ตกลงผู้ชุมนุมต่อต้านนายกฯ มีกี่คนกันแน่? (2)

ขบวนต่อต้่านนายกฯ บนถนนสุขุมวิท

เนื่องจากสื่อต่างๆ ยังรายงานตัวเลขผู้ชุมนุมต่อต้านนายกฯ ต่างกันราวฟ้าดิน (ไม่ต้องพูดถึงสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคนอื่นๆ ที่พูดตัวเลขผู้ชุมนุมทีไร ต้องเอาสามหรือสี่หารทุกที) เลยต้องสวมวิญญาณนักข่าวอิสระ และแฟนพันธุ์แท้ของ Google Earth ประเมินตัวเลขผู้ชุมนุมต่อไป ถือว่าบทความนี้เป็นตอนต่อจาก บทความแรก ก็แล้วกัน 🙂

สรุปตัวเลขผู้ชุมนุมต่อต้านนายกฯ ระหว่างวันที่ 21 – 26 มีนาคม 2549:

  1. หน้าห้าง ดิ เอ็มโพเรี่ยม ระหว่างเวลา 13:00 – 14:00 น. วันที่ 26 มีนาคม: ประมาณ 9,800 คน (ถ้าแกนนำไม่ประกาศสลายการชุมนุมตรงหน้าเซ็นทรัล เวิร์ลด์ ด้วยเหตุผลอะไรไม่ทราบ คนน่าจะมากกว่านี้เยอะ เพราะขบวนที่เดินมาจากสนามศุภฯ ก็อย่างต่ำ 15,000 คนแล้ว)
  2. สะพานมัฆวาฬ วันที่ 25 มีนาคม: ประมาณ 96,200 คน (ณ เวลา 21:00 น.)
  3. เดินขบวนจากสวนลุมพินี ผ่านถนนสีลม ไปยังสถานทูตสิงคโปร์ วันที่ 21 มีนาคม: ประมาณ 17,200 คน

เช่นเดียวกับครั้งแรก การประเมินนี้ใช้ Google Earth หาแผนที่จุดชุมนุม ใช้ประสบการณ์ของตัวเองตีกรอบบริเวณที่มีคนชุมนุมจริงๆ (เช่น ที่สะพานมัฆวาฬ ต้องตีกรอบถนนราชดำเนินเฉพาะเลนใน ไม่รวมเลนนอกซึ่งกั้นไว้ให้เป็นที่ตั้งรถเข็นขายของ และคนเดิน) และใช้ฟังก์ชั่น “Measure” ของ Google Earth (ใน “Tools” เมนู) หาความกว้างยาวเป็นเมตร

อ่านรายละเอียดวิธีการประเมินได้ดังนี้:


ขบวนต่อต้่านนายกฯ บนถนนสุขุมวิท

เนื่องจากสื่อต่างๆ ยังรายงานตัวเลขผู้ชุมนุมต่อต้านนายกฯ ต่างกันราวฟ้าดิน (ไม่ต้องพูดถึงสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคนอื่นๆ ที่พูดตัวเลขผู้ชุมนุมทีไร ต้องเอาสามหรือสี่หารทุกที) เลยต้องสวมวิญญาณนักข่าวอิสระ และแฟนพันธุ์แท้ของ Google Earth ประเมินตัวเลขผู้ชุมนุมต่อไป ถือว่าบทความนี้เป็นตอนต่อจาก บทความแรก ก็แล้วกัน 🙂

สรุปตัวเลขผู้ชุมนุมต่อต้านนายกฯ ระหว่างวันที่ 21 – 26 มีนาคม 2549:

  1. หน้าห้าง ดิ เอ็มโพเรี่ยม ระหว่างเวลา 13:00 – 14:00 น. วันที่ 26 มีนาคม: ประมาณ 9,800 คน (ถ้าแกนนำไม่ประกาศสลายการชุมนุมตรงหน้าเซ็นทรัล เวิร์ลด์ ด้วยเหตุผลอะไรไม่ทราบ คนน่าจะมากกว่านี้เยอะ เพราะขบวนที่เดินมาจากสนามศุภฯ ก็อย่างต่ำ 15,000 คนแล้ว)
  2. สะพานมัฆวาฬ วันที่ 25 มีนาคม: ประมาณ 96,200 คน (ณ เวลา 21:00 น.)
  3. เดินขบวนจากสวนลุมพินี ผ่านถนนสีลม ไปยังสถานทูตสิงคโปร์ วันที่ 21 มีนาคม: ประมาณ 17,200 คน

