พุทธเหมือนกัน? (ขออีกที)

[หลังจากที่พยายาม “คอมเม้นท์ด้วยภาพ” เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสถาบันสงฆ์ไทยกับพม่า ซึ่งมีรูปแบบเป็น “พุทธเถรวาท” เหมือนกัน ก็มีเรื่องให้คอมเม้นท์แบบนี้อีกแล้ว ขออภัยทุกท่านที่รอผู้เขียนโพส “เรื่องเบาๆ” อย่างเรื่องเดินทาง ฯลฯ อยู่ แต่ตอนนี้ยังอดโพสเรื่องนี้ไม่ได้]

พระสงฆ์พม่าที่ถูกทหารทำร้าย
ปลายเดือนกันยายน 2550: พระสงฆ์พม่าที่ถูกทหารรัฐบาลทำร้ายเืนื่องจากออกมาประท้วงเพื่อประชาชน เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงย่างกุ้ง ในขณะที่พระอีกหลายร้อยรูปยังถูกคุมขังอยู่ในคุก พระอีกหลายร้อยรูปถูกฆ่าตายและศพถูกนำไปทิ้งกลางป่า และพระในวัดส่วนใหญ่ทั่วประเทศยังคงปฏิเสธที่จะรับบิณฑบาตจากทหารและครอบครัว (ภาพจาก บล็อกของ Ko Htike)


ปลายเืดือนกันยายน 2550: ตัวแทนพระสงฆ์ พระนิสิต นำโดย พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย รองผอ.สำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริหารสังคม มจร. พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนประมาณ 100 รูป/คน รวมตัวกันยื่นหนังสือขอให้มหาวิทยาลัยศิลปากร ระงับการแสดงภาพ “ภิกษุสันดานกา” ผลงานนายอนุพงษ์ จันทร ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม จากการประกวดผลงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 ประจำปี 2550 (ภาพจาก มติชนออนไลน์)

ภิกษุสันดานกา

อ่านเรื่องพระออกมาประท้วงเรื่องรูปนี้แล้วทำให้นึกถึงคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่องการศึกษาธรรมจากภาพ:

“… การศึกษาธรรมจากภาพนั้น ในชั้นแรกที่สุด จะต้องดูให้ออกเสียก่อน ว่ามันเป็นภาพอะไร หรือเขามุ่งหมายที่จะเขียนภาพอะไรนั่นเอง ในชั้นที่สอง จะต้องพินิจพิจารณาจนเข้าใจความหมายของภาพนั้นๆ ว่ามุ่งจะแสดงอะไรโดยแท้จริงถึงที่สุด และในขั้นที่สาม ซึ่งควรจะเป็นขั้นสุดท้ายนั้น คือ การน้อมเอาภาวะแห่งความหมายนั้นมาสู่จิต หรือภาวะของตัวเราเอง, ที่กำลังเป็นอยู่จริง ซึ่งอาจจะถึงกับสะดุ้ง เพราะภาพนั้นได้ด่าเรา สอนเรา ล้อเรา ถึงขนาดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสันดานของเรา ซึ่งหมายความว่ามันได้ช่วยชำระชะล้างกิเลสของเราได้ไม่น้อยทีเดียว…”

ข่าว/ประเด็นที่น่าสนใจ:


[หลังจากที่พยายาม “คอมเม้นท์ด้วยภาพ” เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสถาบันสงฆ์ไทยกับพม่า ซึ่งมีรูปแบบเป็น “พุทธเถรวาท” เหมือนกัน ก็มีเรื่องให้คอมเม้นท์แบบนี้อีกแล้ว ขออภัยทุกท่านที่รอผู้เขียนโพส “เรื่องเบาๆ” อย่างเรื่องเดินทาง ฯลฯ อยู่ แต่ตอนนี้ยังอดโพสเรื่องนี้ไม่ได้]

พระสงฆ์พม่าที่ถูกทหารทำร้าย
ปลายเดือนกันยายน 2550: พระสงฆ์พม่าที่ถูกทหารรัฐบาลทำร้ายเืนื่องจากออกมาประท้วงเพื่อประชาชน เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงย่างกุ้ง ในขณะที่พระอีกหลายร้อยรูปยังถูกคุมขังอยู่ในคุก พระอีกหลายร้อยรูปถูกฆ่าตายและศพถูกนำไปทิ้งกลางป่า และพระในวัดส่วนใหญ่ทั่วประเทศยังคงปฏิเสธที่จะรับบิณฑบาตจากทหารและครอบครัว (ภาพจาก บล็อกของ Ko Htike)


