ระหว่างที่รอ กกต. รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 อย่างเป็นทางการ ก็อยากลองประเมินคร่าวๆ ตามประสาคนชอบคิดเลขว่า หากลอง “ปรับ” ผลการเลือกตั้ง เพื่อประเมินจำนวน “คนไม่เอาทักษิณ” ทั่วประเทศ ด้วยการประเมินตัวเลขคนไม่เอาทักษิณที่ทำบัตรเสีย และคนไม่เอาทักษิณที่ไม่ไปลงคะแนน และบวกตัวเลขสองตัวนี้เข้ากับตัวเลขคนกาช่อง “ไม่เลือกใคร” หรือเลือกพรรคอื่น ผลจะออกมาเป็นอย่างไร แตกต่างจากสัดส่วน “40:60” ที่ทักษิณชอบอ้าง มากน้อยเพียงใด
เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่การเลือกตั้งธรรมดาๆ แต่เป็นการเลือกตั้ง “พิสดาร” ชนิดมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครในโลก นับตั้งแต่เหตุผลการจัดเลือกตั้งที่ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการยุบสภา ซึ่งเป็นการผลัก “วิกฤติศรัทธาส่วนตัว” ให้กลายเป็นวิกฤติส่วนรวมของสภา จนทำให้พรรคฝ่ายค้านบอยคอตไม่ลงเลือกตั้ง มีผู้กาช่อง “ไม่เลือกใคร” เป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และประชาชนจำนวนมากตัดสินใจแสดงออกถึงความไม่พอใจ ในลักษณะที่ไม่สะท้อนอยู่ใน “บัตรดี” เช่น ไม่ไปเลือกตั้ง ทำบัตรเสีย ไปจนถึงฉีกบัตร
ตารางด้านซ้าย (คลิ้กที่รูปเพื่อขยาย) คือผลการประเมินอย่างคร่าวๆ โดยใช้ ตัวเลขจากมหาดไทย ที่รายงานโดยนสพ. ผู้จัดการ และผลการเลือกตั้งปี 2548 อย่างเป็นทางการ จากกกต. สรุปได้ดังนี้:
- จำนวนผู้กาไม่เลือกใครและพรรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไทยรักไทย: 11.51 ล้านคน
- จำนวนผู้ทำบัตรเสียที่น่าจะไม่เอาทักษิณ: 1.19 ล้านคน (อ่านรายละเอียดการประเมินด้านล่าง)
- จำนวนผู้ไม่ไปเลือกตั้งที่น่าจะไม่เอาทักษิณ: 3.58 ล้านคน (อ่านรายละเอียดการประเมินด้านล่าง)
สรุปได้ว่า จำนวน “คนไม่เอาทักษิณ” ทั้งหมด: 11.51 + 1.19 + 3.58 = 15.09 ล้านคน หรือคิดเป็น 48.8% เมื่อเทียบกับ “คนเอาทักษิณ” จำนวน 15.82 ล้านคน หรือ 51.2% (ถ้าไม่รวมบัตรที่คิดว่า “เสียจริง” จำนวน 1.43 ล้านใบ หรือ 4.4%) แสดงว่า สัดส่วนระหว่าง “คนไม่เอาทักษิณ” กับ “คนเอาทักษิณ” ที่แท้จริงน่าจะอยู่ที่ 49:51 เป็นอย่างต่ำ ไม่ใช่ 40:60
สัดส่วนที่แท้จริงอาจเท่ากับ 50:50 หรือแม้แต่ 55:45 ด้วยซ้ำ เพราะการประเมินครั้งนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า คะแนนเสียงทั้งหมดที่เลือกไทยรักไทยนั้น เป็นคะแนนเสียง “บริสุทธิ์” ไม่ได้มาจากการโกง (เช่น ขานบัตรดีให้เป็นบัตรเสีย ซื้อเสียง ฯลฯ) ซึ่งเราก็รู้ๆ อยู่ว่าไม่มีทาง
ใครที่สนใจและเป็นคนชอบคิดเลขเหมือนกัน สามารถดาวน์โหลด Excel worksheet ที่ใช้ในการคำนวณ ไปคำนวณเองได้โดยคลิ้กที่นี่ (.xls format, 39KB)
