นายกฯ อภิสิทธิ์ไม่เห็นด้วยกับมาตรการ war room ของไอซีที และประกาศจะไม่แก้ พ.ร.บ. คอมพ์ฯ

ขอแปะสั้นๆ อีกครั้งเพราะยังยุ่งมากๆ อยู่ค่ะ (วันก่อนที่ไปบรรยายเืรื่องหนังสือ Banker to the Poor ร่่วมกับอาจารย์สุกานดา ลูอิส ก็อัดไฟล์เสียงมาแล้ว จะเอาขึ้นเว็บเร็วๆ นี้)

วันก่อนสมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network – TNN) ส่วนหนึ่งมีโอกาสได้เข้าพบนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก่อนการประชุม ครม. เพื่อยื่นจดหมายค้านมาตรการ war room ที่กระทรวงไอซีทีประกาศ (ใครที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการบล็อกเว็บของรัฐ และสนับสนุนเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต ขอเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ตเพื่อร่วมกันผลักดันประเด็นนี้ โดยเฉพาะการสร้างกลไก “กำกับดูแลกันเอง” และผลักดันให้รัฐเปิดเวทีให้คนใช้เน็ตเมืองไทยได้มีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ต รายละเีอียดดูได้ที่เว็บเครือข่ายฯ ค่ะ (เป็นเว็บที่ยังดู “เลอะเทอะ” และไม่น่าอ่าน โปรดอดใจรอ โฉมใหม่จะมาในเร็ววัน ถ้าใครอยากช่วยสร้างเว็บใหม่ก็ยิ่งดี :D))

สรุปสั้นๆ ก็คือ นายกฯ ไม่เห็นด้วยกับมาตรการ war room 80 ล้าน ของไอซีที และบอกว่า “ไม่คิดแก้” พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ที่ไอซีทีอยากชงเพื่อให้อำนาจไอซีทีปิดเว็บโดยไม่ต้องใช้คำสั่งศาล แ่ต่เนื่องจากปัจจุบันมีร่างแก้ไข พ.ร.บ. คอมพ์ฯ แล้ว รัฐบาลอาจถูกกดดันจากกระแสสังคมให้เอาร่างนี้เสนอเข้าสู่สภา (กลายเป็นว่าคุณอภิสิทธิ์ผิดคำพูดที่ให้ไว้กับเรา) ถ้ากรณีนั้นเกิดขึ้นจริง ผู้เขียนคิดว่าเราน่าจะลองยื่น “ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ในฝัน” ของประชาชนประกบด้วยเลย ผู้อ่านบล็อกนี้ท่านใดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและยินดีช่วยผลักดัน ขอเชิญไปสมัครเป็นสมาชิก TNN นะคะ จะได้ถกกันอย่างละเอียดในนั้น อันนี้มันบล็อกส่วนตัว 🙂

อ้อ แถมอีกเรื่อง เมื่อคืนวานผู้เขียนในฐานะสมาชิกของ TNN ไปออกรายการ “จับข่าวคุย” ของช่องสุวรรณภูมิมา (เมื่อก่อนเป็น ASTV5 แ่ต่ถูกซื้อกิจการออกมาบริหารโดยอิสระ) ร่วมกับคุณวินัย อยู่สบาย จากกระทรวงไอซีที ตอนนี้รอทีม duocore ช่วยแปลงไฟล์วีดีโอจาก 1.36GB DVD เป็นขนาดเล็กพอที่จะโหลดขึ้นเว็บอยู่ค่ะ เสร็จเมื่อไหร่จะมาแจ้งและเล่าประสบการณ์ในนี้อีกที

ดูวีดีโอของนายกฯ ตอนคุยกับพวกเราได้ที่นี่ค่ะ (เสียงไม่ค่อยชัด เลยแปะถอดเทปมาด้วย)

ถอดเทป (ตัวหนาเน้นโดยผู้เขียน)

