ปัจจุบันมีผู้ประกอบการและบริษัทไทยแห่กันใช้เฟซบุ๊กทำโปรโมชั่นมากมาย หลายอันสร้างเงื่อนไขให้คนทำกิจกรรมต่างๆ บนเฟซบุ๊กโดยใช้ฟังก์ชั่นของเฟซบุ๊ก เช่น ให้อัพโหลดรูปหรือโพสบน Wall บริษัท เรื่องทำนองนี้ผู้ใช้เน็ตไทยอาจยังไม่รวมกลุ่มกันแสดงความรำคาญเป็นกิจลักษณะ แต่ผู้ใช้เน็ตต่างประเทศจำนวนมหาศาลร้องเรียนและกดดันเฟซบุ๊กให้จัดการกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง (เฟซบุ๊กเองก็ไม่เคยได้ชื่อว่าเคารพในข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้สักเท่าไรนัก) ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 54 เฟซบุ๊กอัพเดท แนวปฏิบัติเรื่องโปรโมชั่น ออกมา เลยอยากแปลแปะไว้ในบล็อกนี้ พร้อม คำอธิบายจาก TheBlueDoor blog เพราะนักการตลาดหลายท่านกำลังละเมิดแนวปฏิบัติเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว ขอเชิญชวนให้ทุกท่านแจ้งบริษัทที่ทำโปรโมชั่นถ้าหากพบว่ารายใดละเมิดแนวปฏิบัติข้างล่างนี้ ถ้านานวันเข้าบริษัทไม่แก้ไข ก็สามารถไปร้องเรียนเฟซบุ๊กได้
ถ้ามีเวลา จะแปลแนวปฏิบัติเรื่องการโฆษณาในโอกาสต่อไป 🙂
UPDATE 15/5/54: สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมและตัวอย่างโปรโมชั่นที่ทำได้ อ่านได้ในบทความทำความเข้าใจกับโปรโมชั่นบน Facebook แบบไม่ผิดกฏกันเถอะ บน thumbsup
UPDATE 17/5/54: ถ้ายังไม่แน่ใจ ดูตัวอย่างแคมเปญที่ทำได้และไม่ได้ ชัดๆ บน Faceblog.in.th 🙂
แนวปฏิบัติเรื่องโปรโมชั่น
แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมคำอธิบายจาก TheBlueDoor blog ในวงเล็บ
แนวปฏิบัตินี้ รวมถึง ประกาศเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของเฟซบุ๊ก, แนวปฏิบัติเรื่องโฆษณา, นโยบายว่าด้วยการเขียนแอพพลิเคชั่น และนโยบายอื่นๆ ของเฟซบุ๊ก ครอบคลุมการสื่อสารของคุณเกี่ยวกับการจัดการประกวด (contest), การแข่งขัน (competition), การจับรางวัล (sweepstakes) หรือข้อเสนออื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน (“โปรโมชั่น”) บนเฟซบุ๊ก
ถ้าคุณใช้เฟซบุ๊กสื่อสารหรือจัดโปรโมชั่น คุณมีความรับผิดชอบที่จะจัดการโปรโมชั่นดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฏหมาย รวมถึงกฏกติกา เงื่อนไขข้อเสนอ และคุณสมบัติของผู้เข้าร่วม (เช่น ข้อกำหนดเรื่องอายุและภูมิลำเนา) และจะต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโปรโมชั่นและของรางวัล (เช่น เงื่อนไขการรับสมัคร และการได้รับอนุญาตจากทางการถ้าจำเป็น) โปรดตระหนักว่าลำพังการทำตามแนวปฏิบัตินี้มิได้แปลว่าโปรโมชั่นของคุณถูกต้องตามกฏหมาย โปรโมชั่นอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์จำนวนมาก และถ้าหากคุณไม่มั่นใจว่าโปรโมชั่นของคุณถูกต้องตามกฎหมายใดหรือไม่ กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
