ขออภัยที่ “วันสองวัน” ยืดยาวจนกลายเป็นหลายวัน ช่วงนี้ผู้เขียนค่อนข้างยุ่ง ขอโทษด้วยค่ะ 🙁 โชคดีที่ ประชาไททำสรุปเสวนานี้ทีละประเด็นไว้ค่อนข้างดีแล้ว จึงไม่คิดว่าต้องพูดอะไรเพิ่มเติมอีก อยากสรุปความเห็น/ข้อสังเกตสั้นๆ เท่านั้นเอง (ดาวน์โหลดไฟล์เสียงจากงานสัมมนาและ presentation ของทั้งสองฝ่ายได้จากโพสนี้) –
1. น่าเสียดายที่ไม่มีตัวแทนจากหน่วยงานกำกับดูแลโดยตรงของภาครัฐ (คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการพลังงาน หรือ กพช.) หรือกระทรวงพลังงานมาร่วมวงเสวนาด้วย เพราะคนที่มี “หน้าที่” ตอบคำถามคาใจหลายประเด็นคือผู้กำกับดูแล ไม่ใช่ ปตท. และในประเด็นเหล่านี้ ปตท. ก็อ้างได้ตลอดเวลาว่าเป็นเรื่องของ “สัญญาที่รัฐกำหนด” หรือ “มี regulator ดูแลอยู่” ป่วยการที่จะคุย (เช่น ตอนที่บอกว่า ปตท. ผูกขาดกิจการส่งก๊าซไปตามท่อ ปตท. ตอบว่าเรื่องนี้มี regulator ดูแล ซึ่งก็เป็นการ “ตอบไม่ตรงคำถาม” อย่างยิ่ง เพราะกิจการที่ไหนในโลกก็ต้องมีผู้กำกับดูแลทั้งนั้น ไม่ว่าจะผูกขาดหรือเปล่า)
2. ประเด็นที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นปัญหาที่สุดในกรณีนี้ทั้งหมด คือประเด็นเรื่องการใช้อำนาจผูกขาดในกิจการส่งก๊าซไปตามท่อ ซึ่งทำให้ ปตท. สามารถใช้กำไรผูกขาดจากกิจการดังกล่าวไปอุดหนุน (cross-subsidize) ธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทที่มีการแข่งขัน เช่น ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ น่าสังเกตว่า ปตท. ยังไม่ได้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจผูกขาด เช่น ปตท. ขายก๊าซให้โรงแยกก๊าซของตัวเองในราคาต่ำกว่าที่ขายให้กับ กฟผ. 30 บาทจริงหรือไม่
สไลด์ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคโชว์ให้เห็นเทรนด์ที่น่าจะเป็นพฤติกรรม “ดั๊มพ์” ราคาน้ำมันนั้นน่าสนใจมาก ถ้าเรื่องนี้เกิดในประเทศที่พัฒนากว่าไทย ผู้กำกับดูแลคงจะเรียกบริษัทมาสอบสวนแล้วว่าพฤติกรรมแบบนี้ตั้งใจไล่คู่แข่งขันออกจากตลาดหรือเปล่า (คือไม่เป็นไปตาม “กลไกตลาด” จริงๆ) เพราะกฎหมายที่ดีไม่มีวันยอมให้บริษัทไหนทำแบบนี้ได้ หลายคนยังแคลงใจอยู่ว่า ปั๊มน้ำมันหลายเจ้า เช่น Jet ต้องลาจากประเทศไทยไปก็เพราะถูก ปตท. “ดั๊มพ์” ราคาไล่นี่แหละ (จริงๆ ดูเหมือนคุณบรรยงจาก บล. ภัทร ก็กังขาประเด็นนี้เหมือนกัน แต่ บล. ภัทรเป็นที่ปรึกษา ปตท. ก็เลยต้องอ้าง “นักลงทุน” แทน ;))
(รายละเอียดบางส่วนเคยเขียนไปแล้วตอนที่ไปร่วมงานสัมมนาช่วงต้นปี และสำหรับรายละเอียดในประเด็นท่อก๊าซ ว่าทำไมถึงยังเป็นที่แคลงใจอยู่ ขอแนะนำให้อ่าน บทความของ อ.ประสาท มีแต้ม ซึ่งสรุปประเด็นไว้หมดแล้ว)
น่าสังเกตว่ากฎหมายป้องกันการผูกขาดของไทยยังล้าสมัยมากและไม่เคยใช้การได้จริง ทั้งๆ ที่ในแทบทุกประเทศ กลไกการกำกับดูแลผู้ผูกขาดมีพลวัตสูงมาก ยิ่งรัฐบาลอยากกระตุ้นภาคเอกชนและส่งเสริม “ตลาดเสรี” เท่าไหร่ ยิ่งต้องพัฒนากลไกนี้ หนึ่งในตัวอย่างล่าสุดคือ เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลจีนได้ออกร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว เอาไว้่่ว่างๆ จะเขียนเรื่องนี้ดีกว่า 🙂