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ – เวลาฟังข่าวอาจจะน่าตกใจ แต่ผมได้คุยกับท่านรัฐมนตรีแล้วว่า จะทำอะไรต้องคำนึงถึงเสรีภาพของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลย แล้วเจอปัญหา ซึ่งก็ไม่เป็นผลดีด้วย ผมเองผมก็ไปสอบถามท่านด้วยว่าเกี่ยวกับการที่ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าจะใช้เงิน 80 ล้าน…. ที่จริงที่คุยกันไม่ใช่ลักษณะนั้น และที่มีการพูดกันถึงเรื่องต้อง log in และ register ซึ่งเป็นเหตุผลที่คิดว่าจะช่วยทำให้ไม่มีกรณีไปปิดเว็บไซต์ที่เป็นกระดานสนทนา มันต้องเห็นเวลาที่คนจะกล่าวหารัฐบาลว่าเว็บมีเยอะ เวลาที่มีบางเว็บไซต์ที่โพสต์ข้อความที่ผิดกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ แล้วก็ไม่ทำอะไร ผมก็กลัวว่าถูกกดดันมากๆ เข้าก็จะปิดมันทั้งเว็บเลย ผมก็คิดว่าไปเจรจาได้ไหม มันจะได้ trace ได้ เมื่อ trace ได้มันก็จะง่ายขึ้น ถ้าทำอย่างนั้นจะยอมรับกันได้ไหม มันก็จะง่ายเข้า ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้จะจัดการยังไง เพราะพูดตามตรงก็คือว่าที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ คนที่สร้างปัญหามีไม่เยอะ แต่ว่าทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ และเราก็ไม่อยากจะไปปิดทั้งเว็บ ถ้ามันไม่มีวิธีใดที่จะรับผิดชอบ เจ้าของเว็บก็อาจจะปิดตาข้างหนึ่งแล้วปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้


ขอแปะสั้นๆ อีกครั้งเพราะยังยุ่งมากๆ อยู่ค่ะ (วันก่อนที่ไปบรรยายเืรื่องหนังสือ Banker to the Poor ร่่วมกับอาจารย์สุกานดา ลูอิส ก็อัดไฟล์เสียงมาแล้ว จะเอาขึ้นเว็บเร็วๆ นี้)

วันก่อนสมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network – TNN) ส่วนหนึ่งมีโอกาสได้เข้าพบนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก่อนการประชุม ครม. เพื่อยื่นจดหมายค้านมาตรการ war room ที่กระทรวงไอซีทีประกาศ (ใครที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการบล็อกเว็บของรัฐ และสนับสนุนเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต ขอเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ตเพื่อร่วมกันผลักดันประเด็นนี้ โดยเฉพาะการสร้างกลไก “กำกับดูแลกันเอง” และผลักดันให้รัฐเปิดเวทีให้คนใช้เน็ตเมืองไทยได้มีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ต รายละเีอียดดูได้ที่เว็บเครือข่ายฯ ค่ะ (เป็นเว็บที่ยังดู “เลอะเทอะ” และไม่น่าอ่าน โปรดอดใจรอ โฉมใหม่จะมาในเร็ววัน ถ้าใครอยากช่วยสร้างเว็บใหม่ก็ยิ่งดี :D))

สรุปสั้นๆ ก็คือ นายกฯ ไม่เห็นด้วยกับมาตรการ war room 80 ล้าน ของไอซีที และบอกว่า “ไม่คิดแก้” พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ที่ไอซีทีอยากชงเพื่อให้อำนาจไอซีทีปิดเว็บโดยไม่ต้องใช้คำสั่งศาล แ่ต่เนื่องจากปัจจุบันมีร่างแก้ไข พ.ร.บ. คอมพ์ฯ แล้ว รัฐบาลอาจถูกกดดันจากกระแสสังคมให้เอาร่างนี้เสนอเข้าสู่สภา (กลายเป็นว่าคุณอภิสิทธิ์ผิดคำพูดที่ให้ไว้กับเรา) ถ้ากรณีนั้นเกิดขึ้นจริง ผู้เขียนคิดว่าเราน่าจะลองยื่น “ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ในฝัน” ของประชาชนประกบด้วยเลย ผู้อ่านบล็อกนี้ท่านใดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและยินดีช่วยผลักดัน ขอเชิญไปสมัครเป็นสมาชิก TNN นะคะ จะได้ถกกันอย่างละเอียดในนั้น อันนี้มันบล็อกส่วนตัว 🙂

