ผ่านพ้นไปอีกครั้งสำหรับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จัดบริเวณหน้าห้างสยาม พารากอน เมื่อเย็นวันที่ 29 มีนาคม 2549 เพราะผู้เขียนไปร่วมชุมนุม และตอนนี้ใช้ Google Earth ค่อนข้างคล่องแล้ว เลยพยายามประเมินตัวเลขผู้ชุมนุม แบบ “วิทยาศาสตร์” มาฝากกันเช่นเคย (อ่านผลการประเมินตัวเลขผู้ชุมนุม ครั้งแรก และครั้งที่สอง ได้ที่นี่)
สำหรับการชุมนุมครั้งนี้ ตัวเลขที่พันธมิตรฯ อ้าง และที่สื่อต่างๆ ประเมิน ยังแตกต่างกันมากเช่นเคย แม้จะรู้ว่าบางฝ่ายต้องการอ้างตัวเลขแบบ “เว่อร์ๆ” เข้าไว้ เพื่อปลุกใจคน ในขณะที่บางฝ่ายต้องการ “กด” ตัวเลขให้ต่ำ เพื่อโน้มน้าวให้คนเชื่อว่าประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมน้อยลงเรื่อยๆ ก็อดรำคาญไม่ได้ เพราะตัวเลขมันต่างกันมากจริงๆ เช่น ไทยโพสต์ลงว่าคนเป็นแสน กรุงเทพธุรกิจบอกว่าห้าหมื่น ในขณะที่สุวิทย์ วัดหนู ประกาศบนเวทีพันธมิตรฯ ตอนใกล้ๆ 2 ทุ่ม ว่าหางแถวตอนนี้อยู่ชิดลมแล้ว คนทั้งหมดประมาณสามแสน เว่อร์ซะไม่มี 😛
รู้สึกโล่งใจที่พันธมิตรฯ ประกาศหยุดการชุมนุมหน้าห้างสยาม พารากอน วิถีชีวิตของคนแถวนั้นจะได้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ววัน เพราะถ้ามองว่า หนึ่งในเป้าหมายของการชุมนุมที่นี่คือ ชักชวนให้ “คนรุ่นใหม่” แถวนั้นมาร่วมชุมนุม (หรืออย่างน้อยก็สนใจว่าผู้ปราศรัยพูดเรื่องอะไร) ก็ควรนับว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก สังเกตได้จากเด็กวัยรุ่นที่มานั่งหรือยืนชุมนุมหลายคน ที่มีท่าทางเหมือนไม่เคยร่วมชุมนุมมาก่อน เพราะไม่มีผ้า “กู้ชาติ” สีแดงเหลืองหรือน้ำเงินขาวติดตัวมาด้วย แถมไม่รู้ว่าต้องตะโกนอะไร เวลาพิธีกรบนเวทีบอกว่า “ขอเสียงงิ้วหน่อย” และ “ไล่ทักษิณให้ฝรั่งเข้าใจหน่อยคร้าบ” (เฉลย: “เอี้ยๆๆๆ” วลีประจำตัวของเจ๊นิดหน่อย ตัวละครที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดในงิ้วธรรมศาสตร์กู้ชาติ และ “Get Out!”)