ขออภัยที่ “วันสองวัน” ยืดยาวจนกลายเป็นหลายวัน ช่วงนี้ผู้เขียนค่อนข้างยุ่ง ขอโทษด้วยค่ะ 🙁 โชคดีที่ ประชาไททำสรุปเสวนานี้ทีละประเด็นไว้ค่อนข้างดีแล้ว จึงไม่คิดว่าต้องพูดอะไรเพิ่มเติมอีก อยากสรุปความเห็น/ข้อสังเกตสั้นๆ เท่านั้นเอง (ดาวน์โหลดไฟล์เสียงจากงานสัมมนาและ presentation ของทั้งสองฝ่ายได้จากโพสนี้) –
1. น่าเสียดายที่ไม่มีตัวแทนจากหน่วยงานกำกับดูแลโดยตรงของภาครัฐ (คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการพลังงาน หรือ กพช.) หรือกระทรวงพลังงานมาร่วมวงเสวนาด้วย เพราะคนที่มี “หน้าที่” ตอบคำถามคาใจหลายประเด็นคือผู้กำกับดูแล ไม่ใช่ ปตท. และในประเด็นเหล่านี้ ปตท. ก็อ้างได้ตลอดเวลาว่าเป็นเรื่องของ “สัญญาที่รัฐกำหนด” หรือ “มี regulator ดูแลอยู่” ป่วยการที่จะคุย (เช่น ตอนที่บอกว่า ปตท. ผูกขาดกิจการส่งก๊าซไปตามท่อ ปตท. ตอบว่าเรื่องนี้มี regulator ดูแล ซึ่งก็เป็นการ “ตอบไม่ตรงคำถาม” อย่างยิ่ง เพราะกิจการที่ไหนในโลกก็ต้องมีผู้กำกับดูแลทั้งนั้น ไม่ว่าจะผูกขาดหรือเปล่า)
2. ประเด็นที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นปัญหาที่สุดในกรณีนี้ทั้งหมด คือประเด็นเรื่องการใช้อำนาจผูกขาดในกิจการส่งก๊าซไปตามท่อ ซึ่งทำให้ ปตท. สามารถใช้กำไรผูกขาดจากกิจการดังกล่าวไปอุดหนุน (cross-subsidize) ธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทที่มีการแข่งขัน เช่น ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ น่าสังเกตว่า ปตท. ยังไม่ได้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจผูกขาด เช่น ปตท. ขายก๊าซให้โรงแยกก๊าซของตัวเองในราคาต่ำกว่าที่ขายให้กับ กฟผ. 30 บาทจริงหรือไม่
สไลด์ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคโชว์ให้เห็นเทรนด์ที่น่าจะเป็นพฤติกรรม “ดั๊มพ์” ราคาน้ำมันนั้นน่าสนใจมาก ถ้าเรื่องนี้เกิดในประเทศที่พัฒนากว่าไทย ผู้กำกับดูแลคงจะเรียกบริษัทมาสอบสวนแล้วว่าพฤติกรรมแบบนี้ตั้งใจไล่คู่แข่งขันออกจากตลาดหรือเปล่า (คือไม่เป็นไปตาม “กลไกตลาด” จริงๆ) เพราะกฎหมายที่ดีไม่มีวันยอมให้บริษัทไหนทำแบบนี้ได้ หลายคนยังแคลงใจอยู่ว่า ปั๊มน้ำมันหลายเจ้า เช่น Jet ต้องลาจากประเทศไทยไปก็เพราะถูก ปตท. “ดั๊มพ์” ราคาไล่นี่แหละ (จริงๆ ดูเหมือนคุณบรรยงจาก บล. ภัทร ก็กังขาประเด็นนี้เหมือนกัน แต่ บล. ภัทรเป็นที่ปรึกษา ปตท. ก็เลยต้องอ้าง “นักลงทุน” แทน ;))
(รายละเอียดบางส่วนเคยเขียนไปแล้วตอนที่ไปร่วมงานสัมมนาช่วงต้นปี และสำหรับรายละเอียดในประเด็นท่อก๊าซ ว่าทำไมถึงยังเป็นที่แคลงใจอยู่ ขอแนะนำให้อ่าน บทความของ อ.ประสาท มีแต้ม ซึ่งสรุปประเด็นไว้หมดแล้ว)
น่าสังเกตว่ากฎหมายป้องกันการผูกขาดของไทยยังล้าสมัยมากและไม่เคยใช้การได้จริง ทั้งๆ ที่ในแทบทุกประเทศ กลไกการกำกับดูแลผู้ผูกขาดมีพลวัตสูงมาก ยิ่งรัฐบาลอยากกระตุ้นภาคเอกชนและส่งเสริม “ตลาดเสรี” เท่าไหร่ ยิ่งต้องพัฒนากลไกนี้ หนึ่งในตัวอย่างล่าสุดคือ เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลจีนได้ออกร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว เอาไว้่่ว่างๆ จะเขียนเรื่องนี้ดีกว่า 🙂
