ยังยุ่ง(เหมือนเดิม!) แวะมาแบ่งปันไฟล์เสียง (เล่นได้ด้วย Windows Media Player) ที่อัดจากงานสัมมนาเมื่อวานกับวันนี้ที่ไป สำหรับทุกท่านที่สนใจแต่ไม่ได้ไปฟังค่ะ 🙂
- เสวนาหัวข้อ “โคตรวิกฤต ความเสี่ยงเศรษฐกิจ : ถึงเวลาเผชิญหน้าความจริง” [54MB] ร่วมเสวนาโดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ธนาคารแห่งประเทศไทย, ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ กระทรวงการคลัง, และ สฤณี อาชวานันทกุล ดำเนินรายการโดย ปกป้อง จันวิทย์ ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) วันที่ 24 มีนาคม 2552
- เสวนาหัวข้อ “องค์กรการเงินชุมชนไทย: มองไปข้างหน้า” [33MB] ร่วมเสวนาโดย ครูชบ ยอดแก้ว ปราชญ์ชาวบ้านผู้สร้างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ชุมชน, ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล ธนาคารแห่งประเทศไทย, ดร. สุกานดา ลูวิส คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และ รศ.ดร. ปัทมาวดี ซูซูกิ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการเสวนาโดย สฤณี อาชวานันทกุล, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 23 มีนาคม 2552
- ปาฐกถาพิเศษ “การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน” [35MB] โดย พระสุบิน ปณีโต และ ครูชบ ยอดแก้ว ปราชญ์ชาวบ้านผู้สร้างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ชุมชน, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 23 มีนาคม 2552
(ดาวน์โหลดไฟล์เสียงจากงานสัมมนาอื่นๆ ได้จากหน้า Media ของบล็อกนี้ สำหรับงานที่ผู้เขียนมีส่วนร่วมในฐานะผู้ร่วมเสวนาหรือผู้ำดำเนินรายการ และจากหน้า Downloads สำหรับงานที่ผู้เขียนไปในฐานะผู้ฟัง)
หากฟังเผินๆ เรื่องราวของวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเงิน การเงินชุมชน ไมโครไฟแนนซ์ และเศรษฐศาสตร์ชุมชนอาจไม่มีอะไีีรเกี่ยวข้องกันเลย แ่ต่แท้ที่จริง “โลก” การเงินทั้งสองใบ คือการเงินปืนกลในวอลล์สตรีท (เรียกเป็นภาษาสวยๆ ว่า “high finance”) กับนวัตกรรมการเงินแบบบ้านๆ แต่ได้ผลดีมากหลายแห่งในชนบทไทย (อาจเรียกว่า “rural finance”) มีอะไรที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกัน และสามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกันจากความคล้ายคลึงและความแตกต่างเหล่านั้นได้อย่างน่าสนใจและน่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ความร่วมมือระหว่าง high finance กับ rural finance ก็เริ่มมีตัวอย่างให้เราเห็นแล้วในต่างประเทศ ท่านใดที่สนใจประเด็นเหล่านี้สามารถติดตามได้จากคอลัมน์ใหม่ของผู้เขียน ชื่อ “การเงินปฏิวัติ” รายสองสัปดาห์ จะประเดิมตอนแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ตั้งแต่ประมาณต้นเดือนหน้าเป็นต้นไปค่ะ 😀 (คอลัมน์นี้มาแทนคอลัมน์ “ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์” เนื่องจากผู้เขียนไปเขียน “ทุนนิยมที่มีหัวใจ” ลงมติชนรายสัปดาห์แล้ว จึงเปลี่ยนหัวข้อเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนและสับสนของคนเขียน)
(รายละเอียดเรื่องงานสัปดาห์หนังสือฯ จะโพสในอีกวันสองวันนี้ค่ะ)