คำนำ “กลอนสดกรุงแดงเดือด” (working title) โดย พระไพศาล วิสาโล

พระไพศาล วิสาโล กรุณาเขียนคำนำให้กับ “กลอนสดกรุงแดงเดือด” – หนังสือรวมเล่มกลอนสดที่เจ้าของบล็อกนี้แต่งโต้ตอบกับคุณสุรวิชช์ วีรวรรณ (อ่านออนไลน์และดาวน์โหลด PDF ได้จากหน้านี้ค่ะ ไม่แน่ใจว่าฉบับหนังสือจะใช้ชื่อนี้หรือเปล่า เลยห้อยวงเล็บ “working title” ท้ายชื่อไปก่อน) ผู้เขียนขอนำมาเผยแพร่ในบล็อกนี้ก่อนหนังสือเสร็จ เพราะคำนำของพระไพศาลหลายตอนเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและน่าจะช่วยเตือนสติทุกคนได้เป็นอย่างดีค่ะ

ตอนนี้หนังสืออยู่ระหว่างการใส่ภาพประกอบ เชิงอรรถ และลำดับเหตุการณ์ต่างๆ น่าจะเรียบร้อยภายในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ 🙂

คำนำ “กลอนสดกรุงแดงเดือด” (working title)

การชุมนุมกลางกรุงของกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งกินเวลานานกว่า ๒ เดือนนั้น ได้ก่อผลสะเทือนอย่างมากในสังคมไทย นอกจากจะเป็นการเผชิญหน้าระหว่างประชาชนเรือนหมื่นกับรัฐบาลจนนำไปสู่ความรุนแรงและสูญเสียอย่างมหาศาลแล้ว ยังก่อให้เกิดการปะทะทางความคิดอย่างรุนแรงจนกลายเป็นความแตกแยกในแทบทุกวงการ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

การเผชิญหน้าครั้งใหญ่ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลนั้นเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่เคยมีครั้งใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทยมากเท่าครั้งนี้ สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าในอดีตนั้นคู่กรณีสามารถแยกเป็น “ขาว” และ “ดำ” ได้อย่างชัดเจน ผู้คนจึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรสนับสนุนฝ่ายใดและต่อต้านฝ่ายใดไม่ว่ากรณี ๑๔ ตุลา หรือพฤษภา ๓๕ แต่กรณีคนเสื้อแดงกับรัฐบาล(และผู้ค้ำจุนของทั้งสองฝ่าย) หาเป็นเช่นนั้นไม่ ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย)มองเห็นชัดว่า ใครเป็น “ขาว” ใครเป็น “ดำ” คนอีกกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งมีจำนวนมากเช่นกัน) กลับเห็นตรงกันข้าม

การมองเห็นอย่างตรงข้ามเป็นคนละขั้วนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในความเป็นจริงคู่ขัดแย้งนั้นต่างเป็น “เทา” ทั้งคู่ หรือมีทั้ง “ขาว” และ “ดำ” ปะปนกันในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อผู้สนับสนุนของแต่ละฝ่ายเห็นแต่สีขาวของฝ่ายตน และเห็นแต่สีดำของฝ่ายตรงข้าม ทั้งสองฝ่ายจึงกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างฝ่ายต่างนำเอาข้อผิดพลาดของอีกฝ่ายมาโจมตี และแปลกใจระคนขุ่นเคืองใจที่เหตุใดผู้คนยังไปสนับสนุนฝ่ายตรงข้าม ในเมื่อพวกนั้นเป็น “มาร” มิใช่ “เทพ” (แม้ว่าในคติพุทธ มารก็คือเทพจำพวกหนึ่งนั่นเอง)

มุมมองเช่นนี้ทำให้ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องให้ผู้คนเลือกข้าง และต้องเลือกข้างเดียวกับตนเท่านั้น เพราะ “ถ้าไม่เป็นพวกเดียวกับฉัน ก็แสดงว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามฉัน” แต่ละฝ่ายไม่เพียงผลักคนที่มองต่างจากตนให้เป็นศัตรูเท่านั้น หากยังมีการตีตราปิดฉลากเพื่อให้อีกฝ่ายเป็นตัวเลวร้ายมากขึ้น ผลก็คือใครที่สนับสนุนเสื้อแดงคือพวกทักษิณ ขบวนการล้มเจ้า ฯลฯ ส่วนใครที่สนับสนุนรัฐบาลคือพวกอำมาตย์ สองมาตรฐาน ฯลฯ นอกจากมองคนละมุมแล้ว ต่างฝ่ายยังอ้างหลักการคนละชุด ใช้วาทกรรมคนละแบบ ฝ่ายหนึ่งอ้างความถูกต้อง อีกฝ่ายชูธงความเป็นธรรม จึงสื่อสารให้เข้าใจกันไม่ได้เลย

