_inwhale.jpg

หนังสือใหม่จาก สนพ.ชายขอบ ในงานมหกรรมหนังสือ ต.ค. นี้

แจ้งข่าวดีสำหรับมิตรรักนักกลอนค่ะ ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 5-16 ต.ค. นี้ ที่ศูนย์สิริกิติ์ สำนักพิมพ์ชายขอบจะมีหนังสือกลอนออกใหม่สองเล่ม คือ ในท้องปลาวาฬ โดย

[Fwd mail] โปรแกรมการตอบคำถามหุ่นยนต์นายกหญิงตัวแรกของโลก

เพื่อนส่งฟอร์เวิร์ดเมลมาให้ แบ่งปันความขำค่ะ ;D —- สวนดุสิตโพย ได้สำรวจโปรแกรมการตอบคำถามหุ่นยนต์นายกหญิงตัวแรกของโลก พบว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ได้ตอบคำถามตามโพยสำรวจดังนี้

board_game.jpg

บอร์ดเกมที่รัก กับคอลัมน์ “เล่นจนเป็นเรื่อง”

ผู้เขียนเป็นคนชอบเล่นเกมหลากหลายแนวตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่หมากฮอส หมากรุก (เล่นกับพ่อเป็นหลัก) โตมาหน่อยก็เล่นเกมไพ่สารพัดชนิด เกมคอมพิวเตอร์เกมแรกที่จำได้ว่าเล่นคือ Cosmic Crusader สี่สีสวยงามบนเครื่อง IBM XT ตั้งแต่ตัวกะเปี๊ยก พอไปเรียนต่อเมืองนอกก็ชอบเล่นเกม RPG เช่น Dungeons & Dragons ที่ต้องมีคนนำเกมเก่งๆ เล่นทีหมดเวลาเป็นวันๆ ชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์มากจนทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเกมชื่อ Home of the Underdogs (HOTU) ในปี 1998 สมัยเรียนโทอยู่ที่อเมริกา เน้นรีวิวเกมดีที่ขายไม่ค่อยดีและมีให้ดาวน์โหลดกว่า 5,000 เกม ก่อนที่จะปิดมันไปในปี 2008 เพราะเว็บโฮสล้มละลายและเจ้าของก็ไม่มีเวลาดูแลต่อตั้งแต่ผันตัวมาเป็นบล็อกเกอร์และนักเขียน (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บนี้ได้ที่เว็บ Review with Extreme Prejudice (ภาษาอังกฤษ เป็นบทสัมภาษณ์ที่ยาวมาก) และบนบล็อกนี้ (เขียนไว้นานแล้ว ภาษาอังกฤษอีกเหมือนกัน))

หลังจากที่ไม่ได้ทำ HOTU แล้ว ก็ไม่รู้สึกว่าอยากทำเว็บอะไรเกี่ยวกับเกมอีก แต่ยังเล่นเกมอย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่มีเวลาว่าง สามปีก่อนเคยเขียนคอลัมน์ชื่อ Serious Game เกี่ยวกับเกมคอมพิวเตอร์ที่ “สอน” ประเด็นสังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม ให้กับนิตยสาร ฟิ้ว แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้เขียนอีก …จนได้มารู้จักกับบอร์ดเกม (เกมกระดาน) สมัยใหม่ และตกหลุมรักเกมประเภทนี้อย่างจังราวต้นปี 2554 ที่ผ่านมานี่เอง 

วิธีการเสนองานเขียนหรืองานแปลให้ สนพ.

เนื่องจากทุกเดือนจะมีคนเขียนอีเมลมาถามว่า ถ้าอยากเขียน/แปลหนังสือต้องทำอย่างไร เลยถามพลอยแสง บ.ก.ผู้น่ารักว่ามีไหม คนที่เขียน FAQ เรื่องนี้ไปแล้ว เพราะมันน่าจะมีสิ ว่าแล้วพลอยก็จัดแจงถามพี่พจจี้ นักแปลผู้น่ารัก และพี่พจจี้ก็ไปขุดจากกรุกระทู้เก่าๆ ในพันทิปมาให้ เลยเอามาแปะในนี้เพื่อใช้เป็นลิงก์สำหรับทุกคนที่สนใจจะเขียนหรือแปลหนังสือ เพราะคนตั้งกระทู้นี้คือคุณไอซ์เรียบเรียงได้ชัดเจนดีทีเดียว ขอขอบคุณพลอย พี่พจจี้ และคุณไอซ์ ไว้ ณ ที่นี้ 😀

เราใช้ทวิตเตอร์กับเฟซบุ๊กแตกต่างกันอย่างไร?

