คอร์สที่ “เจ๋ง” ที่สุดที่ผู้เขียนเคยเรียนเปิดเสรีแล้ว + สุดยอดเกมการศึกษา

ช่วงนี้การเมืองและเศรษฐกิจไทยมีเรื่องให้ “บ่น” และ “ตามติด” หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในมุ้ง นอกมุ้ง หรือเรื่องสำคัญระดับชาติที่สื่อกระแสหลักไม่ยอม (หรือไม่กล้า) ตีแผ่ให้ประชาชนรับทราบในวงกว้าง ล่าสุด ข้อเสนอของ สนช. 60+ คนที่ให้แก้ไข พ.ร.บ. 2 ฉบับ เพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครองภายใต้ข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ให้ครอบคลุมถึงพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ และที่ให้อำนาจศาลสั่งห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนไต่สวนหรือพิจารณาคดีในการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพิ่งถูกถอนออกจากวาระการประชุม สนช. อย่างกะทันหัน ด้วยเหตุผลว่าองคมนตรีบางคน “ไม่สบายใจ” ถ้าท่านผู้อ่านอยากรู้ว่ามีสมาชิก สนช. คนไหนบ้างที่ร่วมลงนามเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายที่ดูเหมือนจะ “คิดแทน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแบบปิดกั้นเสรีภาพสื่อและผิดเจตนารมณ์ (เพราะพระองค์เองเคยตรัสอย่างชัดเจนแล้วว่า “king can do wrong”) ขอเชิญดาวน์โหลดร่าง พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับได้ที่นี่: ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) [PDF, 8 หน้า] และ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) [PDF, 8 หน้า]

แต่วันนี้ผู้เขียนอยากพักเรื่อง “บ่น” ต่างๆ ไว้ชั่วคราว อยากเปลี่ยนเกียร์มาแนะนำเว็บไซต์และเกมเกี่ยวกับการศึกษาดีๆ ที่ให้ทั้งความบันเทิงและประเทืองปัญญาบ้าง เพราะหลังจากที่เขียนบทความเรื่อง Open Source Education ลงคอลัมน์ “ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์” ไปเกือบปีแล้วก็ยังไม่ได้ฤกษ์เขียนขยายความในบล็อกของตัวเองเสียที

เว็บไซต์และเกมเพื่อการศึกษาสองสามอันที่อยากแนะนำ แบ่งตามหัวข้อวิชาดังต่อไปนี้:

1. แนวคิดตะวันตกเกี่ยวกับ “ความยุติธรรม”

Justice by Prof. Michael Sandel

วิชาชื่อสั้นๆ ว่า “Justice” ที่สอนโดยอาจารย์ Michael Sandel คือคอร์สที่ผู้เขียนประทับใจที่สุดในชีวิตการเป็นนักเรียน (ตั้งแต่อนุบาลจนจบปริญญาโท) เพราะไม่เคยเห็นอาจารย์คนไหนสอนเก่ง ทำเรื่อง “น่าเบื่อ” ให้น่าสนใจ และจับประเด็นได้แหลมคมเท่ากับอาจารย์ Sandel ตอนนี้ฮาร์วาร์ดเปิดให้ทุกคนเข้าไปดูเลคเชอร์ของวิชานี้ทุกชั่วโมง และติดตามอ่านบล็อกของอาจารย์ได้ฟรีแล้วจาก เว็บวิชา Justice เนื่องจากเว็บนี้อาจจะดูงงๆ เล็กน้อยสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นศิษย์เก่าและไม่เคยเข้าเว็บฮาร์วาร์ด ผู้เขียนจึงขออธิบายวิธีใช้ด้วย “How to” ง่ายๆ ดังต่อไปนี้:


ช่วงนี้การเมืองและเศรษฐกิจไทยมีเรื่องให้ “บ่น” และ “ตามติด” หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในมุ้ง นอกมุ้ง หรือเรื่องสำคัญระดับชาติที่สื่อกระแสหลักไม่ยอม (หรือไม่กล้า) ตีแผ่ให้ประชาชนรับทราบในวงกว้าง ล่าสุด ข้อเสนอของ สนช. 60+ คนที่ให้แก้ไข พ.ร.บ. 2 ฉบับ เพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครองภายใต้ข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ให้ครอบคลุมถึงพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ และที่ให้อำนาจศาลสั่งห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนไต่สวนหรือพิจารณาคดีในการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพิ่งถูกถอนออกจากวาระการประชุม สนช. อย่างกะทันหัน ด้วยเหตุผลว่าองคมนตรีบางคน “ไม่สบายใจ” ถ้าท่านผู้อ่านอยากรู้ว่ามีสมาชิก สนช. คนไหนบ้างที่ร่วมลงนามเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายที่ดูเหมือนจะ “คิดแทน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแบบปิดกั้นเสรีภาพสื่อและผิดเจตนารมณ์ (เพราะพระองค์เองเคยตรัสอย่างชัดเจนแล้วว่า “king can do wrong”) ขอเชิญดาวน์โหลดร่าง พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับได้ที่นี่: ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) [PDF, 8 หน้า] และ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) [PDF, 8 หน้า]