จากการไปร่วมชุมนุมกว่าสิบครั้ง เริ่มจำหน้า “ขาประจำ” (ส่วนใหญ่จากป้ายขับไล่ทักษิณ ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว และศิลปะแขนงใหม่ไปแล้ว) หลายคนได้ ทำให้เชื่อว่าตอนนี้กลุ่มพันธมิตรฯ มี “ขาประจำ” (คือกลุ่มคนที่เรียกให้ไปไหนเมื่อไหร่ก็ไป ชุมนุมที่ไหนก็อยู่ถึงเช้า ไม่รู้จักเหนื่อยเลยแฮะ น่าอิจฉาแกมสงสารเล็กน้อย) ประมาณ 10,000 คนน่าจะได้ ส่วน “ขาจร” คิดว่ามีอย่างต่ำ 30,000 คนน่าจะถึง
ตัวเลขผู้ชุมนุม ณ เวลาประมาณ 9.30 น. (ซึ่งน่าจะเป็นเวลา “พีค” ของการชุมนุมแล้ว) จากการประเมินของตัวเอง อยู่ที่ประมาณ 63,300 คน อ่านรายละเอียดได้ดังนี้:
ผ่านพ้นไปอีกครั้งสำหรับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จัดบริเวณหน้าห้างสยาม พารากอน เมื่อเย็นวันที่ 29 มีนาคม 2549 เพราะผู้เขียนไปร่วมชุมนุม และตอนนี้ใช้ Google Earth ค่อนข้างคล่องแล้ว เลยพยายามประเมินตัวเลขผู้ชุมนุม แบบ “วิทยาศาสตร์” มาฝากกันเช่นเคย (อ่านผลการประเมินตัวเลขผู้ชุมนุม ครั้งแรก และครั้งที่สอง ได้ที่นี่)
สำหรับการชุมนุมครั้งนี้ ตัวเลขที่พันธมิตรฯ อ้าง และที่สื่อต่างๆ ประเมิน ยังแตกต่างกันมากเช่นเคย แม้จะรู้ว่าบางฝ่ายต้องการอ้างตัวเลขแบบ “เว่อร์ๆ” เข้าไว้ เพื่อปลุกใจคน ในขณะที่บางฝ่ายต้องการ “กด” ตัวเลขให้ต่ำ เพื่อโน้มน้าวให้คนเชื่อว่าประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมน้อยลงเรื่อยๆ ก็อดรำคาญไม่ได้ เพราะตัวเลขมันต่างกันมากจริงๆ เช่น ไทยโพสต์ลงว่าคนเป็นแสน กรุงเทพธุรกิจบอกว่าห้าหมื่น ในขณะที่สุวิทย์ วัดหนู ประกาศบนเวทีพันธมิตรฯ ตอนใกล้ๆ 2 ทุ่ม ว่าหางแถวตอนนี้อยู่ชิดลมแล้ว คนทั้งหมดประมาณสามแสน เว่อร์ซะไม่มี 😛
รู้สึกโล่งใจที่พันธมิตรฯ ประกาศหยุดการชุมนุมหน้าห้างสยาม พารากอน วิถีชีวิตของคนแถวนั้นจะได้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ววัน เพราะถ้ามองว่า หนึ่งในเป้าหมายของการชุมนุมที่นี่คือ ชักชวนให้ “คนรุ่นใหม่” แถวนั้นมาร่วมชุมนุม (หรืออย่างน้อยก็สนใจว่าผู้ปราศรัยพูดเรื่องอะไร) ก็ควรนับว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก สังเกตได้จากเด็กวัยรุ่นที่มานั่งหรือยืนชุมนุมหลายคน ที่มีท่าทางเหมือนไม่เคยร่วมชุมนุมมาก่อน เพราะไม่มีผ้า “กู้ชาติ” สีแดงเหลืองหรือน้ำเงินขาวติดตัวมาด้วย แถมไม่รู้ว่าต้องตะโกนอะไร เวลาพิธีกรบนเวทีบอกว่า “ขอเสียงงิ้วหน่อย” และ “ไล่ทักษิณให้ฝรั่งเข้าใจหน่อยคร้าบ” (เฉลย: “เอี้ยๆๆๆ” วลีประจำตัวของเจ๊นิดหน่อย ตัวละครที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดในงิ้วธรรมศาสตร์กู้ชาติ และ “Get Out!”)
