“เว็บหมิ่น” โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

เว็บหมิ่น
โดย​ ​นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์, ตีพิมพ์ใน นสพ. มติชนรายวัน วันที่ 19 มกราคม 2552

รัฐบาล​ 4 ​ชุดหลังการรัฐประหารเมื่อ​ ​พ​.​ศ​.2549 ​ล้วนตั้งภารกิจสำ​คัญอย่างหนึ่ง​ให้​แก่ตนเองเหมือน​กัน​ ​คือปิดเว็บไซต์ที่ถูกถือว่ามี​ความ​ผิดตามกฎหมายอาญา​ ​ม​.112 ​หรือ​ที่​เรียก​กัน​ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

แสดง​ให้​เห็นปริมาณที่มากมายของเว็บไซต์​ซึ่ง​ตก​อยู่​ใน​ข่าย​ ​และ​แสดง​ให้​เห็น​ความ​ล้มเหลว​ใน​การทำ​ภารกิจอย่างต่อ​เนื่อง

เว็บ​​ที่ถูกถือว่า​เป็น​เว็บหมิ่นเหล่านี้​เพิ่งเกิดขึ้นอย่างมากหลังรัฐประหาร​ ​หรือ​เกิดขึ้นมาก่อน​แล้ว​ก็ตาม​ ​แต่​ความ​ตื่นตัวที่​จะ​จัดการ​กับ​เว็บเหล่านี้​เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร​ ​ดู​เหมือน​เป็น​คำ​เตือนของท่านประธานองคมนตรีก่อน​ ​และ​ได้​รับการขานรับ​จาก​กองทัพ​, ​รัฐบาล​ ​และ​ผู้​หลัก​ผู้​ใหญ่​บางคนตลอดมา

อัน​​ที่จริง​จะ​ถือว่าข้อ​ความ​ใน​ทุกเว็บดังกล่าวล้วนผิดกฎหมายอาญา​ ​ม​.112 ​ทั้ง​สิ้นเห็น​จะ​ไม่​ได้​ ​เพราะ​ข้อ​ความ​ใน​หลายเว็บมิ​ใช่​การ​ “หมิ่นประมาท​, ​ดูหมิ่น​ ​หรือ​แสดง​ความ​อาฆาตมาดร้าย” ​แต่อย่าง​ใด​ ​แต่​เป็น​การวิ​เคราะห์พระราชดำ​รัส​หรือ​การกระทำ​เท่า​นั้น​ ​การวิ​เคราะห์​นั้น​อาจผิด​หรือ​ถูกก็​ได้

ตัวเลข​จาก​รัฐบาลชุดก่อนๆ​ ​ระบุว่า​ ​กว่า​ 80% ​ของเว็บไซต์​เหล่านี้ส่ง​ใน​ต่างประ​เทศ​ ​ที่ส่ง​ใน​ประ​เทศไทยมี​ไม่​ถึง​ 20% ​จน​ถึง​ทุกวันนี้รัฐบาลหลายชุด​ได้​ปิดเว็บประ​เภทนี้​ไปร่วมร้อย​แล้ว​ ​แต่หากใคร​ยัง​ต้อง​การอ่าน​ ​ก็​สามารถ​ค้น​หาอ่าน​ได้​ไม่​ยาก​ด้วย​ระบบ​ค้น​หาข้อมูลปกติธรรมดา​ (เช่น​ Google, Yahoo) ​ผู้​รับผิดชอบเคยกล่าวว่า​ ​ปิดเว็บไซต์​ใด​ลงวันนี้​ ​วันรุ่งขึ้น​เขา​ก็​เปิด​ใหม่​ใน​ชื่อ​อื่น​ได้​ทันที

