ผู้เขียนยังยุ่งหัวฟูอยู่ แต่อย่างน้อยก็ไม่ค่อยเครียดกับการเมืองแล้ว เพราะพยายามไม่ติดตามมันมาก ส่วนหนึ่งเพราะเชื่อว่าความขัดแย้งรอบนี้ร้าวลึกและรุนแรง(แบบมองไม่เห็น)ที่เลยเถิดไปเป็นสิ่งที่อาจเรียกหยาบๆ ได้ว่า “สงครามระหว่างชนชั้น” ไปแล้ว ไม่มีวัน “จบ” ได้จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ส่วนในระยะสั้น ขอความกรุณาทุกท่านอย่าโพสแหย่หรือถามความเห็นเกี่ยวกับการเมืองช่วงนี้ 😛
(ยังไม่ลืมคำถามสามข้อของคุณ “ผู้สังเกตการณ์” นะคะ แต่ขอยกยอดไปก่อน จะโพสตอบวันหลัง เริ่มเขียนคำตอบไปบ้างแล้วแต่เขียนไปเขียนมาก็ชักยาว ต้องลำดับความคิดให้ดีก่อน ;))
ตอนนี้เนื่องจากวิกฤตภาคการเงินในอเมริกากำลังร้อนระอุและน่าตื่นเต้น(ระคนเศร้า)สำหรับคนในวงการ จึงอยากแปะความเห็นส่วนตัวสั้นๆ เล็กน้อย โดยเฉพาะในเมื่อ Lehman Brothers วาณิชธนกิจอับดับสี่และหนึ่งในบริษัทที่เก่าแก่ที่สุดใน Wall Street ต้องพบกับจุดจบที่เลวร้ายที่สุด คือยื่นล้มละลาย หุ้นของบริษัทวันสุดท้ายโซเซลงมาปิดแถวๆ $3.70 ซึ่งเป็นราคาเดียวกับราคาปิดวันแรกหลังเปิดขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (ไอพีโอ) เมื่อ 15 ปีก่อน!
จริงๆ แล้วผู้เขียนก็รู้สึก “สมน้ำหน้า” Lehman Brothers ไม่น้อย เพราะเป็นบริษัทที่ค่อนข้างจะเป็นที่รู้กันในวงการว่าทำธุรกิจแบบ “เขี้ยวลากดิน” และ “ขี้เหนียว” มาก รวมทั้งในเมืองไทยด้วย Lehman มีพอร์ตที่ดินและอสังหาอื่นๆ นับหมื่นล้านบาทในไทย คงต้องถูกบังคับขายทอดตลาดเพราะบริษัทแม่ยื่นล้มละลายไปแล้ว แต่ Lehman มาซื้อที่ดินพวกนี้ส่วนใหญ่ในราคาต่ำเตี้ยติดดิน หลายแปลงซื้อตั้งแต่สมัยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 จนถึงปัจจุบันมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่รู้กี่สิบเท่า เที่ยวนี้ถ้าจะมาร้องแรกแหกกระเชอว่าถูกกดราคาขายก็ไม่น่าจะมีใครเห็นใจ น่าหมั่นไส้มากกว่า
คนกลุ่มเดียวที่อาจจะน่าสงสารอยู่บ้างคือพนักงาน Lehman ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ อยู่ดีๆ ก็ต้องหางานใหม่และอาจไม่ได้รับเงินเดือนงวดสุดท้ายด้วย แต่ความเดือดร้อนของวาณิชธนกรเงินเดือนสูงเหล่านี้เทียบกันไม่ได้เลยกับความทุกข์ยากของผู้มีรายได้น้อยในอเมริกาหลายล้านคนที่ถูกนักการเงิน “หลอกล่อ” ให้ผ่อนบ้านทั้งๆ ที่ไม่มีกำลังจะผ่อน (อ่านรายละเอียดปัญหา “moral hazard” ของเจ้าหนี้และเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมของสินเชื่อซับไพรมได้จากด้านล่าง) และตอนนี้ก็ต้องถูกยึดบ้านหรือปวดหัวกับหนี้สินที่พอกพูนขึ้น
