ตกลงผู้ชุมนุมต่อต้านนายกฯ มีกี่คนกันแน่?

หนึ่งในข้อมูลที่คลาดเคลื่อนที่สุด ในการชุมนุมต่อต้านนายกฯ ที่ผ่านมา คือตัวเลขผู้ชุมนุม เพราะเป็นอะไรที่หลายฝ่ายรายงานแตกต่างกันเหลือเกิน

เรื่อยมาตั้งแต่ “ไม่กี่พันคน” ที่รัฐบาล หรือสื่อที่อยู่ในมือรัฐบาล อย่าง ITV ชอบอ้าง

ไปจนถึง “สองสามแสน” ที่สนธิ ลิ้มทองกุล ชอบอ้าง

ขบวนผู้ชุมนุม 14 มีนาคม 2549

ล่าสุด ในการเดินขบวน (อย่างเรียบร้อยและเป็นระเบียบน่าชมเชยมากๆ) จากสนามหลวง ไปหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ตัวเลขที่เห็นคนพูดกันก็มีตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงหลักแสนหรือ “สี่แสน” ที่สนธิอ้าง

แม้ว่า “ตัวเลขผู้ชุมนุม” จะไม่สำคัญเท่ากับ “ความจริง” เรื่องคอร์รัปชั่น ซุกหุ้น และผลประโยชน์ทับซ้อน (ที่นายกฯ ยังไม่เคยยอมรับ) ก็ตาม ความที่มันเป็น fact ไม่ใช่ความเห็น ก็ทำให้ผู้เขียนอดรู้สึกรำคาญไม่ได้ เพราะในเมื่อมันเป็น fact ก็แปลว่าเราควรจะค้นหาและ verify มันได้ โดยไม่ต้องเชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ตัวเลขผู้ชุมนุมจริงๆ น่าจะอยู่ระหว่างสิ่งที่รัฐบาลอ้าง กับสิ่งที่สื่อมวลชนบางราย และแกนนำพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยอ้าง

ในฐานะผู้ร่วมชุมนุมหนึ่งคน ที่ไปตั้งแต่ตอนสนธิจัดรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ที่สวนลุมฯ จนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า และสนามหลวง เลยอยากค้นหาความจริงแบบ “วิทยาศาสตร์” ผนวกกับประสบการณ์ตรงของตัวเอง จะได้รู้ตัวเลขจริงๆ เสียที

ผลการประเมินของตัวเองสรุปได้ว่า น่าจะมีจำนวนผู้ชุมนุมในวันต่างๆ ดังนี้ (ปัดเศษหลักร้อยเป็นหลักพันที่ใกล้ที่สุด):

  1. ขบวนจากสนามหลวง ไปยังทำเนียบรัฐบาล เช้าวันที่ 14 มีนาคม: ไม่ต่ำกว่า 94,000 คน
  2. สนามหลวง วันที่ 5 มีนาคม และ 13 มีนาคม: ระหว่าง 53,000 คน (ช่วงหลังเที่ยงคืน) ถึง 119,000 คน (ช่วงสองถึงสามทุ่ม)
  3. ลานพระบรมรูปทรงม้า วันที่ 5 กุมภาพันธ์: ระหว่าง 41,000 คน (ช่วงก่อนสามทุ่ม) ถึง 56,000 คน (ช่วงประมาณสามทุ่ม)
  4. สวนลุมพีนี วันที่ 20 มกราคม (รายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ครั้งที่ 15): 33,000 – 40,000 คน

การประเมินนี้ใช้ Google Earth หาแผนที่จุดชุมนุม ใช้ประสบการณ์ของตัวเองตีกรอบบริเวณที่มีคนชุมนุมจริงๆ (เช่น ที่สนามหลวง ต้องตีกรอบตั้งแต่บริเวณเวทีปราศรัย ซึ่งร่นมาจากขอบสนามหลวงนิดหน่อย ไม่ใช่วัดตั้งแต่สุดขอบสนาม) และใช้ฟังก์ชั่น “Measure” ของ Google Earth (ใน “Tools” เมนู) หาความกว้างยาวเป็นเมตร

อ่านรายละเอียดวิธีการประเมินได้ดังนี้:


หนึ่งในข้อมูลที่คลาดเคลื่อนที่สุด ในการชุมนุมต่อต้านนายกฯ ที่ผ่านมา คือตัวเลขผู้ชุมนุม เพราะเป็นอะไรที่หลายฝ่ายรายงานแตกต่างกันเหลือเกิน

