[UPDATE 20/4/51 เอาไฟล์ดาวน์โหลดออกหมดแล้ว เปลี่ยนไปลิ้งก์ playlist ใน imeem แืทน ยกเว้นอัลบั้ม คนเขียนเพลง บรรเลงชีวิต หลังจากที่มีผู้หวังดีท้วงติงมาทางอีเมล์ว่าไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อน และเดี๋ยวจะมี “เว็บเลือด” ที่หากินกับการดาวน์โหลด ถ้าลิ้งก์มาหาที่นี่ จะลำบากกันเปล่าๆ และส่งเสริมให้คนเสียนิสัยด้วย ท่านผู้หวังดีฝากบอกมาด้วยว่า ถ้าใครสนใจอัลบั้มคลาสสิกเหล่านี้ ลองไปหาที่ร้าน BP ตรงเวิ้งนาครเกษม ขอขอบคุณท่านผู้หวังดีมา ณ ที่นี้ :)]
เมื่อเช้าเห็นคุณ Borworn เขียนมาขออัลบั้ม “คนเขียนเพลง บรรเลงชีวิต” ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ก็ทำให้นึกขึ้นได้ว่าได้ฟังอัลบั้มนี้ไปครั้งเดียว ตั้งแต่ไปดาวน์โหลดมาเก็บไว้เป็นปีแล้ว (จากเว็บอะไรก็จำไม่ได้แล้วด้วย) ขอแบ่งปันอัลบั้มคลาสสิกชุดนี้ให้ทุกท่านโดยทั่วกัน เพราะเริ่มจะหายากแล้ว อย่าว่าแต่เทปเลย แผ่นผี MP3 ก็ใช่ว่าจะหาซื้อกันได้ง่ายๆ
ไหนๆ จะอัพโหลดเพลงทั้งที ก็อยากแบ่ง(แกมอวดแกมขอร้องให้ช่วยกันฟัง)อัลบั้มแนวเดียวกันชุดอื่นที่ชอบมากๆ ด้วย เพราะหลังจากที่เคยอัพโหลด 12 ราศี ของวงตาวัน ไปนานแล้ว ก็ยังไม่เคยแนะนำอัลบั้ม progressive rock ชุดอื่นๆ เสียที วันนี้ขอแนะนำทีเดียวเลยก็แล้วกันนะคะ เชิญฟังกันได้ตามสบายโดยคลิ้กที่รูปอัลบั้มด้านล่าง (ลิ้งก์ไปหา playlist ออนไลน์ ที่เก็บไว้ใน imeem ยกเว้น คนเขียนเพลง บรรเลงชีวิต)
ส่วนอัลบั้ม ม็อบ ของวงตาวัน ผู้เขียนไม่มีปกเทปแล้ว (ถ้าใครจะสแกนให้ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง) เชิญคลิ้กที่นี่เพื่อฟัง (จริงๆ แล้วมีชุด หุ่นกระบอก ด้วย แต่มีเพลงไม่เต็มอัลบั้มเลยไม่อยากเอาขึ้น ถ้าใครจะกรุณาโพสลิ้งก์ MP3 ให้ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงเช่นกัน โดยเฉพาะเพลงเอกในชุดนี้คือ “หุ่นกระบอก” :D)
ผู้เขียนคิดว่าอัลบั้มทั้งหมดนี้ “คลาสสิก” จริงๆ เพราะวันนี้โหลดใส่ iTunes มาฟังใหม่ก็ยังเพราะ ไม่เชยทั้งเนื้อหาและดนตรีแม้ว่าเวลาจะผ่านไปยี่สิบปีแล้ว ชุดที่ผู้เขียนชอบมากเป็นพิเศษคือ ในทรรศนะของข้าพเจ้า ของ มาโนช พุฒตาล และ Shambala ของ พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สองสุดยอด concept album ที่นำแนวคิดหนักๆ ทางศาสนามาร้อยเรียงในทั้งดนตรีและเนื้อเพลงได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน ให้ทั้งแง่คิดและสุนทรียภาพ ฟังเมื่อไหร่ก็จับใจเมื่อนั้น
[UPDATE 20/4/51 เอาไฟล์ดาวน์โหลดออกหมดแล้ว เปลี่ยนไปลิ้งก์ playlist ใน imeem แืทน ยกเว้นอัลบั้ม คนเขียนเพลง บรรเลงชีวิต หลังจากที่มีผู้หวังดีท้วงติงมาทางอีเมล์ว่าไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อน และเดี๋ยวจะมี “เว็บเลือด” ที่หากินกับการดาวน์โหลด ถ้าลิ้งก์มาหาที่นี่ จะลำบากกันเปล่าๆ และส่งเสริมให้คนเสียนิสัยด้วย ท่านผู้หวังดีฝากบอกมาด้วยว่า ถ้าใครสนใจอัลบั้มคลาสสิกเหล่านี้ ลองไปหาที่ร้าน BP ตรงเวิ้งนาครเกษม ขอขอบคุณท่านผู้หวังดีมา ณ ที่นี้ :)]