ต้องชมเชยรัฐบาลอเมริกาโดยเฉพาะกระทรวงการคลังที่ตัดสินใจ “ไม่อุ้ม” Lehman Brothers เพราะปัญหา “moral hazard” ที่ทำให้เอกชนได้ประโยชน์ไปเต็มๆ เวลามีกำไร แต่รัฐ (คือประชาชนผู้เสียภาษี) ต้องรับภาระเวลาขาดทุน จะ “จบ” ได้อย่างแท้จริง (คือบังคับให้เอกชนรับความเสี่ยงน้อยลงหรือหาวิธีป้องกันความเสี่ยงที่ใช้การได้จริง เพราะตอนนี้รู้แล้วว่าต้องแบกผลขาดทุนถ้าเสี่ยงแล้วพลาด) ก็ต่อเมื่อรัฐบาลเลิกอุ้มบริษัทเอกชนเท่านั้น แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่แน่ เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่งที่ใหญ่กว่า Lehman มาก เช่น AIG ก็ทำท่าว่ารัฐจะต้องเข้าไปอุ้มเพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตลุกลามไปทั้งระบบ (เหมือนกับที่เข้าไปอุ้ม Freddie Mac และ Fannie Mae) ในกรณีที่จะอุ้มใคร รัฐจะต้องอธิบายให้คนพอใจว่า ประโยชน์ที่จะได้รับ (ในแง่ของการหลีกเลี่ยงวิกฤตลุกลาม) นั้น “คุ้ม” กันกับโทษของการทำให้ moral hazard เกิดขึ้นอีกจากการเข้าไปอุ้มหรือไม่ เพียงใด และนอกจากนี้ก็ใช่ว่ารัฐบาลอเมริกาจะ “รวย” พอที่จะอุ้มได้ทุกราย คงต้องเลือกเฉพาะบริษัทที่ประชาชนรายย่อยจำนวนมากเป็นผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มใหญ่ (ประกันอย่าง AIG/AIA และเจ้าหนี้สินเชื่อบ้านราคาถูกอย่าง Freddie Mac/Fannie Mae เข้าข่ายนี้) เท่านั้น บริษัทไหนที่ผู้มีส่วนได้เสียมีแต่นักลงทุนรวยๆ ก็น่าจะปล่อยให้ล้ม
ต้องรอดูกันต่อไป
สำหรับผู้เขียน ประเด็นที่น่าสนใจกว่าประเด็นที่ว่าใครจะ “ล้ม” เป็นรายต่อไป (ซึ่งมีอีกแน่นอน) คือการถกเถียงกันในระดับโครงสร้างว่า กรณีการล้มละลายของ Lehman Brothers ในครั้งนี้เป็นแค่ “กรณีเฉพาะ” (isolated case) ที่เกิดกับบริษัทไม่กี่แห่ง หรือเป็นเครื่องสะท้อน “ปัญหาในระบบ” ที่ใหญ่กว่าและต้องแก้ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างเชิงสถาบันขนานใหญ่ ผู้เขียนเชื่อกรณีหลัง และเชื่อว่าวิกฤตซับไพรมในครั้งนี้เป็น “เครื่องพิสูจน์” ชั้นดีว่าระบบการเงินแบบ “การเงินคาวบอย” ที่ไร้การกำกับดูแลในอเมริกามีปัญหาจริงๆ (ดูรายละเอียดด้านล่าง)
ผู้เขียนยังยุ่งหัวฟูอยู่ แต่อย่างน้อยก็ไม่ค่อยเครียดกับการเมืองแล้ว เพราะพยายามไม่ติดตามมันมาก ส่วนหนึ่งเพราะเชื่อว่าความขัดแย้งรอบนี้ร้าวลึกและรุนแรง(แบบมองไม่เห็น)ที่เลยเถิดไปเป็นสิ่งที่อาจเรียกหยาบๆ ได้ว่า “สงครามระหว่างชนชั้น” ไปแล้ว ไม่มีวัน “จบ” ได้จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ส่วนในระยะสั้น ขอความกรุณาทุกท่านอย่าโพสแหย่หรือถามความเห็นเกี่ยวกับการเมืองช่วงนี้ 😛
