อารยะขัดขืน: ทางออกสุดท้ายของประชาชน?

พรุ่งนี้ผู้เขียนจะไปร่วมชุมนุมที่หน้าห้างสยาม พารากอนกับเขาด้วย แม้ว่าจะเห็นใจคนที่ทำงาน และเรียนหนังสือแถวนั้น ก็เข้าใจกลุ่มพันธมิตรฯ เหมือนกันว่าจะต้องหาวิธีเพิ่มแรงกดดันต่อตัวนายกฯ โดยไม่ออกนอกหลักการ “อารยะขัดขืน” และหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการเปิดเวที “แฉ” นายกฯ เพราะทีวีทุกช่อง ยกเว้น ASTV และ Nation Channel ยังไม่ยอมถ่ายทอดให้คนทางบ้านเห็นว่า บรรดานักวิชาการ อดีตรัฐมนตรี อดีตทูต นักการเมือง แพทย์ NGO ตัวแทนชาวบ้าน นักคิด กวี และอีกหลายสิบอาชีพที่ขึ้นเวทีปราศรัยนั้น เขาพูดอะไรกันบ้าง

ใครที่ไม่อยากไปร่วมชุมนุม พยายามหลีกเลี่ยงการใช้รถใช้ถนนไป 2-3 วันนะ เพราะท่าทางรถจะติดครึ่งค่อนเมืองทีเดียว การชุมนุมครั้งนี้มีแนวโน้มจะเป็นพฤติกรรม “อารยะขัดขืน” ขนานแท้ เพราะจะทำให้หลายๆ คนรู้สึกเดือดร้อน ถึงขนาดอาจมีการแจ้งจับแกนนำและผู้ร่วมชุมนุมด้วย (ในข้อหาละเมิดกฎจราจร และก่อความไม่สงบละมัง) ใครที่อยากบ่นว่ารำคาญการชุมนุมเพราะทำให้รถติด ขอแนะนำให้อ่าน บทความของคุณ bact’ แล้วคุณอาจเปลี่ยนใจ (หรืออย่างน้อยก็เข้าใจผู้ชุมนุมมากขึ้น)

ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าจะไม่มี “มือที่สาม” เข้ามาก่อความวุ่นวาย และหวังว่าสนธิและจำลอง แกนนำหลักสองคน จะไม่ “ฉวยโอกาส” นี้สร้างความวุ่นวายซะเอง ต้องช่วยกันจับตาดูให้ดีๆ

เนื่องจากตอนนี้เห็นหลายๆ คน (โดยเฉพาะคนที่บอกว่า “รำคาญ” พวกม็อบกู้ชาติมาก) มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการประท้วงแบบ “อารยะขัดขืน” พอสมควร เลยพยายามหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และแปลบทความที่คิดว่าดีมากๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รวบรวมมาให้อ่านกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

ก่อนอื่นขอย้ำตรงนี้ว่า ผู้ร่วมชุมนุมหลายคน รวมทั้งผู้เขียน จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ที่จะถึงนี้ อย่างแน่นอน หลายคนด่วนสรุปเอาเองว่า ผู้ชุมนุมนี่คือพวกไม่อยากไปเลือกตั้งทั้งนั้น ขอบอกว่าไ่ม่จริงเลย ธง “Vote No Vote” ของ สนนท. ที่ปลิวไสวตลอดเวลาในที่ชุมนุม และคำปราศรัยเชิญชวนให้ทุกคนไปเลือกตั้ง ของผู้ปราศรัยหลายคน เป็นเครื่องยืนยันได้ดี คนเขาไปชุมนุมตอนนี้เพราะอยากเรียกร้องให้นายกฯ ลาออกก่อนถึงวันเลือกตั้ง จะได้ประหยัดงบประมาณแผ่นดิน และเราจะได้ไม่ต้องทนเห็น “สภาโจ๊ก” คลอดออกมาจากมหกรรมโกงเลือกตั้ง เปิดช่องให้นายกฯ ลอยนวลไม่ต้องถูกตรวจสอบตลอดกาล ต้องมาปวดหัวแก้ปัญหากันทีหลัง แต่ถ้าหากเกิดการเลือกตั้งขึ้นมาจริงๆ (ซึ่งตอนนี้มีแนวโน้มสูงมาก) เชื่อว่าผู้ร่วมชุมนุมส่วนใหญ่จะไปเลือกตั้ง กาช่องไม่เลือกใคร ไม่นอนหลับทับสิทธิอย่างแน่นอน (แล้วถ้าเกิด “สภาโจ๊ก” ขึ้นมาจริงๆ หลังจากนั้น โดยมีทักษิณเป็นนายกฯ อีกสมัย สงสัยต้องมาประท้วงกันต่อไป เฮ่อ)


