เหตุผลที่พรรคเดโมแครตได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งกลางเทอมอเมริกา

ขอร่วมแสดงความยินดีกับชัยชนะของพรรคเดโมแครตอเมริกัน ที่สามารถยึดเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฏรกลับคืนไปจากพรรครีพับลิกันของประธานาธิบดี จอร์จ บุช ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี และแถมยังสามารถครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาด้วย หลังจากที่นายจอร์จ อัลเลน ผู้สมัครรัฐเวอร์จิเนียจากพรรคริพับลิกัน ประกาศยอมรับความพ่ายแพ้เมื่อเช้าวันนี้เอง ผลการเลือกตั้งทำให้พรรคเดโมแครตมี 49 ที่นั่ง เท่ากันกับพรรครีพับลิกันในสภาสูง แต่วุฒิสมาชิกที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองอีก 2 คน ประกาศว่าจะโหวตตามเดโมแครต เลยทำให้พรรคเดโมแครตกุมเสียงข้างมากในวุฒิสภา 51-49 ที่นั่ง

ตอนนี้เพื่อนๆ ของผู้เขียนหลายคนในอเมริกาก็กำลังเฉลิมฉลองชัยชนะกันอย่างสนุกสนาน (อืม… เพิ่งนึกออกว่าเราไม่ค่อยมีเพื่อนสังกัดพรรครีพับลิกันเลยแฮะ ;)) แม้บางคนจะบ่นว่า ส.ส. เดโมแครตหลายคน “เปลี่ยนจุดยืน” ค่อนไปทางรีพับลิกันในการหาเสียง (เช่น ประกาศไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง ไม่เห็นด้วยกับการจดทะเบียนสมรสของเกย์ ฯลฯ) แต่เรื่องนี้ก็พูดยาก เพราะถ้า “ซ้าย” เกินไป (บนไม้บรรทัดของการเมืองอเมริกัน ซึ่ง “กลาง” มากกว่า “ซ้าย” ของไทยเยอะ) ก็อาจทำให้ไม่สามารถเอาชนะพรรครีพับลิกันในรัฐ “เคร่งศาสนา” ทั้งหลายที่เป็นที่มั่นสำคัญของรีพับลิกัน โดยเฉพาะรัฐในภาคตะวันตก-กลาง (midwest) ของประเทศได้

สื่อและผู้เชี่ยวชาญทุกสถาบันมีความเห็นค่อนข้างตรงกันว่า ชัยชนะของเดโมแครตในครั้งนี้มีสาเหตุหลักมาจากความไม่พอใจของชาวอเมริกัน ที่มีต่อนโยบาย “เหยี่ยวสุดขั้ว” ของรัฐบาลบุช โดยเฉพาะในสงครามอิรักที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ตอนนี้ทหารอเมริกันก็ตายไปแล้วกว่า 2,800 นาย และสภาคองเกรสอนุมัติเงินให้ใช้ในการทำสงครามไปแล้วกว่า 340,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 13.6 ล้านล้านบาท หรือเกือบสองเท่าของรายได้ประชาชาติ (GDP) ของประเทศไทยทั้งประเทศ

ตอนแรกตั้งใจว่าจะเล่ายาวๆ เล็กน้อยว่า “ความไม่พอใจ” ของประชาชนอเมริกันมีองค์ประกอบหลักๆ อะไรบ้าง แต่ไปเจอวีดีโอคลิปของห้านาทีสุดท้ายของรายการทีวีชื่อ Countdown with Keith Olbermann ทางช่อง MSNBC คืนก่อนวันเลือกตั้ง ที่สรุปประเด็นไว้ค่อนข้างดี เลยอยากแปะให้ดู พร้อมแปลสคริปท์ของท่อนนี้ไว้ในบล็อก 🙂 อ้อ อยากบอกว่าชอบรายการของอีตาคีธคนนี้เหมือนกัน เพราะจับโกหกของรัฐบาลบุชได้ดี แม้ว่าบางครั้งพี่แกจะเว่อร์ไปหน่อย และหลายครั้งเรื่องที่เอามาแฉก็เป็นเรื่องเล็กน้อย จุกจิกเกินกว่าที่ควรจะ “เป็นเรื่อง”

คำแปลสคริปท์ห้านาทีสุดท้าย รายการ Countdown with Keith Olbermann ประจำวันที่ 5 พ.ย. 2549
แปลจาก สคริปท์จาก truthout.org

เราทุกคนไม่สามารถแบ่งแยกตัวเองออกจากยุคสมัยของเราได้ เหมือนกับคนทุกรุ่นที่ผ่านมาฉันใด