เช่นเดียวกับครั้งแรก การประเมินนี้ใช้ Google Earth หาแผนที่จุดชุมนุม ใช้ประสบการณ์ของตัวเองตีกรอบบริเวณที่มีคนชุมนุมจริงๆ (เช่น ที่สะพานมัฆวาฬ ต้องตีกรอบถนนราชดำเนินเฉพาะเลนใน ไม่รวมเลนนอกซึ่งกั้นไว้ให้เป็นที่ตั้งรถเข็นขายของ และคนเดิน) และใช้ฟังก์ชั่น “Measure” ของ Google Earth (ใน “Tools” เมนู) หาความกว้างยาวเป็นเมตร

อ่านรายละเอียดวิธีการประเมินได้ดังนี้:

ประเมินตัวเลขผู้ชุมนุมที่หน้าห้าง ดิ เอ็มโพเรี่ยม วันที่ 26 มีนาคม 2549

ชุมนุมหน้าห้าง ดิ เอ็มโพเรี่ยม

ผู้ชุมนุมนั่งกันแออัดมากๆ หลายคนต้องขึ้นไปยืนตรงโคนเสารถไฟฟ้า เพราะไม่มีที่นั่งเหลือ ตำรวจปิดถนนสุขุมวิทช่วงนี้ เว้นเลนขวาสุดไว้ให้รถวิ่งเพียงเลนเดียว นอกจากนี้ยังมีคนเป็นพันบนสถานีพร้อมพงษ์ของ BTS และตรงทางเท้าสองข้างทาง ที่ยืนฟังการชุมนุม จึงประเมินตัวเลขได้เท่ากับ:

195.4 x 11.2 x 4 = 8,753 คน บวกอีกประมาณ 1,000 คนที่ยืนดูบนสถานีพร้อมพงษ์ และรอบๆ ตรงทางเท้า รวมเป็น 9,753 คน หรือประมาณ 9,800 คน

ครั้งนี้เป็นการชุมนุมที่เรียกได้ว่า “มิได้นัดหมาย” เพราะแกนนำประกาศสลายการชุมนุม (ด้วยเหตุผลอะไรไม่แน่ใจ เพราะเป็นการยกเลิกแผนเดิม) ตอนที่ขบวนหยุดอยู่บนถนนพระราม 1 หน้าเซ็นทรัลเวิร์ลด์ พลาซา ตั้งแต่เวลาประมาณเที่ยงวัน แต่ผู้ร่วมชุมนุมกลุ่มหนึ่ง ประมาณ 5-6 พันคนไม่ยอม ออกเดินต่อไปเรื่อยๆ ตามถนนสุขุมวิท รถของแกนนำก็เลยต้องเคลื่อนตามขบวนมาด้วย แล้วก็เลยเปิดปราศรัยหน้าห้าง ดิ เอ็มโพเรี่ยม ไปโดยปริยาย

ตอนที่ขบวนไปหยุดอยู่หน้าเซ็นทรัลเวิร์ลด์ พลาซานั้น คาดว่ามีผู้ชุมนุมราวๆ 15,000 คนน่าจะถึง เพราะกินเนื้อที่ทั้งถนนหน้าเซ็นทรัลเวิร์ลด์ แต่คนส่วนใหญ่แยกย้ายกันไปหลังจากแกนนำประกาศเลิกชุมนุม มีคนกลุ่มหนึ่งเดินไปตามถนนเพชรบุรีด้วย มีข่าวลือว่าจะเดินไปที่ทำการพรรคไทยรักไทย แต่แล้วก็สลายตัวไปก่อนไปถึง

ประเมินตัวเลขผู้ชุมนุมที่สะพานมัฆวาฬ วันที่ 25 มีนาคม 2549

ชุมนุมที่สะพานมัฆวาฬ

พื้นที่การชุมนุมนี้วัดยาก เพราะกินพื้นที่ 4 ช่วงถนน แต่ละช่วงมีความหนาแน่นของคนไม่เท่ากัน เลยต้องแบ่งออกเป็นหลายพื้นที่ย่อยก่อน

บริเวณ A คือสี่แยกมัฆวาฬ ที่ตั้งเวทีและจุดเข้าออก มีรูปร่างและสิ่งกีดขวาง (เช่น น้ำพุสองข้าง) หน้าตาแบบนี้:

