จาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2550
ปาฐกถาเรื่อง “การปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน” โดย ศ.จรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในงานสัมมนา การจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภค ที่โรงแรมเอเชีย เมื่อ 8 ก.พ.50
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จุดแข็งของการคุ้มครองผู้บริโภคคือจุดเชื่อมโยงว่า ผู้บริโภคคือใคร?
“ผู้บริโภคคือประชาชนทั้งประเทศของเรา”
ประเด็นต่างๆ จะง่ายหมด พอเราเข้าใจว่า ผู้บริโภคไม่ใช่คนเล็กคนน้อยหรือคนด้อยโอกาสที่จะมารอคอยการคุ้มครองจากรัฐ ผู้บริโภคคือประชาชนคนไทยทั้ง 62 ล้านคน
เราจะสามารถเชื่อมโยงผู้บริโภคคือ เจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นเจ้าของประเทศนี้ แล้วทำไมจึงถูกทอดทิ้ง สิทธิประโยชน์ดูเหมือนจะไม่ได้รับการเหลียวแล ผู้ที่มีสิทธิและมีเสียงใหญ่ในสังคมยังไม่เคารพประชาชน ยังไม่ยอมรับนับถือสิทธิของประชาชนอย่างจริงจัง ไม่ยอมรับนับถือสิทธิและอำนาจของประชาชน
ถ้าให้เปรียบเทียบระหว่างระบอบการปกครองหลายๆ แบบ ระบอบประชาธิปไตยจะสอดคล้องกับหลักความคิดในเรื่องการปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด
เพราะเมื่อสาวลงไปจะตรงกับฐานเดียวกับสิทธิของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เราอาจจะรู้สึกว่า มีคนทำงานทางการเมือง ที่มาจากภาคส่วน หรือมาจากฝ่ายที่เป็นเจ้าของทุนหรือเจ้าของผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว เข้ามาคอยสกัดกั้นขัดขวาง แต่ในที่สุดจะพ่ายแพ้ต่อเสียงเรียกร้องของผู้บริโภค ซึ่งคือประชาชนส่วนใหญ่
ในทางตรงกันข้าม ระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมากเท่าใด สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคจะถูกละเลยมากเท่านั้น แรกๆ อาจจะดูดี ลึกๆ แล้วไม่มีผลอย่างในระบอบประชาธิปไตย ปัญหาของระบอบการปกครองก็ดี ปัญหาของผู้บริโภคก็ดี ติดอยู่เพียงที่ว่า
“ประชาชนยังรวมกันไม่ติด ยังไม่ตระหนักรู้ถึงสิทธิประโยชน์ของตนเอง”
และการที่จะขับเคลื่อนกลไกองค์กรต่างๆ เข้ามาทำงานให้ผู้บริโภคอย่างจริงจัง น่าจะเป็นเงื่อนไขใหญ่ของการก้าวไปข้างหน้าของงานคุ้มครองผู้บริโภค
จาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2550
ปาฐกถาเรื่อง “การปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน” โดย ศ.จรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในงานสัมมนา การจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภค ที่โรงแรมเอเชีย เมื่อ 8 ก.พ.50
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จุดแข็งของการคุ้มครองผู้บริโภคคือจุดเชื่อมโยงว่า ผู้บริโภคคือใคร?