เรื่อยมาตั้งแต่ “ไม่กี่พันคน” ที่รัฐบาล หรือสื่อที่อยู่ในมือรัฐบาล อย่าง ITV ชอบอ้าง

ไปจนถึง “สองสามแสน” ที่สนธิ ลิ้มทองกุล ชอบอ้าง

ขบวนผู้ชุมนุม 14 มีนาคม 2549

ล่าสุด ในการเดินขบวน (อย่างเรียบร้อยและเป็นระเบียบน่าชมเชยมากๆ) จากสนามหลวง ไปหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ตัวเลขที่เห็นคนพูดกันก็มีตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงหลักแสนหรือ “สี่แสน” ที่สนธิอ้าง

แม้ว่า “ตัวเลขผู้ชุมนุม” จะไม่สำคัญเท่ากับ “ความจริง” เรื่องคอร์รัปชั่น ซุกหุ้น และผลประโยชน์ทับซ้อน (ที่นายกฯ ยังไม่เคยยอมรับ) ก็ตาม ความที่มันเป็น fact ไม่ใช่ความเห็น ก็ทำให้ผู้เขียนอดรู้สึกรำคาญไม่ได้ เพราะในเมื่อมันเป็น fact ก็แปลว่าเราควรจะค้นหาและ verify มันได้ โดยไม่ต้องเชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ตัวเลขผู้ชุมนุมจริงๆ น่าจะอยู่ระหว่างสิ่งที่รัฐบาลอ้าง กับสิ่งที่สื่อมวลชนบางราย และแกนนำพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยอ้าง

ในฐานะผู้ร่วมชุมนุมหนึ่งคน ที่ไปตั้งแต่ตอนสนธิจัดรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ที่สวนลุมฯ จนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า และสนามหลวง เลยอยากค้นหาความจริงแบบ “วิทยาศาสตร์” ผนวกกับประสบการณ์ตรงของตัวเอง จะได้รู้ตัวเลขจริงๆ เสียที

ผลการประเมินของตัวเองสรุปได้ว่า น่าจะมีจำนวนผู้ชุมนุมในวันต่างๆ ดังนี้ (ปัดเศษหลักร้อยเป็นหลักพันที่ใกล้ที่สุด):

  1. ขบวนจากสนามหลวง ไปยังทำเนียบรัฐบาล เช้าวันที่ 14 มีนาคม: ไม่ต่ำกว่า 94,000 คน
  2. สนามหลวง วันที่ 5 มีนาคม และ 13 มีนาคม: ระหว่าง 53,000 คน (ช่วงหลังเที่ยงคืน) ถึง 119,000 คน (ช่วงสองถึงสามทุ่ม)
  3. ลานพระบรมรูปทรงม้า วันที่ 5 กุมภาพันธ์: ระหว่าง 41,000 คน (ช่วงก่อนสามทุ่ม) ถึง 56,000 คน (ช่วงประมาณสามทุ่ม)
  4. สวนลุมพีนี วันที่ 20 มกราคม (รายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ครั้งที่ 15): 33,000 – 40,000 คน

การประเมินนี้ใช้ Google Earth หาแผนที่จุดชุมนุม ใช้ประสบการณ์ของตัวเองตีกรอบบริเวณที่มีคนชุมนุมจริงๆ (เช่น ที่สนามหลวง ต้องตีกรอบตั้งแต่บริเวณเวทีปราศรัย ซึ่งร่นมาจากขอบสนามหลวงนิดหน่อย ไม่ใช่วัดตั้งแต่สุดขอบสนาม) และใช้ฟังก์ชั่น “Measure” ของ Google Earth (ใน “Tools” เมนู) หาความกว้างยาวเป็นเมตร

อ่านรายละเอียดวิธีการประเมินได้ดังนี้:

ประเมินตัวเลขผู้เดินขบวนจากสนามหลวง ไปยังทำเนียบรัฐบาล เช้าวันที่ 14 มีนาคม 2549

ในวันที่ 14 มีนาคม 2549 หลังจากเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมออกจากสนามหลวงในเวลาประมาณ 7.30 น. แกนนำได้ประกาศให้หยุดรอพรรคพวกที่หน้ากระทรวงคมนาคม เพราะหางแถวยังอยู่สนามหลวง

ระยะทางจากสนามหลวง ไปยังหน้ากระทรวงคมนาคม คือ 1.73 กิโลเมตร หรือ 1,730 เมตร ดังแสดงในแผนที่จาก Google Earth (คลิ้กที่รูปเพื่อขยาย):