เมื่อเช้าเห็นคุณ Borworn เขียนมาขออัลบั้ม “คนเขียนเพลง บรรเลงชีวิต” ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ก็ทำให้นึกขึ้นได้ว่าได้ฟังอัลบั้มนี้ไปครั้งเดียว ตั้งแต่ไปดาวน์โหลดมาเก็บไว้เป็นปีแล้ว (จากเว็บอะไรก็จำไม่ได้แล้วด้วย) ขอแบ่งปันอัลบั้มคลาสสิกชุดนี้ให้ทุกท่านโดยทั่วกัน เพราะเริ่มจะหายากแล้ว อย่าว่าแต่เทปเลย แผ่นผี MP3 ก็ใช่ว่าจะหาซื้อกันได้ง่ายๆ
ไหนๆ จะอัพโหลดเพลงทั้งที ก็อยากแบ่ง(แกมอวดแกมขอร้องให้ช่วยกันฟัง)อัลบั้มแนวเดียวกันชุดอื่นที่ชอบมากๆ ด้วย เพราะหลังจากที่เคยอัพโหลด 12 ราศี ของวงตาวัน ไปนานแล้ว ก็ยังไม่เคยแนะนำอัลบั้ม progressive rock ชุดอื่นๆ เสียที วันนี้ขอแนะนำทีเดียวเลยก็แล้วกันนะคะ เชิญฟังกันได้ตามสบายโดยคลิ้กที่รูปอัลบั้มด้านล่าง (ลิ้งก์ไปหา playlist ออนไลน์ ที่เก็บไว้ใน imeem ยกเว้น คนเขียนเพลง บรรเลงชีวิต)
ส่วนอัลบั้ม ม็อบ ของวงตาวัน ผู้เขียนไม่มีปกเทปแล้ว (ถ้าใครจะสแกนให้ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง) เชิญคลิ้กที่นี่เพื่อฟัง (จริงๆ แล้วมีชุด หุ่นกระบอก ด้วย แต่มีเพลงไม่เต็มอัลบั้มเลยไม่อยากเอาขึ้น ถ้าใครจะกรุณาโพสลิ้งก์ MP3 ให้ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงเช่นกัน โดยเฉพาะเพลงเอกในชุดนี้คือ “หุ่นกระบอก” :D)
ผู้เขียนคิดว่าอัลบั้มทั้งหมดนี้ “คลาสสิก” จริงๆ เพราะวันนี้โหลดใส่ iTunes มาฟังใหม่ก็ยังเพราะ ไม่เชยทั้งเนื้อหาและดนตรีแม้ว่าเวลาจะผ่านไปยี่สิบปีแล้ว ชุดที่ผู้เขียนชอบมากเป็นพิเศษคือ ในทรรศนะของข้าพเจ้า ของ มาโนช พุฒตาล และ Shambala ของ พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สองสุดยอด concept album ที่นำแนวคิดหนักๆ ทางศาสนามาร้อยเรียงในทั้งดนตรีและเนื้อเพลงได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน ให้ทั้งแง่คิดและสุนทรียภาพ ฟังเมื่อไหร่ก็จับใจเมื่อนั้น
ไปเจอบทความ 10 อัลบั้มเพลงไทย คลาสสิคตลอดกาล ในกระปุกดอทคอม อธิบายเหตุผลสั้นๆ ที่อัลบั้มเหล่านี้ “คลาสสิก” ได้ดี จึงขอลอกมาแปะไว้ในนี้:
“อัลบั้ม Shambala (2540) งานเพลงของ พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตฟร้อนท์แมนแห่งวง ตาวัน วงร็อคที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตำนานของเมืองไทย ในส่วนของอัลบั้ม Shambala อัลบั้มนี้นำเสนอในรูปแบบของคอนเซ็ปต์ อัลบั้มที่นำเอาเรื่องราวของชาว Shambala ชนเผ่าหนึ่งในประเทศธิเบตมาเขียนเรียงร้อยเป็นบทเพลง ที่พูดถึงการดำเนินชีวิต จินตนาการและปรัชญาในการดำเนินชีวิต …ในส่วนของภาคดนตรีของอัลบั้มชุดนี้เป็นแนวโปรเกรสซีฟร็อค โดยมีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ จากการแต่งของ Tod Lavelle (ทอดด์ ทองดี) แต่มีเพลงเนื้อร้องภาคภาษาไทยเพลงเดียวในอัลบั้มชุดนี้คือเพลง สองมือ อัลบั้ม Shambala เป็นผลงานที่ออกกับค่าย More Music ในยุคแรกๆ ของต้นสังกัด แม้วางานชุดนี้จะไม่ประสบความสำเร็จและมีคนรู้จักในวงแคบ แต่ก็ถือว่าเป็นงานระดับคุณภาพชิ้นหนึ่งที่คุณห้ามมองข้าม