สมมุติฐานที่ใช้ในการประเมิน:
ระหว่างที่รอ กกต. รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 อย่างเป็นทางการ ก็อยากลองประเมินคร่าวๆ ตามประสาคนชอบคิดเลขว่า หากลอง “ปรับ” ผลการเลือกตั้ง เพื่อประเมินจำนวน “คนไม่เอาทักษิณ” ทั่วประเทศ ด้วยการประเมินตัวเลขคนไม่เอาทักษิณที่ทำบัตรเสีย และคนไม่เอาทักษิณที่ไม่ไปลงคะแนน และบวกตัวเลขสองตัวนี้เข้ากับตัวเลขคนกาช่อง “ไม่เลือกใคร” หรือเลือกพรรคอื่น ผลจะออกมาเป็นอย่างไร แตกต่างจากสัดส่วน “40:60” ที่ทักษิณชอบอ้าง มากน้อยเพียงใด
เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่การเลือกตั้งธรรมดาๆ แต่เป็นการเลือกตั้ง “พิสดาร” ชนิดมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครในโลก นับตั้งแต่เหตุผลการจัดเลือกตั้งที่ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการยุบสภา ซึ่งเป็นการผลัก “วิกฤติศรัทธาส่วนตัว” ให้กลายเป็นวิกฤติส่วนรวมของสภา จนทำให้พรรคฝ่ายค้านบอยคอตไม่ลงเลือกตั้ง มีผู้กาช่อง “ไม่เลือกใคร” เป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และประชาชนจำนวนมากตัดสินใจแสดงออกถึงความไม่พอใจ ในลักษณะที่ไม่สะท้อนอยู่ใน “บัตรดี” เช่น ไม่ไปเลือกตั้ง ทำบัตรเสีย ไปจนถึงฉีกบัตร
ตารางด้านซ้าย (คลิ้กที่รูปเพื่อขยาย) คือผลการประเมินอย่างคร่าวๆ โดยใช้ ตัวเลขจากมหาดไทย ที่รายงานโดยนสพ. ผู้จัดการ และผลการเลือกตั้งปี 2548 อย่างเป็นทางการ จากกกต. สรุปได้ดังนี้:
- จำนวนผู้กาไม่เลือกใครและพรรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไทยรักไทย: 11.51 ล้านคน
- จำนวนผู้ทำบัตรเสียที่น่าจะไม่เอาทักษิณ: 1.19 ล้านคน (อ่านรายละเอียดการประเมินด้านล่าง)
- จำนวนผู้ไม่ไปเลือกตั้งที่น่าจะไม่เอาทักษิณ: 3.58 ล้านคน (อ่านรายละเอียดการประเมินด้านล่าง)
สรุปได้ว่า จำนวน “คนไม่เอาทักษิณ” ทั้งหมด: 11.51 + 1.19 + 3.58 = 15.09 ล้านคน หรือคิดเป็น 48.8% เมื่อเทียบกับ “คนเอาทักษิณ” จำนวน 15.82 ล้านคน หรือ 51.2% (ถ้าไม่รวมบัตรที่คิดว่า “เสียจริง” จำนวน 1.43 ล้านใบ หรือ 4.4%) แสดงว่า สัดส่วนระหว่าง “คนไม่เอาทักษิณ” กับ “คนเอาทักษิณ” ที่แท้จริงน่าจะอยู่ที่ 49:51 เป็นอย่างต่ำ ไม่ใช่ 40:60
สัดส่วนที่แท้จริงอาจเท่ากับ 50:50 หรือแม้แต่ 55:45 ด้วยซ้ำ เพราะการประเมินครั้งนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า คะแนนเสียงทั้งหมดที่เลือกไทยรักไทยนั้น เป็นคะแนนเสียง “บริสุทธิ์” ไม่ได้มาจากการโกง (เช่น ขานบัตรดีให้เป็นบัตรเสีย ซื้อเสียง ฯลฯ) ซึ่งเราก็รู้ๆ อยู่ว่าไม่มีทาง
ใครที่สนใจและเป็นคนชอบคิดเลขเหมือนกัน สามารถดาวน์โหลด Excel worksheet ที่ใช้ในการคำนวณ ไปคำนวณเองได้โดยคลิ้กที่นี่ (.xls format, 39KB)