อารยะขัดขืนคืออะไร?

“Those who profess to favor freedom, yet deprecate agitation, are men who want crops without plowing up the ground. They want rain without thunder and lightning. They want the ocean without the awful roar of its many waters. This struggle may be a moral one; or it may be a physical one; or it may be both moral and physical; but it must be a struggle. Power concedes nothing without a demand. It never did and it never will.”
Frederick Douglass, African-American abolitionist

“ผู้ใดก็ตามที่อ้างว่าตนนิยมเสรีภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็ดูแคลนความวุ่นวาย คือคนที่อยากเห็นพืชพันธุ์งอกงามโดยไม่พรวนดินก่อน พวกเขาอยากเห็นฝนที่ไม่มาควบคู่ไปกับเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบ พวกเขาอยากได้มหาสมุทรที่ปราศจากเสียงกึกก้องอันน่ากลัวของผืนน้ำ การขัดขืนครั้งนี้อาจเป็นการขัดขืนทางศีลธรรม ทางร่างกาย หรือทั้งสองทาง แต่มันจะต้องเป็นการขัดขืน อำนาจไม่เคยยอมอ่อนข้อโดยปราศจากการเรียกร้อง มันไม่เคยยอมในอดีต และจะไม่มีวันยอมในอนาคต.”
เฟรเดอริค ดักลาส, ชาวอเมริกันผิวดำ ผู้สนับสนุนการเลิกทาส


พรุ่งนี้ผู้เขียนจะไปร่วมชุมนุมที่หน้าห้างสยาม พารากอนกับเขาด้วย แม้ว่าจะเห็นใจคนที่ทำงาน และเรียนหนังสือแถวนั้น ก็เข้าใจกลุ่มพันธมิตรฯ เหมือนกันว่าจะต้องหาวิธีเพิ่มแรงกดดันต่อตัวนายกฯ โดยไม่ออกนอกหลักการ “อารยะขัดขืน” และหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการเปิดเวที “แฉ” นายกฯ เพราะทีวีทุกช่อง ยกเว้น ASTV และ Nation Channel ยังไม่ยอมถ่ายทอดให้คนทางบ้านเห็นว่า บรรดานักวิชาการ อดีตรัฐมนตรี อดีตทูต นักการเมือง แพทย์ NGO ตัวแทนชาวบ้าน นักคิด กวี และอีกหลายสิบอาชีพที่ขึ้นเวทีปราศรัยนั้น เขาพูดอะไรกันบ้าง

ใครที่ไม่อยากไปร่วมชุมนุม พยายามหลีกเลี่ยงการใช้รถใช้ถนนไป 2-3 วันนะ เพราะท่าทางรถจะติดครึ่งค่อนเมืองทีเดียว การชุมนุมครั้งนี้มีแนวโน้มจะเป็นพฤติกรรม “อารยะขัดขืน” ขนานแท้ เพราะจะทำให้หลายๆ คนรู้สึกเดือดร้อน ถึงขนาดอาจมีการแจ้งจับแกนนำและผู้ร่วมชุมนุมด้วย (ในข้อหาละเมิดกฎจราจร และก่อความไม่สงบละมัง) ใครที่อยากบ่นว่ารำคาญการชุมนุมเพราะทำให้รถติด ขอแนะนำให้อ่าน บทความของคุณ bact’ แล้วคุณอาจเปลี่ยนใจ (หรืออย่างน้อยก็เข้าใจผู้ชุมนุมมากขึ้น)

ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าจะไม่มี “มือที่สาม” เข้ามาก่อความวุ่นวาย และหวังว่าสนธิและจำลอง แกนนำหลักสองคน จะไม่ “ฉวยโอกาส” นี้สร้างความวุ่นวายซะเอง ต้องช่วยกันจับตาดูให้ดีๆ

เนื่องจากตอนนี้เห็นหลายๆ คน (โดยเฉพาะคนที่บอกว่า “รำคาญ” พวกม็อบกู้ชาติมาก) มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการประท้วงแบบ “อารยะขัดขืน” พอสมควร เลยพยายามหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และแปลบทความที่คิดว่าดีมากๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รวบรวมมาให้อ่านกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

ก่อนอื่นขอย้ำตรงนี้ว่า ผู้ร่วมชุมนุมหลายคน รวมทั้งผู้เขียน จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ที่จะถึงนี้ อย่างแน่นอน หลายคนด่วนสรุปเอาเองว่า ผู้ชุมนุมนี่คือพวกไม่อยากไปเลือกตั้งทั้งนั้น ขอบอกว่าไ่ม่จริงเลย ธง “Vote No Vote” ของ สนนท. ที่ปลิวไสวตลอดเวลาในที่ชุมนุม และคำปราศรัยเชิญชวนให้ทุกคนไปเลือกตั้ง ของผู้ปราศรัยหลายคน เป็นเครื่องยืนยันได้ดี คนเขาไปชุมนุมตอนนี้เพราะอยากเรียกร้องให้นายกฯ ลาออกก่อนถึงวันเลือกตั้ง จะได้ประหยัดงบประมาณแผ่นดิน และเราจะได้ไม่ต้องทนเห็น “สภาโจ๊ก” คลอดออกมาจากมหกรรมโกงเลือกตั้ง เปิดช่องให้นายกฯ ลอยนวลไม่ต้องถูกตรวจสอบตลอดกาล ต้องมาปวดหัวแก้ปัญหากันทีหลัง แต่ถ้าหากเกิดการเลือกตั้งขึ้นมาจริงๆ (ซึ่งตอนนี้มีแนวโน้มสูงมาก) เชื่อว่าผู้ร่วมชุมนุมส่วนใหญ่จะไปเลือกตั้ง กาช่องไม่เลือกใคร ไม่นอนหลับทับสิทธิอย่างแน่นอน (แล้วถ้าเกิด “สภาโจ๊ก” ขึ้นมาจริงๆ หลังจากนั้น โดยมีทักษิณเป็นนายกฯ อีกสมัย สงสัยต้องมาประท้วงกันต่อไป เฮ่อ)


อารยะขัดขืนคืออะไร?

“Those who profess to favor freedom, yet deprecate agitation, are men who want crops without plowing up the ground. They want rain without thunder and lightning. They want the ocean without the awful roar of its many waters. This struggle may be a moral one; or it may be a physical one; or it may be both moral and physical; but it must be a struggle. Power concedes nothing without a demand. It never did and it never will.”
Frederick Douglass, African-American abolitionist

“ผู้ใดก็ตามที่อ้างว่าตนนิยมเสรีภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็ดูแคลนความวุ่นวาย คือคนที่อยากเห็นพืชพันธุ์งอกงามโดยไม่พรวนดินก่อน พวกเขาอยากเห็นฝนที่ไม่มาควบคู่ไปกับเสียงฟ้าร้องและฟ้าแลบ พวกเขาอยากได้มหาสมุทรที่ปราศจากเสียงกึกก้องอันน่ากลัวของผืนน้ำ การขัดขืนครั้งนี้อาจเป็นการขัดขืนทางศีลธรรม ทางร่างกาย หรือทั้งสองทาง แต่มันจะต้องเป็นการขัดขืน อำนาจไม่เคยยอมอ่อนข้อโดยปราศจากการเรียกร้อง มันไม่เคยยอมในอดีต และจะไม่มีวันยอมในอนาคต.”
เฟรเดอริค ดักลาส, ชาวอเมริกันผิวดำ ผู้สนับสนุนการเลิกทาส

