และแล้ว หลังจากที่เกิดอังคารทมิฬได้ไม่ถึงเดือน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 ตลาดหุ้นไทยก็ตกลงไปอีก 17 จุด หรือ 2.69% จากการ “ตื่นเทขาย” ของนักลงทุนทั้งฝรั่งและไทย หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้แก้ไขพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (คลิ้กที่ลิ้งก์เพื่อดาวน์โหลด พ.ร.บ. ดังกล่าว)
เมื่อพิจารณาว่า ครม. มีมติให้แก้อะไรใน พ.ร.บ. ฉบับนี้บ้าง เทียบกับเสียงโวยวายของนักลงทุนต่างด้าว และนักลงทุนที่เทขายหุ้นทิ้งมากมาย ผู้เขียนคิดว่าเหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองฝ่าย “ตกใจเกินกว่าเหตุ” (overreact) ไปมากๆ – มากกว่าเมื่อตอนเกิดอังคารทมิฬหลายเท่าตัว (แปลว่าการตกใจขายครั้งนั้นสมเหตุสมผลกว่าครั้งนี้)
เช่น นักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ออกมาใหญ่โต ทั้งๆ ที่ทั้งสองธุรกิจนี้ไม่เคยอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ต่างด้าวเลยแม้แต่นิดเดียว!
ทำให้คิดว่า ช่วง 2-3 วันนี้น่าจะเป็นโอกาสเหมาะ (อีกครั้ง) ที่จะได้ช้อนซื้อหุ้นพื้นฐานดีราคาถูก ถ้าใครช้อนยังไม่หัก ก็ลองดูนะคะ ช้อนส่วนตัวตอนนี้หักไปหลายอัน ที่เหลือก็กุดเหลือนิดเดียว คงต้องรอ “สร้างช้อน” (aka เก็บเงิน) ใหม่ก่อน (เฮ้อ…)
กล่าวโดยสรุป ผู้เขียนรู้สึกดีใจที่ ครม. ได้ลงมติให้แก้นิยาม “คนต่างด้าว” ใน พ.ร.บ. ต่างด้าว ให้ตรงกับนิยาม “ความเป็นเจ้าของ” ตามมาตรฐานสากลเสียที (คือนับสิทธิออกเสียงในบริษัทด้วย) แต่ในขณะเดียวกัน ก็ผิดหวังค่อนข้างมากที่ ครม. ไม่ได้ประกาศยกเลิกบัญชี 3 แนบท้าย พ.ร.บ. ต่างด้าว ไปเลย (บัญชีที่กำหนดให้คนต่างด้าวต้องขออนุมัติกระทรวงพาณิชย์ก่อน) เพราะธุรกิจที่อยู่ภายใต้บัญชีเหล่านั้นเป็นธุรกิจที่สมควรให้คนต่างด้าวทำ คือเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับความมั่นคงของชาติ (ส่วนใหญ่ในบัญชีนี้เป็นธุรกิจบริการ) และคนต่างด้าวก็ทำมานานแล้ว ผู้บริโภคคนไทยก็ได้ประโยชน์ (อาจมีข้อยกเว้นบ้างก็มีแต่ธุรกิจค้าปลีกเท่านั้น ซึ่งตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันในวงกว้างระหว่างผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ อยู่แล้ว และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว ไม่ต้องมาอยู่ใต้ พ.ร.บ. ต่างด้าวด้วย คงต้องจับตาดูกันต่อไป)
และแล้ว หลังจากที่เกิดอังคารทมิฬได้ไม่ถึงเดือน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 ตลาดหุ้นไทยก็ตกลงไปอีก 17 จุด หรือ 2.69% จากการ “ตื่นเทขาย” ของนักลงทุนทั้งฝรั่งและไทย หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้แก้ไขพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (คลิ้กที่ลิ้งก์เพื่อดาวน์โหลด พ.ร.บ. ดังกล่าว)
เมื่อพิจารณาว่า ครม. มีมติให้แก้อะไรใน พ.ร.บ. ฉบับนี้บ้าง เทียบกับเสียงโวยวายของนักลงทุนต่างด้าว และนักลงทุนที่เทขายหุ้นทิ้งมากมาย ผู้เขียนคิดว่าเหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองฝ่าย “ตกใจเกินกว่าเหตุ” (overreact) ไปมากๆ – มากกว่าเมื่อตอนเกิดอังคารทมิฬหลายเท่าตัว (แปลว่าการตกใจขายครั้งนั้นสมเหตุสมผลกว่าครั้งนี้)
เช่น นักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ออกมาใหญ่โต ทั้งๆ ที่ทั้งสองธุรกิจนี้ไม่เคยอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ต่างด้าวเลยแม้แต่นิดเดียว!