แต่วันนี้ผู้เขียนอยากพักเรื่อง “บ่น” ต่างๆ ไว้ชั่วคราว อยากเปลี่ยนเกียร์มาแนะนำเว็บไซต์และเกมเกี่ยวกับการศึกษาดีๆ ที่ให้ทั้งความบันเทิงและประเทืองปัญญาบ้าง เพราะหลังจากที่เขียนบทความเรื่อง Open Source Education ลงคอลัมน์ “ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์” ไปเกือบปีแล้วก็ยังไม่ได้ฤกษ์เขียนขยายความในบล็อกของตัวเองเสียที

เว็บไซต์และเกมเพื่อการศึกษาสองสามอันที่อยากแนะนำ แบ่งตามหัวข้อวิชาดังต่อไปนี้:

1. แนวคิดตะวันตกเกี่ยวกับ “ความยุติธรรม”

Justice by Prof. Michael Sandel

วิชาชื่อสั้นๆ ว่า “Justice” ที่สอนโดยอาจารย์ Michael Sandel คือคอร์สที่ผู้เขียนประทับใจที่สุดในชีวิตการเป็นนักเรียน (ตั้งแต่อนุบาลจนจบปริญญาโท) เพราะไม่เคยเห็นอาจารย์คนไหนสอนเก่ง ทำเรื่อง “น่าเบื่อ” ให้น่าสนใจ และจับประเด็นได้แหลมคมเท่ากับอาจารย์ Sandel ตอนนี้ฮาร์วาร์ดเปิดให้ทุกคนเข้าไปดูเลคเชอร์ของวิชานี้ทุกชั่วโมง และติดตามอ่านบล็อกของอาจารย์ได้ฟรีแล้วจาก เว็บวิชา Justice เนื่องจากเว็บนี้อาจจะดูงงๆ เล็กน้อยสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นศิษย์เก่าและไม่เคยเข้าเว็บฮาร์วาร์ด ผู้เขียนจึงขออธิบายวิธีใช้ด้วย “How to” ง่ายๆ ดังต่อไปนี้:

  1. ขั้นแรก ท่านต้องไปสมัครขอ XID Login ประจำตัวก่อน คลิ้กบนรูปกุญแจข้างคำว่า “Existing or New XID Users Enter Here”
  2. คลิ้กบนรูปกุญแจข้างคำว่า “Register for a New XID Account” เสร็จแล้วก็กรอกรายละเอียดส่วนตัวลงไปในแบบฟอร์ม แล้วคลิ้กที่ปุ่ม “Register”
  3. เข้าอีเมล์ส่วนตัวที่ใช้ register รอรับเมล์จากระบบ แล้วคลิ้กที่ลิ้งก์ในนั้นเพื่อ confirm ล็อกอินใหม่ที่สร้างขึ้น และเปลี่ยนพาสเวิร์ด
  4. กลับไปที่เว็บวิชา Justice คลิ้กลิ้งก์ “Justice” Online บนเมนูทางขวามือ
  5. คลิ้กที่ลิ้งก์ Click here to access the course site
  6. ท่านจะมาที่หน้า Harvard PIN System ให้ติ๊กช่อง “XID Login” แล้วใส่ล็อกอินกับพาสเวิร์ดใหม่เข้าไป
  7. เท่านี้ท่านก็จะสามารถดูสุดยอดเลคเชอร์จากอาจารย์ Sandel ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนแพงๆ ให้กับฮาร์วาร์ด หรือรีบไปจองที่นั่งดีๆ ใน Sanders Theatre* ก่อนที่จะแออัดไปด้วยนักเรียนจนคนมาสายแ่ค่ห้านาทียังต้องนั่งบนทางเดิน (เคยมาแล้ว) 😀 (เลคเชอร์ออนไลน์สปีดค่อนข้างช้ามาก จึงขอแนะนำให้ดาวน์์โหลดไฟล์วีดีโอเลคเชอร์ (MP4 ไฟล์ละประมาณ 300MB หรือจะดาวน์โหลดเป็น MP3 ก็ได้ถ้าอยากฟังแต่เสียง) ที่ “Access Podcasts” บนเว็บของคอร์สมาดูเองที่คอม สบายกว่า)

