ทรราชเสียงข้างน้อย?

[ยังเศร้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเรา และเซ็งสื่อกระแสหลักมากๆ ที่เลือกข้างกันจนไม่สนใจจะรายงาน “ข้อเท็จจริง” กรณีการยกพวกตีกันเมื่อคืนวาน – สื่อต่างประเทศรายงานอย่าง “เป็นกลาง” และมืออาชีพกว่ากันเยอะ ดูได้จากคลิปวีดีโอนี้ จากสถานีข่าวฝรั่งเศส และอ่านประสบการณ์ของนักข่าว Strait Times ที่อยู่ในเุหตุการณ์ …เห็นแบบนี้แล้วทำให้ยิ่งรู้สึกแย่กับสื่อส่วนใหญ่ของประเทศนี้มากกว่าเดิมอีก :/

ขอแปะบทความอีกหนึ่งบทที่ค่อนข้างชอบ (แต่ไม่เห็นด้วยทั้งหมด) ไปก่อน อาการปวดหัวและเครียดการเมืองทุเลาลงเมื่อไหร่จะพยายามรวบรวมความคิดออกมาเขียนในนี้ค่ะ]


คำแปลบทวิเคราะห์ ทรราชเสียงข้างน้อย โดย ธิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาด้านความมั่นคงและต่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตีพิมพ์ในบางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 1 กันยายน 2551

ตลอดสามปีที่ผ่านมา การเมืองของไทยแปรสภาพจากเผด็จการเสียงข้างมากภายใต้อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มาเป็นเผด็จการเสียงข้างน้อย ภายใต้การนำของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ก่อนการทำรัฐประหารโดยทหารในเดือนกันยายนปี 2549 ทักษิณได้ใช้ประโยชน์จากเสียงข้างมากที่พรรคไทยรักไทยของเขาชนะเลือกตั้งมาเพื่อการใช้อำนาจโดยไม่ชอบและผูกขาดอำนาจทางการเมือง บีบเค้นคู่แข่งและเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้อง สร้างความมั่งคั่งให้กับบรรดาลูกสมุน

แต่ในเวลานี้ คู่แข่งอันฉกาจของเขาก็ได้ลุแก่อำนาจโดยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ไปในอีกด้านหนึ่งคือการที่ยึดเอาประเทศชาติเป็นตัวประกันเพื่อให้มีการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของพวกตน และในที่สุดก็เปิดเผยความไม่ไว้วางใจและความรังเกียจที่กลุ่มพันธมิตรมีต่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่มีมาอย่างต่อเนื่องยิ่งผันไปสู่ความเลวร้ายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม เมื่อผู้ประท้วงของกลุ่มพันธมิตรได้เปลี่ยนจากการประท้วงตามถนนไปเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจในการเข้ายึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที กระทรวงสองสามแห่งและที่ทำการรัฐบาล

พวกเขาหันไปใช้กำลังในการพังเข้าไปทำลายข้าวของในอาคารและพังรั้วของที่ทำการของรัฐ และตั้งแต่นั้นมาก็ปักหลักอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นการยั่วยุอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในประเทศที่เจริญแล้ว การยั่วยุและการเข้าไปยึดที่ทำการของรัฐจะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลกลับเข้าไปครอบครองทรัพย์สินของทางราชการได้ แต่ในทางตรงกันข้าม การกระทำผิดกฎหมายของกลุ่มพันธมิตรกลับได้รับการตอบโต้อย่างเซื่องซึมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ


[ยังเศร้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเรา และเซ็งสื่อกระแสหลักมากๆ ที่เลือกข้างกันจนไม่สนใจจะรายงาน “ข้อเท็จจริง” กรณีการยกพวกตีกันเมื่อคืนวาน – สื่อต่างประเทศรายงานอย่าง “เป็นกลาง” และมืออาชีพกว่ากันเยอะ ดูได้จากคลิปวีดีโอนี้ จากสถานีข่าวฝรั่งเศส และอ่านประสบการณ์ของนักข่าว Strait Times ที่อยู่ในเุหตุการณ์ …เห็นแบบนี้แล้วทำให้ยิ่งรู้สึกแย่กับสื่อส่วนใหญ่ของประเทศนี้มากกว่าเดิมอีก :/