ทำให้คิดว่า ช่วง 2-3 วันนี้น่าจะเป็นโอกาสเหมาะ (อีกครั้ง) ที่จะได้ช้อนซื้อหุ้นพื้นฐานดีราคาถูก ถ้าใครช้อนยังไม่หัก ก็ลองดูนะคะ ช้อนส่วนตัวตอนนี้หักไปหลายอัน ที่เหลือก็กุดเหลือนิดเดียว คงต้องรอ “สร้างช้อน” (aka เก็บเงิน) ใหม่ก่อน (เฮ้อ…)
กล่าวโดยสรุป ผู้เขียนรู้สึกดีใจที่ ครม. ได้ลงมติให้แก้นิยาม “คนต่างด้าว” ใน พ.ร.บ. ต่างด้าว ให้ตรงกับนิยาม “ความเป็นเจ้าของ” ตามมาตรฐานสากลเสียที (คือนับสิทธิออกเสียงในบริษัทด้วย) แต่ในขณะเดียวกัน ก็ผิดหวังค่อนข้างมากที่ ครม. ไม่ได้ประกาศยกเลิกบัญชี 3 แนบท้าย พ.ร.บ. ต่างด้าว ไปเลย (บัญชีที่กำหนดให้คนต่างด้าวต้องขออนุมัติกระทรวงพาณิชย์ก่อน) เพราะธุรกิจที่อยู่ภายใต้บัญชีเหล่านั้นเป็นธุรกิจที่สมควรให้คนต่างด้าวทำ คือเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับความมั่นคงของชาติ (ส่วนใหญ่ในบัญชีนี้เป็นธุรกิจบริการ) และคนต่างด้าวก็ทำมานานแล้ว ผู้บริโภคคนไทยก็ได้ประโยชน์ (อาจมีข้อยกเว้นบ้างก็มีแต่ธุรกิจค้าปลีกเท่านั้น ซึ่งตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันในวงกว้างระหว่างผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ อยู่แล้ว และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว ไม่ต้องมาอยู่ใต้ พ.ร.บ. ต่างด้าวด้วย คงต้องจับตาดูกันต่อไป)
ควรย้ำตรงนี้ด้วยว่า พ.ร.บ. ต่างด้าวมีข้อยกเว้นอยู่แล้ว ให้กับธุรกิจอะไรก็ตามที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐ เช่น BOI หรืออยู่ในนิคมอุตสาหกรรม และก็มีธุรกิจมากมายก่ายกองที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เช่น การถือครองที่ดิน การทำชิ้นส่วนรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ และธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้กฎหมายอื่น แต่เห็นมีนักธุรกิจต่างชาติที่ทำธุรกิจเหล่านี้ ออกมาตีโพยตีพายเรื่องการแก้ พ.ร.บ. ต่างด้าวหน้าตาเฉย (สงสัยจะกลัวว่า กฎหมายที่ควบคุมธุรกิจของตัวเองจะ “โดนแก้” ไปด้วย)
ถึงแม้มติ ครม. จะบอกว่า คนต่างด้าวที่ทำธุรกิจในบัญชี 3 อยู่แล้ว จะได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจต่อไปได้โดยไม่ต้องแก้ไขโครงสร้างบริษัทให้ตรงกับนิยามใหม่ แค่ต้องไปแจ้งเท่านั้น แต่การยกเว้นข้อนี้เป็นการยกเว้นย้อนหลังให้ ดังนั้นคนต่างด้าวที่อยากเข้ามาประกอบธุรกิจในบัญชี 3 ในอนาคต ก็จะต้องทำให้ถูกต้อง (คือ ถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงได้ไม่เกิน 49%) เท่ากับเป็นการกีดกันผู้เล่นต่างชาติรายใหม่ๆ ไม่ให้เข้ามาประกอบธุรกิจในบัญชี 3 ได้โดยสะดวก