ปลายเืดือนกันยายน 2550: ตัวแทนพระสงฆ์ พระนิสิต นำโดย พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย รองผอ.สำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริหารสังคม มจร. พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนประมาณ 100 รูป/คน รวมตัวกันยื่นหนังสือขอให้มหาวิทยาลัยศิลปากร ระงับการแสดงภาพ “ภิกษุสันดานกา” ผลงานนายอนุพงษ์ จันทร ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญทองประเภทจิตรกรรม จากการประกวดผลงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 ประจำปี 2550 (ภาพจาก มติชนออนไลน์)

ภิกษุสันดานกา

อ่านเรื่องพระออกมาประท้วงเรื่องรูปนี้แล้วทำให้นึกถึงคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่องการศึกษาธรรมจากภาพ:

“… การศึกษาธรรมจากภาพนั้น ในชั้นแรกที่สุด จะต้องดูให้ออกเสียก่อน ว่ามันเป็นภาพอะไร หรือเขามุ่งหมายที่จะเขียนภาพอะไรนั่นเอง ในชั้นที่สอง จะต้องพินิจพิจารณาจนเข้าใจความหมายของภาพนั้นๆ ว่ามุ่งจะแสดงอะไรโดยแท้จริงถึงที่สุด และในขั้นที่สาม ซึ่งควรจะเป็นขั้นสุดท้ายนั้น คือ การน้อมเอาภาวะแห่งความหมายนั้นมาสู่จิต หรือภาวะของตัวเราเอง, ที่กำลังเป็นอยู่จริง ซึ่งอาจจะถึงกับสะดุ้ง เพราะภาพนั้นได้ด่าเรา สอนเรา ล้อเรา ถึงขนาดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสันดานของเรา ซึ่งหมายความว่ามันได้ช่วยชำระชะล้างกิเลสของเราได้ไม่น้อยทีเดียว…”

ข่าว/ประเด็นที่น่าสนใจ:

เจ้าของผลงาน “ภิกษุสันดานกา” กล่าวว่า “ไม่มีเจตนาที่จะดูหมิ่นพระพุทธศาสนาหรือทำลายเกียรติยศของพระสงฆ์ เพียงแต่นำเสนอมุมหนึ่งที่เห็นจากสังคมที่เป็นอยู่ โดยปัจจุบันมีคนกลุ่มหนึ่งกำลังเข้ามาในพระพุทธศาสนา โดยอาศัยความเป็นภิกษุหาผลประโยชน์เป็นเหลือบเกาะศาสนา ซึ่งเราพบเห็นได้จากข่าวที่เกิดขึ้นจริงตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมากมาย ทำให้พุทธศาสนิกชนรู้สึกสะเทือนใจอย่างมาก

“เราเศร้าใจเพราะพระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นผู้สั่งสอนและเผยแผ่ศาสนากลับกระทำผิดเสียเอง ผมนำเอาความสะเทือนใจที่เป็นเรื่องฉาวโฉ่ในวงการผ้าเหลืองมาเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างงานศิลปะ ภาพนี้สื่อถึงมนุษย์บวชเป็นพระ หลงผิดในไสยศาสตร์ รอยสักพร้อยเต็มตัว ชอบลักขโมยเหมือนกา ตายไปเกิดเป็นเปรตมือใหญ่โต ยื้อแย่งสิ่งของในบาตร ตรงกับคำกล่าวของพระพุทธเจ้าที่ได้เปรียบเทียบภิกษุลามกไว้เหมือนกับกา เป็นคติความเชื่อในไตรภูมิเกี่ยวกับเปรต ผมตั้งใจเสนอเรื่องบาป บุญ คุณ โทษเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกที่ดีงามให้กลับคืนมา” นายอนุพงษ์กล่าว”


คอลัมน์ เที่ยวชมศิลปะ โดย นิวัต กองเพียร
วันที่ 30 กันยายน 2550

ข่าวที่พระออกมาต่อต้านเรียกร้องให้ถอดถอนภาพเขียนออกจากงานแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติครั้งที่ 53 ที่แสดงอยู่ที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตนครปฐม ซึ่งเป็นงานที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง สาขาจิตรกรรม ถือเป็นรางวัลสูงสุด