อ้อ แถมอีกเรื่อง เมื่อคืนวานผู้เขียนในฐานะสมาชิกของ TNN ไปออกรายการ “จับข่าวคุย” ของช่องสุวรรณภูมิมา (เมื่อก่อนเป็น ASTV5 แ่ต่ถูกซื้อกิจการออกมาบริหารโดยอิสระ) ร่วมกับคุณวินัย อยู่สบาย จากกระทรวงไอซีที ตอนนี้รอทีม duocore ช่วยแปลงไฟล์วีดีโอจาก 1.36GB DVD เป็นขนาดเล็กพอที่จะโหลดขึ้นเว็บอยู่ค่ะ เสร็จเมื่อไหร่จะมาแจ้งและเล่าประสบการณ์ในนี้อีกที

ดูวีดีโอของนายกฯ ตอนคุยกับพวกเราได้ที่นี่ค่ะ (เสียงไม่ค่อยชัด เลยแปะถอดเทปมาด้วย)

ถอดเทป (ตัวหนาเน้นโดยผู้เขียน)

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ – เวลาฟังข่าวอาจจะน่าตกใจ แต่ผมได้คุยกับท่านรัฐมนตรีแล้วว่า จะทำอะไรต้องคำนึงถึงเสรีภาพของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลย แล้วเจอปัญหา ซึ่งก็ไม่เป็นผลดีด้วย ผมเองผมก็ไปสอบถามท่านด้วยว่าเกี่ยวกับการที่ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าจะใช้เงิน 80 ล้าน…. ที่จริงที่คุยกันไม่ใช่ลักษณะนั้น และที่มีการพูดกันถึงเรื่องต้อง log in และ register ซึ่งเป็นเหตุผลที่คิดว่าจะช่วยทำให้ไม่มีกรณีไปปิดเว็บไซต์ที่เป็นกระดานสนทนา มันต้องเห็นเวลาที่คนจะกล่าวหารัฐบาลว่าเว็บมีเยอะ เวลาที่มีบางเว็บไซต์ที่โพสต์ข้อความที่ผิดกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ แล้วก็ไม่ทำอะไร ผมก็กลัวว่าถูกกดดันมากๆ เข้าก็จะปิดมันทั้งเว็บเลย ผมก็คิดว่าไปเจรจาได้ไหม มันจะได้ trace ได้ เมื่อ trace ได้มันก็จะง่ายขึ้น ถ้าทำอย่างนั้นจะยอมรับกันได้ไหม มันก็จะง่ายเข้า ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้จะจัดการยังไง เพราะพูดตามตรงก็คือว่าที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ คนที่สร้างปัญหามีไม่เยอะ แต่ว่าทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ และเราก็ไม่อยากจะไปปิดทั้งเว็บ ถ้ามันไม่มีวิธีใดที่จะรับผิดชอบ เจ้าของเว็บก็อาจจะปิดตาข้างหนึ่งแล้วปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้

จีรนุช – คิดว่าอาจต้องแยกเป็น 2 ประเด็น การบริหารจัดการที่จะให้มีการควบคุมดูแลนั้นประเด็นหนึ่ง กับการติดตามจับกุมตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่เกิดขึ้น คิดว่าต้องแยกเป็นสองเรื่อง เพราะโดย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มันมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดอยู่แล้ว สองเรื่องนี้ไม่ควรนำมาปะปนกันโดยสิ้นเชิง

อภิสิทธิ์ – หมายความว่ายังไง ปะปนกัน

จีรนุช – มันไม่ควรจะเป็นเรื่องว่า กรณีของการกระทำความผิดในเรื่องของผู้โพสต์ ซึ่งที่เป็นปัญหามากๆ ถ้าติดตามดูคือ การโพสต์คลิปวิดีโอตามเว็บต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยูทูป

อภิสิทธิ์ – อันนั้นแก้ได้ไม่มีปัญหา จะต้องมีการเจรจากับเจ้าของเว็บเขาถึงหลักเกณฑ์การเอาคลิปขึ้น เหมือนกับมาตรฐานที่ที่อื่นๆ ทำ ที่สากลทำกัน

จีรนุช – ประเด็นก็คือ ถ้าท่านมีโอกาสพิจารณาดูลิสต์ของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกในปัจจุบันนี้ 80-90% เป็นการโพสต์คลิปที่นำขึ้นในยูทูป ไม่ใช่เฉพาะยูทูปกลาง ทั้งยูทูปนิวซีแลนด์ ยูทูปไต้หวัน

อภิสิทธิ์ – ผมจึงบอกให้มีการเจรจากับเจ้าของเว็บถึงหลักเกณฑ์ในการเอาคลิปขึ้น และมีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ ใช้คีย์เวิร์ด อะไรก็แล้วแต่

สุนิตย์ – จริงๆ เราอยากเรียกร้องแค่ว่า ถ้าตั้งคณะทำงานชุดเล็กๆ ร่วมกัน

อภิสิทธิ์ – ยินดี แต่ผมกังวลไม่ใช่อะไร เพราะเวลาออกข่าวไป นโยบายไหนที่รัฐบาลออกไป ผมต้องการอธิบายให้เข้าใจว่าจุดยืนผม กรณีเอาคลิปไปขึ้น แนวทางไม่ใช่ไปบล็อกตัว url แต่ต้องไปเจรจากับเจ้าของเว็บนั้นว่าคุณต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าคลิปใดๆ ก็ตามที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะของประเทศใดก็ตาม คุณต้องให้ความเคารพตรงนี้ ใช้วิธีนี้ อันนี้ผมยืนยัน

แต่ที่ผมห่วงขณะนี้คือเว็บที่โพสต์ข้อความ ซึ่งมันไม่ได้รับการจัดการ และผมพูดตรงๆ ว่าบางเว็บถ้าจะจัดการก็จัดการได้อยู่แล้ว เพราะเวลาฝ่ายผมมีคนโพสต์ความเห็นไป เขาก็บล็อกไม่ให้ขึ้นแล้วก็บล็อกไอพีด้วย ทำไมเขาทำกับพวกผมได้ ทำไมเขาทำกับพวกคนทำผิดกฎหมายไม่ได้ พูดกันตรงๆ ผมก็ไม่อยากปิดเขา คุณก็มีเสรีภาพ แต่ไม่ใช่ abuse สิ่งที่คุณทำอยู่ ฉะนั้น ก็เปิดให้ log in และ register กันเข้าไป

จีรนุช – อันนั้นก็แล้วแต่แต่ละเว็บจะจัดการ ในแง่ของกฎหมายจริงๆ ต่อให้ไม่ล็อกอิน หรือ register กฎหมายกำหนดให้เก็บไอพีอยู่แล้ว ดังนั้น ในแง่ของเกณฑ์หรือมาตรการที่แต่ละเว็บจะจัดการ อันนี้จึงยังไม่แน่ใจว่าเป็นแนวที่รัฐบาลควรเข้าไปกำหนดขนาดนั้นหรือเปล่า

อภิสิทธิ์ – ผมไม่ได้กำหนดหรอกครับ ผมไปเจรจา เหตุผลถ้าพูดกันตรงๆ ก็คือ คนที่บริหารอยู่ในขณะนี้มีเจตนา มีเจตนา แต่ผมไม่อยากจะไปยุ่งกับปัญหาหลักการเรื่องเสรีภาพ ผมก็ต้องใช้วิธีอื่น ผมจึงให้พบเพราะผมต้องการจะบอกว่าผมสนับสนุนเสรีภาพ แต่ต้องช่วยผมด้วยว่า คนที่ทำผิดกฎหมาย จงใจทำผิดกฎหมาย แล้วเอาเสรีภาพของคนอื่นมาบังหน้าจะให้ผมทำยังไง จะได้เข้าใจตรงกัน จะได้ไม่มีการกระทบกระทั่งกัน ตรงนี้คือประเด็น