สำหรับคำถามที่ว่า “ทำไมต้องแก้ พ.ร.บ. ต่างด้าวตอนนี้” ผู้เขียนคิดว่า จำเป็นต้องแก้ เพราะมีปัญหาการทำผิดกฎหมายของเทมาเส็ก (ประเด็นการใช้บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด เป็นนอมินีในการซื้อหุ้นชินคอร์ป) ค้างคาอยู่ ซึ่งท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ชินคอร์ปนั้นไม่ได้ทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือ (ไม่อยู่ใน พ.ร.บ. ต่างด้าว) เพียงอย่างเดียว หากยังประกอบธุรกิจโทรทัศน์ (บัญชี 1 คือห้ามต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด) และสายการบินในประเทศ (บัญชี 2 คือต้องขออนุญาต ครม. ก่อน) ด้วย แต่กฎหมายเราตอนนี้กำหนดบทลงโทษเท่ากันหมด โดยไม่ดูระดับ “ความร้ายแรง” ของความผิด (และก็ต้องยอมรับว่าเป็นกฎหมายที่ “ล้าหลัง” ไม่สะท้อนข้อเท็จจริงด้วย) จึงจำเป็นต้องแก้ไขให้แยกแยะระหว่างระดับความร้ายแรงได้ก่อน มิฉะนั้น คนที่ทำผิด “สถานเบา” (เช่น ประกอบธุรกิจในบัญชี 3) ก็จะพลอยถูกลงโทษเท่ากันกับคนที่ทำผิด “สถานหนัก” อย่างกุหลาบแก้ว ซึ่งไม่เป็นธรรมอย่างแน่นอน
อุปมาก็คงได้ประมาณว่า สมมุติว่ามีนักโทษสิบคน คนหนึ่งเป็นผู้รายฆ่าคนตายมาแล้ว 50 คน อีกเก้าคนถูกจับฐานลักเล็กขโมยน้อย แต่กฎหมายระบุโทษประหารเหมือนกันทุกความผิด ถ้าบังคับใช้กฎหมายนี้ ขโมยเก้าคนก็จะถูกประหารไปด้วย ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำผิดในระดับที่สมควรได้รับโทษนั้น รัฐจึงควรแก้กฎหมายให้สมเหตุผลก่อน จะได้ประหารฆาตกร และให้โทษที่เบากว่าสำหรับขโมย มิฉะนั้นก็อาจถูกสังคมตราหน้าว่า “เลือกปฏิบัติ” ได้ (ทั้งๆ ที่ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่การเลือกปฏิบัติ แต่อยู่ที่ความไม่รัดกุมของกฎหมาย)
……
ลองมาวิเคราะห์ผลกระทบจากการแก้ไข พ.ร.บ. ต่างด้าว ตามลำดับสาระสำคัญที่ปรากฎเป็นข่าว ดังต่อไปนี้
1. แก้ไขคำนิยาม “คนต่างด้าว” โดยกำหนดให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลน ั้นด้วย เพื่อป้อกงันการหลีกเลี่ยงกฎหมายให้หลุดพ้นจากการเป็นคนต่างด้าว โดยการกำหนดบุริมสิทธิให้คนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงเหนือกว่าคนไทย หรือในทางกลับกันกำหนดให้คนไทยมีสิทธิออกเสียงน้อยกว่าคนต่างด้าว(ร่างมาตรา 4)
