An Impossible Dream

เมื่อวานฟังทักษิณออกทีวีช่อง 11:

“…ผมถอยจนสุดแล้ว วันนี้บอกให้ออกยังออกเลย แต่ว่าออกแล้วมีคำตอบให้ผมหน่อยได้ไหม ว่าผมจะบอก 16 ล้านคนที่เลือกผมได้อย่างไร ว่าอยู่ๆ วันนี้เขาบอกว่าผมออกแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง แล้วผมออกแล้วเนี่ย บ้านเมืองจะดีขึ้น…”

ฟังไปฟังมา เริ่มเคลิ้ม หนังตาหรี่ลงเรื่อยๆ… เสียงคุ้นๆ แว่วมาแต่ไกล…

“…พ่อแม่พี่น้องประชาชน 16 ล้านเสียง ที่เลือกพรรคไทยรักไทยทุกท่านครับ

ก่อนอื่นผมขอขอบพระคุณทุกเสียง ที่สนับสนุนให้พรรคไทยรักไทยบริหารประเทศต่อไปนะครับ แต่วันนี้ผมขอประกาศว่า ผมจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกแล้ว เพราะผมได้ตาสว่างแล้วว่า วิกฤติทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานั้น เป็น “วิกฤติทางศรัทธา” ที่เกิดขึ้นกับตัวผมคนเดียวครับ ไม่เกี่ยวกับพรรคไทยรักไทยเลยแม้แต่น้อย

จริงๆ วิกฤติศรัทธาส่วนตัวนี้ไม่เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎรด้วยซ้ำไปนะครับ แต่ตอนนั้นผมตัดสินใจยุบสภาเพราะคิดว่า เสียงของพ่อแม่พี่น้องที่รักผม และยังไม่รู้ข้อมูล อาจช่วยผมได้ ช่วยให้ผมไม่ต้องเผชิญหน้ากับการตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะในรัฐสภา หรือในศาลก็ตาม เพราะผมคิดอย่างตื้นๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยนั้น คือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ตราบใดที่ผมได้เสียงข้างมากก็แปลว่าผมมี “ความชอบธรรม” ในการบริหารบ้านเมืองแล้ว ผมไม่ต้องไปสนใจว่าผมจะทำผิดรัฐธรรมนูญ หรือผิดกฎหมายอื่นๆ ข้อไหนหรือไม่ ผมไม่ต้องไปสนใจว่าช่องทางการตรวจสอบ ถ่วงดุลอำนาจของผมในสภาและนอกสภานั้น จะทำงานได้จริงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบผมได้จริงหรือไม่ อันนี้เป็นความเข้าใจผิดของผมเอง เกี่ยวกับความหมายของ “ประชาธิปไตย” ที่แท้จริงครับ ที่ผมไพล่ไปพูดเรื่องแนวทาง “สมานฉันท์” เช่น การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเข้าใจผิดข้อนี้ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะผมยังไม่เชื่อตาตัวเองว่า ประชาชนที่ต่อต้านผมนั้น ต่อต้านตัวผมคนเดียวจริงๆ ไม่ได้ต่อต้านนโยบายทุกข้อของรัฐบาล ไม่ได้ต่อต้านสภา และไม่ได้ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

ตอนนี้ผมประจักษ์แก่ใจแล้วว่า “ความชอบธรรม” ในการบริหารบ้านเมืองนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ “สร้าง” ขึ้นมาได้ลวกๆ ด้วยเสียงสนับสนุนข้างมาก แต่ต้องเป็นสิ่งที่ “พิสูจน์ได้” ว่าเป็นจริง ตามครรลองของกฎหมาย ผ่านกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลต่างๆ หลายชั้น ดังนั้น การมีเสียงข้างมากอย่างเดียวไม่ได้แปลว่า “ชอบธรรม” ครับ เพราะเสียงข้างมากเหล่านั้นอาจยังไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งจะถูกเปิดเผยออกมาอย่างเป็น “ทางการ” ได้เฉพาะในกรณีที่กลไกตรวจสอบต่างๆ ทำงานได้ดีเท่านั้น

ผมจึงต้องกราบขออภัยพ่อแม่พี่น้องทุกคน มา ณ ที่นี้ด้วยครับ


เมื่อวานฟังทักษิณออกทีวีช่อง 11:

“…ผมถอยจนสุดแล้ว วันนี้บอกให้ออกยังออกเลย แต่ว่าออกแล้วมีคำตอบให้ผมหน่อยได้ไหม ว่าผมจะบอก 16 ล้านคนที่เลือกผมได้อย่างไร ว่าอยู่ๆ วันนี้เขาบอกว่าผมออกแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง แล้วผมออกแล้วเนี่ย บ้านเมืองจะดีขึ้น…”