ผม​ไม่​คิดว่า​​รัฐบาลชุดก่อนๆ​ ​ไม่​จริงใจ​ใน​การจัดการ​กับ​เว็บหมิ่น​ ​เพราะ​ผมเชื่อว่ารัฐบาลชุดนี้ก็​จะ​ประสบ​ความ​ล้มเหลวอย่างเดียว​กัน​ ​และ​ไม่​ว่า​จะ​ใช้​ความ​พยายามอย่างเข้มข้นอย่างไรก็​ไม่​มีวันประสบ​ความ​สำ​เร็จ​ ​เพราะ​หากพูด​กัน​โดย​ทางเทคโนโลยี​แล้ว​ ​การปิดเว็บไซต์ที่มีมากขนาดนี้ทำ​ไม่​ได้


เว็บหมิ่น
โดย​ ​นิธิ​ ​เอียวศรีวงศ์, ตีพิมพ์ใน นสพ. มติชนรายวัน วันที่ 19 มกราคม 2552

รัฐบาล​ 4 ​ชุดหลังการรัฐประหารเมื่อ​ ​พ​.​ศ​.2549 ​ล้วนตั้งภารกิจสำ​คัญอย่างหนึ่ง​ให้​แก่ตนเองเหมือน​กัน​ ​คือปิดเว็บไซต์ที่ถูกถือว่ามี​ความ​ผิดตามกฎหมายอาญา​ ​ม​.112 ​หรือ​ที่​เรียก​กัน​ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

แสดง​ให้​เห็นปริมาณที่มากมายของเว็บไซต์​ซึ่ง​ตก​อยู่​ใน​ข่าย​ ​และ​แสดง​ให้​เห็น​ความ​ล้มเหลว​ใน​การทำ​ภารกิจอย่างต่อ​เนื่อง

เว็บ​​ที่ถูกถือว่า​เป็น​เว็บหมิ่นเหล่านี้​เพิ่งเกิดขึ้นอย่างมากหลังรัฐประหาร​ ​หรือ​เกิดขึ้นมาก่อน​แล้ว​ก็ตาม​ ​แต่​ความ​ตื่นตัวที่​จะ​จัดการ​กับ​เว็บเหล่านี้​เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร​ ​ดู​เหมือน​เป็น​คำ​เตือนของท่านประธานองคมนตรีก่อน​ ​และ​ได้​รับการขานรับ​จาก​กองทัพ​, ​รัฐบาล​ ​และ​ผู้​หลัก​ผู้​ใหญ่​บางคนตลอดมา

อัน​​ที่จริง​จะ​ถือว่าข้อ​ความ​ใน​ทุกเว็บดังกล่าวล้วนผิดกฎหมายอาญา​ ​ม​.112 ​ทั้ง​สิ้นเห็น​จะ​ไม่​ได้​ ​เพราะ​ข้อ​ความ​ใน​หลายเว็บมิ​ใช่​การ​ “หมิ่นประมาท​, ​ดูหมิ่น​ ​หรือ​แสดง​ความ​อาฆาตมาดร้าย” ​แต่อย่าง​ใด​ ​แต่​เป็น​การวิ​เคราะห์พระราชดำ​รัส​หรือ​การกระทำ​เท่า​นั้น​ ​การวิ​เคราะห์​นั้น​อาจผิด​หรือ​ถูกก็​ได้

ตัวเลข​จาก​รัฐบาลชุดก่อนๆ​ ​ระบุว่า​ ​กว่า​ 80% ​ของเว็บไซต์​เหล่านี้ส่ง​ใน​ต่างประ​เทศ​ ​ที่ส่ง​ใน​ประ​เทศไทยมี​ไม่​ถึง​ 20% ​จน​ถึง​ทุกวันนี้รัฐบาลหลายชุด​ได้​ปิดเว็บประ​เภทนี้​ไปร่วมร้อย​แล้ว​ ​แต่หากใคร​ยัง​ต้อง​การอ่าน​ ​ก็​สามารถ​ค้น​หาอ่าน​ได้​ไม่​ยาก​ด้วย​ระบบ​ค้น​หาข้อมูลปกติธรรมดา​ (เช่น​ Google, Yahoo) ​ผู้​รับผิดชอบเคยกล่าวว่า​ ​ปิดเว็บไซต์​ใด​ลงวันนี้​ ​วันรุ่งขึ้น​เขา​ก็​เปิด​ใหม่​ใน​ชื่อ​อื่น​ได้​ทันที