ความเห็นผู้เขียน: นิยามข้อนี้เป็นการแก้ที่สมเหตุสมผล เพื่อให้เราใช้นิยาม “ความเป็นเจ้าของ” ตามมาตรฐานสากลเสียที (คือดูทั้งสิทธิออกเสียง และหุ้นที่ถือ ไม่ใช่หุ้นอย่างเดียว เพราะผู้ถือหุ้นเกิน 50% อาจไม่มีอำนาจควบคุม เพราะสิทธิออกเสียงด้อยกว่าผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ)
2. แก้ไขปรับปรุงบทลงโทษ มาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา 37 โดยเพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นเพื่อให้เหมะสมกับการกระทำความผิด สำหรับโทษจำคุกคงเดิม
ความเห็นผู้เขียน: เห็นด้วย บทลงโทษของไทยในกฎหมายหลายๆ ฉบับอ่อนเกินไป เป็นแรงจูงใจให้คนทำผิด (เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับสูงกว่าโทษ) พ.ร.บ. ต่างด้าวก็เช่นกัน
3. กำหนดบทเฉพาะกาล เพื่อรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปรับปรุงบทนิยาม “คนต่างด้าว” ให้ผู้ประกอบธุรกิจอยู่ก่อนแล้วตามกฎหมายเดิมได้รับสิทธิประกอบธุรกิจต่อไปได้ โดยให้มาแจ้งเพื่อขอหนังสือรับรองภายในเวลาที่กำหนดและหากเป็นการประกอบธุรกิิจในบัญชีสามจะประกอบธุรกิจได้ต่อไป
สำหรับการประกอบธุรกิจในบัญชี 1 และบัญชี 2 จะประกอบธุรกิจต่อไปได้อีก 2 ปี และกำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สูง ขึ้นได้มีโอกาสปรับตัวและปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
ความเห็นผู้เขียน: เห็นด้วยที่ยกเว้นให้คนต่างด้าวที่ทำธุรกิจในบัญชี 3 อยู่แล้วไม่ต้องแก้ไขโครงสร้าง แต่ให้เวลาบัญชี 1 และ 2 ในการปรับปรุง ข้อนี้เป็นการตอกย้ำความแตกต่างในแง่ของ “ระดับความร้ายแรง” ระหว่างบัญชี 1, 2 และ 3 ด้วย เพราะธุรกิจในบัญชี 1 และ 2 ส่วนใหญ่คือธุรกิจที่มี “นัยยะสำคัญระดับชาติ” ที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกก็ไม่ยอมให้คนต่างด้าวทำทั้งสิ้น (เช่น การผลิตอาวุธสงคราม สถานีวิทยุโทรทัศน์ เกษตรกรรม ฯลฯ)
4. ปรับปรุงบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดย
4.1 ยกเลิกธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะกำกับดูแลอยู่แล้ว ได้แก่ธุรกิจนำเที่ยว
4.2 ยกเว้นธุรกิจที่หน่วยงานที่กำกับโดยตรงขอให้ยกเว้น
4.3 ตัดข้อกำหนดเรื่องทุนขั้นต่ำของธุรกิจและค้าส่งออก ซึ่งมีผลให้ผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งทุกรายต้องขออนุญาต
