มาช้าดีกว่าไม่มา เทค 2 – ความเห็นเกี่ยวกับรายงาน ‘ซุกหุ้นภาค 2’ ของ คตส.

สืบเนื่องจากที่เคยโพสความเห็น เกี่ยวกับคำสั่งอายัดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ของ คตส. ในบล็อกนี้เมื่อเดือนที่แล้ว ในที่สุด คตส. ก็เปิดเผยหลักฐานเจ๋งๆ เกี่ยวกับ “คดีซุกหุ้นภาค 2” ของทักษิณออกมาให้สาธารณชนรับทราบเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ดาวน์โหลดไฟล์สรุปผลรายงาน [PDF format, 18 หน้า] ที่ผู้เขียนรวบรวมมาจากเว็บมติชนได้ที่นี่

ในฐานะนักการเงิน ผู้เขียนคิดว่าหลักฐานที่ คตส. สืบเสาะและรวบรวมมาได้นั้น “มีน้ำหนัก” เพียงพอที่ศาลจะพิพากษาว่าทักษิณมีความผิดโทษฐานซุกหุ้นได้ ขอสรุปความเห็นของตัวเองไว้สั้นๆ ในรูปแบบคำถาม-ความเห็นดังต่อไปนี้

ถาม: หลักฐานชิ้นใดที่ยืนยัน “ความเป็นเจ้าของ” หุ้นชินคอร์ปของทักษิณได้แน่นหนาที่สุด?

ความเห็นของผู้เขียน: คตส. เปิดเผยหลักฐานสองชิ้นที่ “มัด” ได้แน่นมาก ชิ้นแรกคือ หลักฐานคำขอเปิดบัญชีธนาคารยูบีเอส เอจี ซึ่งระบุว่า ผู้มีอำนาจลงนามแทนแอมเพิลริชฯ จากปี 2542 ถึงกรกฏาคม 2548 คือ Dr. T. Shinawatra (เป็นช่วงเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว) หลังจากนั้น ในปี 2548 จึงเปลี่ยนเป็น นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา เพื่อเตรียมลงนามขายหุ้นให้เทมาเส็ก ในต้นปี 2549 ในที่สุด

หลักฐานชิ้นที่สอง ประกอบด้วยเอกสารหลายชิ้นที่พิสูจน์ได้ชัดเจนว่า วินมาร์คเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ป 45 ล้านหุ้น (หรือ 4.5 ล้านหุ้นหลังแตกพาร์) ที่ผู้สังเกตการณ์หลายคน รวมทั้ง ‘ม้านอก’ และ ‘เด็กนอกกรอบ’ ในหนังสือเรื่อง SHIN [กับเรื่อง] คาหนังคาเขา เคยสันนิษฐานว่าเป็น “หุ้นที่ทักษิณซุกไว้ลึกสุดกู่” เช่น หนังสือจากวิคเกอร์ บัลลาส ลงวันที่ 6 กันยายน 2544 แจ้งการโอนหุ้นชินคอร์ปผ่านธนาคารซิตี้แบงก์ในกรุงเทพฯไปฝากไว้ที่บัญชีธนาคารยูบีเอส เอจี สิงคโปร์ สำหรับวินมาร์ค ลิมิเต็ด บัญชีเลขที่ 121751 (เอกสารที่ 1) และ หนังสือของธนาคารไทยพาณิชย์ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2547 แจ้งการโอนเงินจำนวน 11,835,074.30 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 485 ล้านบาท) ไปให้บริษัทวินมาร์คที่ธนาคารยูบีเอส เอจี สิงคโปร์ บัญชีเลขที่ 121751 (เอกสารที่ 2)

Win Mark account #121751

ตัวเลข “121751” ในรหัสบัญชีในเอกสารที่ 1 และ 2 ข้างต้น ตรงกับตัวเลขรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทชินคอร์ป จากรายงานประจำปีของบริษัทเอง ซึ่งระบุว่าธนาคารยูบีเอสสิงคโปร์บัญชีเลขที่ 121751 ถือหุ้นชินคอร์ปอยู่กว่า 53.6 ล้านหุ้น เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เป็นบัญชีของบริษัทวินมาร์ค (เอกสารที่ 3)

Win Mark account # in shareholder list


สืบเนื่องจากที่เคยโพสความเห็น เกี่ยวกับคำสั่งอายัดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ของ คตส. ในบล็อกนี้เมื่อเดือนที่แล้ว ในที่สุด คตส. ก็เปิดเผยหลักฐานเจ๋งๆ เกี่ยวกับ “คดีซุกหุ้นภาค 2” ของทักษิณออกมาให้สาธารณชนรับทราบเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ดาวน์โหลดไฟล์สรุปผลรายงาน [PDF format, 18 หน้า] ที่ผู้เขียนรวบรวมมาจากเว็บมติชนได้ที่นี่

ในฐานะนักการเงิน ผู้เขียนคิดว่าหลักฐานที่ คตส. สืบเสาะและรวบรวมมาได้นั้น “มีน้ำหนัก” เพียงพอที่ศาลจะพิพากษาว่าทักษิณมีความผิดโทษฐานซุกหุ้นได้ ขอสรุปความเห็นของตัวเองไว้สั้นๆ ในรูปแบบคำถาม-ความเห็นดังต่อไปนี้

ถาม: หลักฐานชิ้นใดที่ยืนยัน “ความเป็นเจ้าของ” หุ้นชินคอร์ปของทักษิณได้แน่นหนาที่สุด?

