เมื่อวันก่อนได้ฟังและอ่านคำพิพากษาของศาลอาญาคดีเลี่ยงภาษีของพจมาน ชินวัตร จบแล้วก็รู้สึกโล่งใจและดีใจ ว่าศาลอาญาของประเทศนี้ในที่สุดก็ “ฝากผีฝากไข้” ได้เสียที หลังจากที่ถูก “ซื้อ” มาแล้วหลายคดี (โดยเฉพาะคดี “โกงกิน” มูลค่าสูงมากๆ ของนักการเมืองหรือนักธุรกิจที่มีเส้นสายทางการเมือง)
ผู้เขียนไม่มีความเห็นอะไรมากมายเกี่ยวกับคดีนี้ เพราะความผิดของพจมานเป็นเรื่องของการเลี่ยงภาษีแบบ “น่าเกลียด” มากๆ (อ่านรายละเอียดได้ในคำถาม #24 ใน เมื่อความถูกต้องทางกฎหมาย อยู่เหนือความถูกต้องทางศีลธรรม (รวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ 25 คำถาม ดีลเทคโอเวอร์ชินคอร์ป) โดย “ม้านอก” และ “เด็กนอกกรอบ”) ซึ่งมีกฎเกณฑ์ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตีความอะไรให้เสียเวลา ใครที่อยากรู้ว่าเลี่ยงภาษีแบบน่าเกลียดขนาดไหน อ่านในคำพิพากษาของศาลก็น่าจะชัดเจนอยู่แล้ว
แน่นอน พจมานคงอุทธรณ์ให้ถึงที่สุด แต่อย่างที่บอก ในเมื่อมันเป็นคดีเลี่ยงภาษีที่ชัดเจนมากๆ ผู้เขียนจะแปลกใจมากถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกากลับคำพิพากษา ส่วนเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่จงใจละเว้นหน้าที่ไม่เก็บภาษีเพื่อ “เอาใจนาย” ก็สมควรถูกไล่เีบี้ยลงโทษในลำดับต่อไป
วันก่อนได้อ่านข่าวในกรุงเทพธุรกิจ ที่สรุปคดีต่างๆ ที่กำลังจะอยู่ในชั้นศาล ก็เลยขอแปะมาเก็บไว้ในบล็อกนี้ก่อน คดีไหนรู้ผลแล้วจะได้ทยอยเขียนความเห็นในลำดับต่อไป
โดยส่วนตัว ผู้เขียนคิดว่าคดีที่ดินรัชดา และคดีหวยบนดิน จำเลยไม่ควรต้องติดคุกเพราะเป็นเรื่อง “หาเรื่อง” กันมากกว่า โดยคดีที่ดินเป็นเรื่องของ “ความน่าเกลียด” แต่ไม่น่าจะถึงขนาดผิดกฎหมาย ถ้าผิดก็เป็นเรื่องทางเทคนิค มากกว่าความเสียหายของประเทศชาติจริงๆ ส่วนคดีหวยบนดิน อาจมองในแง่ดี(ได้นิดหน่อย)ว่ารัฐบาลทักษิณเจตนาดี อยากออกนโยบายเอาใจชาวบ้านโดยใช้ “ทางลัด” เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในสภา ครม. ทั้งคณะไม่ควรต้องติดคุก ถ้าจะติดคุกก็น่าจะติดแต่ รมต. ที่รับผิดชอบ
แต่คดีอื่นๆ จำเลยสมควรต้องติดคุกอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคดีซีทีเอ็กซ์และคดีกล้ายาง เพราะคิดว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ (แต่ซีทีเอ็กซ์ ไม่คิดว่าทักษิณควรติดคุก หลักฐานน่าจะถึงตัวสุริยะเท่านั้น แต่ต้องรอลุ้นในศาลกันต่อไป), คดีกรุงไทยให้กู้กฤษดามหานคร เพราะเป็นกรณี “ไร้ธรรมาภิบาล” ของธนาคารอย่างชัดเจน, และคดีทุกคดีที่ทักษิณเป็นจำเลย โดยเฉพาะคดีร่ำรวยผิดปกติ (คงต้องพิสูจน์ว่า “ซุกหุ้น” จริงก่อน) คดีแก้ไขสัญญาสัมปทานเอื้อประโยชน์บริษัทตัวเอง และคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นของเอสซี แอสเซท – คดีหลังสุดนี้ส่วนตัวคิดว่า “น่าเกลียด” ที่สุดเพราะทักษิณเองเป็นคนอ้างมาตลอดว่าขายหุ้นให้กับ “นักลงทุนจากเมืองนอก” ไปตั้งนานแล้ว (หุ้นชินคอร์ปอย่างน้อยยังอ้างว่าโอนให้ลูกๆ จัดการ) และถ้าสืบเส้นทางเงินกลับไปดีๆ ปปง. อาจจะพบมูลความผิดฐาน “ฟอกเงิน” ได้อีกกระทงหนึ่ง (ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น อ่านสิ่งที่เรารู้แล้วได้ใน เปิดคำพิพากษาศาลฎีกา ไขความลับ ‘ไอ้โม่ง!’ ฟันค่าเงินบาท ในโอเพ่นออนไลน์) …เพราะความที่คดี เอสซี แอสเซท อาจเป็น “ชนวน” ให้เปิด “กระป๋องหนอน” ออกมายั้วเยี้ยได้ ผู้เขียนจึงคิดว่าทักษิณและทีมทนายจะต้องทำทุกวิถีทางไม่ให้คดีนี้เข้าสู่ชั้นศาลให้ได้
