น้ำเต้าหู้ นายธนาคาร และจรรยาบรรณ : เชิงอรรถจากกุดชุม

เมื่อสองเดือนก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนหมู่บ้านสันติสุข อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เพื่อเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ “นายธนาคารท้องถิ่น” เจ้าของแนวคิด “บุญกุดชุม” เงินตราชุมชนแห่งแรกของเมืองไทย ประกอบการเขียนเรื่องจากปกเรื่อง “๑ ศตวรรษ ธนาคารไทย” ให้กับนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2550 (อ่านเรื่องจากปกฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์สารคดี : ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, และ ตอนที่ 3 แต่ขอแนะนำให้ซื้อเก็บเพราะแผนผัง timeline ระบบธนาคารไทยที่กอง บ.ก. สารคดี ออกแบบอย่างสวยงามนั้นน่าเก็บมาก :))

วันนี้อยากโพสรูปสวยๆ ที่ป้อ (เพื่อน) ถ่ายตอนไปกุดชุมด้วยกัน ประกอบข้อความเล็กน้อยที่หวังว่าจะขยายเป็นข้อคิดได้บ้าง เป็น “เชิงอรรถ” จากการไปเยือนกุดชุม ไม่อยากเขียนอะไรยาวๆ เพราะคิดว่ารูปของป้อ “พูด” อะไรหลายๆ อย่างได้ดีกว่าคำบรรยายใดๆ

[ถ้าใครสนใจ ดูรูปจากกล้องของผู้เขียน (ที่แย่กว่ารูปของป้อหลายเท่า แต่ก็ถ่ายอย่างมีความสุขไม่แพ้กัน) ได้ที่ Flickr set หน้านี้]

กรองน้ำเต้าหู้
กรองน้ำเต้าหู้ ขั้นตอนแรกๆ ในกระบวนการทำน้ำเต้าหู้ของแม่บ้านกุดชุม ที่มาชุมนุมอย่างพร้อมเพรียงกันตั้งแต่ตีสามครึ่ง

ถั่วเหลืองในหม้อ
ต้มถั่วเหลืองในหม้อ แม่บัวทองบอกว่า เคล็ดลับความอร่อยคือต้องใส่เกลือลงไปด้วยนิดหน่อย ไม่ใช่ใส่แต่น้ำตาลอย่างเดียว


เมื่อสองเดือนก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนหมู่บ้านสันติสุข อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เพื่อเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ “นายธนาคารท้องถิ่น” เจ้าของแนวคิด “บุญกุดชุม” เงินตราชุมชนแห่งแรกของเมืองไทย ประกอบการเขียนเรื่องจากปกเรื่อง “๑ ศตวรรษ ธนาคารไทย” ให้กับนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2550 (อ่านเรื่องจากปกฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์สารคดี : ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, และ ตอนที่ 3 แต่ขอแนะนำให้ซื้อเก็บเพราะแผนผัง timeline ระบบธนาคารไทยที่กอง บ.ก. สารคดี ออกแบบอย่างสวยงามนั้นน่าเก็บมาก :))

วันนี้อยากโพสรูปสวยๆ ที่ป้อ (เพื่อน) ถ่ายตอนไปกุดชุมด้วยกัน ประกอบข้อความเล็กน้อยที่หวังว่าจะขยายเป็นข้อคิดได้บ้าง เป็น “เชิงอรรถ” จากการไปเยือนกุดชุม ไม่อยากเขียนอะไรยาวๆ เพราะคิดว่ารูปของป้อ “พูด” อะไรหลายๆ อย่างได้ดีกว่าคำบรรยายใดๆ

[ถ้าใครสนใจ ดูรูปจากกล้องของผู้เขียน (ที่แย่กว่ารูปของป้อหลายเท่า แต่ก็ถ่ายอย่างมีความสุขไม่แพ้กัน) ได้ที่ Flickr set หน้านี้]