“ผู้บริโภคคือประชาชนทั้งประเทศของเรา”
ประเด็นต่างๆ จะง่ายหมด พอเราเข้าใจว่า ผู้บริโภคไม่ใช่คนเล็กคนน้อยหรือคนด้อยโอกาสที่จะมารอคอยการคุ้มครองจากรัฐ ผู้บริโภคคือประชาชนคนไทยทั้ง 62 ล้านคน
เราจะสามารถเชื่อมโยงผู้บริโภคคือ เจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นเจ้าของประเทศนี้ แล้วทำไมจึงถูกทอดทิ้ง สิทธิประโยชน์ดูเหมือนจะไม่ได้รับการเหลียวแล ผู้ที่มีสิทธิและมีเสียงใหญ่ในสังคมยังไม่เคารพประชาชน ยังไม่ยอมรับนับถือสิทธิของประชาชนอย่างจริงจัง ไม่ยอมรับนับถือสิทธิและอำนาจของประชาชน
ถ้าให้เปรียบเทียบระหว่างระบอบการปกครองหลายๆ แบบ ระบอบประชาธิปไตยจะสอดคล้องกับหลักความคิดในเรื่องการปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด
เพราะเมื่อสาวลงไปจะตรงกับฐานเดียวกับสิทธิของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เราอาจจะรู้สึกว่า มีคนทำงานทางการเมือง ที่มาจากภาคส่วน หรือมาจากฝ่ายที่เป็นเจ้าของทุนหรือเจ้าของผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว เข้ามาคอยสกัดกั้นขัดขวาง แต่ในที่สุดจะพ่ายแพ้ต่อเสียงเรียกร้องของผู้บริโภค ซึ่งคือประชาชนส่วนใหญ่
ในทางตรงกันข้าม ระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมากเท่าใด สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคจะถูกละเลยมากเท่านั้น แรกๆ อาจจะดูดี ลึกๆ แล้วไม่มีผลอย่างในระบอบประชาธิปไตย ปัญหาของระบอบการปกครองก็ดี ปัญหาของผู้บริโภคก็ดี ติดอยู่เพียงที่ว่า
“ประชาชนยังรวมกันไม่ติด ยังไม่ตระหนักรู้ถึงสิทธิประโยชน์ของตนเอง”
และการที่จะขับเคลื่อนกลไกองค์กรต่างๆ เข้ามาทำงานให้ผู้บริโภคอย่างจริงจัง น่าจะเป็นเงื่อนไขใหญ่ของการก้าวไปข้างหน้าของงานคุ้มครองผู้บริโภค
ความสำคัญของกฎหมาย หรือระบบราชการ ไม่ใช่เงื่อนไขใหญ่ เงื่อนไขสำคัญอยู่ที่เราต้องสร้างกลไกและองค์กรรวมทั้งคนทำงานด้านสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคให้เป็นล่ำเป็นสัน เป็นกระบวนการที่แน่นหนากว่าที่เป็นอยู่
ในปัจจุบันผู้บริโภคทั้งหมดยังเข้าใจสิทธิประโยชน์ของตนเองน้อย และยังมองข้ามงานที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนในกลุ่มเดียวกัน มีการจัดตั้งองค์กรที่ดูแลงานด้านนี้น้อยมาก ทำให้สถานะของผู้บริโภคในบ้านเราอยู่ในสภาพที่ต่ำต้อยมาก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้นำหลักการคุ้มครองผู้บริโภคไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก เหตุที่ทำได้อย่างนั้นเพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เกิดในบรรยากาศของประชาธิปไตย ที่เราต้องการยืนยันหรือสร้างระบอบการปกครองที่มีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธ ิปไตยในแผ่นดิน
เราต้องการสร้างระบอบการปกครองที่เป็นระบบรัฐธรรมนูญที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นคนเดียวกันกับผู้บริโภคนั่นเอง ทั้งๆ ที่ไม่มีบรรยากาศของการคุ้มครองผู้บริโภค แต่สามารถมีบทบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคได้
เพียงแต่ว่าหลังจากมีรัฐธรรมนูญบัญญัติเช่นนั้นออกมาแล้ว ไม่มีการอนุวัติการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่วางหลักการไว้
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเนื้อหาแล้ว ประชาชนคือผู้บริโภคเข้ามาทำหน้าที่เป็นกลไกน้อยมาก และในทางตรงกันข้าม ประชาชนในภาคของกลุ่มทุน นักธุรกิจ และผู้ที่มีผลประโยชน์เชื่อมโยงกับกลุ่มทุนและภาคธุรกิจเข้าไปเกาะกุมอำนาจในตำแหน่งหน้าที่บริหารจัดการประเทศ โดยผ่านระบบพรรคการเมือง ที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มทุนเป็นหลัก