ขอแปะบทความอีกหนึ่งบทที่ค่อนข้างชอบ (แต่ไม่เห็นด้วยทั้งหมด) ไปก่อน อาการปวดหัวและเครียดการเมืองทุเลาลงเมื่อไหร่จะพยายามรวบรวมความคิดออกมาเขียนในนี้ค่ะ]


คำแปลบทวิเคราะห์ ทรราชเสียงข้างน้อย โดย ธิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาด้านความมั่นคงและต่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตีพิมพ์ในบางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 1 กันยายน 2551

ตลอดสามปีที่ผ่านมา การเมืองของไทยแปรสภาพจากเผด็จการเสียงข้างมากภายใต้อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มาเป็นเผด็จการเสียงข้างน้อย ภายใต้การนำของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ก่อนการทำรัฐประหารโดยทหารในเดือนกันยายนปี 2549 ทักษิณได้ใช้ประโยชน์จากเสียงข้างมากที่พรรคไทยรักไทยของเขาชนะเลือกตั้งมาเพื่อการใช้อำนาจโดยไม่ชอบและผูกขาดอำนาจทางการเมือง บีบเค้นคู่แข่งและเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้อง สร้างความมั่งคั่งให้กับบรรดาลูกสมุน

แต่ในเวลานี้ คู่แข่งอันฉกาจของเขาก็ได้ลุแก่อำนาจโดยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ไปในอีกด้านหนึ่งคือการที่ยึดเอาประเทศชาติเป็นตัวประกันเพื่อให้มีการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของพวกตน และในที่สุดก็เปิดเผยความไม่ไว้วางใจและความรังเกียจที่กลุ่มพันธมิตรมีต่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่มีมาอย่างต่อเนื่องยิ่งผันไปสู่ความเลวร้ายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม เมื่อผู้ประท้วงของกลุ่มพันธมิตรได้เปลี่ยนจากการประท้วงตามถนนไปเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจในการเข้ายึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที กระทรวงสองสามแห่งและที่ทำการรัฐบาล

พวกเขาหันไปใช้กำลังในการพังเข้าไปทำลายข้าวของในอาคารและพังรั้วของที่ทำการของรัฐ และตั้งแต่นั้นมาก็ปักหลักอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นการยั่วยุอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในประเทศที่เจริญแล้ว การยั่วยุและการเข้าไปยึดที่ทำการของรัฐจะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลกลับเข้าไปครอบครองทรัพย์สินของทางราชการได้ แต่ในทางตรงกันข้าม การกระทำผิดกฎหมายของกลุ่มพันธมิตรกลับได้รับการตอบโต้อย่างเซื่องซึมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ

แม้แต่ที่สะพานมัฆวานซึ่งเป็นสถานที่เก่าแก่ในเชิงประวัติศาสตร์ของกรุงเทพ ซึ่งมีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับกลุ่มผู้ประท้วงหลังจากที่ตำรวจพยายามเข้าไปรื้อถอนเวทีที่สร้างมากว่า 3 เดือน การบาดเจ็บก็มีเพียงเล็กน้อย ผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บจำนวนมากขึ้นจากการยกขบวนไปเผชิญหน้ากับตำรวจที่ประตูของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีรายงานข่าวว่าตำรวจซึ่งรวมตัวกันอยู่หลังประตูและกำแพงในขณะที่กลุ่มพันธมิตรล้อมอยู่ด้านนอกนั้นได้ใช้แก๊ซน้ำตาในการสลายการชุมนุม

