกอย่างถูกวิธี ทำไมรัฐจะแปรรูป แยกส่วนกิจการ แล้วเอาส่วนที่เป็น “กิจการแข่งขันได้” (คือส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้า) เข้าตลาดหุ้นไม่ได้? ถ้าใช้แนวคิดนี้กับเคสของ ทศท. และ กสท. ก็เหมือนกับบอกว่า ถ้ารัฐกลัวว่าจะมีการลงทุนซ้ำซ้อนในโครงข่ายโทรคมนาคม ก็ัตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมากำหนดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายสิ (จริงๆ เราก็มี กทช. แล้ว ก็น่าจะทำได้อยู่แล้ว) แล้วก็ใช้กลไกของใบอนุญาต กำหนดขอบเขตและลักษณะการลงทุนในโครงข่าย (ซึ่ง กทช. ก็ทำได้อยู่แล้ว) แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันเลยกับประเด็นว่า ทศท. และ กสท. ควรหรือไม่ควรแปรรูป
ดังนั้น ถ้ารัฐบาลจะไม่หยุดอยู่เพียงชะลอแผนเอา ทศท. และ กสท. เข้าตลาดหุ้น แต่ยัง “แปรรูปหลงยุค” เอาทั้งสองบริษัทกลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจดังเดิม ก็ต้องถือว่าเป็นการ “ถอยหลังเข้าคลอง” ไปมาก ไม่ใช่แ่ค่ “ถอยหลังไปตั้งหลัก” อย่างที่หลายๆ คนพยายามมองในแง่ดี.