มุมมองของเราย่อมเป็นมุมมองของนักสำรวจ ที่มองโลกผ่านกล้องส่องทางไกลผิดข้างฉันนั้น


ขอร่วมแสดงความยินดีกับชัยชนะของพรรคเดโมแครตอเมริกัน ที่สามารถยึดเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฏรกลับคืนไปจากพรรครีพับลิกันของประธานาธิบดี จอร์จ บุช ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี และแถมยังสามารถครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาด้วย หลังจากที่นายจอร์จ อัลเลน ผู้สมัครรัฐเวอร์จิเนียจากพรรคริพับลิกัน ประกาศยอมรับความพ่ายแพ้เมื่อเช้าวันนี้เอง ผลการเลือกตั้งทำให้พรรคเดโมแครตมี 49 ที่นั่ง เท่ากันกับพรรครีพับลิกันในสภาสูง แต่วุฒิสมาชิกที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองอีก 2 คน ประกาศว่าจะโหวตตามเดโมแครต เลยทำให้พรรคเดโมแครตกุมเสียงข้างมากในวุฒิสภา 51-49 ที่นั่ง

ตอนนี้เพื่อนๆ ของผู้เขียนหลายคนในอเมริกาก็กำลังเฉลิมฉลองชัยชนะกันอย่างสนุกสนาน (อืม… เพิ่งนึกออกว่าเราไม่ค่อยมีเพื่อนสังกัดพรรครีพับลิกันเลยแฮะ ;)) แม้บางคนจะบ่นว่า ส.ส. เดโมแครตหลายคน “เปลี่ยนจุดยืน” ค่อนไปทางรีพับลิกันในการหาเสียง (เช่น ประกาศไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง ไม่เห็นด้วยกับการจดทะเบียนสมรสของเกย์ ฯลฯ) แต่เรื่องนี้ก็พูดยาก เพราะถ้า “ซ้าย” เกินไป (บนไม้บรรทัดของการเมืองอเมริกัน ซึ่ง “กลาง” มากกว่า “ซ้าย” ของไทยเยอะ) ก็อาจทำให้ไม่สามารถเอาชนะพรรครีพับลิกันในรัฐ “เคร่งศาสนา” ทั้งหลายที่เป็นที่มั่นสำคัญของรีพับลิกัน โดยเฉพาะรัฐในภาคตะวันตก-กลาง (midwest) ของประเทศได้

สื่อและผู้เชี่ยวชาญทุกสถาบันมีความเห็นค่อนข้างตรงกันว่า ชัยชนะของเดโมแครตในครั้งนี้มีสาเหตุหลักมาจากความไม่พอใจของชาวอเมริกัน ที่มีต่อนโยบาย “เหยี่ยวสุดขั้ว” ของรัฐบาลบุช โดยเฉพาะในสงครามอิรักที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ตอนนี้ทหารอเมริกันก็ตายไปแล้วกว่า 2,800 นาย และสภาคองเกรสอนุมัติเงินให้ใช้ในการทำสงครามไปแล้วกว่า 340,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 13.6 ล้านล้านบาท หรือเกือบสองเท่าของรายได้ประชาชาติ (GDP) ของประเทศไทยทั้งประเทศ

ตอนแรกตั้งใจว่าจะเล่ายาวๆ เล็กน้อยว่า “ความไม่พอใจ” ของประชาชนอเมริกันมีองค์ประกอบหลักๆ อะไรบ้าง แต่ไปเจอวีดีโอคลิปของห้านาทีสุดท้ายของรายการทีวีชื่อ Countdown with Keith Olbermann ทางช่อง MSNBC คืนก่อนวันเลือกตั้ง ที่สรุปประเด็นไว้ค่อนข้างดี เลยอยากแปะให้ดู พร้อมแปลสคริปท์ของท่อนนี้ไว้ในบล็อก 🙂 อ้อ อยากบอกว่าชอบรายการของอีตาคีธคนนี้เหมือนกัน เพราะจับโกหกของรัฐบาลบุชได้ดี แม้ว่าบางครั้งพี่แกจะเว่อร์ไปหน่อย และหลายครั้งเรื่องที่เอามาแฉก็เป็นเรื่องเล็กน้อย จุกจิกเกินกว่าที่ควรจะ “เป็นเรื่อง”

คำแปลสคริปท์ห้านาทีสุดท้าย รายการ Countdown with Keith Olbermann ประจำวันที่ 5 พ.ย. 2549
แปลจาก สคริปท์จาก truthout.org

เราทุกคนไม่สามารถแบ่งแยกตัวเองออกจากยุคสมัยของเราได้ เหมือนกับคนทุกรุ่นที่ผ่านมาฉันใด

มุมมองของเราย่อมเป็นมุมมองของนักสำรวจ ที่มองโลกผ่านกล้องส่องทางไกลผิดข้างฉันนั้น

แต่ถึงแม้เราจะสายตาสั้นจริง ก็เป็นเรื่องยากที่จะคิดว่า มีการเลือกตั้งครั้งใดสำคัญเท่ากับครั้งนี้ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่เราไม่ได้เลือกประธานาธิบดีในคราวเดียวกัน

