ข้อมูลการใช้จ่ายเงินภาครัฐหายไปไหน ใครรับผิดชอบ?

สองวันที่แล้วเข้าไปค้นข้อมูลในเว็บไซด์กระทรวงการคลัง หลังจากที่ไม่ได้ใช้มานาน เพราะอ่านข่าวเรื่องกระทรวงการคลังต้องเอาหุ้น อสมท. โมเดิร์นไนน์ ไปขายต่อให้ธนาคารออมสินเพื่อหาเงิน 3,000 ล้านบาท มาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารทหารไทย แล้วก็นึกแปลกใจว่า เดี๋ยวนี้รัฐบาลเรา “ถังแตก” ขนาดนี้แล้วหรือ (ยังไม่ต้องพูดถึง “เหตุผล” ของรัฐที่ไปซื้อหุ้น ซึ่งตามความเห็นของผู้เขียนแล้ว “ไม่จำเป็น” เลยแม้แต่น้อย เพราะรัฐบาลไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องรักษาหรือเพิ่มอำนาจจัดการในธนาคารพาณิชย์เอกชน แถมตัวเองก็มีกรุงไทยไว้ถลุง… เอ๊ย… บริการประชาชนตามคำสั่งอยู่แล้ว)

ตามประสาคนชอบคิดเลขและคิดบัญชี (ทั้งสองความหมายนั่นแหละ) ก็อยากตามล่าหาตัวเลขรายรับรายจ่ายล่าสุดของรัฐบาลนี้มาคำนวณหาความจริงให้หายสงสัย เพราะเคยเข้าเว็บกระทรวงฯ ไปใช้ตัวเลขรายรับรายจ่ายรายเดือนของรัฐบาล ซึ่งมีการอัพเดททุก 1-2 เดือน

ว่าแล้วก็เข้าเว็บไซด์กระทรวงฯ…. อ้า เจอแล้ว “ข้อมูลการคลังภาครัฐ” แล้วต่อไปก็คลิ้ก “การคลังรัฐบาล” ดู….

อะไรเนี่ย ส่วนนี้ของเว็บทำใหม่เอี่ยม แถมเป็นภาษาอังกฤษอีกต่างหาก…


สองวันที่แล้วเข้าไปค้นข้อมูลในเว็บไซด์กระทรวงการคลัง หลังจากที่ไม่ได้ใช้มานาน เพราะอ่านข่าวเรื่องกระทรวงการคลังต้องเอาหุ้น อสมท. โมเดิร์นไนน์ ไปขายต่อให้ธนาคารออมสินเพื่อหาเงิน 3,000 ล้านบาท มาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารทหารไทย แล้วก็นึกแปลกใจว่า เดี๋ยวนี้รัฐบาลเรา “ถังแตก” ขนาดนี้แล้วหรือ (ยังไม่ต้องพูดถึง “เหตุผล” ของรัฐที่ไปซื้อหุ้น ซึ่งตามความเห็นของผู้เขียนแล้ว “ไม่จำเป็น” เลยแม้แต่น้อย เพราะรัฐบาลไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องรักษาหรือเพิ่มอำนาจจัดการในธนาคารพาณิชย์เอกชน แถมตัวเองก็มีกรุงไทยไว้ถลุง… เอ๊ย… บริการประชาชนตามคำสั่งอยู่แล้ว)

ตามประสาคนชอบคิดเลขและคิดบัญชี (ทั้งสองความหมายนั่นแหละ) ก็อยากตามล่าหาตัวเลขรายรับรายจ่ายล่าสุดของรัฐบาลนี้มาคำนวณหาความจริงให้หายสงสัย เพราะเคยเข้าเว็บกระทรวงฯ ไปใช้ตัวเลขรายรับรายจ่ายรายเดือนของรัฐบาล ซึ่งมีการอัพเดททุก 1-2 เดือน

ว่าแล้วก็เข้าเว็บไซด์กระทรวงฯ…. อ้า เจอแล้ว “ข้อมูลการคลังภาครัฐ” แล้วต่อไปก็คลิ้ก “การคลังรัฐบาล” ดู….

อะไรเนี่ย ส่วนนี้ของเว็บทำใหม่เอี่ยม แถมเป็นภาษาอังกฤษอีกต่างหาก…

(คลิ้กดูรูปขยาย)

Thailand Public Finance Data Homepage

เอ้า ไหนๆ มาแล้ว ลองใช้ดูซิ คลิ้กที่ “Central Government (Monthly Data)” แล้วก็ “Reconciliation of GFS and budgetary expenditure data” เพราะอยากดูว่าล่าสุดรัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณไปเท่าไหร่แล้ว (ไม่แน่ใจว่าไอ้ระบบ GFS นี่คืออะไร แต่เอาละ ตารางนี้ใกล้เคียงที่สุดกับสิ่งที่อยากเห็น)

อะไรเนี่ย! ข้อมูลการจ่ายเงินตามงบประมาณ เดือนล่าสุดที่มีคือกันยายน 2548 เลยมาแล้วเกือบเป็นปี! ตัวเลขของช่วงเวลาหลังจากนั้น คือตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2549 เป็นต้นมา (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548) หายไปไหน? (รูปนี้ตัดต่อให้ลงในจอเดียวได้)

Reconciliation of Actual & Budget

ลองคลิ้กที่ตารางอื่นๆ ผลที่ออกมาก็เหมือนกัน – รัฐบาลนี้หยุดอัพเดทข้อมูลการใช้จ่ายเงินงบประมาณมาแล้วเป็นปี! แถมตารางนี้ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่ต้องการด้วย รายละเอียดน้อยกว่าตารางเดิมที่เคยใช้เมื่อสองปีก่อนมาก เพราะตารางเดิมแยกรายจ่ายในงบประมาณ ออกจาก รายจ่ายนอกงบประมาณ ให้ดูด้วย

โชคดีที่โลกเรามี http://www.archive.org/ เว็บไซด์ชั้นยอดที่เซฟหน้าเก่าๆ ของเว็บทั่วโลกให้เราค้นได้ (ใครที่อยากรู้ว่าเว็บต่างๆ ที่ถูกปิดไป มีหน้าตาเนื้อหาเป็นอย่างไร ขอเชิญใช้ www.archive.org ค้นหน้าเก่าออกมาอ่าน รับรองไม่ผิดหวัง ;)) เลยเรียกหน้าเก่าๆ ของเว็บกระทรวงขึ้นมาดูได้….