ผม​ไม่​คิดว่า​​รัฐบาลชุดก่อนๆ​ ​ไม่​จริงใจ​ใน​การจัดการ​กับ​เว็บหมิ่น​ ​เพราะ​ผมเชื่อว่ารัฐบาลชุดนี้ก็​จะ​ประสบ​ความ​ล้มเหลวอย่างเดียว​กัน​ ​และ​ไม่​ว่า​จะ​ใช้​ความ​พยายามอย่างเข้มข้นอย่างไรก็​ไม่​มีวันประสบ​ความ​สำ​เร็จ​ ​เพราะ​หากพูด​กัน​โดย​ทางเทคโนโลยี​แล้ว​ ​การปิดเว็บไซต์ที่มีมากขนาดนี้ทำ​ไม่​ได้

จีน​​ลงทุน​กับ​เครื่องไม้​เครื่องมือ​และ​ผู้​คนมหาศาล​ ​ใน​การควบคุมการไหลของข่าวสารข้อมูลผ่านอินเตอร์​เน็ต​ ​แม้กระ​นั้น​ก็​ยัง​มี​ผู้​วิ​เคราะห์ว่า​ ​ยัง​มีอีก​ 20% ​ที่​เล็ดลอด​เข้า​ไปสู่สายตาคนจีนจน​ได้​ ​กล่าว​โดย​สรุปก็คือ​ ​ไม่​มี​ใคร​สามารถ​สร้างกำ​แพงเบอร์ลินบนพื้นที่​ไซเบอร์​ได้​ ​ไม่​ว่า​จะ​ลงทุนสัก​เท่า​ไร​ ​และ​ไม่​ว่า​จะ​ต้อง​ฆ่าล้างผลาญ​กัน​สัก​เท่า​ไร

ความ​จริงข้อนี้​ใครๆ​ ​ก็รู้​ ​และ​ผมเชื่อว่ารัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมาก็รู้​ ​รัฐบาลนี้ก็รู้​ ​เพียงแต่ว่าจำ​เป็น​ต้อง​ขานรับคำ​เตือนของ​ผู้​หลัก​ผู้​ใหญ่​ ​เพราะ​เป็น​การแสดง​ความ​จงรักภักดีที่ง่ายที่สุด​ ​แม้​จะ​รู้ว่า​ไม่​ได้​ผลอะ​ไรมากนักก็ตาม​ ​เป็น​แต่​เพียงท่าทีทางการเมืองที่​ “ถูก​ต้อง”​ ​เท่า​นั้น

(สมาชิกพรรค​ ​ปชป​.​ใน​ขณะ​เป็น​ฝ่ายค้าน​ ​ก็​เลือกแสดงท่าที​ “ถูก​ต้อง”​ ​ทางการเมือง​ใน​ลักษณะ​เดียว​กัน​ ​คือเสนอ​ให้​เพิ่มโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ​ ​ใน​ขณะที่​โทษ​ใน​ปัจจุบันก็สูงมาก​อยู่​แล้ว​ ​คือจำ​คุก​ 3-15 ​ปี)