(ยังไม่ลืมคำถามสามข้อของคุณ “ผู้สังเกตการณ์” นะคะ แต่ขอยกยอดไปก่อน จะโพสตอบวันหลัง เริ่มเขียนคำตอบไปบ้างแล้วแต่เขียนไปเขียนมาก็ชักยาว ต้องลำดับความคิดให้ดีก่อน ;))
ตอนนี้เนื่องจากวิกฤตภาคการเงินในอเมริกากำลังร้อนระอุและน่าตื่นเต้น(ระคนเศร้า)สำหรับคนในวงการ จึงอยากแปะความเห็นส่วนตัวสั้นๆ เล็กน้อย โดยเฉพาะในเมื่อ Lehman Brothers วาณิชธนกิจอับดับสี่และหนึ่งในบริษัทที่เก่าแก่ที่สุดใน Wall Street ต้องพบกับจุดจบที่เลวร้ายที่สุด คือยื่นล้มละลาย หุ้นของบริษัทวันสุดท้ายโซเซลงมาปิดแถวๆ $3.70 ซึ่งเป็นราคาเดียวกับราคาปิดวันแรกหลังเปิดขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (ไอพีโอ) เมื่อ 15 ปีก่อน!
จริงๆ แล้วผู้เขียนก็รู้สึก “สมน้ำหน้า” Lehman Brothers ไม่น้อย เพราะเป็นบริษัทที่ค่อนข้างจะเป็นที่รู้กันในวงการว่าทำธุรกิจแบบ “เขี้ยวลากดิน” และ “ขี้เหนียว” มาก รวมทั้งในเมืองไทยด้วย Lehman มีพอร์ตที่ดินและอสังหาอื่นๆ นับหมื่นล้านบาทในไทย คงต้องถูกบังคับขายทอดตลาดเพราะบริษัทแม่ยื่นล้มละลายไปแล้ว แต่ Lehman มาซื้อที่ดินพวกนี้ส่วนใหญ่ในราคาต่ำเตี้ยติดดิน หลายแปลงซื้อตั้งแต่สมัยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 จนถึงปัจจุบันมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่รู้กี่สิบเท่า เที่ยวนี้ถ้าจะมาร้องแรกแหกกระเชอว่าถูกกดราคาขายก็ไม่น่าจะมีใครเห็นใจ น่าหมั่นไส้มากกว่า
คนกลุ่มเดียวที่อาจจะน่าสงสารอยู่บ้างคือพนักงาน Lehman ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ อยู่ดีๆ ก็ต้องหางานใหม่และอาจไม่ได้รับเงินเดือนงวดสุดท้ายด้วย แต่ความเดือดร้อนของวาณิชธนกรเงินเดือนสูงเหล่านี้เทียบกันไม่ได้เลยกับความทุกข์ยากของผู้มีรายได้น้อยในอเมริกาหลายล้านคนที่ถูกนักการเงิน “หลอกล่อ” ให้ผ่อนบ้านทั้งๆ ที่ไม่มีกำลังจะผ่อน (อ่านรายละเอียดปัญหา “moral hazard” ของเจ้าหนี้และเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมของสินเชื่อซับไพรมได้จากด้านล่าง) และตอนนี้ก็ต้องถูกยึดบ้านหรือปวดหัวกับหนี้สินที่พอกพูนขึ้น
ต้องชมเชยรัฐบาลอเมริกาโดยเฉพาะกระทรวงการคลังที่ตัดสินใจ “ไม่อุ้ม” Lehman Brothers เพราะปัญหา “moral hazard” ที่ทำให้เอกชนได้ประโยชน์ไปเต็มๆ เวลามีกำไร แต่รัฐ (คือประชาชนผู้เสียภาษี) ต้องรับภาระเวลาขาดทุน จะ “จบ” ได้อย่างแท้จริง (คือบังคับให้เอกชนรับความเสี่ยงน้อยลงหรือหาวิธีป้องกันความเสี่ยงที่ใช้การได้จริง เพราะตอนนี้รู้แล้วว่าต้องแบกผลขาดทุนถ้าเสี่ยงแล้วพลาด) ก็ต่อเมื่อรัฐบาลเลิกอุ้มบริษัทเอกชนเท่านั้น แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่แน่ เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่งที่ใหญ่กว่า Lehman มาก เช่น AIG ก็ทำท่าว่ารัฐจะต้องเข้าไปอุ้มเพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตลุกลามไปทั้งระบบ (เหมือนกับที่เข้าไปอุ้ม Freddie Mac และ Fannie Mae) ในกรณีที่จะอุ้มใคร รัฐจะต้องอธิบายให้คนพอใจว่า ประโยชน์ที่จะได้รับ (ในแง่ของการหลีกเลี่ยงวิกฤตลุกลาม) นั้น “คุ้ม” กันกับโทษของการทำให้ moral hazard เกิดขึ้นอีกจากการเข้าไปอุ้มหรือไม่ เพียงใด และนอกจากนี้ก็ใช่ว่ารัฐบาลอเมริกาจะ “รวย” พอที่จะอุ้มได้ทุกราย คงต้องเลือกเฉพาะบริษัทที่ประชาชนรายย่อยจำนวนมากเป็นผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มใหญ่ (ประกันอย่าง AIG/AIA และเจ้าหนี้สินเชื่อบ้านราคาถูกอย่าง Freddie Mac/Fannie Mae เข้าข่ายนี้) เท่านั้น บริษัทไหนที่ผู้มีส่วนได้เสียมีแต่นักลงทุนรวยๆ ก็น่าจะปล่อยให้ล้ม
ต้องรอดูกันต่อไป
สำหรับผู้เขียน ประเด็นที่น่าสนใจกว่าประเด็นที่ว่าใครจะ “ล้ม” เป็นรายต่อไป (ซึ่งมีอีกแน่นอน) คือการถกเถียงกันในระดับโครงสร้างว่า กรณีการล้มละลายของ Lehman Brothers ในครั้งนี้เป็นแค่ “กรณีเฉพาะ” (isolated case) ที่เกิดกับบริษัทไม่กี่แห่ง หรือเป็นเครื่องสะท้อน “ปัญหาในระบบ” ที่ใหญ่กว่าและต้องแก้ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างเชิงสถาบันขนานใหญ่ ผู้เขียนเชื่อกรณีหลัง และเชื่อว่าวิกฤตซับไพรมในครั้งนี้เป็น “เครื่องพิสูจน์” ชั้นดีว่าระบบการเงินแบบ “การเงินคาวบอย” ที่ไร้การกำกับดูแลในอเมริกามีปัญหาจริงๆ (ดูรายละเอียดด้านล่าง)
กล่าวโดยสรุป นักลงทุนและคนที่ทำงานในตลาดการเงินโดยมากมีแรงจูงใจเพียงสองประการเท่านั้น คือ “ความโลภ” และ “ความกลัว” ผู้เขียนคิดว่าตอนนี้โลกก็เห็นแล้วว่าทั้งความโลภที่เกินเลยและความกลัวที่เกินจริงนั้นกำลังส่งผลเสียอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในยุคที่การแข่งขันอย่างรุนแรงทำให้คนในภาคการเงิน “มักง่าย” และ “สายตาสั้น” มากขึ้นเรื่อยๆ (ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโทษต่อสังคมส่วนรวมแต่ “มีเหตุมีผล” สำหรับคนทำแต่ละคน เพราะกลไกในระบบสร้างแรงจูงใจให้ทำตัวอย่างนั้น) ก็สมควรแล้วที่รัฐต้องเข้ามากำกับดูแลภาคการเงินอย่างเข้มงวดกว่าเดิม หลังจากที่ปล่อยเสรีฟรีแฮนด์มาแล้วนานนับทศวรรษ
ผู้เขียนเชื่อว่าหลังจากวิกฤตนี้ซาลง วาณิชธนกิจและ hedge fund ในอเมริกาจะถูกกำกับดูแลอย่างเข้มงวดขึ้นกว่าเดิม และ “การเงินคาวบอย” แบบอเมริกาก็จะเข้าสู่จุดจบ อย่างที่มันควรจะจบมานานแล้วก่อนที่สังคมจะต้องเสียหาย และที่สำคัญที่สุดคือ ใครที่ชอบเทศนาบูชาความดีงามของ “ตลาดเสรีสุดขั้ว” (market fundamentalism) ที่ไร้การกำกับดูแลก็น่าจะได้เวลายอมรับความจริงและเปลี่ยนความคิดเสียที เพราะนีคือตัวอย่างที่ดีมากของกรณีที่ “พฤติกรรมที่มีเหตุมีผล” ของผู้เล่นแต่ละคนนำไปสู่ภาวะไร้เหตุผลส่วนรวมที่สังคมเสียหาย
……
ประเด็นรองประเด็นหนึ่งในเรื่องนี้ที่ผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจคือ ฝ่ายหนึ่งที่ชัดเจนว่า “สายตาสั้น” มากๆ คือบรรดานักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ที่ปรึกษาทางการเงิน และสื่อมวลชนส่วนใหญ่ (เกือบจะ 100% ในประเทศไทย) เพราะควรจะคาดเดาวิกฤตนี้ได้ล่วงหน้าและเตือนนักลงทุนเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วหรือต้นปีนี้ เพราะวิกฤตการเงินไม่ใช่ภัยพิบัติทางธรรมชาติเหมือนกับแผ่นดินไหวที่อยู่ดีๆ ก็เกิดได้โดยมีสัญญาณล่วงหน้าน้อยมาก แต่วิกฤตการเงินเป็น “จุดปะทุ” ของปัญหาที่สะสมหมักหมมมานานหลายเดือนแล้ว ดูแค่ทิศทางของราคาบ้านในอเมริกา เทียบกับระดับหลักทรัพย์อิงซับไพรมของบริษัทการเงินแต่ละแห่งก็เดาได้ไม่ยากว่าวิกฤตขนาดนี้ต้องเกิดแน่ๆ ไม่ช้าก็เร็ว ยกตัวอย่างเช่น ก่อนที่ Lehman จะล้มละลาย ราคาหุ้นก็ดิ่งเหวต่อเนื่องมาเป็นปีแล้ว และข้อเท็จจริงที่ว่า AIG ลงทุนในหลักทรัพย์อิงซับไพรมเป็นสัดส่วนกว่า 25% ของทุนทั้งบริษัท ก็เป็นข้อเท็จจริงที่เปิดเผยมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสสามเมื่อปีที่แล้ว (ผู้เขียนเองอ่านเจอในวารสาร Bloomberg เดือนตุลาปีที่แล้ว) จริงๆ ในรอบปีที่ผ่านมา มีธนาคารขนาดเล็ก, mortgage broker และ hedge fund ขาดทุนปิดตัวเองไปแล้วหลายสิบแห่ง แต่สื่อมวลชนไทยและนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กลับไม่รายงาน ยังไม่นับว่านักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่มองการณ์ไกลอย่าง Paul Krugman ออกมาเตือนว่าฟองสบู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะระเบิดมาหลายปีดีดักแล้ว
ดังนั้น การที่บรรดานักวิเคราะห์หลักทรัพย์ส่วนใหญ่ไม่เคยเตือนนักลงทุนไทยว่าปัญหาซับไพรมกำลังดำเนินไป และมีแนวโน้มสูงว่าจะปะทุเป็นวิกฤตแบบที่เกิดกับ Lehman Brothers (แถมที่ตลกคือหลายคนออกมาบอกว่ามัน “จบ” แล้วด้วยซ้ำไป เมื่อหลายเดือนก่อน) ก็มีคำอธิบายสองข้อเท่านั้นที่เป็นไปได้ คือ 1) นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ไม่รู้เรื่องจริงๆ หลับหูหลับตาให้คำแนะนำตามข่าวที่อ่านในสื่อฝรั่ง ซึ่งแน่นอนว่าผิวเผินและจะปรากฏเป็น “ข่าว” ก็ต่อเมื่อปัญหาระเบิดเป็นวิกฤตแล้วเท่านั้น, หรือ 2) นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รู้ดีว่าปัญหาซับไพรมจะก่อให้เกิดวิกฤตแต่ไม่สนใจ เพราะ investment horizon ในการแนะนำหุ้นให้กับลูกค้าคือ “ระยะสั้นมาก” เพียงรายวันหรือรายสัปดาห์เท่านั้น