พจนานุกรมฉบับมติชน ให้นิยามคำว่า “อารยะขัดขืน” ไว้ดังนี้:

แก้วสรร อติโพธิ อธิบายว่า อารยะขัดขืน ภาษาฝรั่งใช้คำว่า Civil Disobedience คำว่า “Civil” ในที่นี้ เขาไม่ได้หมายถึงอารยะอะไรที่ไหน แต่หมายถึง “พลเมือง” ว่า การกระทำใดอันเป็นการผิดกฎหมายผิดหน้าที่ของพลเมืองที่กระทำไป เพื่อมุ่งประท้วงหรือปฏิเสธการใช้อำนาจเกินขอบเขตของผู้ปกครอง เขาจึงเรียกการกระทำเช่นนี้ว่าเป็นการแข็งข้อ ไม่ยอมรับหน้าที่ของพลเมืองที่กำหนดไว้ ถือเป็นความชอบธรรมที่ทำได้ในฐานะเป็นเสรีชน มิใช่เพียงราษฎรที่ไร้น้ำยา

คำนี้เพิ่งจะปรากฏในวาทกรรมการเมืองไทย ใช้กล่าวอ้างอธิบายเมื่อจะแข็งข้อต่อสู้กับระบอบทักษิณ ด้วยวิธีการต่างๆ มาจากฐานคิดเสรีนิยมที่เชื่อมั่นว่า “รัฐ” นั้นไม่ใช่พ่อของราษฎร คนนั้นเกิดมาเป็นเสรีชน รัฐบาลเป็นเครื่องมือเพื่อการอยู่ร่วมกันโดยเสรีเท่านั้น เมื่อผู้ครองอำนาจใช้อำนาจล้ำเส้นล้ำกรอบของรัฐเมื่อใด เสรีชนก็มีสิทธิโดยชอบที่จะประท้วง และปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตาม ตามหน้าที่ของพลเมืองอีกต่อไป ยึดถนนประท้วงก็ได้ ไม่เสียภาษีก็ได้ หยุดงานสาธารณะก็ได้ ฉีกหมายเรียกเกณฑ์ทหารก็ได้ ทั้งหมดนี้ล้วนผิดกฎหมายผิดหน้าที่พลเมืองทั้งสิ้น แต่เมื่อผู้ครองอำนาจใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐแล้ว เราก็มีสิทธิไม่ยอมรับหน้าที่ของพลเมืองที่กำหนดไว้ตามกฎหมายอีกต่อไป

แก้วสรรเห็นว่าน่าจะแปลเป็นไทยว่า การแข็งข้อไม่ยอมเป็นพลเมือง

ในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมอารยะขัดขืนนั้น ผู้ประท้วงอาจเลือกกระทำผิดกฎหมายบางข้อ เช่น ร่วมกันปิดกั้นถนนหรือสถานที่ใดๆ อย่างสันติ หรืออาจจะต้องเข้าไปยึดครองอาคารอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งผู้ที่จะกระทำการอารยะขัดขืนนั้นต่างรู้ดีว่าพวกเขาจะถูกจับกุมตัวไป หรืออาจจะถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายทุบตี ด้วยเหตุนี้ ผู้ประท้วงจึงมักจะได้รับการฝึกล่วงหน้าว่า จะต้องปฏิบัติตนอย่างไรระหว่างที่ถูกจับกุม เพื่อที่จะไม่ให้ดูว่าเป็นการคุกคามและมุ่งหมายที่จะใช้กำลังตอบโต้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ


อารยะขัดขืนในประวัติศาสตร์โลก
สรุปจากนสพ. ผู้จัดการรายวัน วันที่ 17 มีนาคม 2549:

อารยะขัดขืนถูกใช้ในอินเดีย ระหว่างการต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษ การต่อสู้เพื่อสิทธิของคนผิวดำในแอฟริกาใต้และสหรัฐอเมริกา การต่อสู้เพื่อต่อต้านการยึดครองของนาซีในยุโรปและสแกนดิเนเวีย แต่ผู้ที่บุกเบิกทฤษฎีดังกล่าวในสมัยใหม่คือ นักเขียนชาวสหรัฐฯ ที่ชื่อ เฮนรี เดวิด โธโรว์ ซึ่งเป็นผู้แต่งบทความที่ชื่อ “Civil Disobedience” ในปี 1849 ซึ่งเดิมทีบทความนี้มีชื่อว่า “Resistance to Civil Government”

แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังบทความของโธโรว์คือ เราไม่จำเป็นต้องใช้กำลังต่อสู้กับรัฐบาล แต่เราต้องไม่สนับสนุนรัฐบาล หรือให้รัฐบาลมาสนับสนุนเรา (ถ้าหากว่าเราไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลเป็นวงกว้างต่อผู้ที่นำแนวความคิดนี้ไปปฏิบัติ ซึ่งในบทความนี้โธโรว์ได้อธิบายถึงสาเหตุที่เขาไม่จ่ายภาษีว่า เป็นการกระทำเพื่อประท้วงต่อลัทธิทาส และต่อสงครามระหว่างเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา

แนวคิดอารยะขัดขืนนั้นถูกใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการเคลื่อนไหวระดับชาติของประเทศต่างๆ ในแอฟริกาและเอเชีย ที่เคยตกเป็นอาณานิคมต่างชาติ ก่อนที่ประเทศเหล่านั้นจะได้รับอธิปไตยในภายหลัง ซึ่งผู้ที่นำแนวคิดนี้ไปใช้จนเป็นที่รู้จักกันดีคือ มหาตมะ คานธี ผู้พัฒนาแนวคิดอารยะขัดขืนไปเป็นเครื่องมือในการต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษ

นอกจากคานธี ผู้ที่นำแนวคิดนี้ไปใช้จนโด่งดังอีกคนคือ ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ที่เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของชาวสหรัฐฯ เชื้อสายแอฟริกัน ช่วงทศวรรษที่ 1960 นอกจากนั้น บรรดากลุ่มผู้ประท้วงทั่วโลกที่ต่อต้านการทำสงครามเวียดนาม การทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย และล่าสุดคือ การทำสงครามอิรัก ต่างยึดถือแนวคิดนี้เป็นหลักปฏิบัติ


ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้แนวทางอารยะขัดขืน ในระบอบประชาธิปไตย
แปลและเรียบเรียงบางส่วนจาก Civil Disobedience โดย Peter Suber

ข้อโต้แย้ง: อารยะขัดขืน ไม่มีทางที่จะมีความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย เพราะรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยสามารถแก้ไขกฎหมายอันมิชอบ ที่รัฐสภาชุดก่อนหน้านั้นตราขึ้น ช่องทางแก้ไขที่ถูกกฎหมายแบบนี้ ทำให้อารยะขัดขืนเป็นการกระทำที่ไม่จำเป็น

คำตอบ: โธโรว์ ผู้มีชื่อเสียงคนแรกที่ใช้วิธีอารยะขัดขืน (โดยการปฏิเสธที่จะเสียภาษี) ในระบอบประชาธิปไตย ชี้ให้เห็นว่า บางครั้งรัฐธรรมนูญไม่ใช่ทางออก แต่เป็นตัวปัญหา นอกจากนั้น เขามองว่าช่องทางต่อต้่านตามกฎหมายอาจใช้เวลานานเกินไป เพราะเขาเกิดมาใช้ชีวิต ไม่ใช้ล็อบบี้นักการเมือง ความเป็นปัจเจกชนอิสระของโธโรว์ให้คำตอบเขาอีกหนึ่งข้อ: ปัจเจกชนทุกคนมีอธิปไตย โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตย รัฐมีอำนาจเพราะปัจเจกชนทั้งมวลมอบอำนาจนั้นให้ ดังนั้น ปัจเจกชนอาจเลือกยืนอยู่นอกกรอบของกฎหมาย