สุภิญญา – เรื่องสำคัญคือการมีส่วนร่วมในการแก้ไข พ.ร.บ.2 ฉบับ

อภิสิทธิ์ – จริงๆ กฎหมายผมไม่คิดแก้ (?) เข้าใจ ก็อย่างที่เคยคุยให้ฟัง เดี๋ยวนี้รัฐธรรมนูญให้เสรีภาพ กฎหมายไม่ต้องผ่านหัวหน้าพรรคก็ยื่นเข้าไปได้เลย ตอนนี้ก็เปลี่ยนวิปอีกก็ต้องคุยกันใหม่

สุเทพ – อีกกรณีหนึ่งเรื่องวิทยุชุมชนกับ พ.ร.บ.ความมั่นคง

อภิสิทธิ์ – อันนี้ผมยังไม่รู้เรื่องเลย (อันนี้คุยกับคุณสาทิตย์กันเองได้ไหม) จะได้เข้าใจตรงกัน ช่วยผมคิดหน่อยเท่านั้นเองว่าจะให้ผมจัดการยังไงกับคนที่จงใจทำผิดกฎหมาย

สุนิตย์ – ถ้าตั้งคณะทำงานเล็กๆ ร่วมกันได้ก็น่าจะดี

(ถึงตรงนี้นายกฯ ลุกออกไปจากห้อง)

สาทิตย์ วงศ์หนองเตย – วิทยุชุมชนคุยกับอนุฯ ที่ดูเรื่องกทช.แล้ว กรณีที่เป็นปัญหา เขาจะให้ กทช.ไปใช้กฎหมายวิทยุคมนาคมในเรื่องการขออนุญาต กรณีวิทยุชุมชนที่เป็นปัญหาเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะเข้าไปจัดการด้วยกฎหมายอาญา

สุเทพ – แล้วเรื่องการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง

สาทิตย์ – ไม่มี เวลาพูดก็พูดรวมว่าเป็นเรื่องความมั่นคง ซึ่งคำว่าความมั่นคงก็ตีความได้ค่อนข้างเยอะ เมื่อกี๊ก็ให้สัมภาษณ์ไปว่าได้คุยกับอนุฯ แล้ว ปัญหาของวิทยุชุมชนก็คือ มันไปไกลกว่าที่คิดเยอะ แต่ไม่ใช่หน้าที่เรา อำนาจรัฐบาลไม่มี มันเป็นอำนาจของ กทช.

จีรนุช – แปลว่ายืนยันว่าจะไม่มีการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ในการจัดการ

สาทิตย์ – ไม่มี (เสียงสูง)

จีรนุช – อย่างนี้ข่าวที่ออกไปแล้วเสียหาย ต้องแก้ข่าวไหม

สาทิตย์ – ผมว่าไอ้ฝั่งที่ด่ารัฐบาลว่า(มึง)ไม่ทำอะไรเลยนี่หนักกว่านะ ปล่อยให้ด่าอยู่ได้ยังไงทำไมไม่จัดการ เราเจอหนักกว่านะ เอาในกรุงเทพฯ ก่อนก็หนักมาก แล้วต่างจังหวัด แถวลำพูน ลำปางที่ท่านชวน (หลีกภัย) ไปก็หนักมาก ปลุกระดมกันตลอดเวลาแล้วใช้ภาษาที่หยาบคาย และผิดไปจากความจริงโดยสิ้นเชิง “พวกมันมากันแล้ว เอาให้หนักๆ เลยพี่น้อง” อย่างนี้ไม่ได้นะ มันเกินเลยจากจุดที่เขาจะรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว แต่เราเองเราก็ยึดกฎหมายแต่ละข้อเคร่งครัด ส่วนที่หนักไป ตำรวจก็ต้องเทปแล้วไปจัดการ