ใน​ขณะที่​​รัฐบาล​ไม่​สามารถ​ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์​ได้​ด้วย​วิธี​อื่น​ใด​ ​นอก​จาก​การ​ใช้​อำ​นาจเชิงกายภาพ​ (กฎหมาย​, ​การลงโทษ​, ​การปิดเว็บไซต์​หรือ​ปิดกั้นข่าวสารข้อมูล​, ​ยุ​ให้​เกิดจลาจลจน​ถึง​บ้อม​ผู้​คนที่ตก​เป็น​เหยื่อดังเหตุการณ์​ 6 ​ตุลา​, ​ฯลฯ) ​สะท้อน​ความ​อับจนของสังคมไทยเอง​ใน​การปกป้องสิ่งที่ตนเห็นว่ามีคุณค่า​ ​กล่าวคือ​ไม่​มีวิธี​อื่น​ใด​มากไปกว่าอำ​นาจเชิงกายภาพ​ (เช่น​ ​การปกป้องพระพุทธศาสนา​ด้วย​การบัญญัติอย่างโต้งๆ​ ​ลงไป​ใน​รัฐธรรมนูญว่า​เป็น​ศาสนาประจำ​ชาติ)

การ​ใช้​อำ​นาจเชิงกายภาพเพียง​​อย่างเดียว​ยัง​ทำ​ให้​เกิดสถานการณ์ที่น่า​เย้ยหยันตามมา​ด้วย​ ​ดังเช่น​ความ​พยายามปิดเว็บหมิ่น​และ​ข้อ​ความ​ที่สื่อนานาชาติวิพากษ์วิจารณ์​ สถาบันพระมหากษัตริย์​ใน​เมืองไทย​ ​ทำ​ให้​เกิดสถานการณ์ที่คนนอก​สามารถ​รู้ข้อมูล​หรือ​ความ​เห็นเกี่ยว​กับ​สถาบันพระ​​มหากษัตริย์​ไทย​ได้​ทุกอย่าง​ ​ใน​ขณะที่คนไทยไร้​เดียงสา​เกินกว่า​จะ​รู้อย่างเดียว​กัน

อำ​นาจเชิงกายภาพ​​เพียงอย่างเดียว​ใช้​ปกป้องอะ​ไร​ไม่​ได้​ ​ไม่​ว่า​จะ​มองย้อนกลับไป​ใน​อดีต​ ​หรือ​มองเลยขึ้นไป​จาก​ปัจจุบัน​ถึง​อนาคต​ ​ทั้ง​สถาบันศาสนา​และ​สถาบันพระมหากษัตริย์ดำ​รง​อยู่​ใน​เมืองไทยมานาน​ได้​ ​ก็​เพราะ​ได้​รับการปกป้อง​ด้วย​สติปัญญา​ ​อำ​นาจที่​ใช้​ใน​การปกป้องมี​ความ​หลากหลายกว่า​เชิงอำ​นาจเพียงอย่างเดียว​ ​ทั้ง​อำ​นาจ​ใน​เชิงวัฒนธรรม​, ​เศรษฐกิจ​ ​และ​สังคม​ ​ตอบสนองต่อการท้าทาย​ใหม่ๆ​ ​ซึ่ง​ต้อง​เกิดขึ้น​เป็น​ธรรมดา​ใน​ความ​เปลี่ยนแปลงของโลก​ ​ด้วย​การปรับตัวเอง​ ​และ​นิยามสถานะ​กับ​คุณค่าของตน​ใน​สังคม​ใหม่​เสมอมา

ใน​ท่ามกลางเทคโนโลยี​​ข่าวสารข้อมูลที่​เรา​เผชิญ​อยู่​ ​ถึง​อย่างไรสถาบันพระมหากษัตริย์​ (ศาสนา​, ​รัฐธรรมนูญ​, ​รัฐสภา​, ​ศาล​, ​กองทัพ​, ​ฯลฯ) ​ก็​จะ​ถูกท้าทาย​โดย​เปิดเผย​ ​อย่างหลีกเลี่ยง​ไม่​ได้​ ​หากทำ​ใน​สื่อ​ทั่ว​ไป​ไม่​ได้​ ​ก็​จะ​ทำ​ใน​พื้นที่​ไซเบอร์​ซึ่ง​นับวันก็​จะ​มีลูกค้า​เพิ่มขึ้นเสมอ​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​ ​โลกที่​ไร้พรมแดนย่อมทำ​ให้​การท้าทาย​ไม่​จำ​เป็น​ต้อง​เกิด​ใน​ขอบเขตอำ​นาจรัฐไทย​เสมอไป​ ​แม้การท้าทายอาจทำ​ใน​ออสโล​, ​ปารีส​, ​ลอนดอน​ ​หรือ​ดีทรอยต์​ ​แต่​ใน​แง่ของการ​เข้า​ถึง​ก็​ไม่​ต่าง​จาก​การทำ​ที่บางลำ​พู

