คุณรู้หรือไม่? รัฐบาลไทยกำลังจะกลายเป็น Big Brother เข้าไปทุกทีแล้ว!
จากข่าว“ไอซีทียันดักข้อมูลชาวเน็ตไทยไม่ละเมิด “ประเทศไหนๆก็ติด Sniffer” สืบเนื่องจากที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่า ไอซีทีจับมือ5 หน่วยงานวางแนวกำกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผ่านอินเทอร์เน็ต
ก่อนอื่น สำหรับใครที่ไม่เคยได้ยินชื่อ sniffer มาก่อน ขอเชิญทัศนาการ์ตูนอธิบาย ฝีมือ @tpagon (ซุปเปอร์เว็บมาสเตอร์แห่ง Exteen.com):
ผู้เขียนมีความเห็นดังต่อไปนี้
1. ไอซีทีระบุว่า “การติดตั้ง Sniffer เป็นการช่วยป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ต้นเหตุ” แต่การดักจับข้อมูลของผู้ใช้เน็ตจะเป็นการ “แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ” ได้อย่างไร? พูดแบบนี้ก็เหมือนกับบอกว่า ตำรวจควรดักฟังโทรศัพท์ของคนไทยทั้งประเทศ เผื่อได้ยินผู้ร้ายโทรศัพท์คุยกัน จะได้ป้องกันอาชญากรรมได้ก่อนเกิดเหตุ
“ต้นเหตุ” ของการละเมิดลิขสิทธิ์ย่อมอยู่ที่ “ต้นตอ” เช่น เซิร์ฟเวอร์ที่โฮสแต่ไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ ทำไมไอซีทีไม่ไปจัดการกับเนื้อหาเหล่านั้น?
คุณรู้หรือไม่? รัฐบาลไทยกำลังจะกลายเป็น Big Brother เข้าไปทุกทีแล้ว!
จากข่าว“ไอซีทียันดักข้อมูลชาวเน็ตไทยไม่ละเมิด “ประเทศไหนๆก็ติด Sniffer” สืบเนื่องจากที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่า ไอซีทีจับมือ5 หน่วยงานวางแนวกำกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผ่านอินเทอร์เน็ต
ก่อนอื่น สำหรับใครที่ไม่เคยได้ยินชื่อ sniffer มาก่อน ขอเชิญทัศนาการ์ตูนอธิบาย ฝีมือ @tpagon (ซุปเปอร์เว็บมาสเตอร์แห่ง Exteen.com):
ผู้เขียนมีความเห็นดังต่อไปนี้
1. ไอซีทีระบุว่า “การติดตั้ง Sniffer เป็นการช่วยป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ต้นเหตุ” แต่การดักจับข้อมูลของผู้ใช้เน็ตจะเป็นการ “แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ” ได้อย่างไร? พูดแบบนี้ก็เหมือนกับบอกว่า ตำรวจควรดักฟังโทรศัพท์ของคนไทยทั้งประเทศ เผื่อได้ยินผู้ร้ายโทรศัพท์คุยกัน จะได้ป้องกันอาชญากรรมได้ก่อนเกิดเหตุ
“ต้นเหตุ” ของการละเมิดลิขสิทธิ์ย่อมอยู่ที่ “ต้นตอ” เช่น เซิร์ฟเวอร์ที่โฮสแต่ไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ ทำไมไอซีทีไม่ไปจัดการกับเนื้อหาเหล่านั้น?