ความเห็นของผู้เขียน: คตส. เปิดเผยหลักฐานสองชิ้นที่ “มัด” ได้แน่นมาก ชิ้นแรกคือ หลักฐานคำขอเปิดบัญชีธนาคารยูบีเอส เอจี ซึ่งระบุว่า ผู้มีอำนาจลงนามแทนแอมเพิลริชฯ จากปี 2542 ถึงกรกฏาคม 2548 คือ Dr. T. Shinawatra (เป็นช่วงเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว) หลังจากนั้น ในปี 2548 จึงเปลี่ยนเป็น นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา เพื่อเตรียมลงนามขายหุ้นให้เทมาเส็ก ในต้นปี 2549 ในที่สุด

หลักฐานชิ้นที่สอง ประกอบด้วยเอกสารหลายชิ้นที่พิสูจน์ได้ชัดเจนว่า วินมาร์คเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ป 45 ล้านหุ้น (หรือ 4.5 ล้านหุ้นหลังแตกพาร์) ที่ผู้สังเกตการณ์หลายคน รวมทั้ง ‘ม้านอก’ และ ‘เด็กนอกกรอบ’ ในหนังสือเรื่อง SHIN [กับเรื่อง] คาหนังคาเขา เคยสันนิษฐานว่าเป็น “หุ้นที่ทักษิณซุกไว้ลึกสุดกู่” เช่น หนังสือจากวิคเกอร์ บัลลาส ลงวันที่ 6 กันยายน 2544 แจ้งการโอนหุ้นชินคอร์ปผ่านธนาคารซิตี้แบงก์ในกรุงเทพฯไปฝากไว้ที่บัญชีธนาคารยูบีเอส เอจี สิงคโปร์ สำหรับวินมาร์ค ลิมิเต็ด บัญชีเลขที่ 121751 (เอกสารที่ 1) และ หนังสือของธนาคารไทยพาณิชย์ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2547 แจ้งการโอนเงินจำนวน 11,835,074.30 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 485 ล้านบาท) ไปให้บริษัทวินมาร์คที่ธนาคารยูบีเอส เอจี สิงคโปร์ บัญชีเลขที่ 121751 (เอกสารที่ 2)

Win Mark account #121751

ตัวเลข “121751” ในรหัสบัญชีในเอกสารที่ 1 และ 2 ข้างต้น ตรงกับตัวเลขรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทชินคอร์ป จากรายงานประจำปีของบริษัทเอง ซึ่งระบุว่าธนาคารยูบีเอสสิงคโปร์บัญชีเลขที่ 121751 ถือหุ้นชินคอร์ปอยู่กว่า 53.6 ล้านหุ้น เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เป็นบัญชีของบริษัทวินมาร์ค (เอกสารที่ 3)

Win Mark account # in shareholder list

ยังไม่รวมพยานหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ อีกหลายชิ้นที่ส่อให้เห็นว่า ผู้มีอำนาจลงนามในแอมเพิล ริช กับวินมาร์คนั้น เป็นบุคคลคนเดียวกัน เช่น จากสรุปรายงาน: “….ธนาคารยูบีเอส ได้ส่งหุ้นไปเข้าบัญชี UOB Nominee Private Limited (UOB) เพื่อบัญชี วินมาร์ค จำนวน 18,048,870 หุ้นในวันที่ 19 กันยายน 2545 โดยตัดหุ้นจากบัญชีที่ถือหุ้น แอมเพิล ริช ทำให้จำนวนหุ้นในบัญชีเป็นเพียง 83,385,000 หุ้น ซึ่งต่ำกว่า 100 ล้านหุ้น แสดงว่าได้ใช้หุ้นของ แอมเพิล ริช ไป และต่อมา ธนาคารยูบีเอส ตัดหุ้นจากบัญชี Pledge A/C-121751 (Win Mark) จำนวน 17,000,000 หุ้น มาชดเชยบัญชี แอมเพิล ริช ในวันที่ 4 ตุลาคม 2545 ทำให้หุ้นในบัญชี Pledge A/C-121751 ดังกล่าว ลดลงจาก 53,642,130 หุ้น เหลือเพียงจำนวน 36,642,130 หุ้น และบัญชี แอมเพิล ริช กลับมามียอดสูงกว่า 100 ล้านหุ้นอีกครั้งหนึ่ง

แสดงว่า แอมเพิล ริช และ วินมาร์ค เป็นของเจ้าของเดียวกัน จึงตัดบัญชีกว่า 18 ล้านหุ้นจากบัญชี แอมเพิล ริช ส่งไปเข้าบัญชี วินมาร์ค ที่ UOB และตัดหุ้นจากบัญชี วินมาร์ค มาคืนเพียง 17 ล้านหุ้น ก็ทำได้ ทั้งนี้รายการรับส่งหุ้นต่างๆ ระหว่างบัญชีดังกล่าวเป็นรายการที่ไม่มีการชำระเงินแต่อย่างใด”

คำถาม: หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่าทักษิณซุกหุ้นไว้กี่ก้อน เอาไว้ทำอะไรบ้าง?