ภาพเขียนชิ้นนี้ชื่อ ภิกษุสันดานกา เป็นฝีมือของนายอนุพงษ์ จันทร ซึ่งเขียนรูปนี้ด้วยเจตนาที่จะแสดงให้เห็นความเป็นไปของพระสงฆ์ไทยบางกลุ่มบางพวก โดยศึกษาหาข้อมูลอย่างรอบด้านกว้างขวาง เป็นวิทยานิพนธ์เล่มโต มิใช่เขียนขึ้นด้วยความคึกคะนอง

พระที่มาต่อต้านก็มิได้รู้เรื่องศิลปะ มิได้ศึกษาหาความรู้ว่างานที่ได้รางวัลระดับเหรียญทองนั้นต้องผ่านขั้นตอนที ่ยากเข็ญเพียงไหน ต้องสั่งสมทั้งฝีมือและความคิดเพียงใด เพราะคณะกรรมการตัดสินรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปินระดับชาติทั้งสิ้น และมีความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทันและทำงานกันอย่างรอบคอบ กว่าจะให้รางวัลใครสักคน

ศิลปะเป็นเรื่องของการนำเสนอความคิดผ่านสื่อหลายรูปแบบทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ฯลฯ ศิลปะมิใช่เพียงการวาดเขียนรูปภาพให้คนดู หากแต่ต้องใส่เนื้อหาเรื่องราวที่สามารถสร้างความประทับใจ สร้างจินตนาการ สร้างความคิดให้กับคนดู ศิลปะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินที่ได้รับผลกระทบมาจากเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน พระ สัตว์ สิ่งของ

พระเองอยู่ในวัดซึ่งมีงานจิตรกรรมในโบสถ์วิหาร ก็ไม่เคยสนใจไยดีที่จะเรียนรู้ เข้าไปสวดมนต์ก็ไม่ดูรูปเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนเรื่องราวของพระศาสนาไว ้เต็มสี่ผนัง ซึ่งมีทั้งเรื่องราวของพระพุทธเจ้าว่าทรงสั่งสอนอะไร เรื่องของคนทั่วไปที่ทำผิดศีลผิดธรรมมากมาย เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจพระ นรกสวรรค์ก็เขียนไว้หมด แต่พระก็ไม่รู้ไม่เห็นเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะพระสมัยใหม่ที่ไปเดินเล่นอยู่แถวศูนย์การค้า

จิตรกรรมไทยที่เขียนบนฝาผนังมีเรื่องรุนแรงมากกว่ารูป “ภิกษุสันดานกา” เป็นไหนๆ เคยรู้บ้างหรือเปล่า รูปเชิงสังวาสก็มีออกดาษดื่น ทำไมไม่ไปประท้วงให้ลบทิ้งเสียเล่า หรือเพราะไม่รู้ไม่เห็น ตุ๊กแก กบเสพสังวาสกันนะยังน้อย มีรูปคนสังวาสกันด้วยรู้บ้างหรือเปล่า

เจตนาเขาก็สอนพระนั่นแหละ แต่พระไม่รู้ไม่เรียน เอาแต่เรื่องทางโลก ไม่สนใจทางธรรม วัดตัวเองมีศิลปะที่งดงามและขัดเกลาจิตใจให้เบิกบานกลับไม่ดูแลไม่เห็น แต่ออกมายุ่งกับทางโลกที่เขามีเจตนาดีจะช่วยให้คนเข้าใจพระมากขึ้น ด้วยงานศิลปะที่ล้ำเลิศ เขาไม่ได้เขียนให้พระดู เขาเขียนให้คนทั่วไปได้ดูได้รู้ว่าพระก็ไม่ใช่ผู้วิเศษ ขาดหิริโอตตัปปะดังที่พระพุทธเจ้าท่านทรงยกเรื่องหมาขี้เรื้อนมาสอนเอาไว้ ขอให้พระกลับไปที่วัดและศึกษาเรื่องตัวเองให้ถ่องแท้ ก่อนที่จะออกมาคัดค้านหรือต่อต้านคนอื่น

ผมขอให้ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการแสดงภาพนี้ต่อไปอย่าเอาลง และนำไปแสดงให้คนไทยได้เห็นทั้งประเทศ ว่าศิลปะนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตอย่างไร