ฟังไปฟังมา เริ่มเคลิ้ม หนังตาหรี่ลงเรื่อยๆ… เสียงคุ้นๆ แว่วมาแต่ไกล…

“…พ่อแม่พี่น้องประชาชน 16 ล้านเสียง ที่เลือกพรรคไทยรักไทยทุกท่านครับ

ก่อนอื่นผมขอขอบพระคุณทุกเสียง ที่สนับสนุนให้พรรคไทยรักไทยบริหารประเทศต่อไปนะครับ แต่วันนี้ผมขอประกาศว่า ผมจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกแล้ว เพราะผมได้ตาสว่างแล้วว่า วิกฤติทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานั้น เป็น “วิกฤติทางศรัทธา” ที่เกิดขึ้นกับตัวผมคนเดียวครับ ไม่เกี่ยวกับพรรคไทยรักไทยเลยแม้แต่น้อย

จริงๆ วิกฤติศรัทธาส่วนตัวนี้ไม่เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎรด้วยซ้ำไปนะครับ แต่ตอนนั้นผมตัดสินใจยุบสภาเพราะคิดว่า เสียงของพ่อแม่พี่น้องที่รักผม และยังไม่รู้ข้อมูล อาจช่วยผมได้ ช่วยให้ผมไม่ต้องเผชิญหน้ากับการตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะในรัฐสภา หรือในศาลก็ตาม เพราะผมคิดอย่างตื้นๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยนั้น คือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ตราบใดที่ผมได้เสียงข้างมากก็แปลว่าผมมี “ความชอบธรรม” ในการบริหารบ้านเมืองแล้ว ผมไม่ต้องไปสนใจว่าผมจะทำผิดรัฐธรรมนูญ หรือผิดกฎหมายอื่นๆ ข้อไหนหรือไม่ ผมไม่ต้องไปสนใจว่าช่องทางการตรวจสอบ ถ่วงดุลอำนาจของผมในสภาและนอกสภานั้น จะทำงานได้จริงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบผมได้จริงหรือไม่ อันนี้เป็นความเข้าใจผิดของผมเอง เกี่ยวกับความหมายของ “ประชาธิปไตย” ที่แท้จริงครับ ที่ผมไพล่ไปพูดเรื่องแนวทาง “สมานฉันท์” เช่น การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเข้าใจผิดข้อนี้ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะผมยังไม่เชื่อตาตัวเองว่า ประชาชนที่ต่อต้านผมนั้น ต่อต้านตัวผมคนเดียวจริงๆ ไม่ได้ต่อต้านนโยบายทุกข้อของรัฐบาล ไม่ได้ต่อต้านสภา และไม่ได้ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

ตอนนี้ผมประจักษ์แก่ใจแล้วว่า “ความชอบธรรม” ในการบริหารบ้านเมืองนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ “สร้าง” ขึ้นมาได้ลวกๆ ด้วยเสียงสนับสนุนข้างมาก แต่ต้องเป็นสิ่งที่ “พิสูจน์ได้” ว่าเป็นจริง ตามครรลองของกฎหมาย ผ่านกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลต่างๆ หลายชั้น ดังนั้น การมีเสียงข้างมากอย่างเดียวไม่ได้แปลว่า “ชอบธรรม” ครับ เพราะเสียงข้างมากเหล่านั้นอาจยังไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งจะถูกเปิดเผยออกมาอย่างเป็น “ทางการ” ได้เฉพาะในกรณีที่กลไกตรวจสอบต่างๆ ทำงานได้ดีเท่านั้น

ผมจึงต้องกราบขออภัยพ่อแม่พี่น้องทุกคน มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ตอนนี้ผมเข้าใจแล้วว่า ตราบใดที่ผมยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่นายกฯ รักษาการ ผมจะไม่มีวันได้ตอบโต้ข้อกล่าวหาต่างๆ ที่หาว่าผมทำผิดกฎหมาย (เช่น เรื่องซุกหุ้น เรื่องขายหุ้น และเรื่องอื่นๆ) โดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ตามช่องทางของกฎหมายได้เลย เพราะตอนนี้สถานการณ์หลายๆ อย่าง มันไม่เอื้อต่อประชาธิปไตยที่แท้จริงครับ พรรคไทยรักไทยครองเสียงข้างมากในสภา มีอำนาจล้นหลาม (ซึ่งผมต้องขอขอบคุณพ่อแม่พี่น้องอีกครั้ง) จนถึงระดับที่พรรคฝ่ายค้านไม่สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจผม ประชาชนจำนวนมากมีความเคลือบแคลงใจ ว่าองค์กรอิสระต่างๆ ตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญลงมา เป็น “อิสระ” จริงหรือไม่ และสื่อโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ “เข้าถึง” ประชาชนไทยได้มากที่สุด ก็ยังไม่ยอมเผยแพร่ข้อมูลของฝ่ายต่อต้านผม เท่าที่ควรจะเป็น พอพูดถึงเรื่องนี้ผมก็ต้องขอโทษพ่อแม่พี่น้องด้วยนะครับ ที่ปฏิเสธการขึ้นเวทีดีเบตกับพรรคฝ่ายค้านและแกนนำผู้ชุมนุม แบบถ่ายทอดสด คือตอนนั้นผมไม่มีเวลาเตรียมตัว และผมก็ยังไม่เข้าใจความสำคัญของกลไกการตรวจสอบ และกลไกการถ่วงดุลในระบอบประชาธิปไตยดีพอ แต่ตอนนี้ผมตาสว่างแล้วครับ

