บางภาพประทับใจจากทริปเยือนถิ่นมอญ เมืองสังขละบุรี

งานประจำเริ่มเข้าสู่ช่วง “นรกแตก” อีกรอบแล้ว ทั้งงานหลวงงานราษฎร์ ระหว่างนี้ขอแบ่งปันภาพถ่ายบางภาพที่ผู้เขียนถ่ายมาจากการเยือนถิ่นมอญ ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ 9-10 มิถุนายนที่ผ่านมา (ไปกับคณะที่นำโดยอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิิริ ทริปนี้จัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) กว่าจะมีเวลามาเีขียนเล่ายาวๆ เหมือนเที่ยวเมืองลพบุรี คงต้องรออีกนานหลายสัปดาห์พอสมควร ยังไม่นับเรื่อง “อยากเขียน” ที่ยังไม่ได้เขียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หนังดีที่คุณอาจไม่เคยดู ฯลฯ 😀

ดูีรูปทั้งหมดจากทริปนี้ได้ที่ Flickr Set หน้านี้


วัดวังก์วิเวการาม (เก่า) หรือ “วัดใต้น้ำ” หนึ่งใน “Unseen Thailand” ที่ ททท. พยายามโปรโมท ในหน้าน้ำหลาก น้ำจะ่ท่วมถึงเกือบยอดหน้าบันเหนือประตูทางเข้าวัด (ทางขวาบนของรูป)


เครื่องมือจับปลาแบบใหม่ในแม่น้ำซองกาเรีย เกิดขึ้นหลังเขื่อนเขาแหลมสร้างเสร็จ จับได้แต่ปลาซิวปลาสร้อยเท่านั้น


งานประจำเริ่มเข้าสู่ช่วง “นรกแตก” อีกรอบแล้ว ทั้งงานหลวงงานราษฎร์ ระหว่างนี้ขอแบ่งปันภาพถ่ายบางภาพที่ผู้เขียนถ่ายมาจากการเยือนถิ่นมอญ ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ 9-10 มิถุนายนที่ผ่านมา (ไปกับคณะที่นำโดยอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิิริ ทริปนี้จัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) กว่าจะมีเวลามาเีขียนเล่ายาวๆ เหมือนเที่ยวเมืองลพบุรี คงต้องรออีกนานหลายสัปดาห์พอสมควร ยังไม่นับเรื่อง “อยากเขียน” ที่ยังไม่ได้เขียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หนังดีที่คุณอาจไม่เคยดู ฯลฯ 😀

ดูีรูปทั้งหมดจากทริปนี้ได้ที่ Flickr Set หน้านี้


วัดวังก์วิเวการาม (เก่า) หรือ “วัดใต้น้ำ” หนึ่งใน “Unseen Thailand” ที่ ททท. พยายามโปรโมท ในหน้าน้ำหลาก น้ำจะ่ท่วมถึงเกือบยอดหน้าบันเหนือประตูทางเข้าวัด (ทางขวาบนของรูป)


เครื่องมือจับปลาแบบใหม่ในแม่น้ำซองกาเรีย เกิดขึ้นหลังเขื่อนเขาแหลมสร้างเสร็จ จับได้แต่ปลาซิวปลาสร้อยเท่านั้น


ร้านอาหารกลางน้ำ แม่น้ำซองกาเีรีย ถ่ายระหว่างเดินทางไปเยือนวัดใต้น้ำ


พุทธคยาจำลอง สังขละบุรี สร้างโดยหลวงพ่ออุตตมะ


“สะพานมอญ” สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ยาว 900 เมตร ร่วมใจกันสร้างโดยช่างชาวมอญ 60 คน จากดำิริของหลวงพ่ออุตตมะ สร้างจากใช้ไม้ที่จมอยู่ใต้เขื่อนเขาแหลมโดยไม่ใ้ช้เงินแม้แต่บาทเดียว


ประติมากรรมชื่อ “Peace Vessel” ที่พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด โดย Peter Rushforth ประติมากรชาวออสเตรเลีย อดีตเคยเป็นทหารที่ทำงานก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ


อุโบสถวัดวังก์วิเวการาม (ใหม่) ร่วมกันสร้างโดยช่างสามเชื้อชาติคือ ไทย มอญ และพม่า