สังคมไทย​จะ​ตอบ​สนองต่อการท้าทายนี้อย่างไร​ ​ใน​เมื่ออำ​นาจ​ใน​เชิงกายภาพ​ไม่​อาจ​ช่วย​ปกป้องสถาบันเหล่านี้​ได้​อีก​แล้ว​ ​ผมคิดว่ามีหนทาง​อยู่​สามประการที่​ต้อง​ทำ

1. ​สถาบันสำ​คัญๆ​ ​ของชาติ​ต้อง​ปรับตัวเอง​ ​ไม่​มีประ​โยชน์ที่​จะ​อ้างว่าสถาบันต่างๆ​ ​ของไทย​นั้น​มีลักษณะ​เฉพาะที่​ไม่​เหมือนใคร​ (uniqueness) ​เพราะ​ใน​ขณะที่อ้างเช่น​นั้น​ ​เราก็​ต้อง​การ​ความ​เป็น​ “สากล” ​ของสถาบันเหล่า​นั้น​ไปพร้อม​กัน​ ​แม้​แต่การ​เข้า​เป็น​สมาชิกของสหประชาชาติ​ ​ก็​ต้อง​ยอมรับ​ “มาตรฐาน” ​สากลบางอย่าง​ ​หรือ​การจัดงานเฉลิมวัชราภิ​เษกครองราชสมบัติครบ​ 60 ​ปี​ ​และ​ทูลเชิญกษัตริย์​จาก​ทั่ว​โลกมาร่วมงาน​ ​ก็คือการประกาศ​ความ​เป็น​ “สากล” ​ของสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง

ผม​ไม่​ได้​ปฏิ​เสธลักษณะ​เฉพาะ​ (uniqueness) ​ของสถาบันสำ​คัญของชาติต่างๆ​ ​เสียที​เดียว​ ​ลักษณะ​เช่นนี้ย่อมมี​เป็น​ธรรมดา​ ​แต่​ใน​ขณะ​เดียว​กัน​ ​ไม่​ว่า​จะ​มี​ความ​เฉพาะอย่างไร​ ​ก็​ต้อง​สามารถ​อธิบาย​ได้​ด้วย​มาตรฐานคุณค่าสากล​อยู่​นั่นเอง​ ​เช่น​ ​ประชาธิปไตย​, ​ความ​ยุติธรรม​, ​สิทธิมนุษยชน​, ​ความ​รับผิดหากทำ​อะ​ไรที่กระทบ​ถึง​ผู้​อื่น​ (accountability) ​เป็น​ต้น​ (อย่างเดียว​กับ​ที่ฝ่ายกษัตริยนิยม​ใน​ประ​เทศไทยอธิบายระบบปกครองโบราณของไทย​ ​ตั้งแต่จารึกพ่อขุนรามฯ​ ​ว่า​เป็น​ประชาธิปไตย)