คอยดูกันต่อไป จะทยอยโพสความเห็นในแต่ละคดีเมื่อศาลมีคำตัดสินค่ะ 🙂
คดีที่อยู่ในชั้นศาล
1. คดีหลีกเลี่ยงการเสียภาษีจากการซื้อขายหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( มหาชน ) โดยศาลอาญาพิพากษาให้จำคุกคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน คนละ 3 ปี และจำคุกนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน เป็นเวลา 2 ปี
เมื่อวันก่อนได้ฟังและอ่านคำพิพากษาของศาลอาญาคดีเลี่ยงภาษีของพจมาน ชินวัตร จบแล้วก็รู้สึกโล่งใจและดีใจ ว่าศาลอาญาของประเทศนี้ในที่สุดก็ “ฝากผีฝากไข้” ได้เสียที หลังจากที่ถูก “ซื้อ” มาแล้วหลายคดี (โดยเฉพาะคดี “โกงกิน” มูลค่าสูงมากๆ ของนักการเมืองหรือนักธุรกิจที่มีเส้นสายทางการเมือง)
ผู้เขียนไม่มีความเห็นอะไรมากมายเกี่ยวกับคดีนี้ เพราะความผิดของพจมานเป็นเรื่องของการเลี่ยงภาษีแบบ “น่าเกลียด” มากๆ (อ่านรายละเอียดได้ในคำถาม #24 ใน เมื่อความถูกต้องทางกฎหมาย อยู่เหนือความถูกต้องทางศีลธรรม (รวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ 25 คำถาม ดีลเทคโอเวอร์ชินคอร์ป) โดย “ม้านอก” และ “เด็กนอกกรอบ”) ซึ่งมีกฎเกณฑ์ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตีความอะไรให้เสียเวลา ใครที่อยากรู้ว่าเลี่ยงภาษีแบบน่าเกลียดขนาดไหน อ่านในคำพิพากษาของศาลก็น่าจะชัดเจนอยู่แล้ว
แน่นอน พจมานคงอุทธรณ์ให้ถึงที่สุด แต่อย่างที่บอก ในเมื่อมันเป็นคดีเลี่ยงภาษีที่ชัดเจนมากๆ ผู้เขียนจะแปลกใจมากถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกากลับคำพิพากษา ส่วนเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่จงใจละเว้นหน้าที่ไม่เก็บภาษีเพื่อ “เอาใจนาย” ก็สมควรถูกไล่เีบี้ยลงโทษในลำดับต่อไป
วันก่อนได้อ่านข่าวในกรุงเทพธุรกิจ ที่สรุปคดีต่างๆ ที่กำลังจะอยู่ในชั้นศาล ก็เลยขอแปะมาเก็บไว้ในบล็อกนี้ก่อน คดีไหนรู้ผลแล้วจะได้ทยอยเขียนความเห็นในลำดับต่อไป
โดยส่วนตัว ผู้เขียนคิดว่าคดีที่ดินรัชดา และคดีหวยบนดิน จำเลยไม่ควรต้องติดคุกเพราะเป็นเรื่อง “หาเรื่อง” กันมากกว่า โดยคดีที่ดินเป็นเรื่องของ “ความน่าเกลียด” แต่ไม่น่าจะถึงขนาดผิดกฎหมาย ถ้าผิดก็เป็นเรื่องทางเทคนิค มากกว่าความเสียหายของประเทศชาติจริงๆ ส่วนคดีหวยบนดิน อาจมองในแง่ดี(ได้นิดหน่อย)ว่ารัฐบาลทักษิณเจตนาดี อยากออกนโยบายเอาใจชาวบ้านโดยใช้ “ทางลัด” เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในสภา ครม. ทั้งคณะไม่ควรต้องติดคุก ถ้าจะติดคุกก็น่าจะติดแต่ รมต. ที่รับผิดชอบ
แต่คดีอื่นๆ จำเลยสมควรต้องติดคุกอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคดีซีทีเอ็กซ์และคดีกล้ายาง เพราะคิดว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ (แต่ซีทีเอ็กซ์ ไม่คิดว่าทักษิณควรติดคุก หลักฐานน่าจะถึงตัวสุริยะเท่านั้น แต่ต้องรอลุ้นในศาลกันต่อไป), คดีกรุงไทยให้กู้กฤษดามหานคร เพราะเป็นกรณี “ไร้ธรรมาภิบาล” ของธนาคารอย่างชัดเจน, และคดีทุกคดีที่ทักษิณเป็นจำเลย โดยเฉพาะคดีร่ำรวยผิดปกติ (คงต้องพิสูจน์ว่า “ซุกหุ้น” จริงก่อน) คดีแก้ไขสัญญาสัมปทานเอื้อประโยชน์บริษัทตัวเอง และคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นของเอสซี แอสเซท – คดีหลังสุดนี้ส่วนตัวคิดว่า “น่าเกลียด” ที่สุดเพราะทักษิณเองเป็นคนอ้างมาตลอดว่าขายหุ้นให้กับ “นักลงทุนจากเมืองนอก” ไปตั้งนานแล้ว (หุ้นชินคอร์ปอย่างน้อยยังอ้างว่าโอนให้ลูกๆ จัดการ) และถ้าสืบเส้นทางเงินกลับไปดีๆ ปปง. อาจจะพบมูลความผิดฐาน “ฟอกเงิน” ได้อีกกระทงหนึ่ง (ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น อ่านสิ่งที่เรารู้แล้วได้ใน เปิดคำพิพากษาศาลฎีกา ไขความลับ ‘ไอ้โม่ง!’ ฟันค่าเงินบาท ในโอเพ่นออนไลน์) …เพราะความที่คดี เอสซี แอสเซท อาจเป็น “ชนวน” ให้เปิด “กระป๋องหนอน” ออกมายั้วเยี้ยได้ ผู้เขียนจึงคิดว่าทักษิณและทีมทนายจะต้องทำทุกวิถีทางไม่ให้คดีนี้เข้าสู่ชั้นศาลให้ได้
คอยดูกันต่อไป จะทยอยโพสความเห็นในแต่ละคดีเมื่อศาลมีคำตัดสินค่ะ 🙂
คดีที่อยู่ในชั้นศาล
1. คดีหลีกเลี่ยงการเสียภาษีจากการซื้อขายหุ้น บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ( มหาชน ) โดยศาลอาญาพิพากษาให้จำคุกคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน คนละ 3 ปี และจำคุกนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน เป็นเวลา 2 ปี
2.คดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งอัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ร่วมกันเป็นจำเลย โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกยื่นฟ้อง ว่ากระทำผิด พ.ร.บ.ปปช. พ.ศ. 2542 และข้อหาปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ส่วนคุณหญิงพจมาน มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
ซึ่งคดีนี้สืบเนื่องจากการที่คุณหญิง พจมาน ซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษกจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อขายที่ดินที่ต่ำกว่าราคาประเมิน และคดีนี้อยู่ระหว่างการสืบพยานของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3. คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว หรือคดีหวยบนดิน ซึ่งคดีนี้ คตส. ได้ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คณะรัฐมนตรี “รัฐบาลทักษิณ” และผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวม 47 คนเป็นจำเลย และคดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำสั่งรับฟ้องไว้พิจารณาแล้ว
4. คดีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ปล่อยเงินกู้ให้กับรัฐบาลพม่า คดีนี้ คตส. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการดูแลกิจการเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และมาตรา 157
กรณีที่มีการอนุมัติเงินกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยให้แก่รัฐบาลพม่าจำนวน 4,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการจัดซื้ออุปกรณ์กิจการโทรคมนาคมจากบริษัทในเครือ ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว ซึ่งคดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำสั่งรับฟ้องคดีไว้พิจารณาแล้ว
5. คดีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ – ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท คดีนี้อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว , เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,152,157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ,100 ,122 ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้นัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องคดีไว้พิจารณาหรือไม่วันที่ 3 กันยายนนี้
