เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

ยังยุ่งจนไม่มีเวลามาเขียนบล็อกยาวๆ (แต่คงจะไม่เขียนเรื่องการเมืองไทยไปอีกนาน เพราะ “เอียน” พอสมควร อย่างน้อยก็จนกว่าจะมีเรื่องทีทำให้รำคาญจนถึงจุดที่ “อิน” มากกว่า “เอียน” :P) คาดว่าสุดสัปดาห์นี้น่าจะเริ่มหาเวลาได้ ขอ “ขัดตาทัพ” อีกสามสี่ัวันด้วยการแปะสไลด์ที่คิดเข้าข้างตัวเองว่าน่าสนใจ เป็นเอกสารประกอบการบรรยายของผู้เขียนในหัวข้อ “เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน” บรรยายให้เด็กนักเรียน ม.4 และ ม.5 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม วันที่ 29 มกราคม 2551 เกร็งพอสมควร เพราะไม่เคยสอนเด็กมัธยมปลายมาก่อน คิดว่าพูดเร็วไป(เช่นเคย) และสอนเรื่องยากเกินไป(มาก?) แ่ต่อย่างน้อยก็หวังว่าเรื่องราวที่พูดจะช่วยกระตุ้นให้เด็กบางคนสนใจวิชาเศรษฐศาสตร์มากพอที่จะอยากสอบเข้าคณะนี้ในอนาคตอันใกล้ 😉

ผู้เขียนคิดว่าการให้เล่นเกม เช่น Prisoner’s Dilemma, เกมประมูล ฯลฯ เป็นวิธีที่ดีมากในการสอนหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น วันที่ไปบรรยาย ให้เด็กประมูลแบ๊งค์ร้อย คนชนะยื่นประมูล 100 บาท กับอีก 50 สตางค์ ค่าเฉลี่ยทั้งห้อง (65 คน) ออกมาประมาณ 67 บาท (แสดงว่าเด็กโรงเรียนนี้ “งก” ใช้ได้ …อยากเอากำไรตั้ง 30%+ :P) จริงๆ แล้วมีคนใส่ตัวเลขแปลกๆ เช่น 5,000 บาท หรือแม้กระทั่ง 6,000,006 บาท และ 3 x 10^12 ดอลลาร์ฮ่องกง -_-” แต่ผู้เขียนไม่อยากขู่เข็ญเด็ก เดี๋ยวพ่อแม่จะล่มจม 😛 เด็กคงไม่คิดว่าครูคนนี้จะ “เอาจริง” ด้วย

หน้านี้ของ Wikiversity รวบรวมเกมง่ายๆ ที่ใ้ช้สอนเศรษฐศาสตร์ได้ดี ขอแนะนำ วันที่ไปสอน อยากให้เล่นเกมทายตัวเลข ด้วย แต่เวลาไม่พอ

ดูสไลด์ประกอบได้ที่ด้านล่าง (ขอบคุณ Slideshare.net) หรือดาวน์โหลดได้ที่บล็อกนี้: เวอร์ชั่น Powerpoint [4.5MB], เวอร์ชั่น PDF [760KB]

ตอนนี้ผู้เขียนพยายามทำงานหลายๆ อย่าง (ที่ต้องทำ ไม่นับ “งาน” ที่เป็นเรื่องฟุ้งซ่้านส่วนตัว) ให้เป็น “เรื่องเดียวกัน” เพื่อประหยัดเวลาและต่อยอดความรู้ของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่สอนวิชา “ธุรกิจกับสังคมและชุมชน” ให้กับนักศึกษาปี 2 ของคณะบัญชี (ใครที่อยากรู้ว่าสอนสะเปะสะปะขนาดไหน ติดตามอ่าน class blog ได้ เพราะพยายามสรุปทุกสัปดาห์) ก็พยายามเขียนเรื่องทำนองเดียวกันลงในคอลัมน์ “ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์” ด้วย สอนหนังสือเป็นอะไรที่ใช้พลังมากจริงๆ แต่ก็สนุกคุ้มค่าเหนื่อย จริงๆ แล้วผู้เขียนคิดว่าอาจจะได้ความรู้จากนักเรียน มากกว่าที่นักเรียนได้ความรู้จากผู้เขียนเสียอีก เอาไว้สอนจบทั้งคอร์สแล้วคงได้ฤกษ์เขียนเล่าประสบการณ์อีกครั้ง (เหมือนกับที่เคยเขียนตอนสอนวิชา International Corporate Finance ที่คณะเศรษฐศาสตร์จบไปเมื่อปีที่แล้ว)