2. ไอซีทีอ้างว่าอเมริกาก็มีกฎหมายดักจับข้อมูล – อเมริกามีกฎหมายนี้ก็จริง แต่:
2.1 วัตถุประสงค์หลักของกฎหมายนี้คือเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยรัฐปราบปรามภัยรุนแรงต่อความมั่นคง เช่น กลุ่มผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ ฯลฯ ไม่ใช่ปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์บนเน็ต และกฎหมายฉบับนี้ก็เป็นที่คัดค้าน โต้แย้ง และต่อต้านตลอดมาจากผู้ใช้เน็ตและผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ต รวมทั้ง Vinton Cerf หนึ่งใน “ผู้ก่อตั้ง” อินเทอร์เน็ต และสมาคมไอทีแห่งอเมริกา (IT Association of America) ว่าไม่เพียงแต่จะละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดต้นทุนส่วนเพิ่มที่ผู้ใช้เน็ตจะต้องรับภาระ รวมทั้งเปิดความเสี่ยงด้านระบบอีกด้วย – ดูสรุปประเด็นเหล่านี้ใน หน้านี้ของ EFF และบทความ Risking Communications Security: Potential Hazards of the Protect America Act
2.2. กฎหมายดักจับของอเมริกาไม่ได้บังคับให้ ISP ติดตั้ง sniffer (คือเป็นฝ่ายดักข้อมูลเอง) แต่กำหนดว่า ISP ต้องเตรียมเครือข่ายให้ “พร้อม” ให้รัฐดักข้อมูลได้โดยง่าย หน่วยงานรัฐที่ทำเรื่องนี้ในอเมริกาคือ FBI โดยใช้ระบบที่เรียกว่า DCSNet
2.3. การละเมิดลิขสิทธิ์ในเน็ตอเมริกาไม่ได้ใช้กฎหมายดักจับ แต่ใช้ขั้นตอนตามกฎหมายลิขสิทธิ์ – อ่านสรุปได้ใน หน้า Notice & Takedown Procedure สรุปขั้นตอนคร่าวๆ คือ เจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องส่งจดหมาย (Notice of Infringing Material) ไปยังเจ้าของเว็บไซต์ ระบุเนื้อหาที่ละเมิดและตำแหน่งบนเว็บไซต์อย่างชัดเจน ถ้าเจ้าของเว็บไม่ลบเนื้อหานั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ถึงจะเข้าข่ายที่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิฟ้องตามกฏหมาย แต่ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามจะไม่มีการดักข้อมูลของผู้ใช้เน็ตเพื่อการนี้แบบที่ไอซีทีอ้าง
ผู้เขียนคุ้นเคยกับขั้นตอนของกฎหมายอเมริกาดี เพราะเคยโดนเข้ากับตัวเองหลายครั้งตอนที่ทำเว็บไซต์ที่มีเกมเก่าแต่ผิดกฎหมายให้ดาวน์โหลด ทุกครั้งที่ทนายส่งจดหมายมา ก็จะเอาเกมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ลงจากเซิร์ฟเวอร์ คิดว่าเป็นขั้นตอนที่เป็นธรรมและรักษาสมดุลได้ค่อนข้างดีระหว่างสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ และวัฒนธรรม “เปิด” ของอินเทอร์เน็ต
3. น่าสังเกตว่ากระทรวงไอซีทีทำงานคล้ายกับกระทรวงวัฒนธรรมมาก คือดูจะคิดเป็นแต่เรื่อง “ควบคุม” “ปิดกั้น” และ “จับ” ผู้ใช้เน็ต ออกมาตรการลิดรอนสิทธิราวกับมีสมมุติฐานว่าประชาชนเป็น “ผู้ร้าย” โดยอัตโนมัติ ไม่เคยแสดงให้เห็นว่าแยกแยะได้ระหว่าง “อาชญากร” ตัวจริงที่ทำผิดกฎหมาย กับคนธรรมดาที่บริสุทธิ์ รวมทั้งไม่เคยผลักดันกฎหมายหรือกฏเกณฑ์อะไรที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้เน็ตบ้าง เช่น เรามีร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มานานหลายปีแล้วแต่ไม่เคยได้ออกมาเป็นกฎหมาย กระทรวงไอซีทีทำเรื่องเชิงบวกแบบนี้บ้างได้ไหม?
4. กลุ่มคนหรือบริษัทใดก็แล้วแต่ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐ “จัดการ” กับการละเมิดลิขสิทธิ์บนเน็ตแบบเหวี่ยงแหเหมารวมและลิดรอนสิทธิแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเพลง ฯลฯ กำลังทำตัวเป็น “ธุรกิจล้าหลัง” ที่ดึงดันจะกอดโมเดลธุรกิจโบราณของตัวเองเอาไว้ แทนที่จะวิ่งตามความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทอล ถ้าท่านอยากรู้ว่าโลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ก้าวหน้าและไม่ดูถูกผู้บริโภคคิดอย่างไร ขอแนะนำให้อ่านหนังสือเรื่อง FREE โดย Chris Anderson, Remix โดย Larry Lessig, และ The Pirate’s Dilemma โดย Matt Mason
ขอเชิญทุกท่านร่วมกันรณรงค์ต่อต้านมาตรการเผด็จการที่เหมารวมของไอซีที ด้วยการใช้ tag #ThaiNoSniff ต่อท้ายทวีตเรื่องนี้เวลาใช้ Twitter, และร่วมเป็น fan ของ Thailand No Sniffer บน Facebook