*(Sanders Theatre คือ “ห้องเลคเชอร์” ขนาดใหญ่ที่สุดในโรงเรียนที่จุนักเรียนได้เป็นพันคน ใช้สำหรับวิชายอดนิยมมากๆ อย่าง Justice เท่านั้น)

นั่งดูเลคเชอร์ของอาจารย์ Sandel (ดูแก่ลงเยอะกว่าสิบปีก่อนตอนที่เคยเรียนด้วย แต่พลังงานแกไม่ลดลงเลย) ก็ทำให้รำลึกความหลังได้เยอะเหมือนกัน เสียดายที่คอร์สอื่นๆ ที่ชอบเรียนยังไม่ได้เป็น “คอร์สเปิดเสรี” เหมือน Justice มีแต่เนื้อหานิดๆ หน่อยๆ ในเว็บให้ดูพอเป็นพิธีเท่านั้น หวังว่าฮาร์วาร์ดจะค่อยๆ ทยอยแปลงคอร์สเจ๋งๆ (เช่นคอร์ส Concept of Hero in Greek Civilization ของอาจารย์ Richard Nagy) ให้เป็นคอร์สเปิดเสรีไปเรื่อยๆ

2. ฟิสิกส์ เคมี วิทยาศาสตร์ทั่วไป

Launchball

เว็บเจ๋งๆ อันที่สองที่อยากแนะนำเป็น “เกมออนไลน์” ชื่อ Launchball เป็นเกมที่แปลงมาจากเกมยอดนิยมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของอังกฤษ ให้ทุกคนเล่นได้ในเว็บ ถ้าใครเคยเล่นเกม The Incredible Machine ตอนเด็กๆ คงเริ่มเล่นได้ไม่ยาก แต่เกมนี้ก็ออกแบบเก่งมากจนคนทุกเพศทุกวัยน่าจะเรียนรู้วิธีเล่นได้เร็ว Launchball เป็นเกมที่สอนหลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานได้ดีมาก แถมทุกครั้งที่จบ Level ก็จะมีเกร็ดความรู้สนุกๆ แถมให้อีกด้วยอย่างนี้:

Launchball Level Complete

ใครเล่น Level ทั้งหมดในนั้นจบแล้วยังไม่จุใจ ก็สามารถสร้าง Level ท้าทายเพื่อนๆ ต่อได้อีก

3. การเขียนโปรแกรม วงจรอิเล็กทรอนิคส์

Lists and Lists

เกมที่เหลือที่อยากแนะนำอาจดู “ไม่น่าเล่น” เพราะไม่มีกราฟฟิกสวยๆ แต่ผู้เขียนคิดว่า “เนื้อหา” แน่นจนกินขาด และถ้าใครลองให้เวลากับมัน 1-2 ชั่วโมงจนคุ้นเคยกับกราฟฟิกโบราณแล้วก็น่าจะ “สนุก” กับเกมได้ไม่ยาก เกมแรกเป็นเกมสอนหลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ชื่อ “Lists and Lists” โดย Andrew Plotkin (“Zarf”) เป็นเกมแบบ text adventure (พิมพ์คำสั่งบอกคอมพิวเตอร์ว่าอยากทำอะไร เช่น READ BOOK) เล่นออนไลน์ได้ที่เว็บของ Zarf หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ไปเล่นในคอม แต่แบบนี้ต้อง run ด้วย interpreter (ขอแนะนำ Gargoyle)

DroidQuest / The Robot's Odyssey

อีกเกมเป็นหนึ่งใน “เกมในดวงใจตลอดกาล” ของผู้เขียน ชื่อ The Robot’s Odyssey เป็นเกมเครื่อง Apple II ที่ไม่มีใครใช้เป็นสิบๆ ปีแล้ว เป็นเกมสอนหลักโลจิก การต่อวงจรไฟฟ้า โปรแกรมหุ่นยนต์ ฯลฯ อย่างง่าย ออกแบบมาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบโดยเฉพาะ แต่ผู้ใหญ่ก็เล่นสนุก ตอนนี้มีคนใจดีเขียนขึ้นมาใหม่เป็นเวอร์ชั่น Java ให้ดาวน์โหลดไปเล่นในคอมสมัยใหม่ ภายใต้ชื่อ “DroidQuest” (ใครอยากเล่นเวอร์ชั่นเก่าแต่ยังเก๋าก็ดาวน์โหลดได้จาก Home of the Underdogs)