(เรื่อง investment horizon ที่บทวิเคราะห์หุ้นทุกฉบับ imply นั้น ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะ horizon ที่อยู่ภายใต้ข้อเสนอของนักวิเคราะห์ไม่มีความสม่ำเสมอชัดเจน (ไม่ใช่แค่ในบริษัทเดียวกันแต่สำหรับตัวนักวิเคราะห์แต่ละคนด้วย) ลูกค้าแทบไม่รู้ว่าไอ้ที่บอกให้ซื้อนี่คือควรจะถือในระยะเวลาแค่ไหน สองชั่วโมง? หนึ่งวัน? สามวัน? สองสัปดาห์? หนึ่งเดือน? หกเดือน? หนึ่งปี? แถมไม่ชอบแนะนำให้ขาย แนะนำให้ “ซื้อ” ลูกเดียว ราวกับว่านักลงทุนมีเงินไม่อั้นอย่างนั้นแหละ 😛 เรื่องนี้น่าจะมีใครทำวิจัย เพราะเกี่ยวโยงอย่างมากกับ “คุณภาพ” ของบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ในไทย …จริงๆ แล้วเราแทบไม่มีงานวิจัยอะไรเลยในไทยที่วิเคราะห์เรื่อง “คุณภาพ” ของตลาดทุน น่าเสียดายมาก)
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนระยะยาวไม่ควรเชื่อนักข่าวหรือนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ส่ง SMS มาแนะนำให้ซื้อหุ้นตัวโน้นตัวนี้มากนัก ยกเว้นถ้าคุณจะเป็น day trader หวังกำไรจากการซื้อขายรายวันอย่างเดียว หาความรู้เอาเองจากอินเทอร์เน็ตดีกว่า และอย่าลืมว่าอะไรที่ไม่เป็นข่าว ไม่ได้แปลว่ามันไม่เกิด 😉
เรื่องสาเหตุและนัยยะของวิกฤตครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญที่เก่งกว่าผู้เขียนหลายเท่าเขียนถึงไปแล้ว ผู้เขียนจึงไม่อยากเขียนอีก แต่ถ้าใครสนใจ เชิญอ่านบทความก่อนๆ ของผู้เขียนที่เขียนและแปลต่างกรรมต่างวาระเกี่ยวกับประเด็นนี้ได้ด้านล่างค่ะ
- แนะนำหนังสือ The New Paradigm for Financial Markets โดย George Soros – หนังสือที่ผู้เขียนคิดว่า “ต้องอ่าน” สำหรับทุกคนที่อยากเข้าใจว่าธุรกิจการเงินที่ผ่านมามี “ปัญหาเชิงโครงสร้าง” อะไรบ้าง
- Moral Hazard, Adverse Selection, และความเป็นธรรมของเจ้าหนี้ – คอลัมน์ “เงินเดินดิน” ตอนที่สาม อธิบายว่าซับไพรมสะท้อนปัญหา moral hazard ของเจ้าหนี้อย่างไรบ้าง
- ทำให้เงินกู้ปลอดภัยกว่าเดิม : เหตุผลที่รัฐควรกำกับดูแลตลาดสินเชื่ออเมริกัน
- เราไม่มีวันมีโมเดลประเมินความเสี่ยงที่สมบูรณ์แบบ – อลัน กรีนสแปน
- อำนาจเผด็จการของตลาด
- ปัญหาซับไพรม : เมื่อโลกการเงินมีแต่ “เจ้ามือ” แต่ไร้ “เจ้าภาพ”
- เพราะตลาดไม่เสรีจริง รัฐจึงต้องแทรกแซง