ขออภัยทุกท่านที่ว่างเว้นจากเขียนบล็อกไปนาน เหตุเพราะ 1. งาน(เขียน,แปล,วิจัย,สอน,อื่นๆ)ยุ่งมาก 2. สิ่งที่อยากเขียนมักจะเป็นสิ่งที่ไประบายในคอลัมน์ประจำต่างๆ ได้อยู่แล้ว และ 3. เวลาที่เหลือก็เอาไปเล่นบอร์ดเกมเสียหมด

inequality1.png

ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา เวอร์ชัน epub + ข้อแนะนำ

หลังจากที่ใช้เวลานานนับเดือน ในที่สุด ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา เวอร์ชัน epub สำหรับอ่านบน iPhone, iPad, smart phone

slidecast เรื่องอินเทอร์เน็ต กิจการเพื่อสังคม การเงินที่ยั่งยืน และอำนาจเหนือตลาดของธุรกิจหลักทรัพย์

เอาสไลด์กับไฟล์เสียงบรรยายเก่าๆ (1-2 ปีที่ผ่านมา) อีก 4 เรื่องมาทำเป็น slidecast แล้ว ขอเชิญรับชม+ฟังได้ตามสบาย ที่จริงหัวข้อเหล่านี้ได้รับเชิญไปบรรยายอยู่เนืองๆ แต่ไม่ค่อยอยากไปบรรยายแล้วค่ะเพราะ 1) พูดไปเยอะแล้ว 2) ไม่มีเวลา และ 3) เขียนเป็นบทความและรวมเล่มเป็นหนังสือต่างๆ ไปมากกว่าพูด ดังนั้นถ้าใครอยากเชิญไปบรรยายในหัวข้อเหล่านี้ ขอเชิญเอา slidecast ไปฉายหรือเผยแพร่ในเว็บของท่านดีกว่า ฉายได้ตามสบายโดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะใช้ Creative Commons 🙂

1. อินเทอร์เน็ตในฐานะ “สื่อสังคม” และกลไกการกำกับดูแลกันเองของชุมชนเน็ต, 25 มกราคม 2552

2. กิจการเพื่อสังคม (social enterprise): เปิดโมเดลต้นแบบ SE โลก – SE ไทย, 20 ตุลาคม 2553

[UPDATE 11/6] ข้อคิดเห็นสั้นๆ เกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา 112

เมื่อเช้าต้องเข้ารายการ “เช้าทันโลก” FM96.5 เกี่ยวกับที่ไปลงนามในจดหมายเปิดผนึกร่วมกับเพื่อนนักเขียน เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่สัญญาณโทรศัพท์ห่วยมาก ขออภัยทุกท่านที่ฟัง FM96.5 ค่ะ

ข้อมูลสำหรับผู้สนใจ: ถาม-ตอบว่าด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ ข้ออ้างของฝ่ายที่สนับสนุนให้คงมาตรา 112 ไว้ดังเดิม

[UPDATE 11/6] ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรรายการ “ตอบโจทย์” ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์คุณอานันท์ ปันยารชุน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 คุณอานันท์ (ซึ่งคงไม่มีใครเข้าใจผิดว่าเป็นพวก “ล้มเจ้า”) อธิบายปัญหาของคนจำพวก “ultra royalist” และปัญหาของมาตรา 112 ค่อนข้างชัดเจน ขอเชิญรับชม และอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ หน้านี้ของโอเพ่นออนไลน์ 🙂

