นัยยะของ พ.ร.บ. พลังงานฯ ต่อคดี ปตท. – เมื่อนิติบัญญัติ “มัดมือชก” ตุลาการ?

ว่าจะไม่เขียนเรื่องนี้ก่อนฟังศาลตัดสินในวันพรุ่งนี้ แต่อ่าน พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (“พ.ร.บ. พลังงานฯ”) (ที่เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา – เพียง 4 วันก่อนศาลประกาศว่าจะตัดสินคดี ปตท. …เรียกว่า timing ดีจริงๆ) ที่เพื่อนส่งมาให้ก็รู้สึกคันไม้คันมือ เลยอยากบันทึกความเห็นของตัวเองคร่าวๆ ไว้ในบล็อกนี้ก่อน

ผู้เขียนคง “ฟันธง” แบบหมอลักษณ์ไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นผู้พิพากษาหรือเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่หลังจากได้อ่าน พ.ร.บ. พลังงานฯ ก็อยาก “เดา” ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่สนใจติดตามเรื่องนี้มานานว่า ศาลจะตัดสินว่าขั้นตอนการแปรรูป ปตท. ขัดต่อ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่รัฐ คล้ายกับเคสของ กฟผ. (เช่น กรณีกรรมการบางคนในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. เช่น นายวิเศษ จูภิบาล และนายมนู เลียวไพโรจน์ กระทำผิดมาตรา 12 และมาตรา 18 ใน พ.ร.บ. ทุนฯ ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ห้ามกรรมการในคณะกรรมการนี้เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยการเปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นของบริษัท) แต่จะไม่สั่งให้เพิกถอน ปตท. ออกจากตลาดหุ้น (ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นด้วย เพราะ “ความผิด” ของ ปตท. ไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้น) และจะไม่ตัดสินเรื่องการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซ เพราะถูก “มัดมือชก” อย่างน่าเสียดายด้วยบทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ. พลังงานฯ

บทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ. พลังงานฯ มีความยาวกว่ากฎหมายอื่นๆ หลายฉบับที่เคยอ่าน เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการระบุให้บทบัญญัติในกฎหมายเดิมใช้บังคับได้ต่อไป แต่มาตราหนึ่งในบทเฉพาะกาลที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งคือ มาตรา 149 ซึ่งระบุว่า “เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงานของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถดำเนินงานได้ต่อไป …มิให้นำ มาตรา 26 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 มาใช้บังคับกับ ปตท. จนกว่า ปตท. จะได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. นี้ และให้ [พระราชกฤษฎีกากำหนดสิทธิ หน้าที่ และประโยชน์ของ ปตท. สองฉบับ] มีผลใช้บังคับต่อไป”

มาตรา 26 วรรคสี่ ของ พ.ร.บ. ทุนฯ ระบุว่า (ตัวหนาเน้นโดยผู้เขียน) “อำนาจของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง อำนาจของรัฐมนตรีผู้กำกับดูแล อำนาจ สิทธิ หรือประโยชน์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสามเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อมีการตรากฎหมายว่าด้วยการดำเนินกิจการที่บริษัทตามวรรคหนึ่งหรือคู่สัญญาตามวรรคสามดำเนินการอยู่ โดยกิจการของบริษัท หรือของคู่สัญญาดังกล่าว แล้วแต่กรณี ต้องอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้นตามหลักการแห่งความเท่าเทียมกันอย่างเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ และในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้กิจการนั้นต้องได้รับอนุญาตหรือสัมปทาน หรือต้องดำเนินการใดๆ ถ้าบริษัทหรือคู่สัญญาดังกล่าวมีคำขอก็ให้อนุญาตหรือให้สัมปทานหรือให้ดำเนินการดังกล่าวได้ สำหรับกรณีของคู่สัญญา ให้มีสิทธิดังกล่าวได้เท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาจะยินยอมสละสิทธิดังกล่าว หรือคณะรัฐมนตรีมีมติให้สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยชดเชยค่าเสียหายให้ตามความเป็นธรรม”


ว่าจะไม่เขียนเรื่องนี้ก่อนฟังศาลตัดสินในวันพรุ่งนี้ แต่อ่าน พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (“พ.ร.บ. พลังงานฯ”) (ที่เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา – เพียง 4 วันก่อนศาลประกาศว่าจะตัดสินคดี ปตท. …เรียกว่า timing ดีจริงๆ) ที่เพื่อนส่งมาให้ก็รู้สึกคันไม้คันมือ เลยอยากบันทึกความเห็นของตัวเองคร่าวๆ ไว้ในบล็อกนี้ก่อน