กรองน้ำเต้าหู้
กรองน้ำเต้าหู้ ขั้นตอนแรกๆ ในกระบวนการทำน้ำเต้าหู้ของแม่บ้านกุดชุม ที่มาชุมนุมอย่างพร้อมเพรียงกันตั้งแต่ตีสามครึ่ง

ถั่วเหลืองในหม้อ
ต้มถั่วเหลืองในหม้อ แม่บัวทองบอกว่า เคล็ดลับความอร่อยคือต้องใส่เกลือลงไปด้วยนิดหน่อย ไม่ใช่ใส่แต่น้ำตาลอย่างเดียว

คนเสร็จก็เทน้ำใส่หม้อ ผ่านผ้ากรองชั้นสุดท้าย
เมื่อคนเสร็จก็เทน้ำใส่หม้อ ผ่านผ้ากรองขั้นสุดท้าย

ถามแม่บัวทองว่าน้ำเต้าหู้กุดชุมมีอะไรดีกว่าเจ้าอื่น แม่บัวทองตอบว่า น้ำเต้าหู้เราอร่อย มีลูกค้าแทบทุกบ้านในละแวกนี้ (3 หมู่บ้าน) เพราะเราใช้ถั่วเหลืองดีที่แพงกว่าถั่วเหลืองปกติ เมื่อก่อนสั่งมาจากเชียงใหม่ แต่ตอนนี้น้ำมันแพง สู้ค่าขนส่งไม่ไหว เลยสั่งมาจากชัยภูมิแทน มีพ่อค้าเอามาส่งให้เป็นกระสอบทุกเดือน และอีกอย่าง เราไม่เคยเอาเปรียบลูกค้า ไม่เหมือนกับแม่ค้าหลายเจ้าื้ที่ค่อยๆ ลดปริมาณถั่วลงเพื่อเพิ่มกำไร ทำให้น้ำเต้าหู้จืดเกินไป ไม่อร่อย

เขย่าผ้ากรอง
เขย่าผ้ากรองอีกรอบ กรองตะกอนออกจากน้ำให้หมด

ตักใส่ถุงเตรียมขาย
ตักใส่ถุงเตรียมขาย มีสามขนาดคือถุงละ 3 บาท 5 บาท และสองถุง 5 บาท ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำ จ่ายเงินล่วงหน้ารายเดือน จำได้ว่าลูกค้าคนไหนชอบรสชาติแบบไหน (มีแบบหวานน้อย หวานกลาง หวานมาก จึงต้องใช้หม้อ 3 ใบ ใส่น้ำตาลไม่เท่ากัน) ไม่ใส่น้ำตาลเลยสำหรับลูกค้าบางคนที่เป็นเบาหวาน ผลัดกันขี่มอเตอร์ไซค์ส่งน้ำเต้าหู้ตามบ้านลูกค้าทุกเช้า

บิดผ้ากรองรองน้ำสุดท้าย
บิดผ้ากรองรองน้ำสุดท้าย ไม่ให้เสียของ

เบื้องหลังภาพสวย
เบื้องหลังภาพสวยในนิตยสารสารคดี พี่รอดรอให้ธุรกรรมเกิดขึ้นโดยสมัครใจก่อน แล้วก็โฉบเข้าไปจัดท่าทางของคนซื้อคนขายก่อนจะกดชัตเตอร์

ของใช้มียี่ห้อที่ไม่มีใครเหลียวแล
ของใช้มียี่ห้อที่ไม่มีใครเหลียวแล บนโต๊ะของพ่อค้าต่างถิ่น

แบบบ้านเพื่อประชาชน
แบบบ้านเพื่อประชาชน แจกฟรีตามบ้าน อีกหนึ่งเหตุผลว่าเหตุใดคนอีสานจึงรักและเทิดทูนอดีตนายกชื่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