ท่าทีของสาธารณชนที่มีความรู้สึกเป็นลบต่อการใช้กำลังของทางการเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ การใช้กำลังของรัฐเข้าทำร้ายประชาชนเป็นแผลฝังใจของคนไทยมานาน โดยเฉพาะแผลเก่าจากการใช้กำลังปราบปรามนักศึกษาในเดือนตุลาคมปี 1976 และการใช้กำลังปราบปรามชนชั้นกลางในเดือนพฤษภาคมปี 1992

ความเกี่ยวพันของสมัคร สุนทรเวชกับเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคมปี 1976 ทำให้เขาถูกมองในแง่ลบว่าจะมีส่วนเกี่ยวพันกับการใช้ความรุนแรง ผลที่ตามมาก็คือสมัครปล่อยให้กลุ่มพันธมิตรยึดครองถนนและครอบครองทำเนียบรัฐบาลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นอกจากนี้กลุ่มพันธมิตรยังใช้ความดุดันก้าวร้าวในความพยายามที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเป็นการกดดันเพียงฝ่ายเดียวเพื่อให้รัฐบาลของสมัครลาออก คนที่ตั้งข้อสงสัยหรือวิจารณ์กลุ่มพันธมิตรถูกข่มขู่ให้เงียบ การต่อต้านกลุ่มพันธมิตรจะนำมาซึ่งการถูกทำลาย และการโจมตีเพื่อทำลายชื่อเสียง

และบัดนี้เป็นเวลาที่คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งเป็นเสียงข้างมากที่ยังคงสงบนิ่ง กลุ่มคนที่ไม่ชอบทักษิณ และก็ไม่ได้ชอบสมัคร คนกลุ่มนี้จะต้องออกมาประณามการบุกเข้าปล้นระบบประชาธิปไตยโดยกลุ่มพันธมิตรฯ คนไทยเหล่านี้ไม่มีองค์กรจัดตั้งหรือสื่อเป็นกระบอกเสียงเหมือนพันธมิตร แต่พวกเขาจะต้องแสดงหาหนทางที่จะแสดงความเห็น แสดงตัวตนออกมา

โครงการติดริบบิ้นสีขาวที่อาจารย์คณะนิติศาสตร์ของธรรมศาสตร์เคยเสนอไว้ จะต้องนำกลับมาใช้อีกครั้ง สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นแฟนของสมัครแต่ก็ไม่สามารถยอมรับวิธีการและเจตนาของกลุ่มพันธมิตรได้ เราจะต้องเสนอวิธีการรณรงค์ต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยที่ติดอยู่ตรงกลางระหว่างรัฐบาลสมัครกับกลุ่มพันธมิตร สามารถมีทางออกและเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้

แม้ว่าจะบอบบางและอ่อนแอ แต่ระบบประชาธิปไตยของไทยก็ยังพอใช้การได้ เรามีการเลือกตั้งเมื่อแปดเดือนที่แล้ว เสียงของประชาชนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนั้นจะต้องได้รับการเคารพ ยิ่งไปกว่านั้นเสียงของประชาชนในครั้งนั้นได้ถูกทำให้เข้มแข็งขึ้นด้วยกระบวนการตรวจสอบที่มีขึ้นหลังการทำรัฐประหาร กระทั่งผู้นำกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ไม่ได้แสดงความไม่ไว้วางใจในองค์กรอิสระเช่น กกต. ปปช. ศาลรัฐธรรมนูญ และไม่มีใครปฏิเสธคำตัดสินของศาลฎีกาและศาลอาญาซึ่งได้ดำเนินคดีกับทักษิณและภริยาจนมีคำพิพากษาให้จำคุกภริยาของเขาเป็นเวลา 3 ปี จนทำให้ทั้งทักษิณและภริยาต้องเดินทางลี้ภัยออกจากไทยไปอยู่ที่อังกฤษ กระบวนการตุลาการและคำตัดสินที่สำคัญในอีกสองสามคดีข้างหน้าจะมีผลต่ออนาคตของสมัคร และอาจนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชน

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของคดีความที่มีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พวกเราควรต้องเคารพ และต้องปล่อยให้กระบวนการเหล่านี้ดำเนินต่อไปด้วยตัวของมันเอง

แต่กลุ่มพันธมิตรฯ ตระหนักดีว่าในท้ายที่สุดประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็จะลงคะแนนเสียงเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายเหมือนพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ผลที่ตามมาคือการต้องเปิดเผยไพ่ทุกใบที่พันธมิตรถืออยู่ในมือ

กลุ่มพันธมิตรฯต้องการให้ประเทศไทยกลับไปสู่การปกครองในยุคอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้ว ยุคสมัยของการแต่งตั้งผู้แทนเพื่อที่พวกเขาจะได้กันคนอย่างทักษิณ สมัคร พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนให้พ้นจากอำนาจไปตลอดกาล ด้วยการที่กลุ่มพันธมิตรฯ กลับเข้ามายึดอำนาจเสียเอง

เป็นที่น่าสงสัยว่ามีกลุ่มพลังกลุ่มใดบ้างที่สมคบกับกลุ่มพันธมิตรฯ พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งแพ้เลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า และยังไม่สามารถและไม่เต็มใจที่จะให้ความสำคัญกับการพัฒนากำหนดนโยบายที่ดี เพื่อเรียกคะแนนเสียงจากประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยเลยที่จะปฏิเสธหรือตำหนิวิธีการและความต้องการของกลุ่มพันธมิตร ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์เดินทางไปเยี่ยมกลุ่มพันธมิตรที่ทำเนียบรัฐบาล และสส. ของประชาธิปัตย์ก็เป็นผู้นำกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ก่อความวุ่นวายนี้ตั้งแต่ต้น

มีรายงานว่าผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์และเครือข่ายของพวกเขาเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปิดสนามบินที่ภูเก็ตและกระบี่ ถ้าเรื่องนี้ไม่จริงก็เป็นหน้าที่ที่ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์จะต้องออกมาปฏิเสธความเกี่ยวพันของสมาชิกของตนในภาคใต้ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรค

ตอนนี้สมัครต้องตัดสินใจในเรื่องที่ลำบากมาก ผู้นำกลุ่มพันธมิตรฯ ยืนยันเรียกร้องว่าทางออกทางเดียวก็คือให้สมัครลาออก

สมัครอยู่ท่ามกลางความยากลำบาก กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เขาไม่สามารถใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมที่ยึดครองทำเนียบรัฐบาลอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายได้เพราะกลัวว่าจะไปโยงกับเรื่องเก่าที่เคยทำไว้ในอดีต และอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าและความรุนแรงที่จะเพิ่มขึ้น แต่หากจะปล่อยให้พันธมิตรฯ ประท้วงต่อไปก็จะทำให้นายกรัฐมนตรีกลายเป็นเป็ดง่อย และไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน

การประชุมรวมกันสองสภาเมื่อวานนี้เป็นทางแก้ปัญหาที่ดีแต่ไม่น่าจะช่วยแก้วิกฤตในครั้งนี้ได้ ยิ่งสถานะของสมัครยิ่งไม่สามารถต้านทานวิกฤตได้ การที่เขาต้องลาออกและชัยชนะที่มาจากการแบล็คเมล์ของกลุ่มพันธมิตรฯ จะยิ่งทำให้ประเทศไทยเสียหายหนัก เป็นการถอยหลังของระบอบประชาธิปไตยของไทยอย่างมาก

แม้แต่คนที่รังเกียจสมัครแต่ต้องการเห็นความเจริญเติบโตทางการเมืองของไทยในระยะยาวก็ต้องสนับสนุนสมัครในครั้งนี้ ให้เขารอดพ้นจากการขู่กรรโชกของกลุ่มพันธมิตรฯ ในคราวนี้.