สมมุติฐานที่ใช้ในการประเมิน:
ประเมินจำนวนบัตรเสีย ที่น่าจะเป็นของ “คนไม่เอาทักษิณ”
การเลือกตั้งครั้งนี้มีบัตรเสียจำนวนมาก คือกว่า 5.2 ล้านใบ คิดเป็น 9.1% สูงกว่าสัดส่วนบัตรเสียในการเลือกตั้งปี 2548 คือ 4.4% กว่าสองเท่า สาเหตุเพราะมีผู้ลงคะแนนหลายคนเขียนข้อความระบายความในใจลงในบัตร (เช่น “ทักษิณ ออกไป” หรือข้อความอื่นๆ) ดังนั้นบัตรเสียที่มีข้อความดังกล่าวจึงควรนับรวมอยู่ในส่วนของผู้ที่ “ไม่เอาทักษิณ” ด้วย
ดังนั้น ถ้าเอาเปอร์เซ็นต์บัตรเสียในภาคต่างๆ มาลบออกจากเปอร์เซ็นต์บัตรเสียในการเลือกตั้งปี 2548 (ที่ปรับฐานให้เป็นปี 2549 แล้ว) ผลที่ได้น่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์บัตรเสียที่น่าจะเสียเพราะ “คนไม่เอาทักษิณ” เขียนข้อความต่างๆ ลงไปในบัตร
เป็นที่น่าสังเกตว่าเปอร์เซ็นต์บัตรเสียของภาคเหนือ (ฐานเสียงของทักษิณ) สูงกว่าบัตรเสียในภาคอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด คือสูงถึง 16.2% ในการเลือกตั้งสส. แบบแบ่งเขต เทียบกับภาคอีสาน 12.7% ภาคกลาง 10.8% และภาคใต้ 13.0% เมื่อย้อนไปดูการเลือกตั้งปี 2548 ก็พบปรากฏการณ์นี้เหมือนกัน เพียงแต่เปอร์เซ็นต์ลดลง คือภาคเหนือมีบัตรเสียถึง 8.0% เทียบกับภาคอีสาน 5.7% ภาคกลาง 5.4% และภาคใต้ 5.6% ในเมื่อคนเหนือไม่น่าจะด้อยความรู้เรื่องระเบียบการเลือกตั้งกว่าคนภาคอื่น ตัวเลขนี้จึงส่อเค้าว่าภาคเหนือใช้วิธีขานบัตรดีเป็นบัตรเสีย เพื่อโกงเลือกตั้ง มากกว่าภาคอื่นๆ
ประเมินจำนวนผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่น่าจะเป็น “คนไม่เอาทักษิณ”
การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงน้อยลงกว่าการเลือกตั้งปี 2548 คือ 63.7% ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ลดลงจากอัตราส่วน 72.5% ของปี 2548 ในบรรดาผู้ที่ไปออกเสียงเมื่อปี 2548 แต่ตัดสินใจไม่ไปออกเสียงคราวนี้ ส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ที่ต้องการ “บอยคอต” ทักษิณ หรือการเลือกตั้งในครั้งนี้ มากกว่าผู้สนับสนุน (เพราะถ้าสนับสนุนทักษิณ ก็น่าจะอยากไปลงคะแนนให้) คนรู้จักหลายคนไม่ไปเลือกตั้งเพราะ “เบื่อทักษิณ” และ “ไม่รู้จะไปเลือกทำไม เลือกไปก็เป็นสภาโจ๊ก” ดังนั้นควรนับรวมเสียงเหล่านี้เป็นเสียง “ไม่เอาทักษิณ” ด้วย
ดังนั้น ส่วนต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในปี 2548 (ปรับฐานให้เป็น 2549) กับปีนี้ หรือประมาณ 3.58 ล้านคน ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด น่าจะเป็น “คนไม่เอาทักษิณ” ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด