เหล่าบล็อกเกอร์เยือนเยอรมนี ตอนที่ 1
[กำลังทยอยเรียบเรียงบันทึกลงบล็อก ไม่แน่ใจว่าจะทำได้ทุกวันหรือเปล่าแต่จะพยายาม ถ้าทำไม่สำเร็จก็จะกลับไปทำต่อหลังจากที่กลับถึงเมืองไทย วันที่ 14 เม.ย. นี้ค่ะ :)]
Blogger Tour 2011
วันแรก: 5 เมษายน 2554
เวลา 17.30 น. เดินทางมาถึงเบอร์ลินโดยสวัสดิภาพ หลังจากที่นั่งแกร่วอยู่บนเครื่องบินถึง 11 ชั่วโมงครึ่ง (ที่จริงก็ไม่แกร่วเท่าไหร่ เพราะอ่านหนังสือที่สนุกมากจบไปหนึ่งเล่ม และเที่ยวบินนี้ก็ราบรื่นดี สายการบิน Air Berlin นี่ใช้ได้เลยทีเดียว เสียอย่างเดียวอาหารไม่อร่อย จุดนี้เหมือนกับ Lufthansa มาก) แต่ผู้เขียนไม่ใช่คนที่ใช้เวลาเดินทางนานที่สุด ตำแหน่งนั้นตกเป็นของ บังจูมุน จากเกาหลีใต้ ซึ่งคิดว่าเขาคงต้องบินมาไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง มีบล็อกเกอร์อีกคนหนึ่งบินมาจากเมืองกวางโจวในจีน ชื่อ เฉินเคอจุน (เธอบอกว่าให้เรียกชื่อย่อว่า “เคเจ” (Kejun) ดีกว่า เพราะเรียกยากและถ้าออกเสียงไม่ถูกมันจะแปลว่าอย่างอื่น) ใช้เวลาบินกว่า 15 ชั่วโมง แต่เธอมาถึงตั้งแต่เช้าแล้ว (เป็นคนแรกของกลุ่มที่มาถึง) ก็เลยมีเวลาออกไปเดินเล่นมาแล้วหนึ่งรอบ (แต่เคเจบอกว่ายังไม่ได้ไปไหนไกล ไปแค่ซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้โรงแรมเท่านั้น)
ทุกคนกว่าจะทยอยมาถึงก็เย็นย่ำค่ำมืด ผู้เขียนมาถึงเป็นคนรองสุดท้าย คืนนี้เจ้าภาพคือกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีเลยเลี้ยงต้อนรับในห้องอาหารของโรงแรม อาหารของโรงแรมนี้ถือว่าไม่เลว มีไก่อบกับข้าวอบชีส (เหมือนริซ็อตโตของอิตาลี) แล้วก็ crème brulee เป็นของหวาน โรงแรมที่เขาให้เราพักเป็นโรงแรมสี่ดาว ชื่อ NH Hotel Friedrichstrasse ห้องเตียงคู่ไม่คับแคบ แถมมีไวไฟฟรีด้วย (ที่จริงไม่ฟรีหรอก เขาคิด 10 ยูโรต่อ 24 ชั่วโมง แต่เจ้าภาพใจดีจ่ายให้ตลอดงานนี้) ที่จริงขอแค่มีไวไฟฟรี นักท่องเที่ยวคณะนี้ก็พอใจแล้ว 🙂
Q&A about my life as blogger (a.k.a. How Blogging Changed My Life)
[I’ve been sent a set of questions from a fan of this blog who wanted to write about it for his homework assignment. Since it took me some time to answer, and since my answers may be of interest to some people who follow this blog, I have asked and been given permission to post a full set of Q&A here. Thank you, Khun Apin, for your questions and allowing me to post my answers :)]
[เพิ่งเขียนตอบนักศึกษาไทยในอเมริกาท่านหนึ่งที่อยากทำรายงานเกี่ยวกับบล็อกนี้ ก็เลยเอามาแปะไว้ในนี้เผื่อใครจะสนใจค่ะ ยังไม่มีเวลาแปลเป็นภาษาไทย (การบ้านเขาเป็นภาษาอังกฤษ) – เอาไว้ว่างๆ จะแปลนะคะ หรือถ้าใครอยากแปลให้ก็จะยินดีอย่างยิ่ง ;)]
1. Personal background
Question: How would you describe your life journey until the day you start blogging? Please describe where you’re from, where you studied, and where you worked. Also, how have they shaped your life as a blogger.
Answer: My life journey had been fairly typical and predictable right up to the day I started blogging (and then it got less and less predictable thereafter, but also at the same time more and more exciting, so I can’t complain :)). I got a bachelor’s degree in economics from Harvard in 1996 and MBA in finance from New York University in 2000. I worked in banking (1996-1998) and finance (2000-2006) industries before starting my own blog at www.fringer.org in August 2005. At that time I was assistant VP of corporate strategy at SCB Securities, an investment bank in Thailand.
My interests in business and financial sector, as well as the interference of politics (and politicians) in them, explain why the content on my blog (and later on in my books and columns) has been heavily skewed toward those topics. Also, the fact that Thai journalists in general don’t know much about the intricacies of deals, and the “insiders” don’t want to divulge information that’s necessary for them to know, made blogging about these issues particularly attractive to me – I felt like I was writing about something that’s totally “new” to people outside the realm of finance.
My blog wasn’t so much a “getaway” from my full-time work, as it was a place to share my thoughts on work-related issues that I thought might be of public interest. (Also, trying to explain arcane subjects and technicalities (e.g. securities laws) in easily-understood terms for non-finance types was, and has since been, a fun challenge).
งานเปิดตัวหนังสือและเสวนา “ผู้หญิงกลิ้งโลก” 30 มี.ค.
ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเปิดตัวและเสวนา ผู้หญิงกลิ้งโลก พร้อมชม VTR เชอริล แซนด์เบิร์ก ซีโอโอ Facebook ที่จะมาสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงกลิ้งโลก กับประเด็นท้าทาย
รายชื่อหนังสือน่าซื้อ(บางเล่ม)ในงานสัปดาห์หนังสือ 2554 :)
งานสัปดาห์หนังสือ ปีนี้กำลังจะเริ่ม ปีก่อนๆ จะโพสรายชื่อหนังสือที่ซื้อมาหลังจากที่งานเลิกแล้ว หรือไม่ก็เริ่มไปครึ่งทาง แต่ปีนี้เนื่องจากคิดว่าจะได้หลายเล่มที่อยากอ่านมาฟรีๆ จากเพื่อนพ้องน้องพี่ในวงการผู้ใจดี(และยินดีแลกหนังสือกัน) ก็เลยคิดว่าเปลี่ยนเป็นแนะนำ “หนังสือใหม่เอี่ยมที่น่าซื้อ” ดีกว่า เพราะมีหลายเล่มที่น่าอ่าน(และคนเขียนกับ บ.ก. ก็พากันโพสปกในเฟซบุ๊กอย่างสนุกสนาน) 😀
งานสัปดาห์หนังสือปีนี้ผู้เขียนมีหนังสือใหม่ 4 เล่ม และมีงานเปิดตัวหนังสือวันที่ 27 และ 30 มี.ค. นะคะ รายละเอียดและคิวแจกลายเซ็นดูได้ที่ โพสก่อนหน้านี้ รายชื่อหนังสือทั้งหมดที่เขียนและแปลดูได้ที่ หน้า Writings
รายชื่อหนังสือแนะนำจะเรียงตามระดับผลประโยชน์ทับซ้อนก็แล้วกันนะคะ เริ่มจาก สนพ.โอเพ่นเวิร์ลด์ส์ ซึ่งผู้เขียนเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ต่อด้วยสำนักพิมพ์ของเพื่อนสนิท เพื่อนไม่สนิท ไปจนถึงนักเขียนเก่งที่ไม่ใช่เพื่อนแต่แอบปลื้มเขาหรือเธอ (ไม่ใช่ว่าถ้าเพื่อนเขียนหนังสือไม่ดีแล้วจะแนะนำนะ แนะนำเฉพาะนักเขียนเก่งที่ภูมิใจที่ได้เป็นเพื่อนหรือรู้จักกับเขา และเขียนแนวที่เราชอบอ่าน :))
คลิ้กที่รูปปกแต่ละเล่มเพื่อดูรูปขยายนะคะ หนังสือทุกเล่มซื้อได้ที่บูธของสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์ ยกเว้นบางเล่มที่ฝากบูธคนอื่นขาย จะเขียนกำกับว่าซื้อได้ที่บูธไหน
ระหว่างงานจะมาโพสแจ้งรายชื่อหนังสือนอกเหนือจากนี้ที่ซื้อในงาน โปรดติดตามตอนต่อไป 😛
1. ความรู้ฉบับพกพา: ทุนนิยม แปลจาก Very Short Introduction: Capitalism โดย James Fulcher แปลโดย ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย สนพ.โอเพ่นเวิร์ลด์ส์ ซื้อได้ที่บูธ สนพ.โอเพ่นบุ๊คส์
2. ความรู้ฉบับพกพา: ญี่ปุ่นสมัยใหม่ แปลจาก Very Short Introduction: Modern Japan โดย Christopher Goto-Jones แปลโดย พลอยแสง เอกญาติ สนพ.โอเพ่นเวิร์ลด์ส์ ซื้อได้ที่บูธ สนพ.โอเพ่นบุ๊คส์
3. OCTOBER 10: Justice หลายคนเขียน ปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการ สนพ.โอเพ่นบุ๊คส์ (เล่มนี้ผู้เขียนเขียนบทความเรื่อง “สถาบัน คน และผลประโยชน์ – ความยุติธรรมในมุมมองของ อมาตยา เซน”) ซื้อได้ที่บูธ สนพ.โอเพ่นบุ๊คส์
[ชุดที่ 2] TEDTalk บางเรื่องที่ชอบที่สุด + ซับไทย :)
หลังจากที่แปะลิงก์ TEDTalk ที่ทำซับไทยไปแล้วก่อนหน้านี้ และในโอกาสที่ช่วงนี้กำลังมีงาน TED2011 (ใครสนใจไปดูฟรีได้หนึ่งวันที่ TCDC เอ็มโพเรียม ตั้งแต่ 10.00 น. วันนี้ (3 มี.ค.)) ผู้เขียนก็เลยอยากแปะลิ้งก์ TEDTalk ที่ชอบมากอีกบางเรื่องที่แปลเสร็จแล้ว 🙂
(อยากไปดู TED Live ที่ TCDC เหมือนกัน แต่ต้องไปเป็นกรรมการตัดสินแผนธุรกิจเพื่อสังคม GSVC รอบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่โรงแรมแลนด์มาร์ค ใครสนใจธุรกิจเพื่อสังคมขอเชิญ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน TED ส่งลิงก์ดูการถ่ายทอดสดงาน TED2011 ทางเว็บ (webcast) ทั้ง 4 วัน มาให้ผู้เขียนฟรีๆ (มูลค่า $500) นัยว่าเป็นการขอบคุณที่ช่วยแปล TEDTalk มาแล้วหลายอัน ขอขอบคุณ TED ไว้ ณ ที่นี้ คืนนี้จะกลับมาดู ;))
คลิ้ก “View subtitles” ใต้วีดีโอแต่ละเรื่อง แล้วเลือก “Thai” ดูรายการ TEDTalk ทั้งหมดที่เจ้าของบล็อกแปลและรีวิวได้จาก หน้า Translator Profile
วันนี้คุณสมัครเป็น TED Translator แล้วหรือยัง 😉
1. เชอริล แซนด์เบิร์ก: สาเหตุที่เรามีผู้นำที่เป็นผู้หญิงน้อยเกินไป
2. แบร์รี ชวาร์ตซ์: ใช้ปัญญาปฏิบัติของเรา
3. เจสัน ฟรายด์ : เหตุผลที่งานไม่ออกในที่ทำงาน
คำคมในดวงใจ #1 + ขอเชิญร่วมงาน GSVC South East Asian Round
ยังยุ่งมาก ฝากสั้นๆ สองเรื่องค่ะ 1. หลายท่านที่ตามผู้เขียนทางทวิตเตอร์ และ/หรือทางเฟซบุ๊ก อยากได้ไฟล์ที่รวบรวมคำคม/คติพจน์/ประโยคที่ทวีตบ่อยๆ ก็เลยจะรวบรวมเป็น PDF และอัพให้ดาวน์โหลดจากบล็อกนี้รายสองเดือน
สังคม การเมือง และเศรษฐกิจไทยในอุดมคติของอาจารย์ป๋วย
คัดจาก เหลียวหลัง แลหน้า
โดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์, 2519
…ไม่น่าเชื่อว่าอาจารย์ป๋วยเขียนบทความนี้เมื่อ 35 ปีที่แล้ว 🙁
แลดูสังคมไทยและอนาคตของไทย
ผมได้เคยพูดเคยเขียนไว้ที่อื่นว่า สังคมที่พึงปรารถนานั้นจะต้องประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ คือ มีสมรรถภาพ มีเสรีภาพ มีความชอบธรรม และ มีความเมตตากรุณา สมควรที่จะนำมากล่าวโดยย่อที่นี้ และประยุกต์กับสภาวะปัจจุบันของไทยเพื่อเป็นการชี้ช่องทางว่า เพื่ออนาคต เราทุกคนควรร่วมมือร่วมใจกันทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งสังคมในอุดมคติ
ในสังคมที่มีสมรรถภาพนั้น ผู้ปกครองสังคมนั้นจะต้องใช้หลักวิชาดำเนินการของรัฐในทุกแง่ทุกมุม เพื่อให้สังคมนั้นดำเนินชีวิตไปโดยลงทุนน้อยที่สุด ได้ผลมากที่สุดตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาใด วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ การแพทย์อนามัย วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ทั้งมวล และมนุษย์ศาสตร์ทั้งมวล ในการนี้ไม่เฉพาะข้าราชการหรือนักการเมืองชั้นปกครองเท่านั้นที่จะต้องมีความรู้ความสามารถ แต่ประชาราษฎรทั้งหลายไม่ว่าต่ำหรือสูงก็ต้องมีการศึกษาพอสมควร เพื่อจะได้มีความรู้ความสามารถคิดแก้ปัญหาของตน รู้จักให้ความคิดชั่งใจได้ด้วยตนเอง ฉะนั้นการศึกษาและอนามัยของประชาราษฎรจึงมีความสำคัญอยู่มาก
สังคมจะมีสมรรถภาพได้ก็ต้องอาศัยไม่มีคมรั่วไหลและเหลวไหล ราษฎร พ่อค้า ข้าราชการเสียภาษีอากรกันเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่มีการรั่วไหล ข้าราชการไม่มีที่จะเบียดเบียนราษฎร ทำหน้าที่ตามกำลัง คือ ตำรวจก็จับผู้ร้าย ครูก็สอนนักเรียน นายอำเภอก็ดูแลทุกข์สุขของราษฎร เป็นขั้นๆ ไป เป็นต้น และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ไม่มีการทุจริตล้างผลาญเงินหลวง หรือข่มขู่เอาเงินสินบนรางวัลจากพ่อค้าพาณิชย์ ในเรื่องนี้ รัฐธรรมนูญปัจจุบันได้บัญญัติไว้ให้มีผู้ตรวจบัญชีของรัฐสภา ซึ่งจะช่วยให้ป้องกันปราบปรามความทุจริตของข้าราชการ แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล ไม่มีการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญกันนั้น มีผู้เสนอให้มีผู้ตรวจราชการของรัฐสภา เมื่อพิจารณากันก็ตกไป เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะถ้าหากมีผู้ตรวจบัญชีของรัฐสภาและผู้ตรวจราชการของรัฐสภาขึ้นจริงๆ ก็จะทำให้ความรั่วไหลและเหลวไหลที่มีอยู่ในวงราชการของไทยในปัจจุบันนี้ลดน้อยถอยลง ทำให้ประเทศไทยมีสมรรถภาพสูงขึ้น
แนะนำ serious game สนุก+ได้สาระ
ห่างหายจากบล็อกนี้ไปนาน ขออภัยทุกท่านค่ะ ที่หายไปเนื่องจากยุ่งหัวฟูมากจากงานเขียน งานแปล งานวิจัย และ “งานราษฏร์” หลายงานที่ไปช่วยเพราะเกรงใจ หรือเพราะอยากช่วยผลักดันให้มีกิจการและโครงการดีๆ เกิดขึ้นเยอะๆ
“คนชายขอบ” ขอสวัสดีปีใหม่ ขอบคุณหนอนชาวไทยทั่วทั้งผอง
ปี 2553 กำลังจะผ่านพ้นไป ขอมอบกลอนปีใหม่แด่นักอ่านและผู้อ่านบล็อกนี้ทุกท่านค่ะ ปีนี้เป็นปีที่ทำงานหนักอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ก็เป็นปีที่ “ได้งาน” และมีความสุขที่สุดด้วย ปีนี้ปีเดียวได้ออกหนังสือของตัวเอง 8
TEDTalk อีกบางเรื่องที่ชอบ + ซับไทย
แปล TEDTalk ที่ชอบมากเสร็จไปอีก 6 เรื่อง เลยเอามาแบ่งค่ะ บางเรื่องขึ้นบนเว็บ TED แล้ว บางเรื่องยังอยู่บน dotSUB เพราะยังไม่มีใครรีวิวให้
คลิ้ก “View subtitles” ใต้วีดีโอแต่ละเรื่อง แล้วเลือก “Thai” ดูรายการ TEDTalk ทั้งหมดที่เจ้าของบล็อกแปลและรีวิวได้จาก หน้า Translator Profile
เป็นวิธีคลายเครียดที่ดีจริงๆ 🙂
1. วิลเลียม แม็คดอโน พูดเรื่องการออกแบบ “จากอู่สู่อู่”
2. สตีเวน จอห์นสัน: ความคิดดีๆ มาจากไหน
3. แจ็กเกอลีน โนโวกราทซ์: ทางที่สามที่จะคิดเรื่องเงินช่วยเหลือ