1. โปรโมชั่นบนเฟซบุ๊กจะต้องกระทำผ่านแอพพลิเคชั่นบนเว็บไซต์ Facebook.com – บนหน้า Canvas Page หรือแอพพลิเคชั่นบนแท็บ Page เท่านั้น (แปลว่าไม่ให้จัดโปรโมชั่นใดๆ นอกเหนือจากผ่านแอพพลิเคชั่น เช่น จัดบนหน้า Wall ของเฟซบุ๊กตรงๆ ไม่ได้)
2. โปรโมชั่นบนเฟซบุ๊กจะต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
a. ข้อความยกเว้นความรับผิดชอบให้กับเฟซบุ๊กโดยผู้สมัครหรือผู้เข้าร่วมแต่ละคน (ผู้เข้าร่วมต้องติ๊กกล่องที่บอกว่า “เข้าใจดีว่าเฟซบุ๊กไม่ได้ร่วมจัดโปรโมชั่นนี้” หรือแสดงประโยคนี้อย่างชัดเจนในหน้า “เงื่อนไขและข้อกำหนด” ที่คนต้องติ๊ก “รับทราบและยินยอม” ก่อนส่งใบสมัคร)
b. ข้อความที่ระบุว่าโปรโมชั่นดังกล่าวไม่ได้รับการอุดหนุน ส่งเสริม จัดการ หรือเกี่ยวข้องใดๆ กับเฟซบุ๊ก (ให้บอกว่าเฟซบุ๊กไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับโปรโมชั่นของคุณ)
c. ข้อความที่ระบุว่าผู้เข้าร่วมโปรโมชั่นกำลังส่งข้อมูลให้กับ [ระบุชื่อผู้รับข้อมูล] ไม่ใช่เฟซบุ๊ก (ให้บอกอย่างชัดเจนว่าคุณรับข้อมูลส่วนตัวจากผู้เข้าร่วมโดยตรง เฟซบุ๊กไม่รู้เรื่องด้วย)
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการและบริษัทไทยแห่กันใช้เฟซบุ๊กทำโปรโมชั่นมากมาย หลายอันสร้างเงื่อนไขให้คนทำกิจกรรมต่างๆ บนเฟซบุ๊กโดยใช้ฟังก์ชั่นของเฟซบุ๊ก เช่น ให้อัพโหลดรูปหรือโพสบน Wall บริษัท เรื่องทำนองนี้ผู้ใช้เน็ตไทยอาจยังไม่รวมกลุ่มกันแสดงความรำคาญเป็นกิจลักษณะ แต่ผู้ใช้เน็ตต่างประเทศจำนวนมหาศาลร้องเรียนและกดดันเฟซบุ๊กให้จัดการกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง (เฟซบุ๊กเองก็ไม่เคยได้ชื่อว่าเคารพในข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้สักเท่าไรนัก) ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 54 เฟซบุ๊กอัพเดท แนวปฏิบัติเรื่องโปรโมชั่น ออกมา เลยอยากแปลแปะไว้ในบล็อกนี้ พร้อม คำอธิบายจาก TheBlueDoor blog เพราะนักการตลาดหลายท่านกำลังละเมิดแนวปฏิบัติเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว ขอเชิญชวนให้ทุกท่านแจ้งบริษัทที่ทำโปรโมชั่นถ้าหากพบว่ารายใดละเมิดแนวปฏิบัติข้างล่างนี้ ถ้านานวันเข้าบริษัทไม่แก้ไข ก็สามารถไปร้องเรียนเฟซบุ๊กได้
ถ้ามีเวลา จะแปลแนวปฏิบัติเรื่องการโฆษณาในโอกาสต่อไป 🙂
UPDATE 15/5/54: สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมและตัวอย่างโปรโมชั่นที่ทำได้ อ่านได้ในบทความทำความเข้าใจกับโปรโมชั่นบน Facebook แบบไม่ผิดกฏกันเถอะ บน thumbsup