ดัง​นั้น​ ​ใน​การปกป้องสถาบันสำ​คัญของชาติ​ ​จึง​หลีกหนี​ไม่​พ้นที่​จะ​ต้อง​อธิบาย​หรือ​ชี้​ให้​เห็นว่า​ ​คำ​พิพากษา​, ​หรือ​พระราชกรณียกิจ​, ​หรือ​วัตรปฏิบัติของสงฆ์​ไทย​ ​สอดคล้อง​กับ​หลักการของระบบคุณค่าอัน​เป็น​สากลอย่างไร​ ​และ​พร้อม​จะ​เผชิญ​กับ​การทักท้วงของคน​อื่น​นอกประ​เทศไทย​ ​ด้วย​ข้อถกเถียงที่มีพลังอธิบายมากขึ้น​ ​ไม่​ใช่​ด้วย​การขจัด​ให้​พ้นหน้า​ (dismiss) ​ด้วย​อำ​นาจเชิงกายภาพ​, ​หรือ​เพราะ​ไม่​ใช่​คนไทย​จึง​ไม่​มีทาง​เข้า​ใจ

2. ​เปลี่ยน​จาก​การปกป้อง​ด้วย​อำ​นาจเชิงกายภาพมาสู่อำ​นาจเชิงเหตุผล​และ​วิชาการ​ ​และ​ต้อง​ทำ​อย่างฉลาด​ ​คำ​ว่าฉลาด​ใน​ที่นี้หมาย​ถึง​ไม่​ตอบโต้​ใน​กรณีที่​ไม่​ควรตอบโต้​ ​เช่น​ ​การประณามหยามเหยียดที่​ไร้​เหตุผล​ ​เช่นการนำ​พระบรมฉายาลักษณ์​ไปแปลง​ให้​น่า​เย้ยหยัน​และ​กระจาย​อยู่​ใน​ยู​-​ทิวบ์​ ​แทนที่​จะ​ปิดยู​-​ทิวบ์ก็ควรปล่อย​ให้​ภาพ​นั้น​ปรากฏตามปกติ​ ​เพราะ​ผู้​มี​ใจ​เป็น​ธรรม​ ​ไม่​ว่า​จะ​มี​ความ​คิดเชิงกษัตริยนิยม​หรือ​ไม่​ก็ตาม​ ​ย่อมรังเกียจการกระทำ​เช่น​นั้น​ ​การทำ​ลาย​ความ​เป็น​มนุษย์ของ​ผู้​อื่น​ ​คือการโจมตีบุคคลที่ทำ​ให้​บุคคล​นั้น​ได้​รับ​ความ​เคารพนับถือ​จาก​คน​ทั่ว​ไปมากขึ้น​ ​ฉะ​นั้น​ ​การปล่อยภาพเช่น​นั้น​ไว้​เสียอีก​ ​ที่​เป็น​การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่าง​ได้​ผลกว่า

ไม่​นานมานี้มี​​บท​ความ​ใน​นิตยสาร​ The Economist ​วิพากษ์สถาบันพระมหากษัตริย์​ไทย​ ​แม้ตัวแทนจำ​หน่ายตัดสินใจ​ไม่​จัดจำ​หน่าย​ใน​ประ​เทศไทย​ (คงเพื่อ​ไม่​ต้อง​เป็น​ปัญหา​ใน​คดีอาญา) ​แต่​ใน​ความ​เป็น​จริง​แล้ว​ ​กลับมี​ผู้​อ่านมากกว่าปกติ​ ​เพราะ​สามารถ​เข้า​ไปอ่าน​ใน​อินเตอร์​เน็ต​ได้​สะดวก​ ​แม้​แต่คนที่​ไม่​เคยอ่าน​ The Economist ​เลยก็​ได้​อ่าน