ความเห็นผู้เขียน: เห็นด้วยกับการแก้ไขข้อนี้ เพราะจะได้ขจัดความสับสนว่า ถ้าธุรกิจหนึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายหลายฉบับ จะเอากฎหมายฉบับไหนเป็นหลัก ส่วนการแก้เรื่องค้าปลีกนั้น ก็ชัดเจนว่าเป็นการทำให้การทำธุรกิจค้าปลีกของคนต่างด้าวถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดมากขึ้น และ “ปิดช่องโหว่” ของกฎหมาย เพราะสมัยก่อน พ.ร.บ. ฉบับนี้กำกับเฉพาะธุรกิจค้าปลีกที่มีทุนน้อยกว่า 100 ล้านบาท ฉะนั้นเวลาห้างใหญ่ๆ อย่างเทสโก้โลตัสไปเปิดสาขาใหม่ ก็เพียงแต่ไปตั้งบริษัทใหม่ (บริษัทลูก) ที่มีทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จะได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ฉบับนี้
แต่การแก้ข้อนี้ก็ควรทำควบคู่ไปกับการยกเลิกบัญชี 3 ด้วย ดังกล่าวแล้วข้างต้น โดยส่วนตัว ผู้เขียนเห็นด้วยกับ ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ที่ให้สัมภาษณ์ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ว่า ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงบัญชี 3 “…เพราะปัจจุบันมีบริษัทธุรกิจต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจให้บริการจำนวนมาก ถามว่าคำจำกัดความต่างชาติเราเข้มงวดกว่าสากลหรือไม่ จริงๆ แล้วไม่ได้เข้มงวดมากกว่า แต่ปัญหาอยู่ที่เราห้ามต่างชาติเข้ามาลงทุนในหลายสาขามากเกินไป”
……
จะเห็นว่าการประกาศแก้ พ.ร.บ. ต่างด้าวในครั้งนี้ ไม่ได้ “แย่” อย่างที่หลายฝ่ายพยายามกระพือ และมีเหตุมีผลพอสมควร (ยกเว้นที่ไม่ยกเลิกบัญชี 3 แตผู้เขียนก็ยังหวังว่า เมื่อ พ.ร.บ. ตัวจริงมาถึง จะมีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาแก้ไข)
การที่นักลงทุนต่างด้าวจะตกใจนั้น เป็นเรื่องที่เราคาดเดาได้ เพราะก็ต้องยอมรับว่ากฎหมายไทยไม่ใช่เรื่องง่ายๆ สำหรับชาวต่างชาติ (คนไทยเองยังต้องใช้เวลาทำความเข้าใจค่อนข้างนาน) แต่สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าน่าเศร้ามากกว่าคือ ตอนนี้คนไทยหลายฝ่ายกลับพลอยตกอกตกใจตามฝรั่งไปด้วย โดยที่ไม่ใช้สติพิจารณาข้อเท็จจริงก่อน ว่าเป็นอย่างไร
เป็นเรื่องเศร้าที่แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในแวดวงการเงินหลายคน ก็กำลังช่วยกระพือความกลัวดังกล่าว โดยไม่สมเหตุผล แถมบางคนก็ใช้ข้อมูลผิดๆ อีกต่างหาก เช่น บอกว่าบริษัทขนาดใหญ่ในธุรกิจค้ารถยนต์ การค้า และโทรคมนาคม จะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแก้ไข พ.ร.บ. ในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่ธุรกิจเหล่านั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ต่างด้าวเลยด้วยซ้ำ!