จรรยาบรรณของบล็อกเกอร์ในฐานะสื่อพลเมือง

[เขียนบทความนี้ให้กับวารสารของสภาการหนังสือพิมพ์ ได้รับอนุญาตให้นำมาขึ้นบล็อกได้ด้วยค่ะ]

จรรยาบรรณของบล็อกเกอร์ในฐานะสื่อพลเมือง

ปัจจุบันการเขียนบล็อก (ย่อมาจาก “เว็บล็อก” – weblog) ได้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันของนักท่องเน็ตนับร้อยล้านคนทั่วโลก (ตัวเลข ณ สิ้นปี 2009 ของเทคโนราติ (Technorati.com) บริษัทเก็บสถิติ อยู่ที่ 112 ล้านบล็อก) ผู้เชี่ยวชาญอินเทอร์เน็ตหลายคนบอกว่าบล็อก “ตกสมัย” ไปแล้วในยุคที่สื่อสังคมอย่างเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ครองใจคนทั่วโลก

แต่ในเมื่อบล็อกมีความเป็น “สาธารณะ” มากกว่าเฟซบุ๊คซึ่งจำกัดผู้อ่านเพียงกลุ่ม “เพื่อน” และยาวกว่าทวิตเตอร์ซึ่งจำกัดเนื้อที่เพียง 140 ตัวอักษรต่อครั้ง งานเขียนของบล็อกเกอร์จึงมีส่วนคล้ายกับงานของนักข่าวมืออาชีพ และด้วยเหตุนั้น หากคำว่า “จรรยาบรรณของบล็อกเกอร์” จะมีความหมาย มันก็ควรมีส่วนคล้ายกับจรรยาบรรณของสื่ออาชีพ มากกว่าจรรยาบรรณของคนที่เล่นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อบล็อกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่สื่ออาชีพ และคนอ่านบล็อกก็ไม่ได้คาดหวังให้เป็นอย่างนั้น (ไม่อย่างนั้นเขาคงไม่เข้ามาอ่านบล็อก และการเขียนบล็อกก็คงจะหมดสนุกและขาดเสน่ห์ถ้าบล็อกเกอร์พยายามทำตัวเป็นนักข่าวตลอดเวลา) จรรยาบรรณของบล็อกเกอร์จึงไม่ควรจะเท่ากับจรรยาบรรณของสื่ออาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีพื้นฐานเดียวกัน

ถ้าเปรียบกับพุทธศาสนา จรรยาบรรณของบล็อกเกอร์อาจเปรียบเสมือนศีล 5 ข้อของฆราวาส ไม่ใช่ 227 ข้อที่เคร่งครัดกว่าของพระภิกษุในฐานะนักปฏิบัติธรรม “มืออาชีพ”

บล็อกเกอร์ส่วนใหญ่เขียนบล็อกเป็นงานอดิเรกด้วยแรงจูงใจที่แตกต่างกัน บางคนเขียนเพื่อระบายอารมณ์หลังจากที่ทนเก็บกดในที่ทำงานมาทั้งวัน บางคนเขียนบันทึกประสบการณ์ประจำวันให้เพื่อนอ่านเหมือนไดอารี่ส่วนตัว บางคนเขียนเพราะอยากแบ่งปันข้อมูลข่าวสารหรือสาระที่คิดว่าน่าสนใจ บางคนเขียนเพราะอยากโฆษณาสินค้าหรือบริการของบริษัทนายจ้าง และบางคนก็เขียนด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ อยากเขียน