(แม่ปราณีบอกว่า “หมู่บ้านนี้รับเละ” มาทุกยุคทุกสมัย หลังเกิดรัฐประหาร โครงการโคล้านตัวหมดไปก็จริง แต่มีโครงการ “กระบือเฉลิมพระเกียรติ” มาแทนที่ ตอนนี้มีกระบือมาแล้วหลายตัว ทางการมาขุดบ่อเลี้ยงปลาช่อนฟรีให้ที่ข้างบ้านแม่ปราณีด้วย)

กลอนที่ลูกชายแม่ปราณีแต่ง ตอกติดฝาประตูห้องใต้ถุนบ้าน:

ดาว

จากความฝันวันเก่าเล่าเรื่องหวัง
คำสอนสั่งหน้าเกี่ยวเคียวคมขาว
เติบโตใหญ่เจ้าต้องเปล่งเป็นเดือนดาว
อย่าปลูกข้าวปักกล้าดำลำบากกาย

มือกำเคียวจึงเที่ยวกำตำราอ่าน
มือก่ำกร้านจึงจารจดกดเครื่องหมาย
กากบาท-ฝน-ผิดพลาด อันตราย
ดาวจะคลายเดือนจะอับลาลับดวง

จึงร้อยพันขันแข่งแย่งความฝัน
เพื่อสิ่งนั้นจึงทิ้งเคียวเที่ยวบวงสรวง
ผู้อำนาจบาตรใหญ่ลิขิตดวง
ดาวจึงร่วงเหลือเพียงดวงบวงสรวงมัน

จึงหอบฝันวันเก่าอันเศร้าหมอง
หว่านทั่วท้องทุ่งนาคราคิมหันต์
แล้วไถกลบคราเมื่อฝนหล่นดุดัน
ถึงเหมันต์จึงเก็บเกี่ยวด้วยเคียวเดิม

แล้วท้องนากลับโศกาอาดูรกว่า
เห็นดาวอับแสงมาไม่เห่อเหิม
ไยต้องเหยียบต้องย่ำซ้ำรอยเดิม
กลับไปเถอะกลับไปเติมความฝัน – ไป.

หมายังมอง
ขากลับจากตลาดกุดชุม หมาคงสงสัยว่าคนแปลกถิ่นมาทำอะไรที่นี่

……

ขอขอบคุณป้อ เพื่อนรุ่นน้องผู้ถ่ายรูปอะไรๆ ก็สวยจนน่าอิจฉา, พี่รอด ช่างภาพสารคดีผู้พิถีพิถัน, พี่แดง คนขับรถสารคดีผู้รู้จักร้านอาหารอร่อยแทบทุกอำเภอในประเทศไทย, แม่ปราณี “นายธนาคาร” ผู้เอื้อเฟื้อใต้ถุนบ้านตัวเองให้พวกเราค้างคืน เสร็จแล้วก็ลากผู้เขียนกับป้อขึ้นมาตั้งแต่ตีสาม มาดูกระบวนการทำน้ำเต้าหู้ขายของเหล่านายธนาคาร, แม่บัวทอง “ตัวแทนธนาคารกุดชุม” ผู้พิสูจน์อีกครั้งว่า “จรรยาบรรณ” เป็นสิ่งสำคัญต่อธุรกิจน้ำเต้าหู้ถุงละ 3 บาท พอๆ กับที่มันสำคัญต่อธุรกิจหมื่นล้าน, กอง บ.ก. สารคดี ผู้มีความอดทนอย่างยิ่งต่อความสะเพร่าและผิดพลาดหลายประการของผู้เขียน, และพี่จอบ วันชัย ตัน บ.ก. ใหญ่ สารคดี ผู้สปอนเซอร์และจัดทริปการเดินทางไปกุดชุม เปิดหูเปิดตาคนเมืองโง่ๆ คนหนึ่งให้ได้ซาบซึ้งมากขึ้นกับศักยภาพและความแน่วแน่ของชาวบ้านในหนทาง “พึ่งตนเอง”