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ซึ่งใช้วิธีอารยะขัดขืนในการต่อต้านนโยบายเหยียดผิวของรัฐบาลอเมริกา ที่มาโดยระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แนะให้เราศึกษาวิเคราะห์ช่องทางเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ถูกกฎหมาย อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น หากช่องทางเหล่านั้น “เปิด” เฉพาะในทฤษฎี แต่ “ปิด” หรือถูกครอบงำโดยมิชอบ ในทางปฏิบัติ นั่นแปลว่าระบบนั้นๆ ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเพียงพอที่จะทำให้อารยะขัดขืนเป็นเรื่องไม่จำเป็น นักต่อต้านคนอื่นๆ อีกหลายคน ชี้ให้เห็นว่า ถ้าวิธีการตรวจสอบของศาล เป็นลักษณะของระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกันที่ถูกออกแบบมาให้ประชาชนไม่ต้องใช้อารยะขัดขืนจริงแล้วละก็ วิธีการทำงานของศาลจริงๆ ทำให้เป้าหมายนั้นไม่มีทางบรรลุได้ เพราะก่อนที่ใครจะยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณากฎหมายที่ไม่ชอบธรรม บ่อยครั้งคนๆ นั้นต้องถูกจับในข้อหาละเมิดกฎหมายฉบับนั้นก่อน นอกจากนั้น ภายใต้หลักการของสนธิสัญญานูเร็มเบิร์ก (Nuremberg Principles) ประชาชนต้องละเมิดกฎหมาย หรือคำสั่งของรัฐบาล ที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ นับเป็นหน้าที่สำคัญของพลเมือง โดยเฉพาะในประเทศประชาธิปไตย

ข้อโต้แย้ง: แม้ว่าบางครั้งอารยะขัดขืนอาจเป็นวิธีการที่ชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย ก่อนอื่นแอ็คติวิสต์ต้องพยายามคัดค้านโดยใช้ช่องทางกฎหมายให้หมดเสียก่อน แล้วค่อยใช้อารยะขัดขืนเป็นทางออกสุดท้าย

คำตอบ: ช่องทางของกฎหมายนั้นไม่มีวันใช้จน “หมด” ไปได้ นักต่อต้านสามารถเขียนจดหมายร้องเรียนถึงผู้แทนราษฎรของตน หรือหนังสือพิมพ์ได้ทุกเมื่อ หรือมิฉะนั้นก็รอลงคะแนนเสียง ในการเลือกตั้งรอบใหม่ แต่คิง จูเนียร์ประกาศว่า “การเลื่อนวันมอบความยุติธรรม คือการปฏิเสธที่จะมอบความยุติธรรม” (Justice delayed is justice denied) คิง จูเนียร์ ชี้ให้เห็นว่า พอถึงจุดหนึ่ง ความใจเย็นในการต่อสู้กับความอยุติธรรม จะช่วยทำให้ความอยุติธรรมนั้นๆ คงอยู่เรื่อยไป ส่วน เอ. เจ. มัสต์ เสนอว่า การใช้ช่องทางของกฎหมายในการต่อสู้กับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมนั้น เป็นการร่วมมือกับกลไกเลวๆ และพรางตาเสียงต่อต้านว่าเป็นเสียงสนับสนุน ผลที่เกิดขึ้นคือ นักต่อต้านจะถูกครอบงำโดยระบบ และทำให้คนอื่นเกิดความท้อแท้ เพราะพวกเขาจะประเมินตัวเลขเพื่อนร่วมอุดมการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริง

ข้อโต้แย้ง: เราทุกคนต้องเคารพกฎหมาย เพราะเป็นสัญญาประชาคมที่ผูกมัดเราและคนอื่นๆ ในสังคม การที่เราอาศัยอยู่ในรัฐและได้รับสิทธิประโยชน์จากการเป็นพลเมือง แปลว่าเรายอมรับในกฎหมายต่างๆ โดยปริยายแล้ว (tacit consent)