จากการไปร่วมชุมนุมกว่าสิบครั้ง เริ่มจำหน้า “ขาประจำ” (ส่วนใหญ่จากป้ายขับไล่ทักษิณ ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว และศิลปะแขนงใหม่ไปแล้ว) หลายคนได้ ทำให้เชื่อว่าตอนนี้กลุ่มพันธมิตรฯ มี “ขาประจำ” (คือกลุ่มคนที่เรียกให้ไปไหนเมื่อไหร่ก็ไป ชุมนุมที่ไหนก็อยู่ถึงเช้า ไม่รู้จักเหนื่อยเลยแฮะ น่าอิจฉาแกมสงสารเล็กน้อย) ประมาณ 10,000 คนน่าจะได้ ส่วน “ขาจร” คิดว่ามีอย่างต่ำ 30,000 คนน่าจะถึง
ตัวเลขผู้ชุมนุม ณ เวลาประมาณ 9.30 น. (ซึ่งน่าจะเป็นเวลา “พีค” ของการชุมนุมแล้ว) จากการประเมินของตัวเอง อยู่ที่ประมาณ 63,300 คน อ่านรายละเอียดได้ดังนี้:
ประเมินตัวเลขผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสยาม พารากอน วันที่ 29 มีนาคม 2549
(คลิ้กที่รูปเพื่อดูรายละเอียด)
คนแน่น (ต้องเรียกว่า “แออัดยัดทะนาน”) มากๆ บริเวณตั้งแต่หน้าห้างสยาม ดิสคัฟเวอรี่ ไปจนจรดสามแยกอังรีดูนังต์ (พื้นที่ A) แทบไม่มีที่ว่าง คนเยอะจนทะลักเข้าไปในสยามแสควร์ ซอย 3 และ 4 แถมคนที่อยู่ตรงทางเท้าด้านตรงข้ามสยามแสควร์ ไม่มีที่ให้นั่งเลย ต้องยืนเบียดกันตลอดเวลา คอยหาช่องข้ามไปฝั่งสยามสแควร์ ดังนั้น จำนวนคนต่อตารางเมตรในพื้นที่ A เท่ากับ 4 โดยเฉลี่ยน่าจะได้ (ลำพังคนที่ยืนอัดกันสองข้างก็หนาแน่นกว่านี้อยู่แล้ว)
บนสถานีรถไฟฟ้าสยาม คนแน่นทะลักออกมายืนตามบันได และบันไดเลื่อนสองข้าง จนช่วงหนึ่ง BTS ประกาศว่ารถจะไม่หยุดที่สถานีนี้แล้ว เพราะไม่มีที่ว่างบนสถานีให้คนลงจากรถไฟฟ้า แต่หลังจากประมาณ 2 ทุ่ม เมื่อคนเริ่มทยอยลงมาข้างล่าง ก็หยุดที่สถานี้ตามเดิม
หางแถวตอนเวลาประมาณสามทุ่มครึ่ง อยู่แถวๆ หน้าโรงพยาบาลตำรวจ เสียดายที่ทีมงานของผู้จัดรายการ ลากลำโพงและติดตั้งทีวีจอใหญ่ไปไม่ถึงตรงนั้น (มีปัญหาเสียงไม่ได้ยินตลอดเวลา) เพราะจะทำให้มีคนสนใจหยุดฟังมากกว่านั้น
พื้นที่ A (จากเวทีหน้าโรงหนังลิโด้ ไปจรดสามแยกอังรีดูนังต์): 349.8 x 29.0 x 4 = 40,577 คน
พื้นที่ B (สยามสแควร์ ซอย 3 และ 4): (87.7 x 12.6 x 3) x 2 = 6,630 คน
พื้นที่ C (ตั้งแต่สามแยกอังรีดูนังต์ ถึงหน้าโรงพยาบาลตำรวจ): 392.0 x 16.2 x 2 = 12,700 คน
บนสถานีรถไฟฟ้าสยาม: 112 x 15 x 2 = 3,360 คน
รวม 40,577 + 6,630 + 12,700 + 3,360 = 63,268 คน หรือประมาณ 63,300 คน ณ เวลาประมาณ 9.30 น.