สรุปประเด็นสั้นๆ ที่ต้องการจะพูดแต่ไม่ได้พูดในรายการ “เช้าทันโลก” –

1) ข้อเท็จจริง ในเรื่องนี้มีคนรับรู้น้อยมาก เนื่องจากศาลพิจารณาคดีแบบปิดลับ ไม่เปิดเผยคำพิพากษา และสื่อไม่ทำข่าว : ระหว่างปี 2548-2552 มีคนโดนคดีหมิ่นฯ และคดีอยู่ในชั้นศาล (ชั้นต้นจนถึงฎีกา) ปีละกว่า 100 คน รวม 547 คน ศาลตัดสินไปแล้ว 247 คน อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนอีกเกือบพัน แต่สื่อไม่รายงานข่าว (ส่วนหนึ่งเพราะเคยมีสื่อรายงานแล้วถูกฟ้องไปด้วย แต่อีกส่วนคือเพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจแล้ว) คดีที่คนทั่วไปรับรู้ปัจจุบันมีแต่คดีที่ “คนดัง” ไม่กี่คนโดน เช่น ส.ศิวรักษ์ จตุพร พรหมพันธุ์ ดา ตอร์ปิโด เป็นต้น (ซึ่งสองกรณีหลังในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย)

ในเมื่อสังคมรู้เรื่องนี้น้อยมาก ทุกคดีก็สืบสวนและพิพากษาแบบปิดลับ สื่อก็ไม่รายงานข่าว สังคมจึงถกเถียงกันไม่ได้เลยว่าในจำนวนคนหนึ่งพันห้าร้อยกว่าคนที่ถูกฟ้อง (ปัจจุบันตัวเลขคงมากกว่านี้ไปแล้ว) นั้น “เข้าข่ายหมิ่นฯ จริง” กี่คน การบังคับใช้กฎหมายนี้มีปัญหามากขนาดไหน คดีบางคดีที่ผู้เขียนได้รับรู้จากการทำงานร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต ยืนยันได้ว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หลายกรณีวิจารณ์สถาบันด้วยซ้ำ ไม่ใช่ตัวบุคคล (พระมหากษัตริย์) จึงไม่น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่ปัญหาคือผู้ต้องหามีโอกาสที่จะชนะคดีน้อยมาก เพราะที่ผ่านมาแม้แต่การเขียนนิยายยังถูกฟ้องและศาลพิพากษาจำคุก (ถึงแม้นักเขียนชาวออสเตรเลียในคดีนี้จะได้รับพระราชทานอภัยโทษในภายหลัง (เหมือนกับชาวต่างชาติคนอื่นๆ) ก็ติดคุกไปหลายเดือน)

2) ปัญหาของ ตัวบท มีมากมาย: เช่น ความผิดฐาน “ดูหมิ่น” ไม่มีนิยามชัดเจน อนุญาตให้ใครก็ได้ฟ้องใครก็ได้ ไม่มี “ข้อยกเว้นความผิด” เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาท กล่าวคือ ผู้ที่แม้แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตใจ ไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ เพื่อไม่ต้องรับผิดได้ อีกทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้พิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนกล่าวนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อขอให้ยกเว้นโทษ

ทั้งหมดนี้ทำให้ที่ผ่านมาหลายกรณีคนฟ้อง(ซึ่งตำรวจรับฟ้องและทำคดี) ไม่แยกแยะระหว่าง “การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม” (ไม่ควรผิดกฎหมาย) “การวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิง” (ไม่ควรผิดกฎหมาย) และ “การหมิ่นประมาทหรืออาฆาตมาดร้าย” (ผิดกฎหมายแน่ๆ)

slidecast เรื่อง “ความมั่งคั่งในสังคมอุดมสุข” และ “ทุนนิยมที่มีหัวใจ”

ทำ slidecast (สไลด์ประกอบเสียงบรรยาย) สองชุดแรกในชีวิตเสร็จเมื่อคืนด้วยความภูมิใจ ไม่ยากเท่าที่คิด เลยเอามาแบ่งปันค่ะ รับชมและฟังจากบล็อกนี้ได้ตามสบาย ดูสไลด์ทั้งหมดได้ที่ หน้า Profile

faces.jpg

คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต

ในโอกาสครบรอบ 1 ปี การสลายการชุมนุมโหด 19 พฤษภาคม 2553 อยากบันทึกสั้นๆ ว่า “เราต้องไม่ลืม”