ผู้เขียนพยายามคำนวณผลกระทบคร่าวๆ ที่การแก้ไข พ.ร.บ. ต่างด้าวในครั้งนี้ อาจมีต่อเม็ดเงินลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (Foreign Direct Investment หรือ FDI) โดยใช้ตัวเลขล่าสุดจาก ธปท. ที่รายงาน Net FDI รายธุรกิจ คำนวณเฉพาะธุรกิจที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ต่างด้าว ผลออกมาดังต่อไปนี้ (คลิ้กที่รูปเพื่อขยาย):
จากตารางข้างต้น สรุปว่าตัวเลขเงินลงทุนจากต่างชาติที่อาจหายไป (ถ้ามองว่าเราไม่น่าจะมีธุรกิจใหม่ๆ อะไรที่ดึงดูดต่างชาติมาลงทุน นอกเหนือจากที่เป็นมาในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา) น่าจะอยู่ที่ประมาณ 900-1,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 20% (หนึ่งในห้า) ของ Net FDI ที่ไทยได้รับต่อปี ตัวเลข Net FDI ในภาคบริการคิดเป็น 2.3% ของ Net FDI ทั้งปีเท่านั้น (แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ดูไม่ได้มาก เพราะการลงทุนในธุรกิจบริการหลายครั้งคือการซื้อหุ้นในบริษัท holding company อย่างตอนที่เทมาเส็กซื้อหุ้นชินคอร์ป ซึ่งตัวเลขนั้นจะไปโผล่ในช่อง “การลงทุน” แทน ไม่ใช่บริการ)
ตัวเลขนี้คิดว่าค่อนข้าง conservative แล้ว เนื่องจากใช้สมมุติฐานว่าบริษัททุกแห่งในตารางที่ประกอบธุรกิจภายใต้ พ.ร.บ. ต่างด้าว “ทำผิด” อยู่ (คืออยากได้อำนาจควบคุม 50%+ ไม่ใช่มาทำ joint venture หรือลงทุนในฐานะผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเฉยๆ)
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวอาจต่ำกว่าความเป็นจริง(ในอนาคตอันใกล้)มาก เพราะฝรั่งตอนนี้อยู่ในภาวะ “ตกใจ” (panic) เพราะไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะออกมาตรการอะไรอีกที่ “โหด” กว่าที่ประกาศไปเมื่อวานนี้หรือเปล่า
แต่ผู้เขียนคิดว่า ยังไงๆ การมีประมาณการที่ตั้งอยู่บนเหตุผล (rational expectation) ก็มีประโยชน์ จะได้รู้ว่า ระดับ “ความตกใจ” (irrational reaction) ของนักลงทุนต่างชาตินั้น สูงกว่าที่ “ควรจะเป็น” ไปมากขนาดไหน
สรุปว่า โดยรวมผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไข พ.ร.บ. ต่างด้าว ตามที่รัฐบาลประกาศ แต่คิดว่าควรต้องยกเลิกบัญชี 3 ด้วย มิฉะนั้นก็จะเป็นการกีดกันต่างชาติเกินความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ และเกินระดับที่นานาประเทศเขาทำกัน
จากนี้ไป ก็ขอให้ช่วยกันจับตาดูว่า รัฐบาลจะออกมาตรการอะไรที่ “โหดเกินไป” หรือเปล่า และหน้าตาของ พ.ร.บ. ต่างด้าว ที่แก้กันจริงๆ จะออกมาเป็นอย่างไร
ในบรรยากาศอันอึมครึมที่เต็มไปด้วยข่าวลือและผู้ไม่ประสงค์ดีหลายฝ่ายแบบเวลานี้ คนไทยทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในแวดวงธุรกิจและการเงิน ควรยิ่งเร่งศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ บนพื้นฐานของข้อกฎหมายและความเป็นจริง ช่วยกันอธิบายหลักการ เหตุผล ข้อเท็จจริง ฯลฯ ให้ชาวต่างด้าวเข้าใจเมื่อมีโอกาส จะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีสติและมีเหตุผล ไม่ใช่หลับหูหลับตาตีโพยตีพาย แห่กันตกใจตามฝรั่ง เชื่อข่าวลือทุกชนิดก่อนที่จะรู้ข้อเท็จจริง แถมยังโหมกระพือความกลัวให้ต่างชาติตกใจเกินกว่าเหตุ อย่างที่หลายๆ คนกำลังทำอยู่
ผู้เขียนคิดว่า เวลาแบบนี้แหละ คือเวลาที่เราทุกคนน่าจะช่วยกันแสดงออกถึงความ “รักชาติ” แบบมีสติ มีเหตุผล ไม่ใช่แตกตื่นตามฝรั่ง หรือเอาอคติต่อรัฐบาลนี้เป็นตัวตั้ง.