บริเวณสะพานมัฆวาฬ

บริเวณ B C และ D คือด้านหน้าและหลังเวที มีทีวี ASTV ตั้งอยู่เป็นระยะๆ คนแน่นมากๆ ตั้งแต่ประมาณสองทุ่มเศษ หลายร้อยคนที่พยายามเดินไปหน้าเวที (C) ต้องเลิกล้มความพยายาม เดินกลับมานั่งบริเวณหลังเวที คือ B แทน ตำรวจต้องขยับรั้วออกไปเรื่อยๆ ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงให้คนนั่ง จนเลยไปถึงแยกสนามมวย ก่อนสี่ทุ่ม บริเวณเหล่านี้คนนั่งกันไม่ต่ำกว่า 3 คนต่อตารางเมตรแน่นอน (จริงๆ น่าจะ 4-5 ด้วยซ้ำ แต่พยายามประเมินอย่าง conservative ไว้ก่อน)

บริเวณ E และ F คนนั่งบางตาลงเล็กน้อย บริเวณ F สั้นกว่าบริเวณอื่นเพราะมีเต็นท์ของสมาชิกกองทัพธรรม (เอาไว้หลับนอน) เรียงกันยาวตั้งแต่ก่อนหน้าสำนักงาน กพ. ไปถึงแยกทำเนียบรัฐบาล จึงไม่ได้บันทึกจำนวนผู้ชุมนุมตรงนี้ (แต่คิดว่ามีไม่ต่ำกว่า 400-500 คน)

ดังนั้น จึงประเมินจำนวนผู้ชุมนุมได้ดังนี้:

พื้นที่ A: (56.9 x 30.3 x 2) + (42.9 x 30.3 x 2) + (120.9 x 24.5 x 3) + [(30.3 – 12.8) x 20.1] x 2 x 1 = 15,698 คน

พื้นที่ B: 342.8 x 24.5 x 3 = 25,174 คน

พื้นที่ C: 183.8 x 24.5 x 3 = 13,509 คน

พื้นที่ D: 40.2 x 36.6 x 3 = 4,414 คน

พื้นที่ E: 256.1 x 14.2 x 3 = 10,910 คน

พื้นที่ F: 175.3 x 14.2 x 3 = 7,468 คน

ประเมินจำนวนคนที่ไม่ได้นั่งชุมนุมอยู่กับที่ แต่สัญจรไปมาใน 2 เลนนอกของถนนราชดำเนิน บวกพื้นที่ทางเท้า (กว้างข้างละ 18 เมตร) บริเวณพื้นที่ B และ C: (342.8 + 183.8) x 18 x 2 x 1 = 18,958 คน (จริงๆ แล้วเดินกันเบียดพอสมควร แต่ตีแบบ conservative ว่าเดินกันตารางเมตรละ 1 คนเท่านั้น)

รวม 15,698 + 25,174 + 13,509 + 4,414 + 10,910 + 7,468 + 18,958 = 96,131 คน หรือประมาณ 96,200 คน ตอนประมาณสามทุ่ม มีเพื่อนเล่าว่าหลังจากนั้นคนก็ทยอยกันมาเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย เพราะฉะนั้นถ้าวัดหลังสี่ทุ่มไปแล้ว น่าจะเป็นแสนคนขึ้นไป

ประเมินตัวเลขผู้เดินขบวนผ่านถนนสีลม ไปหน้าสถานทูตสิงคโปร์ วันที่ 21 มีนาคม 2549

(คลิ้กที่รูปเพื่อดูรายละเอียด)

เดินขบวนถนนสีลม

แผนเดิมของแกนนำ คือเดินจากอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 หน้าสวนลุมพินี ไปสุดถนนสีลม แต่แล้วก็เปลี่ยนแผนกลางคัน พาเดินไปสถานทูตสิงคโปร์ ที่ถนนสาธรแทน แล้วสลายการชุมนุมที่นั่น

จากการโทรคุยกับเพื่อนที่ออกมาสังเกตการณ์หน้าออฟฟิศ ตอนที่หัวขบวนเลี้ยวเข้าถนนนราธิวาสฯ นั้น หางขบวนยังอยู่ใต้สถานีศาลาแดงของรถไฟฟ้า BTS อยู่เลย ตำรวจกั้นหนึ่งข้างของถนนสีลม (จากต้นถนนไปท้ายถนน) ให้ผู้ชุมนุมเดิน ข้างนี้กว้างประมาณ 7.7 เมตร

สรุปจำนวนคนเดินขบวน (ไม่นับประชาชนสองข้างทางที่โบกมือเชียร์ และคนที่มาร่วม “แจม” ระหว่างทาง) ได้เท่ากับ:

741.2 x 7.7 x 3 = 17,121 คน หรือประมาณ 17,200 คน