ดังนั้น เพื่อให้อดีตพรรคฝ่ายค้าน และฝ่ายผู้ต่อต้าน ได้มี “โอกาส” ซักถามผม ตามครรลองของรัฐธรรมนูญ และให้ผมมีโอกาสตอบข้อกล่าวหาต่างๆ อย่างเป็นทางการ เพื่อ “พิสูจน์” ความบริสุทธิ์ใจของผมเอง ว่าผมไม่ได้ทำอะไรผิดจริงๆ ผมขอประกาศว่า ผมจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่ากระบวนการพิสูจน์พฤติกรรมของผมทุกข้อที่เป็นข้อกังขาของสังคม จะเสร็จสิ้นลงอย่างเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ในระหว่างนี้ ผมจะยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทยต่อไป ยกเว้นว่าจะมีผู้รู้ท่านใดชี้ให้เห็นว่า การที่ผมอยู่ในตำแหน่งนี้ก็เป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบเหมือนกัน ซึ่งในกรณีนั้นผมก็จะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเช่นกันครับ

พ่อแม่พี่น้องครับ การได้คะแนนเสียงส่วนมากเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตยก็จริง แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลย หรืออาจสำคัญมากกว่าด้วยซ้ำ คือการรับฟังความเห็นของเสียงข้างน้อย โดยเฉพาะในประเด็นที่สำคัญระดับชาติ เช่น ความชอบธรรมของผู้นำรัฐบาล นอกจากนี้ ส่วนสำคัญยิ่งของระบอบประชาธิปไตยคือ การยอมรับและส่งเสริมให้กลไกตรวจสอบและถ่วงดุล ทั้งในสภา และนอกสภา ทำงานได้อย่างเที่ยงธรรมและมีประสิทธิผลนะครับ ดังนั้นผมจึงเชื่อว่า การที่ผมประกาศลาออกวันนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล เพราะเป็นการ “เปิดช่องทาง” ให้ผมได้มีโอกาสพิสูจน์ความถูกผิดของการกระทำ ตามกลไกของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำคัญของกลไกเหล่านี้ เพราะตราบใดที่ผมเป็นนายกฯ ที่มีอำนาจล้นหลามอย่างนี้ กลไกตรวจสอบทำงานไม่ได้ครับ

ไม่ต้องเป็นห่วงนะครับว่าเศรษฐกิจจะพัง ประเทศต้องกลับไปไอเอ็มเอฟใหม่ ถ้าผมไม่เป็นนายกฯ ไม่จริงหรอกครับ ผมก็พูดไปอย่างนั้นเอง เป็นเรื่องของการหาเสียง จริงๆ แล้วผมรู้ว่า ประเทศเรามีคนเก่งหลายคนที่เป็นนายกฯ ได้ และนโยบายรัฐที่สำคัญๆ ก็ถูกตราขึ้นเป็นกฎหมายโดยผ่านความเห็นชอบของสภาแล้ว จะยกเลิกโดยพลการไม่ได้แน่นอนครับ แถมนโยบายบางอย่างก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำตามรัฐธรรมนูญ เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น ถ้าพูดในระดับหลักการก็เป็นสิ่งทีรัฐบาลทุกชุดต้องคิดอยู่แล้ว เพียงแต่รูปแบบอาจแตกต่างกันไป เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 กำหนดว่า “รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง” ฉะนั้นไม่ต้องเป็นห่วงครับ ว่า้ถ้าไทยรักไทยไม่ได้รับเลือกตั้งในสมัยหน้า รัฐบาลใหม่เขาจะยกเลิกนโยบายนี้ ทำไม่ได้ครับ เพียงแต่เขาต้องหาวิธีปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ โดยอาจใช้ชื่อนี้ต่อไป หรือเปลี่ยนชื่อ ปรับเปลี่ยนกระบวนการไปเป็นรูปแบบอื่น แต่ต้องทำตามรัฐธรรมนูญครับ

ดังนั้นถ้ารักผม กรุณาเข้าใจจุดนี้ และเป็นกำลังใจให้ผมผ่านกระบวนการตรวจสอบต่างๆ ไม่ว่าจะในสภา นอกสภา หรือในศาล โดยขอให้ทุกท่านใช้ปัญญา วิจารณญาณ ในการกลั่นกรองข้อมูลต่างๆ ที่ท่านได้รับ อย่าหวั่นไหวไปกับกระแสใดๆ ผมเชื่อมั่นว่า “คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้” ดังนั้นถ้าผมไม่ผิด ผมเชื่อมั่นว่าจะได้รับความไว้วางใจในการเลือกตั้งครั้งหน้า ให้กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง อย่างสง่างามแน่นอนครับ ขอบคุณครับ”

…เฮ้อ เสียดายที่เป็นแค่ความฝันเท่านั้นเอง…