6. คดีทุจริตจัดซื้อกล้ายางพารา 90 ล้านต้น คดีนี้ยื่นฟ้องนายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรฯ กับพวกรวม 44 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องหรือไม่วันที่ 6 ส.ค. นี้
7. คดีเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ซึ่งมีนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมสรรพากรกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอีก 4 คน เป็นจำเลย ฐานละเว้นการเก็บภาษีการโอนหุ้นชินคอร์ปฯ ซึ่งอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา และอยู่ระหว่างการสืบพยานของศาลอาญา
คดีอยู่ระหว่างการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการ-ป.ป.ช.
1. คดีทุจริตซีทีเอ็กซ์ 9000 ซึ่งคดีนี้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋า สัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด (ซีทีเอ็กซ์ 9000)ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยคดีนี้ คตส. ได้ชี้มูลความผิด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กับพวก ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
2. คดีธนาคารกรุงไทย อนุมัติเงินกู้ให้กับบริษัทในเครือกฤษดามหานคร ซึ่งเป็นการอนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัทที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยคดีนี้ คตส. ได้ชี้มูลความผิด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กับพวก นอกจากนี้ในเรื่องดังกล่าว คตส.ยังได้ชี้มูลความผิดนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายกับพวกในข้อหารับของโจร โดยแยกออกมาเป็นอีกสำนวนคดีหนึ่งเนื่องจากเป็นบุคคลธรรมดา
3. คดีทุจริตโครงการระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รมว.คมนาคมกับพวกเป็นจำเลย
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการ
1. คดีปกปิดข้อมูลโครงสร้างผู้ถือหุ้นเอสซี เอสเสทฯ คดีนี้มีผู้ต้องหา คือ บริษัท เอสซี แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา และนางบุษบา ดามาพงศ์ คดีนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ( ดีเอสไอ) ได้ดำเนินคดีในข้อหาฐานแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงเกี่ยวกับโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซีฯ ต่อตลาดหลักทรัพย์ และสรุปสำนวนส่งให้กับอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง ต่อมาอัยการได้สั่งให้ดีเอสไอ ทำการสอบสวนเพิ่มเติม และนัดฟังคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ในวันที่ 16 กันยายนนี้
2. คดี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ร่ำรวยผิดปกติเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งเป็นคดีแพ่ง และคดีนี้ที่ผ่านมาได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการและ ป.ป.ช. และมีข้อสรุปออกมาว่าให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สิน 7.6 หมื่นล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน