(ขอเชิญอ่าน ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ก่อน ถ้ายังไม่เคยอ่าน)
กว่าเราจะออกจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ก็เลยเที่ยงวันไปแล้วครึ่งค่อนชั่วโมง ทุกคนจึงตั้งหน้าตั้งตารอโปรแกรมถัดไป คือแวะรับประทานอาหารเที่ยง กันอย่างใจจดใจจ่อ ร้านที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ พาไปชื่อร้านมัดหมี่ ร้านอาหารพื้นเมืองมีชื่อของที่นี่ จานที่ผู้เขียนประทับใจที่สุดคือ ‘ปลาส้มฟัก’ (ส้ม แปลว่า เปรี้ยว) เสิร์ฟมาในจานเป็นแท่งๆ เหมือนหมูยอ แต่รสชาติดีกว่า ปลาส้มฟักถือเป็น ‘ของดี’ ของเมืองลพบุรี ทำจากปลาตะเพียนหมักเกลือ กระเทียมบด และข้าวสุก หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็น “แหนมปลา” นั่นเอง เป็นของฝากน่าซื้อติดมือกลับบ้าน
ระหว่างทานอาหารอร่อยๆ ผู้เขียนก็นั่งทบทวนความจำ จดบันทึกเกร็ดความรู้ที่อาจารย์ปรีดีเล่าให้ฟังตอนพาชมพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์ไปพลางๆ เพราะอาจารย์เล่าเรื่องสนุกมาก ทำให้นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ดูน่าเบื่อน้อยกว่าความเป็นจริง เพราะนอกจากจะจัดแสดงของไม่ดีแล้ว ของหลายชิ้นก็ยังไม่มีป้ายบอก แถมป้ายส่วนใหญ่ก็ไม่มีภาษาอังกฤษกำกับด้วย ไม่คิดถึงแขกชาวต่างชาติเสียเลย
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยบางประการเกี่ยวกับของแสดงที่อาจารย์เล่าให้ฟัง:
ตู้พระธรรมลายเทวดาหน้าฝรั่ง เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าการผสมปนเปทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นมาช้านานแล้ว ที่เรารู้ว่าเทวดาองค์นี้เป็นฝรั่งก็เพราะถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าผมเป็นหลอดๆ เหมือนชาวยุโรปที่นิยมใส่วิกในสมัยนั้น
‘ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์’ เป็นของเล่นเด็กสมัยโบราณทำจากดินเผา ส่วนใหญ่ปั้นเป็นเด็กผมจุกหน้าตาจิ้มลิ้ม ตอนนี้หลายตัวที่พบเหลือแต่หัว เพราะตัวของตุ๊กตาชนิดนี้จะบอบบางมาก จึงแตกหักและหายง่าย พวกนี้ไม่น่าจะเป็น ‘ตุ๊กตาเสียกบาล’ เพราะชื่อของตุ๊กตาเสียกบาลก็บอกอยู่แล้วว่าตั้งใจทำให้เสียกบาล ฉะนั้นตุ๊กตาเสียกบาลที่ตกทอดมาถึงรุ่นเราส่วนใหญ่จะเหลือแต่ตัว ไม่มีหัว
พูดถึงตุ๊กตาเสียกบาลก็มีเรื่องสนุกๆ อีกเหมือนกัน เพราะตุ๊กตานี้ไม่ใช่ของเล่นเด็ก หากเป็น ‘เครื่องเซ่นผี’ ที่สำคัญในสมัยโบราณ ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแพรก (ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก อีกหนึ่ง ‘พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน’ คุณภาพของไทย) อธิบายว่า “จากหลักฐานพออ้างอิงได้ว่า ตุ๊กตาเสียกบาลเริ่มทำกันตั้งแต่สมัยทวาราวดี สร้างขึ้นตามความเชื่อเรื่องผีเกี่ยวกับประเพณีการเกิด บ้านใดมีเด็กเกิดใหม่ มักนิยมปั้นตุ๊กตาตามเพศของเด็กที่เกิดขึ้น มองเห็นอวัยวะเพศเด่นชัด นำไปทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เรียกว่า การเสียกบาล เช่น ตัดแขน ตัดขา ตัดคอ หรือปาดหน้าตุ๊กตาตัวนั้น แล้วนำเครื่องเซ่นผีกับตุ๊กตาใส่กระบะหรือภาชนะ นำไปวางไว้ที่ทางสามแพร่ง หรือนำไปลอยน้ำ เป็นการตั้งตุ๊กตาแทนตัวเด็กที่เกิด ผีเห็นแล้วถือว่าน่าเกลียด ผีจะได้ไม่มาเอาชีวิตเด็กที่เกิดใหม่ ถือว่าตุ๊กตาตายแทนเด็ก”
คนรุ่นใหม่อาจนึกดูถูกคนโบราณว่าโง่งมงาย นับถือผีมากกว่าพระ แต่เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ทารกแรกเกิดในสมัยโบราณนั้นมีอัตราการตายสูงมาก เพราะยังไม่มีเทคนิคการทำคลอดที่ถูกสุขอนามัยและปลอดภัย การทำพิธีเสียกบาลก็ดู ‘มีเหตุผล’ ในบริบทของสมัยนั้นไม่น้อย และต่อมา หลังจากที่วิทยาศาสตร์การแพทย์พัฒนาขึ้นมากจนการคลอดลูกไม่ใช่เรื่องอันตรายอีกต่อไป ก็ไม่มีเหตุผลที่จะทำพิธีเสียกบาลอีก ตุ๊กตาเสียกบาลจึงค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงจนคนเลิกทำในที่สุด
(ขอเชิญอ่าน ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ก่อน ถ้ายังไม่เคยอ่าน)
กว่าเราจะออกจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ก็เลยเที่ยงวันไปแล้วครึ่งค่อนชั่วโมง ทุกคนจึงตั้งหน้าตั้งตารอโปรแกรมถัดไป คือแวะรับประทานอาหารเที่ยง กันอย่างใจจดใจจ่อ ร้านที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ พาไปชื่อร้านมัดหมี่ ร้านอาหารพื้นเมืองมีชื่อของที่นี่ จานที่ผู้เขียนประทับใจที่สุดคือ ‘ปลาส้มฟัก’ (ส้ม แปลว่า เปรี้ยว) เสิร์ฟมาในจานเป็นแท่งๆ เหมือนหมูยอ แต่รสชาติดีกว่า ปลาส้มฟักถือเป็น ‘ของดี’ ของเมืองลพบุรี ทำจากปลาตะเพียนหมักเกลือ กระเทียมบด และข้าวสุก หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็น “แหนมปลา” นั่นเอง เป็นของฝากน่าซื้อติดมือกลับบ้าน
ระหว่างทานอาหารอร่อยๆ ผู้เขียนก็นั่งทบทวนความจำ จดบันทึกเกร็ดความรู้ที่อาจารย์ปรีดีเล่าให้ฟังตอนพาชมพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์ไปพลางๆ เพราะอาจารย์เล่าเรื่องสนุกมาก ทำให้นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ดูน่าเบื่อน้อยกว่าความเป็นจริง เพราะนอกจากจะจัดแสดงของไม่ดีแล้ว ของหลายชิ้นก็ยังไม่มีป้ายบอก แถมป้ายส่วนใหญ่ก็ไม่มีภาษาอังกฤษกำกับด้วย ไม่คิดถึงแขกชาวต่างชาติเสียเลย
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยบางประการเกี่ยวกับของแสดงที่อาจารย์เล่าให้ฟัง:
ตู้พระธรรมลายเทวดาหน้าฝรั่ง เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าการผสมปนเปทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นมาช้านานแล้ว ที่เรารู้ว่าเทวดาองค์นี้เป็นฝรั่งก็เพราะถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าผมเป็นหลอดๆ เหมือนชาวยุโรปที่นิยมใส่วิกในสมัยนั้น