ด้วยเหตุนี้ การแปรรัฐธรรมนูญที่ว่า ต้องมีองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค จึงถูกบิดเบือนกลายเป็นว่า อย่าไปสุ่มเสี่ยงเพราะประเทศจะเดือดร้อน กางลงทุนจะเสียหาย ภาคธุรกิจจะล้ม และภาคอุตสาหกรรมจะแข่งขันสู้กับประเทศคู่ค้าไม่ได้
ดังนั้น 9 ปีเต็ม ที่หลักการใหม่ที่ประชาชนได้มาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 แทบจะไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง
ความคิดที่จะให้แปรรัฐธรรมนูญออกมา โดยจัดให้มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค มาอยู่ในสังกัดของสำนักงานหรือหน่วยงานภาครัฐ คือความคิดที่ห่างไกลหรือแตกแยกไปจากหลักการที่ถือว่า ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางหรือเป็นผู้ที่ทรงพลังสูงสุดในตลาดประเทศนี้
ตามหลักที่เรียกว่า Supremacy of Consumer คิดว่าในกรอบของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ บทบัญญัติในเรื่องการดูแลคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เพื่อรองรับสถานะของผู้บริโภคจะต้องมีอยู่ และจะต้องมีความชัดเจนยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
แต่ว่ากรอบความคิดนี้จะสำเร็จได้ ต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชน ซึ่งก็คือผู้บริโภคนั่นเอง หากไม่มีเสียงเรียกร้องหรือยืนยันจากประชาชน บทบัญญัติส่วนนี้อาจหายไปได้ ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเอาเรื่องผู้บริโภคมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยระบอบการปกครองของประเทศ
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเริ่มต้นยืนยันว่า ผู้บริโภคคือประชาชน ระบอบการปกครองมีขึ้น เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน เพราะฉะนั้นการวางบทบัญญัติคุ้มครองหรือยืนหยัดรับรองสิทธิของผู้บริโภคไว้ไม่ขัดแย้งกับสภาพของรัฐธรรมนูญ
จากหลักการนี้ลองวิเคราะห์ดูว่า ทำไมกฎหมายและวิธีปฏิบัติรวมทั้งนโยบายของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลผู้บริโภคถึงไม่ก้าวไปในขั้นตอนที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้บริโภค
ถ้าเราแบ่งกลไกคนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เป็น 3 ฝ่าย เราให้คนที่กุมอำนาจรัฐอยู่ตรงกลาง เป็นศูนย์กลางของภาพใหญ่ คุมอำนาจทั้งระบบราชการประจำและการเมือง
ผู้บริโภคเป็นกลุ่มที่สอง อยู่ข้างใต้ของคนกุมอำนาจรัฐ ระบบราชการครอบงำปกครองผู้บริโภค ภาคธุรกิจ/ ภาคอุตสาหกรรม/ กลุ่มทุน ถ้าไม่อยู่เหนือระบบราชการหรือผู้ควบคุมอำนาจรัฐ ก็อยู่เบื้องหลัง หรืออย่างน้อยอยู่ในระดับที่เสมอกัน
คนที่กุมอำนาจรัฐไม่กล้าทำร้ายกลุ่มทุน/ กลุ่มอุตสาหกรรม/กลุ่มธุรกิจการค้า เพราะถ้าทำร้าย หมายความว่าประเทศอาจจะยากจนลง ผลงานของผู้กุมอำนาจรัฐจะต่ำต้อยเสียหาย
ถ้ากลุ่มทุน/ กลุ่มอุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจกลุ่มหนึ่งได้รับการส่งเสริมเจริญรุ่งเรือง หมายความว่า รายได้รวมของประเทศจะดีขึ้น ผู้ที่ทำงานการเมืองและข้าราชการประจำคอยได้รับส่วนแบ่งอยู่ในลำดับที่ 2 ส่วนผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับอานิสงส์ในขั้นสุดท้าย
เวลาที่เกิดการขัดแย้งกันในภาพแบบนี้ ระหว่างสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้บริโภค กับผู้ประกอบธุรกิจการค้าอุตสาหกรรม ผู้ควบคุมอำนาจรัฐจะเลือกใคร กฎหมายควรจะวางแบบไหน ในการแบ่งพื้นที่สิทธิประโยชน์ระหว่างกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการค้า กับผู้บริโภคส่วนเล็กๆ ซึ่งไม่มีการรวมกันและไม่ได้แสดงตัวออกมาในภาพของพลังมวลชน
