วิกฤตการเงินอเมริกาและผลกระทบต่อประเทศไทย (ณ 24 ม.ค. 52)

ยังยุ่งมากเกินกว่าจะเขียนอะไรยาวๆ ได้ ขออภัยทุกท่านค่ะ เรื่องที่อยากเขียนมากที่สุดคงหนีไม่พ้นความเห็นต่อกระแส “อนุรักษ์นิยมจ๋า-ขวาจัด” ที่ตอนนี้พัดแรงอย่างน่ากลัวและไร้เหตุผลมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย แต่ยังไม่มีเวลาเขียนขึ้นมาเป็นโพสต่างหาก จริงๆ แล้วผู้เขียนก็หาช่องทาง “ระบาย” เรื่องนี้ไปบ้่างแล้วในบทความที่ต้องส่งตามที่ต่างๆ เอาไว้ลงที่ไหนเมื่อไหร่จะโพสแจ้งอีกทีค่ะ

แนวโน้มหนึ่งที่น่ากลัวและน่าเศร้าไปพร้อมกันคือ ยิ่งกระแส “ขวาจัด” พัดแรงเท่าไร แนวโน้มที่คนไม่หัวรุนแรงแ่ต่ถึงอย่างไรก็ไ่ม่ขวาแน่ๆ จะถูกโจมตีว่า “หัวรุนแรง” ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะคนที่เลือก “ข้าง” ใดข้างหนึ่งแบบสุดโต่งไปแล้วย่อมปักใจเชื่อว่าใครก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองต้องอยู่ “สุดขั้ว” เหมือนกับตัวเองแน่นอน ต่างกันแค่อยู่อีก “ขั้ว” หนึ่งเท่านั้น

ไม่น่าเชื่อว่าประเทศเราเรียนรู้บทเรียนจากประวัติศาสตร์้ที่ผ่านมาน้อยมากอย่างน่าใจหาย 🙁

เีดี๋ยวจะยาว พูดเรื่องอื่นก่อนดีกว่า

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผู้เขียนไปบรรยายเรื่องวิกฤตการเงินอเมริกาและผลกระทบต่อประเทศไทยให้นักศึกษาปีหนึ่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ฟัง ร่วมกับ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ที่ตอนนี้เป็นผู้บริหารสถาบันวิจัยของตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่อีกไม่กี่วันก็จะกลับไปอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว เนื่องจากการบรรยายครั้งนี้พวกเราทั้งคู่พยายามอธิบายประเด็นต่างๆ อย่าง “ง่าย” ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะนักศึกษาปีหนึ่งมาจากหลากหลายคณะมาก (นิติศาสตร์ วิศวะ ฯลฯ) และผู้เีขียนอัดเทปมาได้เกือบทั้งหมด จึงเอาสไลด์และไฟล์เสียงมาแปะไว้ในบล็อกนี้ เผื่อใครจะเอาไปใช้ประโยชน์ต่อค่ะ (พยายามทำ slidecast ใน slideshare.net แล้วแต่ไม่สำเร็จ สงสัยไฟล์จะใหญ่เกิินไป)


ยังยุ่งมากเกินกว่าจะเขียนอะไรยาวๆ ได้ ขออภัยทุกท่านค่ะ เรื่องที่อยากเขียนมากที่สุดคงหนีไม่พ้นความเห็นต่อกระแส “อนุรักษ์นิยมจ๋า-ขวาจัด” ที่ตอนนี้พัดแรงอย่างน่ากลัวและไร้เหตุผลมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย แต่ยังไม่มีเวลาเขียนขึ้นมาเป็นโพสต่างหาก จริงๆ แล้วผู้เขียนก็หาช่องทาง “ระบาย” เรื่องนี้ไปบ้่างแล้วในบทความที่ต้องส่งตามที่ต่างๆ เอาไว้ลงที่ไหนเมื่อไหร่จะโพสแจ้งอีกทีค่ะ

แนวโน้มหนึ่งที่น่ากลัวและน่าเศร้าไปพร้อมกันคือ ยิ่งกระแส “ขวาจัด” พัดแรงเท่าไร แนวโน้มที่คนไม่หัวรุนแรงแ่ต่ถึงอย่างไรก็ไ่ม่ขวาแน่ๆ จะถูกโจมตีว่า “หัวรุนแรง” ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะคนที่เลือก “ข้าง” ใดข้างหนึ่งแบบสุดโต่งไปแล้วย่อมปักใจเชื่อว่าใครก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองต้องอยู่ “สุดขั้ว” เหมือนกับตัวเองแน่นอน ต่างกันแค่อยู่อีก “ขั้ว” หนึ่งเท่านั้น

ไม่น่าเชื่อว่าประเทศเราเรียนรู้บทเรียนจากประวัติศาสตร์้ที่ผ่านมาน้อยมากอย่างน่าใจหาย 🙁

เีดี๋ยวจะยาว พูดเรื่องอื่นก่อนดีกว่า

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผู้เขียนไปบรรยายเรื่องวิกฤตการเงินอเมริกาและผลกระทบต่อประเทศไทยให้นักศึกษาปีหนึ่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ฟัง ร่วมกับ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ที่ตอนนี้เป็นผู้บริหารสถาบันวิจัยของตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่อีกไม่กี่วันก็จะกลับไปอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว เนื่องจากการบรรยายครั้งนี้พวกเราทั้งคู่พยายามอธิบายประเด็นต่างๆ อย่าง “ง่าย” ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะนักศึกษาปีหนึ่งมาจากหลากหลายคณะมาก (นิติศาสตร์ วิศวะ ฯลฯ) และผู้เีขียนอัดเทปมาได้เกือบทั้งหมด จึงเอาสไลด์และไฟล์เสียงมาแปะไว้ในบล็อกนี้ เผื่อใครจะเอาไปใช้ประโยชน์ต่อค่ะ (พยายามทำ slidecast ใน slideshare.net แล้วแต่ไม่สำเร็จ สงสัยไฟล์จะใหญ่เกิินไป)

เนื้อหาในส่วนของผู้เขียนเป็นการอธิบายคำศัพท์และหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการเงินและธุรกิจธนาคารเป็นส่วนใหญ่ ดร.กอบศักดิ์เน้นพูดเรื่องระดับ “มหภาค” ต่างๆ ตั้งแต่การลุกลามของวิกฤตไปนอกอเมริกา การแก้ไขของภาครัฐ และผลกระทบต่อไทย เสียดายที่แกมีเวลาไม่พอ เลยไม่ได้บรรยายสไลด์ครบทุกหน้า (เป็นสไลด์เรื่องนี้ที่ comprehensive ดีมาก สมควรนำไปเผยแพร่ต่อเป็นอย่างยิ่ง :D)

(ดาวน์โหลดไฟล์ Powerpoint ทั้งสองเรื่องได้จากหน้า Writings ของบล็อกนี้)

1. วิกฤตการเงินอเมริกา บรรยายโดยผู้เขียน: ไฟล์เสียงประกอบการบรรยาย [37MB]

2. วิกฤตการเงินโลก: ที่มาและผลกระทบต่อประเทศไทย บรรยายโดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล: ไฟล์เสียงประกอบการบรรยาย [37MB]