ขบวนผู้ชุมนุม

ดังนั้น เมื่อคำนึงว่าถนนราชดำเนินข้างที่ตำรวจกั้นจราจรให้เดิน มีความกว้างประมาณ 18 เมตร (วัดจาก Google Earth) และใช้ค่าเฉลี่ยว่า 1 ตารางเมตรจุคนได้ 3 คน ก็จะคำนวณจำนวนคนเดินขบวนได้ 1,730 x 18 x 3 = 93,420 คน

ประเมินตัวเลขผู้ชุมนุมที่สนามหลวง วันที่ 5 มีนาคม 2549

ที่สนามหลวง ผู้ชุมนุมนั่งกันในบริเวณตั้งแต่จุดที่ตั้งเวทีปราศรัย ไปจนถึงรั้วที่ตำรวจกั้นเป็นทางเข้าออกด้านตรงข้าม ซึ่งกะด้วยตาประมาณ 30-40 เมตร จากสุดขอบสนามหลวงอีกข้าง (ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งเวทีปราศรัยของพรรคไทยรักไทย ที่นายกฯ ใช้ปราศรัยเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา)

จากการเดินสำรวจ ผู้ชุมนุมที่นั่งบริเวณที่อยู่ไกลเวที เลยทีวีจอใหญ่ของ ASTV ไป มีจำนวนบางตากว่า และนั่งกันหลวมๆ กว่า ดังนั้น ถ้าเรียกบริเวณตั้งแต่เวที ไปจนถึงทีวีใหญ่ว่า “A” ตรงที่คนนั่งเบียดๆ กัน น่าจะมีคนนั่ง 3 คน ต่อตารางเมตร ในขณะที่ในบริเวณ “B” เลยทีวีใหญ่ไปจนถึงรั้วตำรวจ มีคนนั่งเฉลี่ยน้อยกว่ากันครึ่งหนึ่ง คือ 1.5 คน ต่อตารางเมตร ขนาดของบริเวณดูได้จาก Google Earth:

สนามหลวง

ดังนั้น จึงประเมินจำนวนผู้ชุมนุมได้ว่า:

พื้นที่ A: 237 x 125 x 3 = 88,875 คน

พื้นที่ B: 133 x 125 x 1.5 = 24,938 คน

รวม 59,250 + 24,938 = 113,813 คน

ช่วงเวลา “พีค” คือช่วงที่มีคนมาชุมนุมเยอะที่สุด คือเวลาประมาณสามทุ่ม (สงสัยเพราะเป็นเวลาที่หลายๆ คนเลิกงาน และทานข้าวเย็นเตรียมมาแล้ว) มีคนเยอะจนเกือบล้นออกไปนอกรั้วที่กั้นทางออกตรงข้ามเวที ตอนนั้นพื้นที่ B น่าจะจุคนได้ 30,000 คน ดังนั้นช่วง “พีค” น่าจะมีผู้ชุมนุมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 88,875 + 30,000 = 118,813 คน

หลังจากเวลาประมาณเที่ยงคืน คนเริ่มบางตาลง ถ้าประมาณว่าจำนวนคนต่อตารางเมตรในพื้นที่ A ลดลงจาก 3 เป็น 2 และในพื้นที่ B ลดลงจาก 1.5 เป็น 0.5 แล้ว ก็จะได้จำนวนคนเท่ากับ:

พื้นที่ A: 237 x 125 x 1.5 = 44,438 คน

พื้นที่ B: 133 x 125 x 0.5 = 8,313 คน

รวม 44,438 + 8,313 = 52,750 คน

สรุปว่า จำนวนผู้ชุมนุมที่สนามหลวง ในวันที่ 5 มีนาคม น่าจะอยู่ที่ประมาณ 53,000 คน หลังเที่ยงคืน ถึงสูงสุดประมาณ 119,000 คน ตอนประมาณสามทุ่ม

นอกจากนั้น ในวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันก่อนเคลื่อนขบวนไปหน้าทำเนียบฯ ประเมินด้วยตาแล้วคิดว่า มีคนมาชุมนุมไม่น้อยกว่าวันที่ 5 แน่ๆ และตอนเวลาประมาณ 7 โมงเช้าวันรุ่งขึ้น ก่อนเริ่มเดินขบวน มีคนมาสมทบเพิ่มจำนวนหลายหมื่น คาดว่ากลับไปนอนเ่อาแรงก่อนมาร่วมเดินขบวน ทำให้จำนวนผู้เดินขบวนเพิ่มเป็นอย่างน้อยเฉียดแสน (ดูรายละเอียดข้างบน)

ประเมินตัวเลขผู้ชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549

บริเวณที่จัดให้นั่งชุมนุม คือประมาณ 40-50 เมตรจากประตูพระที่นั่งอนันตสมาคม (ตำรวจวางรั้วกั้นไว้) จนถึงทางเข้าลานพระบรมฯ ด้านที่ติดถนน

ลานพระบรมรูปทรงม้า

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ คนแน่นจนหาที่นั่งไม่ค่อยได้หลังสองทุ่มไปแล้ว ดังนั้นถ้าประเมินว่า ความหนาแน่นอยู่ประมาณ 3 คนต่อตารางเมตร เหมือนสนามหลวง ไม่นับพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ที่นั่งไม่ได้ ก็จะได้ตัวเลขประมาณเท่ากับ:

[(65 x 220) – (24 x 31)] x 3 = 40,668 คน

ตอนเวลาประมาณสองถึงสามทุ่ม ซึ่งคิดว่าเป็นช่วง “พีค” ที่สุด จำนวนผู้ชุมนุมเยอะจนล้นทางเข้าลานพระบรมฯ เลยเข้าไปในถนนราชดำเนิน (แต่ไม่ถึงสะพานผ่านฟ้าอย่างที่สนธิอ้าง) คิดว่าจำนวนคนที่ล้นลานพระบรมฯ ออกมา รวมทั้งคนที่มาแออัดกันมากขึ้นในลานฯ ระหว่างเวลานี้ มีประมาณ 12,000 – 15,000 คนน่าจะถึง

สรุปว่า จำนวนผู้ชุมนุมที่ลานพระบรมฯ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ น่าจะมีตั้งแต่ 41,000 คน ถึงสูงสุด 56,000 คน ตอนประมาณสามทุ่ม

ประเมินตัวเลขผู้ชมรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ครั้งที่ 15 สวนลุมพินี วันที่ 20 มกราคม 2549

การจัดรายการนี้ทุกครั้งจะมีการตั้งทีวีจอใหญ่รอบๆ อาคารลีลาศ ซึ่งเป็นสถานที่จัดรายการ ไม่ต่ำกว่า 10 จุด ตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคม ปี 2548 ถ้าไม่ไปจองเก้าอี้ในอาคารลีลาศก่อนประมาณห้าโมงเย็น ก็จะไม่มีที่นั่ง ต้องไปนั่งบนสนามหญ้าข้างนอก ดูรายการจากจอทีวี

สวนลุมพินี

พื้นที่ A และ B เป็นบริเวณที่มีคนดูหนาแน่นที่สุด ดังนั้นถ้าใช้ค่าเฉลี่ย 3 คนต่อตารางเมตร ก็จะประมาณได้:

พื้นที่ A (ในตัวอาคารลีลาศ): 55 x 20 x 3 = 3,300 คน

พื้นที่ B (ตรงหน้าอาคารลีลาศ ถึงประตูทางเข้าด้านถนนพระราม 4): 109 x 70 x 3 = 22,890 คน

นอกจากนี้ ยังมีคนนั่งดูรายการค่อนข้างหนาตา ในพื้นที่ C และ D ถ้ามองว่าคนนั่งกันหลวมๆ เฉลี่ยตารางเมตรละ 1 คน ก็จะคิดจำนวนคนได้เท่ากับ:

พื้นที่ C: 115 x 70 x 1 = 8,050 คน

พื้นที่ D: 90 x 60 x 1 = 5,400 คน

รวมจำนวนคนดู พื้นที่ A + B + C +D = 39,640 คน

ถ้าคิดแบบ conservative หน่อย ตีว่าคนดูในพื้นที่ C และ D เหลือครึ่งเดียว ก็จะได้ผลรวมเท่ากับ 32,915 คน

สรุปว่า จำนวนผู้ที่ไปดูรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ในวันที่ 20 มกราคม น่าจะอยู่ที่ประมาณ 33,000 ถึง 40,000 คน ซึ่งคงเป็นวันที่มีคนดูสูงสุดแล้ว เพราะเป็นการจัดรายการครั้งสุดท้ายของสนธิที่สวนลุมฯ ก่อนจะไปชุมนุมที่ลานพระบรมฯ

แสดงว่าข้ออ้างของรัฐบาล ที่บอกว่า “สองพันคน” นั้น ต่ำเกินไปมากๆ เพราะลำพังคนฟังที่นั่งอยู่ในอาคารลีลาศ ก็มีจำนวนมากกว่านั้นเป็นพันคนแล้ว

สงสัยรัฐบาลต้องไปหัดใช้ Google Earth ใหม่แล้วมั๊ง 😉