เราเห็นคำตัดสินของศาลเมื่อวาน ในคดีของซัดดัม ฮุสเซน และในขณะที่ประโยค “ตุลาคม หรือ พฤศจิกายน ทุกคนจะแปลกใจ” กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาประจำวันของเรา และในขณะที่วันนี้พลพรรครีพับลิกันตีอกชกหัว ป่าวร้องโฆษณาอย่างใหญ่โต เราแต่ละคนต้องรู้สึกฉงนใจกับความสะดวกที่คำตัดสินของศาลอำนวยให้(พรรครีพับลิกัน)อย่างเหมาเจาะตรงเวลา

แต่ผมขอให้เราทุกคนเปิดใจให้กว้างกับประวัติศาสตร์และความบังเอิญ – มาสรุปว่ามันเกิดขึ้นอย่าง “บังเอิญ” จริงๆ – และลองพยายามไม่ใช้กล้องส่องทางไกลผิดข้าง

ลองหันมามองภาพใหญ่กันสักนิด:

ซัดดัม ฮุสเซน ถูกตัดสินว่ามีความผิดในศาลอิรัก

ใครเล่าจะโต้แย้งคำตัดสินนั้นได้?

ซัดดัมกลายเป็นอาชญากรสงครามอย่างเป็นทางการ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่โลกรับรู้ตลอดมาอยู่แล้ว

ท่านประธานาธิบดีบุชครับ ใบอนุญาตใบนี้ คุ้มกันหรือไม่กับชีวิตชาวอเมริกัน 2,832 คนที่เสียไป และอีกหลายพันชีวิตที่กำลังจะเสีย?

คำตัดสินลงโทษซัดดัม ฮุสเซน คือเหตุผลที่ท่านไปทำสงครามในอิรักหรือครับ?

หรือท่านไปทำสงครามในอิรักเพราะอาวุธที่มีพลานุภาพทำลายล้างโลก ที่ไม่มีอยู่จริง?

หรือท่านไปทำสงครามในอิรักเพราะความสัมพันธ์ระหว่างอิรัก และขบวนการก่อการร้ายอัลไกด้า ที่ไม่มีอยู่จริง?

หรือท่านไปทำสงครามในอิรักเพื่อทำลายห่วงโซ่แห่งทรราชย์ที่นั่น ในขณะที่สถาปนากลไกแห่งทรราชย์ขึ้นที่นี่?

หรือท่านไปทำสงครามในอิรักเพราะท่านรู้สึกว่าต้องแก้แค้นใครสักคน ใครก็ได้?

หรือท่านไปทำสงครามในอิรักเพื่อควบคุมรัฐอันธพาล ที่รัฐบาลของท่านแถลงเพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้า ว่าถูกควบคุมด้วยมาตรการคว่ำบาตรได้แล้ว?

หรือท่านไปทำสงครามในอิรักเพื่อทำให้ราคาน้ำมันถูกลง?

เป็นเรื่องน่าตกใจอย่างยิ่งครับ ที่ผมได้ยินท่านพูดเรื่องน้ำมันในการหาเสียงโค้งสุดท้าย เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ท่านยกเรื่องนี้ไม่ถึงสี่ปี หลังจากที่ท่านปฏิเสธหลายครั้งอย่างสิ้นเชิง อย่างดูถูก และอย่างเยาะเย้ยคนถาม ทุกครั้งที่มีคนถามเรื่องนี้ เรื่องที่ท่านรัมสเฟลด์เรียกว่า “เรื่องไร้สาระ”

แล้วเมื่อเร็วๆ นี้ท่านก็ไปหาเสียงในโคโลราโด ในเนบราสก้า ในฟลอริดา ในแคนซัส – แปลง “ไอเดียไม่รักชาติ” ข้อนี้เป็นจุดยืนในการหาเสียงอย่างฉับพลัน

ท่านบอกพวกเราว่า “คุณสามารถจินตนาการโลกที่พวกหัวรุนแรงและพวกสุดขั้วเข้าควบคุมทรัพยากรพลังงาน แล้วคุณก็สามารถจินตนาการได้ว่าพวกเขาจะขู่ว่า เราจะดึงน้ำมันออกจากตลาดโลกเพื่อผลักราคาน้ำมันของพวกแกให้สูงขึ้น ยกเว้นว่าแกจะยอมทำสิ่งที่เราต้องการ”

ท่านประธานาธิบดีบุชครับ หลังจากที่ท่านขู่ให้เรากลัว ข่มเหงเรา โกหกเรา ละเลยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้วหลังจากนั้นก็เขียนมันขึ้นใหม่ภายใต้จมูกของเรา ดำเนินนโยบายแบบเดิม ปฏิเสธว่าดำเนินนโยบายแบบเดิม ดูถูกเราเวลาพูดเรื่อง “กำหนดการ” แต่กลับไปสรรเสริญ “เกณฑ์มาตรฐาน” (ในนโยบายเกี่ยวกับอิรัก) ท่านลงเอยด้วยการสรุปแบบดื้อๆ อย่างนี้หรือครับ?