UPDATE 17/5/54: ถ้ายังไม่แน่ใจ ดูตัวอย่างแคมเปญที่ทำได้และไม่ได้ ชัดๆ บน Faceblog.in.th 🙂
แนวปฏิบัติเรื่องโปรโมชั่น
แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมคำอธิบายจาก TheBlueDoor blog ในวงเล็บ
แนวปฏิบัตินี้ รวมถึง ประกาศเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของเฟซบุ๊ก, แนวปฏิบัติเรื่องโฆษณา, นโยบายว่าด้วยการเขียนแอพพลิเคชั่น และนโยบายอื่นๆ ของเฟซบุ๊ก ครอบคลุมการสื่อสารของคุณเกี่ยวกับการจัดการประกวด (contest), การแข่งขัน (competition), การจับรางวัล (sweepstakes) หรือข้อเสนออื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน (“โปรโมชั่น”) บนเฟซบุ๊ก
ถ้าคุณใช้เฟซบุ๊กสื่อสารหรือจัดโปรโมชั่น คุณมีความรับผิดชอบที่จะจัดการโปรโมชั่นดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฏหมาย รวมถึงกฏกติกา เงื่อนไขข้อเสนอ และคุณสมบัติของผู้เข้าร่วม (เช่น ข้อกำหนดเรื่องอายุและภูมิลำเนา) และจะต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโปรโมชั่นและของรางวัล (เช่น เงื่อนไขการรับสมัคร และการได้รับอนุญาตจากทางการถ้าจำเป็น) โปรดตระหนักว่าลำพังการทำตามแนวปฏิบัตินี้มิได้แปลว่าโปรโมชั่นของคุณถูกต้องตามกฏหมาย โปรโมชั่นอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์จำนวนมาก และถ้าหากคุณไม่มั่นใจว่าโปรโมชั่นของคุณถูกต้องตามกฎหมายใดหรือไม่ กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
1. โปรโมชั่นบนเฟซบุ๊กจะต้องกระทำผ่านแอพพลิเคชั่นบนเว็บไซต์ Facebook.com – บนหน้า Canvas Page หรือแอพพลิเคชั่นบนแท็บ Page เท่านั้น (แปลว่าไม่ให้จัดโปรโมชั่นใดๆ นอกเหนือจากผ่านแอพพลิเคชั่น เช่น จัดบนหน้า Wall ของเฟซบุ๊กตรงๆ ไม่ได้)
2. โปรโมชั่นบนเฟซบุ๊กจะต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
a. ข้อความยกเว้นความรับผิดชอบให้กับเฟซบุ๊กโดยผู้สมัครหรือผู้เข้าร่วมแต่ละคน (ผู้เข้าร่วมต้องติ๊กกล่องที่บอกว่า “เข้าใจดีว่าเฟซบุ๊กไม่ได้ร่วมจัดโปรโมชั่นนี้” หรือแสดงประโยคนี้อย่างชัดเจนในหน้า “เงื่อนไขและข้อกำหนด” ที่คนต้องติ๊ก “รับทราบและยินยอม” ก่อนส่งใบสมัคร)
b. ข้อความที่ระบุว่าโปรโมชั่นดังกล่าวไม่ได้รับการอุดหนุน ส่งเสริม จัดการ หรือเกี่ยวข้องใดๆ กับเฟซบุ๊ก (ให้บอกว่าเฟซบุ๊กไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับโปรโมชั่นของคุณ)
c. ข้อความที่ระบุว่าผู้เข้าร่วมโปรโมชั่นกำลังส่งข้อมูลให้กับ [ระบุชื่อผู้รับข้อมูล] ไม่ใช่เฟซบุ๊ก (ให้บอกอย่างชัดเจนว่าคุณรับข้อมูลส่วนตัวจากผู้เข้าร่วมโดยตรง เฟซบุ๊กไม่รู้เรื่องด้วย)