คำตอบ: โธโรว์และคานธีต่างตอบข้อนี้ว่า คนที่ไม่เห็นด้วยอย่างแรงต่อการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ ควรยอมละทิ้งผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐนั้นๆ ด้วยการเลือกดำรงชีวิตอย่างสันโดษและเรียบง่าย นักปรัชญาจอห์น ล็อค (John Locke) ผู้ให้นิยามของการยอมรับกฎหมายโดยปริยาย (tacit consent) กล่าวว่า เมื่อรัฐละเมิดสัญญาประชาคม พลเมืองก็มีสิทธิที่จะใช้วิธีอารยะขัดขืน หรือแม้แต่ปฏิวัติ ประเพณีของกฎหมายธรรมชาติ (natural law) ที่ออกัสตินและอาไควนาสสนับสนุน และคิง จูเนียร์ ใช้อ้างอิงนั้น ไม่นับกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมว่าเป็นกฎหมายด้วยซ้ำ แต่มองเป็นการบิดเบือนกฎหมาย ดังนั้นในแง่นี้ การยอมรับกฎหมายไม่ครอบคลุมกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม ด้วยเหตุนี้คนผิวดำ ผู้หญิง และชาวอินเดียนแดงในอเมริกาหลายคนจึงบอกว่า ถ้าพวกเขาไม่ได้เป็นพลเมืองอเมริกาที่มีสิทธิเสรีภาพทัดเทียมกับคนอื่น พวกเขาก็ไม่มี “หน้าที่” ที่จะเคารพกฎหมายของอเมริกาเหมือนกัน


ทำไมคนไทยส่วนหนึ่ง จึงใช้อารยะขัดขืน

“ของจริง” ของการเมืองภาคประชาชน
โดย สุทธิชัย หยุ่น จากคอลัมน์กาแฟดำ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 มีนาคม 2549

ปรากฏการณ์เดินขบวนครั้งใหญ่วันนี้ เพื่อยืนยันคำเรียกร้องให้ ทักษิณ ชินวัตร ลาออกอีกครั้ง และขอพระราชทานนายกฯคนใหม่นั้น เป็นการเมืองภาคประชาชนที่อยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตย…ไม่ใช่เป็นการ “เล่นนอกกติกา” อย่างที่ทักษิณและพวกกล่าวอ้างอย่างแน่นอน

เหตุเพราะประชาชนไม่รู้จะหาทางออกให้กับบ้านเมืองอย่างไร เมื่อผู้นำที่มีอำนาจบารมี, เงินทอง และขันทีที่ทำหน้าที่เป็นศรีธนญชัยล้นหลามในการปกป้องตำแหน่งแห่งหนและผลประโยชน์ของตัวเอง

เป็นเพราะกลไกของสังคมที่จะตรวจสอบการโกงกินอย่างมโหฬารเกิดพิกลพิการ เพราะองค์กรอิสระตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่อาจจะทำหน้าที่ของตัวเองได้ตามเจตนารมณ์ที่ควรจะเป็น

การเมืองภาคประชาชนคือกลไกที่เดินขนานไปกับการเมืองของรัฐสภา เพื่อตรวจสอบว่าผู้ที่ประชาชนเลือกเข้ามานั้นจะทำหน้าที่ของตนตามที่รับปากรับคำกับประชาชนในระหว่างการหาเสียงหรือไม่

นักการเมืองมักจะอ้างเสมอว่า เมื่อประชาชนเลือกเขามาเป็นตัวแทนแล้ว ก็แปลว่าได้มอบอำนาจให้ทำอะไรก็ได้ในช่วง 4 ปีที่อยู่ในตำแหน่ง แม้กระทั่งทักษิณยังหลงผิดคิดว่าเมื่อพรรคไทยรักไทยได้มา 19 ล้านเสียงในการเลือกตั้งคราวที่แล้ว เขาก็สรุปเอาเองว่าเขาและพรรคของเขาจะทำอะไรก็ได้, ไม่มีใครมาตั้งคำถาม, ไม่มีใครมาตรวจสอบ และถ้าไม่พอใจเขาก็ให้รอการเลือกตั้งคราวหน้าแล้วสิ