มีบท​ความ​ที่​เขียน​​ตอบโต้คำ​วิพากษ์นี้สองบท​ความ​ที่ผมเห็นว่า​เป็น​การตอบโต้​ใน​เชิงของเหตุผล​และ​ ​ข้อเท็จจริง​ ​คือบท​ความ​ของพลตำ​รวจเอกวสิษฐ​ ​เดชกุญชร​ ​(​ใน​มติชน) ​และ​ของท่านรองนายกฯนอกตำ​แหน่ง​ ​สุรเกียรติ์​ ​เสถียรไทย​ ​(​ใน​ Bkk Post) ​ไม่​ว่าคุณภาพของการตอบโต้​เชิงเหตุผล​และ​ข้อเท็จจริง​จะ​เป็น​อย่างไรก็ตาม​ ​ก็​ยัง​นับว่า​เป็น​ความ​พยายาม​จะ​เผชิญ​กับ​คำ​วิพากษ์วิจารณ์อย่างคน​ ​(​และ​สังคม) ​ที่มีวุฒิภาวะ

นี่คือตัวอย่างของการปกป้องสถาบันสำ​คัญของชาติที่​ ​เหมาะสมสำ​หรับโลกยุคปัจจุบัน​ ​และ​ถ้า​สังคมไทยคิด​จะ​ปกป้องสถาบันสำ​คัญของตนต่อไป​ ​ต้อง​คิด​ถึง​ความ​เป็น​ไป​ได้​ที่​จะ​เกิดการตอบโต้​ใน​ลักษณะนี้​ ​อันประกอบ​ด้วย​การ​ไม่​ปิดกั้นข่าวสารข้อมูล​เป็น​เบื้องต้น

3. ​ควรทบทวนกฎหมายที่มีทางเลือกแต่​เพียงการ​ใช้​อำ​นาจเชิงกายภาพอย่างเดียว​ ​ใน​การปกป้องสถาบันสำ​คัญๆ​ ​ของชาติ​เสียที​ ​เช่น​ ​กฎหมายอาญามาตรา​ 112 ​ควร​ให้​อำ​นาจการฟ้องร้อง​ไว้​กับ​หน่วยงานของรัฐ​เท่า​นั้น​ ​หรือ​จะ​สร้างกระบวนการกลั่นกรองการฟ้องร้องอย่างไรก็ตามขึ้นก็​ได้​ ​เพื่อ​ไม่​ให้​ถูกนำ​ไป​ใช้​เป็น​ประ​โยชน์ทางการเมือง​ (ระดับชาติ​และ​ระดับ​ส่วน​บุคคล) ​หรือ​ถูกนำ​ไป​ใช้​พร่ำ​เพรื่อเสียจน​เป็น​ที่​เยาะ​เย้ยเหยียดหยันของคน​อื่น​ใน​โลก

เช่น​​เดียว​กับ​กฎหมาย​อื่นๆ​ ​อีกหลายเรื่อง​ ​ก็ควรนำ​มาทบทวน​ให้​เกิด​ความ​เข้า​ใจตรง​กัน​ใน​หมู่​ผู้​ปฏิบัติงาน​ ​ตัวอย่างเช่นกฎหมายหมิ่นศาล​ ​ควรตี​ความ​ให้​แคบ​และ​กระชับเพียง​ ​การกระทำ​ใดๆ​ ​ก็ตามที่ขัดขวางบิดเบือนกระบวนการไต่สวนพิจารณาคดี​เท่า​นั้น​ ​ไม่​ใช่​การวิพากษ์วิจารณ์คำ​พิพากษา​ ​หรือ​การแต่งกาย​และ​นั่ง​ไม่​เรียบร้อย​ใน​ศาล​ ​(​ถ้า​การแต่งกาย​และ​การนั่งขัดขวางบิดเบือนการไต่สวนพิจารณาคดี​ ​ก็​เป็น​ความ​ผิด)

สถาบันสำ​คัญของชาติต่างๆ​ ​ดำ​รง​อยู่​สืบมา​และ​สืบไป​ได้​ ​ก็​ด้วย​ปัจจัยสามประการนี้คือ​ ​ปรับตัว​เป็น​ ​ตอบสนองการท้าทาย​ใหม่ๆ​ ​เป็น​ ​และ​ได้​รับการปกป้อง​เป็น