กลายเป็นเรื่องของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ซื้อบริการตัวเล็กๆ ที่จู้จี้ เรียกร้อง วุ่นวาย และปั่นป่วน
คนที่ดูแลอำนาจรัฐต้องดูแลสังคมให้เรียบร้อย โอกาสที่สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคจะได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างสมเหตุสมผลมีน้อยมาก
เราทำกฎหมายใหม่ใน 2 ปีที่ผ่านมา ฉบับหนึ่ง คือร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Product Liability Law)
กฎหมายนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วมีมาตั้งแต่ 50-60 ปีที่แล้ว ตกผลึกเป็นกฎหมายรูปแบบ หรือแม่แบบของยุโรปและสหประชาชาติ
ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีกฎหมายในลักษณะนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการค้าที่ไม่รับผิดชอบ
ถ้าสินค้าได้มาตรฐาน ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ อาจจะต้องจ่ายแพงขึ้นแต่ได้รับความพอใจ ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้ามาตรฐานเหล่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจการค้าเองจะเติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันกับสินค้าคุณภาพในตลาดโลกได้ น่าจะเป็นประโยชน์ด้วยกันแก่ทุกฝ่าย ฝ่ายราชการสามารถได้รับประโยน์จากความพอใจของกลุ่มคนทั้งสองฝ่าย
แต่ถ้าตรงกันข้าม สินค้าที่จำหน่ายในตลาดในประเทศไทยเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นสินค้าที่อันตราย มีผู้คนล้มตายหรือบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยหรือทรัพย์สินเสียหายเพราะสินค้าด้อยคุณภาพ ผู้บริโภคจะทำอย่างไร ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศจะตกต่ำ ส่งสินค้าออกนอกประเทศเขาก็ตีกลับ
ดังนั้น ต้องมีกฎหมายแบบนี้ทั้งสองด้าน ด้านป้องกันและส่งเสริมทำเป็นกฎหมาย ทำนองมหาชน ที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐคอยตรวจตั้งแต่ต้นก่อนที่จะออกจากโรงงาน ก่อนที่จะผ่านด่านศุลกากรต้องได้มาตรฐาน ถ้าไม่ได้มาตรฐานไม่ให้ส่งออกไปสู่ตลาด แล้วไปทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้บริโภค
หากประเทศไทยทำได้จริง เหมือนที่หลายประเทศทำ เราจะสามารถดูแลปกป้องผู้บริโภคของเราได้
แต่กฎหมายไทยตรงนี้อ่อนมาก มีอยู่บ้างแต่ไม่มีมาตรฐานจริง แล้วบังคับใช้ยิ่งหย่อนยาน ทั้งนี้ เพราะสภาพโครงสร้างทางการเมืองการปกครองของเรา ผู้บริโภคกระจัดกระจายจนไร้กำลัง อยู่ตามพื้นดินผู้ควบคุมอำนาจรัฐและผู้บริหารประเทศรวมเป็นฝ่ายบัญญัติและฝ่ายตุลการอยู่ในฐานะเป็นผู้ที่ไม่ถูกกระทบกระเทือนเหมือนผู้บริโภคทั่วไป แล้วเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจภาคอุตสาหกรรม
โอกาสที่จะทำให้เกิดกฎหมายป้องกันสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือสินค้าที่อันตรายมาทำร้ายผู้บริโภค ทั้งในกฎหมายสารบัญญัติและวิธีบังคับใช้กฎหมายเป็นไปได้ยาก
กฎหมายตัวที่สองที่อยากให้เกิดคือ กฎหมายด้านการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับหลังจากที่มีการปล่อยสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาในตลาด ผู้บริโภคซื้อมาใช้แล้วประสบเคราะห์กรรมแก่ชีวิต/ อนามัย/ ร่างกายและทรัพย์สิน
เวลานี้ประเทศไทยไม่มีกฎหมายแบบนี้ คนที่เดือดร้อนเสียหายต้องไปฟ้องเรียกร้องตามหลักกฎหมายแพ่ง หลักกฎหมายแพ่งมีข้อจำกัด เพราะไม่ได้ออกแบบมาสำหรับสังคมอุตสาหกรรม ตอนที่เขียนกฎหมายแพ่งยังไม่มีแนวคิดสิทธิผู้บริโภค ไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าผู้บริโภคคือใคร เพราะฉะนั้นพอไปฟ้องตามกฎหมายแพ่งจะฟ้องได้เฉพาะคู่สัญญา