“อัลบั้ม คนเขียนเพลง บรรเลงชีวิต (2530) ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ที่ถือว่าเป็นงานที่มีภาคดนตรีและเสียงประกอบจากซินธิไซเซอร์ที่ล้ำสมัย แม้ทุกวันนี้อัลบั้มชุดนี้จะผ่านมา 20 ปีแล้วก็ตามแต่ก็ยังฟังแล้วซาวนด์ไม่ล้าสมัยเลย แถมยังดูดีกว่าเพลงในปัจจุบันที่มีการใช้ซินธิไซเซอร์กันอย่างมากจนดูรกไปหมด จึงเทียบไม่ได้กับงานชุดที่ 2 ของอีกหนึ่งเจ้าพ่อโปรเกรสซีฟแห่งเมืองไทยคนนี้เลย
“ในทรรศนะของข้าพเจ้า (2539) งานอัลบั้มเต็มชุดแรกและชุดเดียวของ น้าซัน มาโนช พุฒตาล คนทำเพลงที่ถือเป็นปูชนียบุคคล ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวบนเส้นทางสายดนตรีคนหนึ่งในเมืองไทย เจ้าของรายการ, นิตยสาร บันเทิงคดี และค่ายเพลง Milestone ค่ายเพลงเล็กแต่เปี่ยมด้วยศิลปินมีคุณภาพที่ต้องยอมปิดตัวลงเพราะปัจจัยหลายๆ อย่างในวงการเพลง พูดถึงงาน ในทรรศนะของข้าพเจ้า คงเป็นเรื่องยากหากจะกล่าวให้กับคนที่ยังไม่เคยฟังงานชุดนี้ว่ามันช่างยอดเยี่ยมยิ่งกว่ากระเทียมดองไหใดๆ บนโลกนี้ กับบทเพลงต่างๆ ในอัลบั้มไม่ว่าจะเป็น วาสิฎฐี, หมอผีครองเมือง หรือ ลำธาร ล้วนแล้วแต่เป็นบทเพลงที่กลั่นมาจากจิตวิญญาณของชายวัยกลางคนๆ หนึ่ง ถ่ายทอดสู่คนฟังจนเกิดความศรัทธา มาจนถึงทุกวันนี้ (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับอัลบั้มนี้เพิ่มเติมได้จากบทความนี้ในประชาไท)
“อัลบั้ม กุมภาพันธ์ 2528 (2530) ของวง The Olarn Project วงดนตรีที่ถือว่าเป็นวงเฮฟวี่ในยุคต้นๆ ของเมืองไทย ก่อตั้งโดย โอ๋ โอฬาร พรหมใจ และ โป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ ที่มีผลงานอัลบั้มที่จะเรียกว่าเป็นอัลบั้มเพลงเฮฟวี่ภาคภาษาไทยชุดแรกในดินแดนขวานทองเลยก็ว่าได้ เพราะเพลงอย่าง ฉันอยากจะตายเพราะเธอว่ะ หรือ ไฟปรารถนา ที่เป็นเพลงสไตล์เฮฟวี่เมตัลบวกกับเนื้อร้องที่สุดโต่ง จนตีตลาดเพลงป๊อปร็อคในยุคนั้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ยอมก้มหัวหลีกทางให้ The Olarn Project ขึ้นมายืนบนบันลังก์เจ้าพ่อแห่งเพลงเฮฟวี่เมตัลแห่งเมืองไทย จวบจนทุกวันนี้หลายคนต้องยอมรับกันว่า วง The Olarn Project คือ “ตำนาน” ”
เพลงที่ผู้เขียนชอบที่สุดในบรรดาอัลบั้มทั้งหมดที่โพสวันนี้คือ เพลง “ดูดาว” ของวงตาวัน จากชุด ม็อบ, เพลง “แทนความห่วงใย” ของวง The Olarn Project จากชุด กุมภาพันธ์ 2528 และเพลง “สองมือ (Arboreal Thai version)” ของพงษ์พรหม จากชุด Shambala ซึ่งเป็นอัลบั้มเพลงสากลคุณภาพระดับโกอินเตอร์ได้สบาย ใครไม่รู้จัก เชิญฟังได้ที่นี่ 🙂 (ฟังเพลงอื่นๆ ได้ที่ imeem profile ของผู้เขียน)