‘ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์’ เป็นของเล่นเด็กสมัยโบราณทำจากดินเผา ส่วนใหญ่ปั้นเป็นเด็กผมจุกหน้าตาจิ้มลิ้ม ตอนนี้หลายตัวที่พบเหลือแต่หัว เพราะตัวของตุ๊กตาชนิดนี้จะบอบบางมาก จึงแตกหักและหายง่าย พวกนี้ไม่น่าจะเป็น ‘ตุ๊กตาเสียกบาล’ เพราะชื่อของตุ๊กตาเสียกบาลก็บอกอยู่แล้วว่าตั้งใจทำให้เสียกบาล ฉะนั้นตุ๊กตาเสียกบาลที่ตกทอดมาถึงรุ่นเราส่วนใหญ่จะเหลือแต่ตัว ไม่มีหัว
พูดถึงตุ๊กตาเสียกบาลก็มีเรื่องสนุกๆ อีกเหมือนกัน เพราะตุ๊กตานี้ไม่ใช่ของเล่นเด็ก หากเป็น ‘เครื่องเซ่นผี’ ที่สำคัญในสมัยโบราณ ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านแพรก (ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก อีกหนึ่ง ‘พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน’ คุณภาพของไทย) อธิบายว่า “จากหลักฐานพออ้างอิงได้ว่า ตุ๊กตาเสียกบาลเริ่มทำกันตั้งแต่สมัยทวาราวดี สร้างขึ้นตามความเชื่อเรื่องผีเกี่ยวกับประเพณีการเกิด บ้านใดมีเด็กเกิดใหม่ มักนิยมปั้นตุ๊กตาตามเพศของเด็กที่เกิดขึ้น มองเห็นอวัยวะเพศเด่นชัด นำไปทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เรียกว่า การเสียกบาล เช่น ตัดแขน ตัดขา ตัดคอ หรือปาดหน้าตุ๊กตาตัวนั้น แล้วนำเครื่องเซ่นผีกับตุ๊กตาใส่กระบะหรือภาชนะ นำไปวางไว้ที่ทางสามแพร่ง หรือนำไปลอยน้ำ เป็นการตั้งตุ๊กตาแทนตัวเด็กที่เกิด ผีเห็นแล้วถือว่าน่าเกลียด ผีจะได้ไม่มาเอาชีวิตเด็กที่เกิดใหม่ ถือว่าตุ๊กตาตายแทนเด็ก”
คนรุ่นใหม่อาจนึกดูถูกคนโบราณว่าโง่งมงาย นับถือผีมากกว่าพระ แต่เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ทารกแรกเกิดในสมัยโบราณนั้นมีอัตราการตายสูงมาก เพราะยังไม่มีเทคนิคการทำคลอดที่ถูกสุขอนามัยและปลอดภัย การทำพิธีเสียกบาลก็ดู ‘มีเหตุผล’ ในบริบทของสมัยนั้นไม่น้อย และต่อมา หลังจากที่วิทยาศาสตร์การแพทย์พัฒนาขึ้นมากจนการคลอดลูกไม่ใช่เรื่องอันตรายอีกต่อไป ก็ไม่มีเหตุผลที่จะทำพิธีเสียกบาลอีก ตุ๊กตาเสียกบาลจึงค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงจนคนเลิกทำในที่สุด
ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงคิดว่า คนปัจจุบันน่าจะ ‘โง่’ กว่าคนโบราณหลายเท่า เพราะถึงแม้เราจะรู้แล้วว่าความร่ำรวยที่มาจากความขยันหมั่นเพียรนั้น มีความเป็นไปได้สูงกว่าและยั่งยืนกว่าความร่ำรวยที่มาจากการซื้อหวยหรือส่งฝาเครื่องดื่มไปชิงรางวัล เครื่องรางของขลังอย่างจตุคามรามเทพที่ร่ำลือกันว่าจะช่วยให้ ‘รวยทางลัด’ ได้โดยไม่ต้องทำงาน ยังขายดีเป็นเทน้ำเทท่า คนแย่งกันเป็นเจ้าของถึงขนาดเหยียบกันตายก็มี
กริชที่พวกแขกมัวร์ที่ใช้ในกบฏมักกะสัน อาจารย์บอกว่าการแปลงกริชนี้ให้เป็นกริชอาบยาพิษทำได้ง่ายมาก แค่เอาไปครูดกับกิ่งยี่โถเท่านั้น
เบี้ยที่ใช้เป็นเงินในสมัยโบราณ สั่งนำเข้าจากหมู่เกาะมัลดีฟส์มาประทับตรา เพราะถ้าใช้หอยเบี้ยแบบที่หาได้ทั่วไปในประเทศมีหวังเงินเฟ้อพุ่งกระฉูดจนเงินไร้ค่า เพราะใครๆ ก็ไปเก็บหอยตามชายหาดมาปลอมใช้เป็นเงินได้
พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า
เมื่ออิ่มท้องกันดีแล้ว จุดหมายต่อไปของเราคือพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า หนึ่งใน ‘พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น’ ที่ดีที่สุดในประเทศ บริหารจัดการโดยวัดและชุมชน เปิดทุกวันตั้งแต่ 8.30 – 16.30 น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม ประวัติของพิพิธภัณฑ์ในฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของศูนย์ฯ ระบุว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ “…ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยพระครูโสภณธรรมรัต เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า เพื่อใช้เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าทางศาสนา ศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ อันเป็นสมบัติเก่าแก่ของวัดและของส่วนตัวของท่านพระครูโสภณธรรมรัต
การจัดแสดงศิลปกรรมโบราณวัตถุเริ่มเมื่อพ.ศ. 2542 และสำเร็จเรียบร้อยในพ.ศ. 2544 ด้วยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย อาทิ คณะสงฆ์วัดเชิงท่า ชุมชนวัดเชิงท่า …รวมถึงนักวิชาการด้านต่างๆ จากภายนอก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชทานดำเนินเปิดพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2545
พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์มีพื้นที่จัดแสดง 253 ตารางเมตร วัตถุต่างๆ รวบรวมมาจากสองแหล่งสำคัญคือ สมบัติของวัดเชิงท่าที่มีมาแต่เดิม และสมบัติส่วนตัวของท่านพระครูโสภณธรรมรัต แม้วัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์วัดอื่นๆ อีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป พระคัมภีร์ พระบฎ เครื่องถ้วย ตู้คัมภีร์ ตาลปัตร แต่การจัดแสดงด้วยเรื่องราวของวัด และพระพุทธศาสนาได้ยึดโยงและสอดผสานไปกับสิ่งของจนทำให้ผู้ชมได้เข้าใจชีวิตทางสังคมชาวพุทธได้อย่างลงตัว
พระสงฆ์ พระรัตนตรัยดวงแรก อันหมายถึงนักบวชผู้เชื่อฟังคำสอนและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นส่วนจัดแสดงถัดมาที่เล่าถึงวัตถุที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวัตรปฏิบัติของภิกษุ เครื่องบริขารของสงฆ์ เช่น ไตรจีวร บาตร และตาลปัตร โดยประกอบประวัติศาสตร์ที่มาของวัตถุเหล่านี้ เช่น พัดรองที่สร้างขึ้นในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ของสะสมของท่านเจ้าอาวาส อาทิ เครื่องเคลือบจีน เครื่องเคลือบไทย ธรรมาสน์ที่ได้รับการนำเสนอด้วยการกล่าวถึงหน้าที่ใช้งาน ประวัติ ลักษณะศิลปะ และสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับคติพุทธศาสนา รวมถึงความสัมพันธ์กับพิธีกรรมต่างๆ กับผู้คนในสังคม เช่น การแสดงธรรมเทศนา การเทศน์มหาชาติ ซึ่งเป็นเสมือนสื่อกลางที่เชื่อมโยงชาวพุทธเข้าสู่พระรัตนตรัยดวงที่สอง หรือ พระธรรม อันเป็นเนื้อหาการจัดแสดงในส่วนต่อไป
วัตถุที่ผูกโยงกับเนื้อหาการจัดแสดงส่วนนี้นอกจากพระไตรปิฎกแล้ว ยังรวมถึงตู้เก็บคัมภีร์ที่ถูกอธิบายถึงความเป็นมา สัญลักษณ์ และความหมาย ที่สัมพันธ์กับพุทธประวัติหรือเรื่องราวอื่นๆ คัมภีร์ใบลาน ผ้าห่อคัมภีร์ที่แสดงถึงความศรัทธาของชาวพุทธในการเลือกผ้าห่อคัมภีร์ที่มีความวิจิตรงดงาม เพื่อปกป้อง “ของสูงของศักดิ์สิทธิ์” ให้พ้นจากการเปื้อนเปรอะจากฝุ่นละออง การกัดทำลายของมดหรือแมลง นอกจากนี้ยังจัดแสดงสมุดไทยที่เป็นคลังของวิชาการทางโลก เวทมนต์คาถา ตำราหมอดู ตำราเรียนภาษาไทย กฎหมาย วรรณกรรมท้องถิ่น
พระรัตนตรัยคงจะไม่ครบองค์สามหากไม่กล่าวถึง พระพุทธ มหาเวสสันดรชาดกซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติถัดมาเป็นพระพุทธเจ้า ถูกเรียบเรียงผ่านภาพพระบฎ 13 ผืน อันหมายถึงกัณฑ์ทั้ง 13 ในการเทศน์มหาชาติ เรื่องราวนี้เป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อหาในส่วนสุดท้ายของการจัดแสดง ซึ่งอยู่บนชั้นลอยในตัวอาคาร จากนั้นเป็นการจัดแสดงพระพุทธรูปที่มีรูปแบบศิลปกรรมแตกต่างกันไป พระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก อิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน อายุราว พ.ศ. 1750-1800 พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย อายุราว พ.ศ. 2200-2300 เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์แห่งนี้สร้างสรรค์ให้วัตถุที่จัดแสดงมิใช่เพียง “ศิลปวัตถุ” ที่เดินเรื่องด้วยยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ศิลปะ หรือพยายามกลายสภาพศาสนวัตถุให้เป็นประติมากรรม หรือสิ่งของที่สร้างความตื่นตาตื่นใจหากแต่เป็นการนำแก่นวิถีของชาวพุทธ มาผูกโยงเป็นเรื่องราวให้เกิดปัญญาญาณแก่ผู้เข้าชม ความลงตัวระหว่างโบราณวัตถุและเนื้อหาที่นำเสนอเช่นนี้คงทำให้ใครหลายๆ คนอยากย้อนกลับมาชมพิพิธภัณฑ์วัดกันอีกครั้ง พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าถึงชีวิตของวัดและพุทธศาสนา”
‘พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น’ ที่ ‘มือสมัครเล่น’ ในวัดและชุมชนช่วยกันดูแลแห่งนี้ ทำได้ดีกว่าพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์ที่บริหารจัดการโดยผู้ดูแล ‘มืออาชีพ’ หลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นในด้านการจัดวาง การจัดแสง หรือการจัดหมวดหมู่ ของแทบทุกชิ้นมีป้ายบอกชื่อ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ทั้งหมดประกอบกันขึ้นเป็นบรรยากาศที่รู้สึกได้ถึง ‘ความรัก’ ของผู้จัดทำทุกฝ่าย
ในชีวิตของคนสมัยใหม่ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ทำงาน การได้ทำงานที่ใจรักจริงๆ ไม่ใช่เพราะอยากได้เงินเป็นจุดมุ่งหมายหลัก (หรือในภาษาพุทธคือ งานที่ทำด้วยฉันทะ ไม่ใช่ตัณหา) และทำงานนั้นด้วยสติและสมาธิ อาจเป็นวิธี ‘ปฏิบัติธรรม’ ที่เป็นไปได้มากที่สุดในโลกปัจจุบัน ดังคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า “การทำงาน คือการปฏิบัติธรรม”
‘ความสำเร็จ’ ของพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์อยู่ที่การทำให้ผู้ชมสัมผัสได้ถึงศรัทธาในพุทธศาสนาของคนโบราณ ที่ถ่ายทอดผ่านความประณีตและความละเอียดอ่อนของศิลปวัตถุแต่ละชิ้น ไม่แต่เฉพาะของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือชีวิตประจำวันของพระสงฆ์เท่านั้น แต่ของที่ฆราวาสใช้ในชีวิตประจำวันหลายชิ้นก็มีกลิ่นอายของไสยและพุทธประทับอยู่ปะปนกัน เช่น ก่อนที่คนโบราณจะกินหมากพลู จะเอาใบพลูส่องกับแดดก่อน ถ้ามองเห็นใบหน้าพระหรือเทวดาปรากฏอยู่บนใบไม้นั้น ก็จะไม่กิน
เครื่องอบ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนความประณีตและภูมิปัญญาของคนโบราณ อาจารย์เล่าว่าเครื่องอบที่ใช้ตอนกลางคืน จะใส่ดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมตอนกลางคืน เช่น ดอกการเวก แล้วพอถึงรุ่งสาง ก็จะเปลี่ยนเอาดอกไม้ที่บานตอนกลางวันมาใส่ลงไปแทน
เมื่อเราเดินผ่านพระพุทธรูปแบบลาว อาจารย์ก็เล่าว่า คนลาวนิยมสร้างพระพุทธรูปที่หัวโตกว่าสัดส่วนปกติ เพราะเชื่อว่าเศียรของพระพุทธเจ้ามีขนาดใหญ่กว่าคนทั่วไปจริงๆ เพราะช่วยคนได้มาก ยิ่งหัวใหญ่เท่าไรก็แปลว่ายิ่งช่วยคนได้มากเท่านั้น
……
บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านวิชาเยนทร์
บ้านของออกญาวิชาเยนทร์หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูต ตรงข้ามประตูทางเข้าพระราชวังชั้นกลางพอดี สุดถนนเล็กๆ ที่รัฐบาลไทยตั้งชื่อในปี พ.ศ. 2526 ว่า “ถนนฝรั่งเศส” เพื่อเป็นเกียรติแต่ฝรั่งเศส (แต่ฝรั่งเศสมี “ถนนสยาม” มาแล้วกว่า 300 ปี) สองข้างถนนปลูกต้นมะกอกที่ฝรั่งเศสมอบแด่รัฐบาลไทยเมื่อหลายปีก่อน
บ้านหลวงรับราชทูตอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม แต่ยังดูดีกว่าวังพระนารายณ์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ด้านตะวันออกเป็นบ้านพักของคณะทูตชาวฝรั่งเศส ด้านตะวันตกเป็นบ้านพักของคอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวตะวันตกคนแรกและคนเดียวที่ได้รับตำแหน่งสูงสุดในระบบราชการไทย คือได้เป็นถึงสมุหนายก หน้าบ้านฟอลคอนยังมีซากของอ่างน้ำพุรูปไข่ และสวนมุมห้องด้วย ตอนที่ฟอลคอนยังเฟื่องฟูอยู่บ้านนี้คงดูอลังการไม่น้อย