นี่เป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง และนี่คือที่มาของความบิดเบี้ยวและบิดเบือนของคำว่า “ประชาธิปไตย” ที่ทักษิณอ้างเสมอ

เพราะทักษิณเข้าใจแต่เพียงประชาธิปไตยในความหมายของการใช้ทุกกลเม็ดทางการเมืองและการเงินเพื่อให้ประชาชนเข้าคูหาไปเลือกตัวเองและพรรคของตัวเอง

ทักษิณพยายามจะบิดเบือน แกล้งไม่ยอมเข้าใจว่าเหนือสิ่งอื่นใดในระบอบประชาธิปไตยนั้น คือการรักษาจริยธรรมและความซื่อสัตย์ของผู้ที่เสนอตัวเข้ามารับใช้ประชาชน

ทักษิณและพวกไม่เข้าใจว่าการเลือกตั้งที่สกปรก, การใช้กลเกมต่างๆ เพื่อให้ชาวบ้านเลือกตัวเองเข้ามานั่งอยู่ในสภาและในทำเนียบรัฐบาลนั้นขัดแย้งกับคำว่าประชาธิปไตยอย่างยิ่ง

คนที่กุมกลไกการลงคะแนนเสียง, คนที่ใช้เงินใช้ทองเพื่อสร้างให้ทุกกลไกของการเลือกตั้งเป็นประโยชน์ต่อตน, และคนที่ใช้ภาษีประชาชนเพื่อเสริมสร้างฐานเสียงของตัวเองอย่างไม่เป็นธรรมต่อพรรคการเมืองอื่นๆ นั้น คือคนที่ทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน

เมื่อนักเลือกตั้งสามารถเข้ายึดครองอำนาจในสภาและในรัฐบาลได้แล้ว ประชาชนจะทำอย่างไร หากผู้ได้อำนาจนั้นมากระทำการตรงกันข้ามกับความชอบธรรม?

เมื่อนักเลือกตั้งใช้เสียงข้างมากที่ตัวเอง “ทำมาหาได้” เพื่อประโยชน์แห่งตนและพรรคพวก มีปัญหาการทับซ้อนผลประโยชน์อย่างกว้างขวาง สามารถซื้อหาสิทธิพิเศษทางการเมืองได้อย่างง่ายดาย, ประชาชนจะทำอย่างไร?

ทางหนึ่งของการแสดงออกเพื่อเป็นแรงถ่วงอำนาจ หรือ “การกดขี่ของเสียงข้างมากที่ไม่เป็นธรรม” ก็คือประชาชนต้องมีสิทธิแสดงออกทางการเมืองนอกสภา ไม่ว่าจะด้วยการเดินขบวนอย่างสันติ หรือการใช้มาตรการ “อารยะขัดขืน” เพื่อแสดงให้ผู้มีอำนาจที่ไร้คุณธรรมได้เห็นว่า แม้ผู้คัดค้านจะเป็นเสียงข้างน้อย, แต่ก็เป็นเสียงแห่งมโนธรรมของสังคมในยามที่ “ทุกอย่างถูกเงินและอำนาจซื้อไปหมดแล้ว”

การนัดชุมนุมเพื่อเดินขบวนครั้งใหญ่วันนี้จึงเป็นการแสดงออกโดยชอบธรรมของประชาชนผู้ไม่อาจจะตรวจสอบรัฐบาลผ่านกลไกปกติได้…เป็นการยืนยันในสิทธิของการรวมตัวกันเพื่อหาทางออกให้ประเทศ

เป็นการยืนยันอีกครั้งว่าทักษิณหมดความชอบธรรมที่จะเป็นผู้นำของประเทศ…จำเป็นต้องก้าวลงจากการปกครองประเทศเพื่อเปิดทางให้สังคมแก้ปัญหาที่สั่งสมจาก “ระบอบทักษิณ” ที่สร้างความเสียหายนานัปประการมาห้าปีเต็ม

ช้ากว่านี้…ทุกวันคือความสูญเสียของประเทศชาติ