ผู้เขียนคง “ฟันธง” แบบหมอลักษณ์ไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นผู้พิพากษาหรือเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่หลังจากได้อ่าน พ.ร.บ. พลังงานฯ ก็อยาก “เดา” ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่สนใจติดตามเรื่องนี้มานานว่า ศาลจะตัดสินว่าขั้นตอนการแปรรูป ปตท. ขัดต่อ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่รัฐ คล้ายกับเคสของ กฟผ. (เช่น กรณีกรรมการบางคนในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. เช่น นายวิเศษ จูภิบาล และนายมนู เลียวไพโรจน์ กระทำผิดมาตรา 12 และมาตรา 18 ใน พ.ร.บ. ทุนฯ ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ห้ามกรรมการในคณะกรรมการนี้เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยการเปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นของบริษัท) แต่จะไม่สั่งให้เพิกถอน ปตท. ออกจากตลาดหุ้น (ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นด้วย เพราะ “ความผิด” ของ ปตท. ไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้น) และจะไม่ตัดสินเรื่องการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซ เพราะถูก “มัดมือชก” อย่างน่าเสียดายด้วยบทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ. พลังงานฯ

บทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ. พลังงานฯ มีความยาวกว่ากฎหมายอื่นๆ หลายฉบับที่เคยอ่าน เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการระบุให้บทบัญญัติในกฎหมายเดิมใช้บังคับได้ต่อไป แต่มาตราหนึ่งในบทเฉพาะกาลที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งคือ มาตรา 149 ซึ่งระบุว่า “เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงานของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถดำเนินงานได้ต่อไป …มิให้นำ มาตรา 26 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 มาใช้บังคับกับ ปตท. จนกว่า ปตท. จะได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. นี้ และให้ [พระราชกฤษฎีกากำหนดสิทธิ หน้าที่ และประโยชน์ของ ปตท. สองฉบับ] มีผลใช้บังคับต่อไป”

มาตรา 26 วรรคสี่ ของ พ.ร.บ. ทุนฯ ระบุว่า (ตัวหนาเน้นโดยผู้เขียน) “อำนาจของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง อำนาจของรัฐมนตรีผู้กำกับดูแล อำนาจ สิทธิ หรือประโยชน์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสามเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อมีการตรากฎหมายว่าด้วยการดำเนินกิจการที่บริษัทตามวรรคหนึ่งหรือคู่สัญญาตามวรรคสามดำเนินการอยู่ โดยกิจการของบริษัท หรือของคู่สัญญาดังกล่าว แล้วแต่กรณี ต้องอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้นตามหลักการแห่งความเท่าเทียมกันอย่างเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ และในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้กิจการนั้นต้องได้รับอนุญาตหรือสัมปทาน หรือต้องดำเนินการใดๆ ถ้าบริษัทหรือคู่สัญญาดังกล่าวมีคำขอก็ให้อนุญาตหรือให้สัมปทานหรือให้ดำเนินการดังกล่าวได้ สำหรับกรณีของคู่สัญญา ให้มีสิทธิดังกล่าวได้เท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาจะยินยอมสละสิทธิดังกล่าว หรือคณะรัฐมนตรีมีมติให้สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยชดเชยค่าเสียหายให้ตามความเป็นธรรม”

เนื่องจากมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ พ.ร.บ. พลังงานฯ ยกเว้นให้ไม่ต้องใช้บังคับกับ ป.ต.ท. นั้น เกี่ยวกับเรื่องความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ ข้อนี้อาจหมายความว่า ศาลปกครองจะไม่สามารถยกกรณีผูกขาดธุรกิจท่อส่งก๊าซของ ปตท. (ซึ่งเอากำไรมหาศาลจากธุรกิจนี้ไป subsidize ผลขาดทุนในกิจการน้ำมัน) เป็นเหตุผลในการพิพากษาคดีนี้ในวันพรุ่งนี้ได้ และดังนั้นก็จะไม่สามารถสั่งให้ ปตท. แยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกมาด้วย ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็น่าเสียดายมาก เพราะในความเห็นของผู้เขียนและอีกหลายคน การผูกขาดท่อก๊าซ เป็น “ความผิด” ที่ “ร้ายแรงที่สุด” ในกระบวนการแปรรูป ปตท. ทั้งหมด (นอกเหนือจากประเด็นความผิดที่นักการเมืองหน้าด้านหลายคนในรัฐบาลก่อน ได้หุ้น ปตท. ไปแบบไร้ยางอายแต่จับมือใครดมไม่ได้ ภาคประชาชนก็ฟ้องไม่ได้ เพราะใช้ “นอมินี” เหยียบเมฆ และ ก.ล.ต. ก็ไม่กล้าสืบสวน)

ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าเจตนาของรัฐและ สนช. ในการออกมาตรา 149 ในบทเฉพาะกาลคืออะไร เพราะโดยหลักการแล้ว ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่กิจการใดก็ตามควรได้รับการยกเว้นจาก “หลักการแห่งความเท่าเทียมกันอย่างเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ” (ยกเว้นว่าจะอธิบายได้ว่าเป็น “กิจการผูกขาดโดยธรรมชาติ” ซึ่งการส่งก๊าซไปตามท่อไม่เข้าข่ายนี้ ทุกคนควรมีสิทธิส่งก๊าซไปตามท่อ แล้วจ่าย “ค่าเช่าท่อ” ใ้ห้กับรัฐ ไม่ใช่ให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งที่ทำกิจการตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำมีสิทธิทำแบบนี้อยู่คนเดียว) ดังนั้นผู้เขียนมองว่า เจตนาของรัฐ และ สนช. ในการเขียนแบบนี้ คือเพื่อป้องกันความเสี่ยง (ของ ปตท.) ในการที่อาจจะถูกศาลตัดสินให้แยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากบริษัท (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ และ ปตท. เองก็ระบุแผนนี้ไว้แล้วในเอกสารไฟลิ่งตอนขายหุ้น เป็นหนึ่งใน “ปัจจัยความเสี่ยง” ที่นักลงทุนต้องรับรู้อยู่แล้ว)

ถ้าเจตนาเป็นเช่นนั้นและคำพิพากษาของศาลออกมาในแนวนั้นจริงๆ ผู้เขียนคิดว่าเคสนี้ก็นับเป็นกรณีที่น่าเศร้าอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมา “มัดมือชก” ฝ่ายตุลาการให้ตัดสินไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการ แทนที่จะมีความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมว่า ศาลอาจมีดุลยพินิจพอเพียง (ซึ่งศาลก็มีได้ ถ้าทุกฝ่ายอธิบายหลักการและเหตุผลของตัวเองอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา) ในการพิพากษาอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงทั้งประโยชน์ของประชาชน และความเสียหายต่อฝ่ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

นอกจาก พ.ร.บ. พลังงานฯ อาจทำให้ ปตท. มีอำนาจประกอบกิจการผูกขาดต่อไปอย่างไม่เป็นธรรมแล้ว กฎหมายฉบับนี้ก็ทำให้ผู้เขียนสงสัยด้วยว่า ความ “ศักดิ์สิทธิ์” ของกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยจะเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร ในเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ยังดูเหมือนว่าจะชอบใช้อำนาจและ “เครื่องมือ” ต่างๆ ที่ตัวเองมีอยู่ในมือ ก้าวล้ำ ก้าวก่าย และก้าวล่วงขอบข่ายอำนาจของกันและกัน และแทรกแซงกันไปมาโดยไม่คำนึงถึงหลักการ “การถ่วงดุลอำนาจ” ในรัฐธรรมนูญ ตลอดจนหลักการที่สำคัญอื่นๆ (เช่น การแข่งขันอย่างเป็นธรรม) ที่กฎหมายเดิมเขียนไว้ดีแล้วแต่ถูก “ลบล้าง” ด้วยกฎหมายที่ใหม่กว่า?

ถ้ารัฐบาลและ/หรือ สนช. มองว่าต้องทำแบบนี้เพราะคิดว่าศาล “ไ่ม่รู้เรื่อง” พอที่จะพิพากษาคดีนี้อย่างเป็นธรรม เหตุผลนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่คิดว่าตัวเอง “ฉลาด” กว่าเพื่อนร่วมชาติอีกหลายสิบล้านคน ที่มองว่าประชาธิปไตยแบบตะวันตกไม่เหมาะกับเมืองไทยเพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีวัน “ฉลาด” พอที่จะเลือกนักการเมืองดีๆ เข้ามาบริหารบ้านเมือง.