ทั้งบ้านพักของคณะทูตและบ้านของฟอลคอนสร้างเป็นตึกแบบยุโรปแท้ ตามสไตล์เรอเนสซองซ์ (Renaissance) ซึ่งยังเป็นที่นิยมในสมัยนั้น บ้านนี้ไม่มีอิทธิพลของแขกมัวร์ ไม่เหมือนกับวังพระนารายณ์ ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เมื่อคำนึงว่าแขกมัวร์เป็นเผ่าพันธุ์ที่คนยุโรปโบราณ (และแม้กระทั่งบางคนในสมัยนี้) มองว่าเป็น ‘ศัตรูคู่อาฆาต’ เพราะแขกมัวร์ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามทำ ‘สงครามทางศาสนา’ (the crusades) กับฝรั่งยุโรปซึ่งเป็นชาวคริสเตียนและคริสตัง ต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 200 ปี ระหว่างปลายคริสตศตวรรษที่ 11 จนถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 13 แต่การสู้รบทางศาสนานอก ‘ดินแดนศักดิ์สิทธิ์’ (Holy Land) ที่ปะทุขึ้นตามสมรภูมิระดับหัวเมืองตามชนบทก็ยังดำเนินต่อเนื่องมาอีกหลายร้อยปี
ใครที่เชื่อว่าคริสต์ที่เคร่งครัดไม่มีวันอยู่ร่วมกับมุสลิมที่เคร่งครัดได้ โดยเฉพาะในโลกที่ ‘บรรยากาศแห่งความหวาดระแวง’ กำลังแผ่ไปทั่วโลกหลังเกิดโศกนาฏกรรม 9/11 ผู้เขียนขอแนะนำให้ไปเยือนบริเวณ Sicily ในอิตาลี และรัฐ Andalusia ทางตอนใต้ของสเปน โดยเฉพาะเมือง Granada, Cordoba และ Seville เพราะเมืองเหล่านั้นเคยเป็นที่มั่นสำคัญในยุโรปของแขกมัวร์ และในเมืองเหล่านั้น ความสำเร็จของ ‘การผสมปนเปทางวัฒนธรรม’ ระหว่างอาหรับและยุโรป มองเห็นอยู่ทั่วไปในรูปของโบสถ์สไตล์อาหรับ อาหารผสมระหว่างแขกและสเปน และชาวพื้นเมืองสเปนผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนนับแสนคนที่ยังรักษาประเพณีของแขกมัวร์เอาไว้อย่างเหนียวแน่น
พระเจ้าโรเดอริค (Roderic) แห่งสเปน ซึ่งกรีฑาทัพเข้ายึดหัวเมืองคืนจากชาวมัวร์ได้ในสมัยยุคกลาง ทรงเลื่อมใสเป็นอย่างมากในอารยธรรมอันสูงส่งของอาหรับมุสลิม ถึงขนาดสั่งให้สร้างโบสถ์คริสต์ในสไตล์มุสลิม และพระองค์เองก็ลงทุนเรียนภาษาอาหรับ เพื่ออ่านหนังสือปรัชญากรีกโบราณที่ชาวมัวร์เป็นผู้เก็บรักษาเอาไว้ระหว่างที่ยุโรปต้องตกอยู่ในยุคมืด นอกจากนั้น พระเจ้าโรเดอริคยังเลือกที่จะสวดภาวนาต่อพระผู้เป็นเจ้าเป็นภาษาอาหรับ ทั้งๆ ที่พระองค์เป็นคริสต์
ถึงแม้ว่าบ้านพักทั้งสองหลังจะเป็นสไตล์ยุโรปล้วน ก็ใช่ว่าบ้านหลวงรับราชทูตจะปราศจากหลักฐานของ ‘การผสมปนเปทางวัฒนธรรม’ เสียทีเดียว – ซากของโบสถ์คริสต์ตั้งเด่นอยู่กลางบริเวณบ้าน ตามสมัยนิยมของเศรษฐียุโรปที่ชอบสร้างโบสถ์ในบริเวณบ้าน โบสถ์นี้ดูเผินๆ ไม่ต่างจากโบสถ์ยุโรปทั่วไป แต่เมื่อสังเกตซุ้มประตูหน้าต่างดีๆ ก็จะพบว่าเป็นซุ้มเรือนแก้ว ปลายเสามีลายกลีบบัวยาว ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทย
นับว่าอาคารหลังนี้เป็นโบสถ์คริสต์ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Renaissance ผสมไทย แห่งแรกของไทยและของโลก
แล้วฟอลคอนทำอะไร จึงได้เป็นที่โปรดปรานของพระนารายณ์ แต่เป็นที่เกลียดชังของคนกลุ่มอื่นในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นขุนนาง ชาวบ้าน พระเยซูอิต หรือแม้กระทั่งชาวต่างชาติด้วยกันที่มาค้าขายในสยาม?
โปรดติดตามตอนจบในคราวต่อไป.