นี่ไง! ตารางที่เราอยากได้ ต้องหน้าตาแบบนี้ (เพิ่มคอมเม้นท์ให้เห็นชัดๆ)

รายงานสรุปรายรับจ่ายแผ่นดินเก่าเป็นปีแล้ว

อืม แต่สังเกตว่าตัวเลขในตารางก็หยุดอัพเดทตั้งแต่สิงหาคม 2548 แถมตัวเลขในตารางนั้นชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2548 (ตุลาคม 2547) ถึงสิงหาคม 2548 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณรวมกว่า 260,000 ล้านบาท และใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณไปแล้ว 1.43 ล้านล้านบาท

ทำให้สงสัยว่า รัฐบาลสั่งหยุดเผยแพร่ข้อมูลรายรับจ่ายตั้งแต่ปีที่แล้วเพราะไม่อยากให้ใครรู้ว่า “ถังแตก” ขนาดไหน ใช้เงินมือเติบขนาดไหน ใช่หรือเปล่า??

ยัง เรื่องสนุกๆ (อย่างน้อยก็สำหรับผู้เขียนแหละ) ยังไม่จบแค่นั้น ตารางหนึ่งที่ผู้เขียนเคยชอบใช้คือตารางแสดง “ฐานะทางการคลังตามระบบกระแสเงินสด” เพราะแสดงรายรับรายจ่ายที่เป็นเงินสด คือรับจริงและจ่ายจริง ซึ่งสะท้อนสถานการณ์ที่แท้จริงมากกว่ารายรับรายจ่ายปกติ ซึ่งแสดงตัวเลขทันทีที่มีเหตุให้ “บันทึก” ว่าได้รับเงินหรือต้องจ่ายเงิน (เช่น มีใครมาวางบิล) ไม่ใช่วันที่ได้รับเงินจริงๆ

เป็นไปตามคาด เว็บไซด์ปัจจุบันของกระทรวงฯ ไม่มีข้อมูลกระแสเงินสดให้ดูอีกต่อไป แถมข้อมูลเก่าๆ ก็หายไปด้วย ได้เวลาย้อนเวลาหาอดีต ด้วยความช่วยเหลือของ www.archive.org อีกทีแล้ว….

ฐานะการคลังตามกระแสเงินสดหายไปไหน?

นั่นไง ชัดเจน เห็นชัดเลยว่าลิ้งก์กระแสเงินสดถูกลบไป มิหนำซ้ำตารางนี้ก็ไม่มีการอัพเดทเลยตั้งแต่เดือน พ.ย. 2547! และถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าตอนนั้นรัฐบาลขาดดุลเงินสด เดือนละกว่า 50,000 ล้านบาท!

จริงๆ แล้วการใช้งบประมาณแบบขาดดุล แม้กระทั่งงบเงินสด ไม่ใช่เรื่องแปลกหรืออันตรายมากเท่าไหร่ ถ้าอยู่ในระดับไม่เกิน 2-3% ของ GDP เพราะรัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ต้องใช้จ่ายเงินมากกว่ารายรับเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้่นฐานของประเทศ แต่ในกรณีนี้ สัดส่วนการขาดดุล 2-3% ของ GDP เท่ากับประมาณ 140,000-210,000 ล้านบาท ถ้าคิดบนฐาน GDP ของปี 2548 นั่นหมายความว่า ณ เดือนสิงหาคม 2548 หลังปีงบประมาณ 2548 ผ่านไปสิบเอ็ดเดือน รัฐบาลนี้ใช้งบขาดดุลไปแล้วกว่า 3.8% ของ GDP (266,000 ล้าน หารด้วย 7 ล้านล้าน) แสดงว่าถ้าใช้งบในอัตรานี้ไปอีกเดือน พอจบปีงบประมาณในเดือนกันยายน 2548 การขาดดุลทั้งปีจะอยู่ที่ประมาณ 4.14% ของ GDP หรือกว่า 290,000 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงนโยบายประชานิยมต่างๆ ที่ “หว่านเงิน” ลงไปมากมาย แต่รายได้ของชาวบ้านกลับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าหนี้สิน (จะเล่าเรื่องนี้ในโอกาสหน้า)

รัฐบาลที่ปิดบังตัวเลขจากสายตาประชาชนนั้นย่อมน่าสงสัยอยู่แล้ว เพราะปกติคนเราจะปกปิดอะไร ก็ต่อเมื่อเราทำอะไร “ไม่ดี” ที่ไม่อยากให้ใครรู้เท่านั้น

นึกหวั่นใจขึ้นมาเสียแล้ว ว่าถ้าเราเกิด “โชคดี” ได้รัฐบาลที่ไม่ใช่พรรคไทยรักไทยขึ้นมาจริงๆ รัฐบาลใหม่อาจเจอระเบิดเวลาซุกซ่อนอยู่หลายลูก….

อนิจจา ประเทศไทย.