สมมติเราซื้อบ้านซื้อตึกมาจากผู้ประกอบธุรกิจ ที่ไม่รับผิดชอบ แล้วตึกถล่มหรือบ้านทรุด มีผู้บาดเจ็บล้มตาย จะฟ้องได้เฉพาะคู่สัญญาตามหลักกฎหมายสัญญา
แต่คู่สัญญาอาจจะโต้แย้งได้ว่า ไม่มีเงินไม่มีทรัพย์สินเงินทองที่จะชดใช้ค่าความเสียหาย เราจะได้แต่ตัวเลข แต่ผู้ที่ควรจะต้องรับภาระรับผิดชอบที่เหนือขึ้นไปจากนั้น เช่น ผู้ทำกำไรจากระบวนการผลิตและจำหน่ายสินค้าดังกล่าว เราจะเรียกร้องอะไรไม่ได้เพราะไม่ใช่คู่สัญญา
ถ้าฟ้องละเมิด จะมีปัญหาเรื่องกฎหมายละเมิด ที่ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับลักษณะของสังคมปัจจุบัน คนที่บาดเจ็บเพราะรถยนต์บกพร่อง หรือบ้านตึกแถวถล่ม ไปฟ้องบริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทที่สร้างบ้านไม่ได้ ผู้เสียหายต้องฟ้องเจ้าของรถหรือเจ้าของบ้านซึ่งเป็นผู้บริโภค
เพราะในขณะที่เกิดเหตุสร้างความเดือดร้อน เป็นเจ้าของบ้านหรือเจ้าของตึกหรือเป็นผู้ขับรถยนต์นั้น ช่องทางที่ผู้เสียหายจะไปเรียกร้องเอาจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบธุรกิจมีน้อย หรือจำกัดมาก บางสถานการณ์บังคับให้ผู้บริโภค คือผู้ผลิตสินค้าต้องมาเป็นผู้รับผิดชอบแทน
ส่วนใหญ่ในต่างประเทศแก้ไขเรื่องนี้นานแล้ว ในยุโรปถึงขนาดออกเป็นกฎหมายแม่แบบของสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว
กฎหมายแม่แบบที่บังคับว่า ทุกประเทศสมาชิกต้องมีกฎหมายภายในเรื่องนี้ให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ประเทศไทยยังไม่มี และกว่าจะผลักดันเสนอได้ ตั้งแต่ยกร่างกฎหมายนี้ เมื่อปี พ.ศ.2535 ผ่านไป 15 ปีเต็ม ยังรอจะเข้าคณะรัฐมนตรีได้หรือไม่ เข้าไปครั้งหนึ่งถูกถอนกลับด้วยเหตุผลมากมายอย่างที่นึกไม่ถึง สะดุดและถูกปัดออกจากสายพานของกระบวนการนิติบัญญัติ จนไม่แน่ใจว่ากฎหมายฉบับนี้จะผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เพราะมองจากโครงสร้างของการปกครอง เราอาจจะนึกว่าสภานี้ง่าย สภาเดียวและผู้รู้เยอะ แต่จริงแล้วไม่ง่ายหรือถ้าเกิดออกไปได้ จะผ่านอย่างแคบที่สุดน้อยที่สุดเท่าที่จะไม่ไปกระทบกระเทือนใจของผู้ประกอบธุรกิจการค้าอุตสาหกรรม อันนี้ค่อนข้างจะเป็นการมองโลกในด้านร้าย
ถ้าสมมติฐานที่ผมวางไว้ไม่ผิด “ความหวังไม่มากนัก” แล้วจะทำอย่างไร ขอให้เตรียมเก็บข้อมูลไว้ เมื่อประเทศเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจรัฐกลับมาเป็นของประชาชนอีกครั้งหนึ่ง
เราต้องบอกผู้ที่เข้ามาสวมอำนาจรัฐว่า
“ประชาชนคือผู้บริโภค ผู้บริโภคคือประชาชน”
ประชาชนต้องการความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ เขาจะฟังเรา แล้วอะไรต่างๆ จะค่อยๆ ดีขึ้น ทั้งหมดจะสำเร็จต่อเมื่อเราสามารถรวมกลุ่ม ขอให้กำลังใจผู้ที่ทำงานด้านนี้ซึ่งในประเทศเรามีไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศที่มีระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่ก้าวหน้า
นอกจากนี้ ช่วยกันผลักดันอีก 1 เรื่องคือ กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ….. ที่ถูกมองข้ามมานาน
ทุกวันนี้ถ้าเกิดโชคร้ายมีคดีระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าอุตส าหกรรม หรือแม้แต่กับภาครัฐต้องใช้วิธีพิจารณาความแพ่งหรือปกครองเหมือนคดีทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ในสถานะคดีระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าอุตสาหกรรม เหมือนกับคดียักษ์ใหญ่ชกกับคนแคระ หรือนักมวยรุ่นไฟน์เวตชกกับรุ่นเฮฟวี่เวต มันสู้กันไม่ได้เลย
เพราะกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถูกร่างขึ้นจากสมมติฐานที่ว่า “คู่ความทุกฝ่ายเท่ากัน” เพราะฉะนั้นกฎเกณฑ์ต่างๆ จะต้องให้เสมอกันเพื่อความเป็นธรรมตามสมมติฐาน ถ้าจะเก็บค่าธรรมเนียมศาลต้องเก็บเสมอกัน ผู้บริโภคถ้าไปฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล 200,000 บาท ผู้บริโภคจะท้อ
แต่ถ้าบริษัทยักษ์ใหญ่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล 200,000 บาท นี่คือเศษเงิน ไม่เป็นธรรม โดยสภาพของเรื่องแม้ว่ากฎเกณฑ์นี้จะดูเหมือนเป็นธรรม ความเสมอภาคของรัฐไม่ใช่ความยุติธรรมถ้าใช้กับสิ่งที่แตกต่างกันมากๆ
นอกจากนี้ กลไกต่างๆ ทุกขั้นตอนของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไปจนกระทั่งอุทธรณ์ฎีกาและบังคับคดี ยากเย็นแสนเข็ญมากสำหรับคนตัวเล็กๆ ที่มีทรัพย์สินเงินทองจำกัด
ขอยกตัวอย่าง บริษัทหรือโรงงานที่ไม่รับผิดชอบแห่งหนึ่ง นำสินค้าอันตรายหรือไม่ได้มาตรฐานชนิดหนึ่งออกขายไปทั่วประเทศ ไม่ต้องถึง 62 ล้านชิ้น เพียง 1 ล้านชิ้น
สินค้าชนิดนี้ มีสารพิษปนเปื้อนที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตของผู้บริโภค ผู้บริโภคได้รับความเสียหายเจ็บป่วยจากการบริโภค แต่ละคนอาจจะเสียค่ารักษาเพียง 2,000-3,000 บาท หากไม่ฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายจากบริษัทหรือโรงงานที่ผลิต ยอมกล้ำกลืนฝืนทนแล้วเลิกใช้สินค้านั้น
หากมีคนแบบนี้หนึ่งล้านคนถูกเอาเปรียบคนละนิด รวมแล้วสองพันล้านบาท กลไกจะต้องช่วยหาทางสร้างกระบวนการหรือช่องทางวิธีพิจารณา ที่นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ทางสารบัญญัติ ให้เป็นธรรมกับผู้บริโภคโดยรวม
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ให้ก้าวร้าวรุนแรงเกินไป การเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของเราต้องคำนึงถึงคู่กรณีด้วย
ประโยชน์ของประเทศชาติจำเป็นต้องพึ่งพาภาคธุรกิจการค้าอุตสาหกรรมเหมือนกัน ถ้าธุรกิจการค้าอุตสาหกรรมล่ม ความเสียหายสะเทือนถึงผู้บริโภคด้วยเหมือนกัน
ดังนั้น ทุกฝ่ายรวมทั้งภาครัฐจะต้องมีจุดหมายเดียวกัน หาจุดหมายและจุดยืนเดียวกันที่พอเหมาะและเป็นธรรมในความขัดแย้งของสิทธิประโยชน์ และร่วมกันผลักดันสู่จุดหมายนั้น
สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มองในด้านดี การบังคับให้ไปทำประชามติหรือให้ประชาชนตัดสินใจ และประชาชนคนนั้นคือผู้บริโภค
เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญนี้จะไม่กล้าลดหย่อนบทบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคให้น้อยกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 แน่
ส่วนที่จะเติมคือ กฎหมายจัดตั้งองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ปี มีกรอบเวลาที่แน่นอนชัดเจน และกำหนดแนวทางไว้ในบทเฉพาะกาลว่า องค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคต้องไม่ใช่องค์การที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐ เป็นองค์กรที่ดูแลความเป็นธรรมระหว่างกลุ่มคน 3 กลุ่มคือกลุ่มภาคธุรกิจ กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มภาครัฐ
การจัดองค์กรจะจัดอย่างไร ใครจะเข้าไปรับผิดชอบ ควรมีที่มาที่ไปอย่างไร ผมคิดว่าผู้ที่ทำงานด้านนี้มีอยู่ในใจ เรียนท่านเลยว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ยังไม่มีเรื่องนี้อยู่ในใจเลย ยังว่างเปล่าชนิดที่ถ้าเขียนให้อย่างไรมีอะไรอยู่ก็กรุณาส่งมา จะผ่านช่องทางใดก็ได้ จะได้เอาไปหาทางปรับ
ผมว่าถ้าในความว่างเปล่าอย่างนั้น ส่งอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันอยู่แล้วและไม่สุดโต่งเกินไป มีโอกาสจะได้รับการอนุวัติให้เข้าไปอยู่ในรัฐธรรมนูญได้ไม่ยาก.