เอกสารประกอบการบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

เพิ่งกลับมาจากการไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เชียงใหม่ ในหัวข้อ ทางรอดของทุนนิยม : ทางเลือกสังคม สู่กระบวนทัศน์ใหม่แห่งการร่วมมือกัน กลับมาถึงบ้านก็เห็นข่าวน่ารำคาญทันที – พรรคประชาธิปัตย์ประกาศสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พอนักข่าวถามว่าทำแบบนี้เพราะอยากเอาใจ คมช. หรือเปล่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับตอบด้วยตรรกะประหลาดพิสดารว่า “ถ้าเราอยากเอาใจ คมช. จริง ก็แปลว่าเราต้องไม่เห็นชอบกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะได้ให้อำนาจ คมช. เลือกรัฐธรรมนูญฉบับใดก็ได้ในอดีตมาปรับแก้(ตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญชั่วคราว)” (แปลแบบลวกๆ มาจากเนื้อข่าวภาษาอังกฤษว่า “If we wanted to please the Council for National Security we would reject the draft so it could pick a charter of its own choosing.”)

ตรรกะนี้ประหลาดพิสดารมากเพราะถ้าพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนประชาธิปไตยจริงๆ ก็ต้องยืนกรานตามที่เคยเรียกร้องให้ คมช. บอกมาเดี๋ยวนี้เลยว่า ถ้าประชาชนโหวต “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเอารัฐธรรมนูญฉบับใดกลับมาใช้ใหม่ ทางที่ดีก็น่าจะทำตามจุดยืนของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและกลุ่มอื่นๆ ที่เรียกร้องให้ คมช. บอกว่าจะเอารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้ใหม่ถ้าประชามติไม่ผ่าน โดยปรับแก้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้จัดการเลือกตั้งได้ภายในปลายปีนี้ ไม่ใช่พออยากให้ประชาชนเชื่อว่าพรรคไม่ได้เอาใจ คมช. ก็ลืมจุดยืนนี้ไปหมดสิ้น กลับยอมรับในอำนาจอันปราศจากความชอบธรรมของ คมช. ที่จะเลือกหยิบเอารัฐธรรมนูญฉบับไหนมาประกาศใช้ก็ได้

ใช้ตรรกะแบบศรีธนญชัยอย่างนี้จะเรียกว่าพรรคมีจุดยืนได้อย่างไร? ตรรกะแบบนี้น่าจะเรียกว่า “ตรรกะกลวงโบ๋” …คือฟังดูดีมีเหตุผล แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็หาหลักการไม่ได้เลย น่าผิดหวังมากสำหรับพรรคที่ชอบอ้างว่า “ยืนข้างประชาชน” มาตลอด

ก่อนที่จะหาเวลามา “บ่น” เรื่องรัฐธรรมนูญอย่างยาว ขอแปะเอกสารประกอบการบรรยายไว้ที่นี่ ก่อนที่จะลืม พร้อมทั้งเอกสารเพิ่มเติมบางชุด ที่ผู้เขียนอ้างถึงระหว่างการบรรยาย เผื่อท่านใดสนใจอ่าน การบรรยายทั้งหมดนี้คงได้รับความกรุณาจาก อ.สมเกียรติ ตั้งนโม แห่งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ถอดเทปเพื่อโพสในเว็บม. เที่ยงคืนในไม่ช้านี้ และคงปรากฎในรูปหนังสือต่อไปในอนาคต.

สไลด์ประกอบการบรรยาย (Powerpoint format): ตอนที่ 1 [5.38MB], ตอนที่ 2 [2.81MB] และ ตอนที่ 3 [4.83MB]

สไลด์ประกอบการบรรยาย (PDF format): ตอนที่ 1 [2.25MB], ตอนที่ 2 [1.04MB] และ ตอนที่ 3 [3.28MB]

เอกสารอ่านเพิ่มเิติม (PDF format):

  • Nothing Ventured, Nothing Gained : addressing the critical gaps in risk-taking capital for social enterprise, by Jed Emerson, Tim Freundlich and Jim Fruchterman
  • Getting to the Bottom of “Triple Bottom Line” by Wayne Norman and Chris MacDonald
  • Addressing Tenure and Rights in Pro-poor Conservation: The CAMPFIRE experience in Masoka by Charles Jonga
  • Sustainable Prosperity : a white paper on Business Dollars and DualCurrency Commerce, by Joel Hodroff (founder, DualCurrency Systems)