ความเห็นของผู้เขียน: จากรายงานของ คตส. และข้อมูลสาธารณะที่เปิดเผยอยู่แล้ว สรุปได้ว่าทักษิณซุกหุ้น 3 ก้อน ตามตารางต่อไปนี้
ซุกหุ้นภาค 2

  1. ส่วนที่อยู่ในประเทศ (1, 2, 3, และ 18 ในตารางข้างต้น) : ซุกผ่านชื่อลูกๆ และญาติๆ ส่วนนี้เป็นส่วนที่สาธารณชนเพ่งเล็ง จึงต้องถือไว้เฉยๆ ไม่ทำการซื้อขายใดๆ รับเงินปันผลอย่างเดียว (หนึ่งในหลักฐานที่บ่งชี้ว่าทักษิณและภรรยาเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริง คือเส้นทางการโอนเงินปันผลชินคอร์ป โดยเฉพาะของลูกชายและลูกสาว ที่พอได้มาเมื่อไหร่ก็โอนเข้าบัญชีแม่ตลอด)
  2. ส่วนที่อยู่ต่างประเทศผ่านชื่อ แอมเพิล ริช (4 และ 6 ในตารางข้างต้น): ส่วนนี้คือ 329 ล้านหุ้น (229+100) ที่เคยอ้างว่า “ขายให้ลูกไปแล้ว” ก่อนเป็นนายกฯ ถึงแม้จะเป็นชื่อ แอมเพิล ริช แต่ก็ทำอะไรกระโตกกระตากไม่ได้ เพราะชื่อของ แอมเพิล ริช เคยขึ้นมาเป็นข่าวในช่วงคดีซุกหุ้นภาคแรกไปแล้ว (หลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าทักษิณยังเป็นเจ้าของ คือเอกสารเปิดบัญชีที่ระบุว่า ผู้มีอำนาจลงนามแทน แอมเพิล ริช จากปี 2542 ถึงกรกฏาคม 2548 คือ Dr. T. Shinawatra ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น)
  3. ส่วนที่อยู่ต่างประเทศผ่านชื่อ วินมาร์ค (11 และ 21 ในตารางข้างต้น): นี่คือ “หุ้นเลว” ที่ซุกไว้ลึกที่สุด ไม่มีใครเคยรู้ว่าซุก และดังนั้นจึงเป็นหุ้นส่วนที่มี “การเคลื่อนไหว” มากที่สุด รวมทั้งเอาไว้ใช้ “ข้อมูลภายใน” ไล่ซื้อหุ้นชินคอร์ปในช่วงก่อนที่เทมาเส็กจะประกาศซื้อชินคอร์ป ทำกำไรไปหลายร้อยล้านบาท ซึ่งแปลว่าละเมิด พ.ร.บ. หลักทรัพย์ ไม่รู้กี่ครั้ง (อ่านรายละเอียดได้ในรายงานของ คตส.) หลักฐานหลักๆ ที่พิสูจน์ว่าทักษิณอยู่เบื้องหลังคือรหัสบัญชี รวมทั้งการโอนหุ้นไปมาระหว่างบัญชี แอมเพิล ริช และวินมาร์ค ที่แสดงว่ามีผู้ควบคุมคนเดียวกัน ดังนั้น ถ้าพิสูจน์ได้ว่าทักษิณเป็นเจ้าของ แอมเพิล ริช ก็เท่ากับว่าทักษิณเป็นเจ้าของวินมาร์คด้วย

คำถาม: ทำไม คตส. จึงใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะรวบรวมหลักฐานได้เท่านี้?

ความเห็นของผู้เขียน: ผู้เขียนคิดว่า การที่ คตส. ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลนานขนาดนี้ สาเหตุหลักมาจากการปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น ของธนาคารยูบีเอสสิงคโปร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็น “คัสโตเดียน” และ “โบรกเกอร์” ให้กับทักษิณตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องอาศัยเอกสารประกอบจากธนาคารอื่นๆ เช่น ซิตี้แบงก์ ซึ่งทำหน้าที่โอนเงิน ฯลฯ มาปะติดปะต่อเรื่องราวให้ “เข้าใจ” เส้นทางเงินที่เกี่ยวข้องกับดีลนี้

จากนี้ไปก็คงต้องรอลุ้นกันว่า ทักษิณจะกลับเมืองไทยมาสู้คดีหรือไม่ และนายนพดล ปัทมะ จะ “แก้ต่าง” หลักฐานที่ชัดเจนขนาดนี้ว่าอะไร คงต้องรอดูกันต่อไป 😉