3. คุณจะต้องไม่ใช้ฟีเจอร์หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ของเฟซบุ๊คเป็นกลไกเข้าร่วมโปรโมชั่นโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น การกดไลค์ Page หรือคลิ้กหน้า Place จะต้องไม่เป็นการรับคนที่คลิ้กเข้าร่วมโปรโมชั่นโดยอัตโนมัติ (ไม่อนุญาตให้คุณใช้ฟีเจอร์ของเฟซบุ๊กเป็นกิจกรรมในโปรโมชั่น เช่น การโพสข้อความบน Wall, อัพโหลดข้อมูล เช็คอิน Place หรือกด Like)
4. คุณจะต้องไม่กำหนดให้การใช้ฟีเจอร์หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ของเฟซบุ๊กเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วมโปรโมชั่น นอกเหนือจากการกดไลค์ Page, เช็คอิน Place หรือเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นของคุณ ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องไม่ตั้งเงื่อนไขให้คนกดไลค์ Wall post, แสดงความเห็นใต้รูป หรืออัพโหลดรูปถ่ายบน Wall (ไม่ให้คุณขอให้คนอัพโหลด ไลค์ Wall post ใดๆ เพื่อสมัครเข้าร่วมโปรโมชั่น ต้องทำผ่านแอพพลิเคชั่นเท่านั้น)
5. คุณจะต้องไม่ใช้ฟีเจอร์หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ของเฟซบุ๊ค เช่น ปุ่มไลค์ เป็นกลไกการโหวตในโปรโมชั่นที่คุณจัด (ถ้าจะให้คนโหวตก็ต้องไปทำผ่านแอพพลิเคชั่น ไม่ให้โหวตด้วยการกดไลค์)
6. คุณจะต้องไม่ติดต่อผู้ชนะผ่านเฟซบุ๊ก ไม่ว่าจะเป็นการส่ง message บนเฟซบุ๊ก แชท หรือโพสบนหน้า Profile หรือ Page (คุณบอกผู้ชนะโปรโมชั่นบนหรือผ่านเฟซบุ๊กไม่ได้ จะต้องขอเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลผ่านแอพพลิเคชั่น แล้วแจ้งเขานอกเฟซบุ๊ก)
7. คุณจะต้องไม่ใช้ชื่อของเฟซบุ๊ก เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นใดของเฟซบุ๊กในการทำโปรโมชั่น หรือกล่าวถึงเฟซบุ๊กในกฏกติกาหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโปรโมชั่น ยกเว้นเพื่อทำตามความรับผิดชอบของคุณในข้อ 2. ข้างต้น (อย่าใช้ชื่อหรือกราฟฟิกที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเฟซบุ๊ก เช่น รูปยกนิ้วโป้งบนปุ่มไลค์)
นิยาม:
a. “การจัด” (administration) หมายถึงการจัดส่วนใดก็ตามของโปรโมชั่น เช่น การรวบรวมใบสมัคร จับรางวัล คัดเลือกผู้ชนะ หรือแจ้งผู้ชนะ
b. “การสื่อสาร” (communication) หมายถึงการรณรงค์ โฆษณา หรืออ้างถึงโปรโมชั่นด้วยวิธีการใดก็ตามบนเฟซบุ๊ก เช่น ในโฆษณา บน Page หรือ Wall post
c. “การประกวด” (contest) หรือ “การแข่งขัน” (competition) หมายถึงโปรโมชั่นซึ่งมีรางวัลที่มีมูลค่าทางการเงิน และผู้ชนะได้รับการคัดเลือกบนพื้นฐานของทักษะ (เช่น ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามเกณฑ์เฉพาะเจาะจง)
d. “การจับรางวัล” (sweepstakes) หมายถึงโปรโมชั่นซึ่งมีรางวัลที่มีมูลค่าทางการเงิน และผู้ชนะได้รับการคัดเลือกบนพื้นฐานของโชค