เราต้องอยู่ในอิรักต่อไปเพื่อเซฟเงินค่าน้ำมันจำนวน 2 เหรียญสหรัฐต่อแกลลอน?

ท่านประธานาธิบดีครับ เราไม่สามารถสรุปเป็นอื่นใดได้ เมื่อเราไปลงคะแนนเลือกตั้งในวันพรุ่งนี้

ท่านครับ ท่านแถเข้าข้างตัวเองตลอดมา

ประเทศนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ใคร(บริหารประเทศแบบ)แถเข้าข้างตัวเองไปเรื่อยๆ

รัฐบุรุษผู้สร้างชาติของเราถูกอ้างอิงเสียจนพวกเขาดูเหมือนเป็นอนุสาวรีย์หินอ่อน เหมือนรูปทหารที่สลักจากหินในเมืองจีน หรือรูปแกะสลักบนภูเขารัชมอร์ แต่แท้ที่จริง พวกเขาเป็นคนที่เน้นการปฏิบัติจริง และสิ่งที่พวกเขาเกรงกลัวที่สุด คือรัฐบาลภายใต้(การควบคุมของ)ปุถุชน ไม่ใช่รัฐบาลภายใต้กฎหมาย

พวกเขาออกแบบกลไกตรวจสอบและกลไกถ่วงดุล เพราะพวกเขามีเหตุผล

ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งสามารถบริหารรัฐบาลได้ตามอำเภอใจ – เว้นแต่ในกรณีที่อย่างน้อยเขาคำนึงถึงสิ่งที่คนหมู่มากมองเห็น

สภาผู้แทนราษฏรเป็นตาของประชาชน

วุฒิสภาเป็นกลไกกำกับสภาผู้แทนฯ

ประธานาธิบดีเป็นผู้ทำงาน และยกรัฐธรรมนูญขึ้นแนบอกเหมือนลูกในไส้

ศาลฏีกาเป็นผู้ตรวจตราทุกสิ่งทุกอย่างจากเบื้องบน

กลไกตรวจสอบและกลไกถ่วงดุล

กลไกเหล่านั้นหายไปไหนครับ ท่านประธานาธิบดีบุช?

แล้วเราจ่ายอะไรไปบ้าง เพราะเรายอมให้มันหายไป?

ซัดดัม ฮุสเซนจะออกไปจากอิรัก ด้วยวิธีเดียวกันกับชาวอเมริกัน 2,832 คน และอีกหลายพันคนที่จะตามไป

ซัดดัมจะออกไปเร็วกว่าที่พวกเราจะออกไป

และถ้าพรุ่งนี้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ท่านครับ ท่านจะออกไปจากทำเนียบขาวนานก่อนที่พวกเราที่เหลือจะพูดได้อย่างเต็มปากว่า เราออกไปจากอิรักแล้ว

และนี่เป็นความผิดใครกันครับ?

คงไม่ใช่ความผิดของท่าน ท่านเอาเปรียบพวกเราที่หวาดกลัว และพวกเราที่เชื่อว่า ความสามัคคีและชาติของเราสำคัญกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง

แต่เรายอมให้ท่านเอาเปรียบ

เรายอมให้ท่านไปทำสงครามในอิรักเพื่อถอดถอนซัดดัม ฮุสเซน หรือไปหาอาวุธที่ไม่มีตัวตน หรือไปแก้แค้น 9/11 หรือสู้กับผู้ก่อการร้ายที่ไปถึงที่นั่นหลังจากเรา หรือไปหาข้ออ้างเพื่อปรับเปลี่ยนหัวใจของรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อราคาน้ำมันที่ถูกลงที่ปั๊มเท็กซาโก หรือ…?

ยังมีเวลาหลายชั่วโมงก่อนคูหาเลือกตั้งจะเปิดนะครับ มีข้ออ้างอีกมากมายที่ท่านยังไม่ได้ลองใช้

ไม่ว่าแรงจูงใจของท่านตอนนี้คืออะไร พวกเราประชาชน ได้ยอมด้วยความบริสุทธิ์ใจ และด้วยความเสียสละอย่างรักชาติแบบสุดซึ้ง (ซึ่งท่านได้แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่เข้าใจเลย) ให้ท่านแถเข้าข้างตัวเองตลอดมา

โดยปราศจากการตรวจสอบ และปราศจากการถ่วงดุล

อย่าลืมไปเลือกตั้งครับ.