3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคใช้ตัวเลขทางการเงินผิดหรือไม่ตรงตามหลักการเงิน (เช่น สไลด์ที่โชว์ว่า ปตท. จ่ายเงินให้รัฐเป็นสัดส่วนที่น้อยลงหลังแปรรูป และสไลด์ที่โชว์ “สินทรัพย์ที่เป็นของรัฐ” ก่อนและหลังแปรรูป) ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะหลายประเด็นเป็นประเด็นที่ควรพูด แต่พอใช้ข้อมูลผิดหรือไม่ตรงหลัก บทสนทนาก็เลยกลายเป็นการถกเถียงว่าตัวเลขไหน “ถูก” หรือ “ผิด” แทน แทนที่จะคุยกันในประเด็นที่สำคัญจริงๆ ซึ่งไม่ต้องใช้ตัวเลขอะไรก็ได้ (เช่น ประเด็นที่ว่า สมควรหรือไม่ที่ ปตท. จะอ้างความเป็น “รัฐวิสาหกิจ” (ถือหุ้น 50%+ โดยรัฐ) เวลาที่มีใครด่าว่าทำตัวเป็นเอกชน แต่พอพูดเรื่องกำไร ปตท. ก็อ้างความเป็น “บริษัทเอกชน” เป็นเหตุผลโอดครวญว่าต้องทำตามนโยบายรัฐ ทวงบุญคุณว่าช่วย subsidize ประชาชนอยู่นะ ขาดทุนกำไรนะ ฯลฯ ….พฤติกรรม “เหยียบเรือสองแคม” ที่ “ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง” นี้ควรแก้ไขอย่างไร?)
4. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคควร “ยกระดับ” วิวาทะและการต่อสู้ในประเด็นการใช้อำนาจผูกขาดไปสู่ระดับผู้กำกับดูแล คือ กพช. หรือกระทรวงพลังงาน เลิกมอง ปตท. เป็นเป้าหมาย เพราะประเด็นการใช้อำนาจผูกขาดนั้นเป็นเรื่องการกำกับดูแลหละหลวมหรือไม่เพียงพอ ถ้าใครยังจะต่อว่า ปตท. เรื่องนี้ ปตท. ก็จะอ้างไปเรื่อยๆ ว่าตัวเองเพียงแต่ “ทำตามนโยบายรัฐ” และ “ธุรกิจนี้มีผู้กำกับดูแลแล้ว” ดังนั้น จึงเปล่าประโยชน์ที่มูลนิธิฯ จะโต้เถียงกับ ปตท. ในประเด็นนี้อีกต่อไป
5. ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของมูลนิธิฯ ที่ให้คนไทย “ลงขัน” กันซื้อหุ้น ปตท. ส่วนที่ไม่ได้เป็นของรัฐคืน เพราะตราบใดที่รัฐยังถือหุ้น 50%+ ก็ยังมีอำนาจควบคุม ปตท. อยู่ และตราบใดที่กลไกการกำกับดูแลยังใช้การไม่ได้จริง ต่อให้ประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้ถือหุ้นที่เหลือ ก็กดดันให้ ปตท. ทำอะไร “เพื่อประชาชน” จริงๆ ไม่ได้อยู่ดี ไปถกเถียงกับผู้กำกับดูแลโดยตรงดีกว่า ว่าทำไมถึงไม่กำกับดูแล ปตท. อย่างที่ควรจะเป็น (ดูข้อ 4.)
6. คนไทยทั่วไป โดยเฉพาะนักเล่นหุ้น ควรเข้าใจและนับถือในบทบาทของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ได้เสียสละเวลาและพลังงานมาหยิบยกประเด็นที่สลับซับซ้อนและสุ่มเสี่ยงต่อการ “ถูกด่า” มากมายอย่างประเด็นพลังงาน เราทุกคนต้องแยกแยะระหว่าง “อุดมการณ์” กับ “วิธีการ” กับ “ความเข้าใจ” เพราะทั้งสามอย่างนี้ไม่เหมือนกัน ผู้เขียนสนับสนุนอุดมการณ์ของมูลนิธิฯ ที่ต้องการให้รัฐกำกับดูแล ปตท. อย่างเข้มงวดมากขึ้นและกำจัดกำไรผูกขาดต่างๆ แม้ว่าผู้เขียนจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการหลายเรื่อง และคิดว่ามูลนิธิฯ ยังมีความเข้าใจในหลักเศรษฐศาสตร์และการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ไม่เพียงพอ
สำหรับ “ภาพใหญ่” ของสภาพปัญหาในกิจการไฟฟ้าของไทย (ซึ่งต้องเกี่ยวกับ ปตท. อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะก๊าซธรรมชาติที่ ปตท. ผูกขาดการนำส่งนั้น คือเชื้อเพลิงกว่า 70% ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศนี้) ขอแนะนำให้อ่าน บทสัมภาษณ์ชื่นชม สง่าราศี กรีเซน ที่ประชาไททำเมื่อปีก่อน.