ไม่ว่าบล็อกเกอร์แต่ละคนจะเขียนบล็อกเพราะอะไร ความที่อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ “สื่อสารส่วนตัว” และ “สื่อสารมวลชน” ในเวลาเดียวกัน ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าอะไรที่เราเขียนบนอินเทอร์เน็ตมีสิทธิ์อยู่ไปชั่วนิรันดร์ (ถึงเราลบออกก็อาจช้ากว่าคนที่มาก๊อปปี้เนื้อหาไปส่งต่อแล้ว) ก็หมายความว่าบล็อกเกอร์ควรคำนึงถึงจรรยาบรรณบางข้อเวลาเขียน โดยเฉพาะถ้าเราอยากสร้าง “ความน่าเชื่อถือ” ในหมู่คนอ่าน

Cleansing the City of Angels

[Two days ago I wrote a short piece below for an Op-Ed page of a U.S. newspaper, but unfortunately they couldn’t use it due to the paper lacking enough space for it still be news. So I decided to put it up on my blog.]

Cleansing the City of Angels

Cleaners outside Wat Patum

On a clear Sunday afternoon of 23 May 2010, four days after the anti-government rally of United Front for Democracy against Dictatorship (UDD, nicknamed “red-shirts” for the color they chose) was dramatically dispersed by the Thai Army, I went downtown to central Bangkok to witness the “Big Cleaning Day” event hosted by the Bangkok Metropolitan Administration.

At least 1,000 volunteers showed up to help clean the streets of grime, debris, and political graffiti left behind by the thousands of protesters who turned the typically busy Ratchaprasong (literally “royal intent”) intersection into a makeshift rebel camp. Municipal water trucks slowly moved down the streets, pumping water from hoses for volunteer cleaners who scrubbed and swept the streets with passion and solidarity. The smell of detergent in the air mixed uneasily with the lingering odor of charred wreckage of Central World, one of Thailand’s glitziest shopping malls. Hundreds of people came to take photos of and with this instant ‘tourist attraction,’ including foreigners and whole families.

I counted no less than 10 pick-up trucks that slowly drove through the crowd, people in the back freely handing out bottles of water, soda, and face masks to volunteers. A couple offered me a tray full of bags of guava slices, neatly bundled with chili and sugar dip the way we like to eat it. “Take one,” they insisted, and flashed me a smile. Right then, I felt so good that, had I turn around and gone home, I might feel reassured that this political crisis is a thing of the past, swept away like grime on the streets.

If only it were that simple.

การพูดว่า “จงออกไปจากที่นี่” จะไม่ช่วยแก้ปัญหาให้เราเลย

[ดาวน์โหลดเวอร์ชั่น PDF ของบทความแปลด้านล่างนี้ได้ที่นี่ค่ะ]

การพูดว่า “จงออกไปจากที่นี่” จะไม่ช่วยแก้ปัญหาให้เราเลย
แปลจาก Saying ‘good riddance’ is no answer to our problems โดย สนิทสุดา เอกชัย, แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล

ถ้าคุณอยู่ในเครือข่ายของคนไทยบนเฟซบุ๊ค คุณก็คงจะได้เห็นคลิปวีดีโอที่มีการส่งต่อกันมากที่สุดในสัปดาห์นี้ – บทสุนทรพจน์อันกินใจของนักร้อง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ที่แสดงความรักอย่างหวงแหนและลึกล้ำของเขาที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บทสุนทรพจน์ดังกล่าวกลายเป็นปรากฏการณ์ยอดนิยมในทันที กลายเป็นสิ่งที่ส่งต่อกันบนเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เผยแพร่ซ้ำบนโทรทัศน์ และรายงานในหน้าหนังสือพิมพ์ในประเทศแทบทุกฉบับ กว่าคุณพงษ์พัฒน์จะกล่าวคำรับรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงชายสมทบยอดเยี่ยมจบ ผู้ชมทั้งห้องก็เต็มไปด้วยน้ำตา ขณะที่ผู้ชมยืนขึ้นปรบมือให้กับคุณพงษ์พัฒน์ ในคืนเดียวกันนั้นเองกรุงเทพฯ ก็ถูกเผาในการจลาจลทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่เราจำความได้

ในสุนทรพจน์ คุณพงษ์พัฒน์เปรียบเปรยว่าประเทศไทยเปรียบเสมือนบ้าน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปรียบเสมือนพ่อผู้เจริญรอยตามบรรพบุรุษของท่าน เสียสละให้กับบ้านเมืองด้วยการทุ่มเททำงานเพื่อทุกคนในบ้านอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย

“ถ้ามีใครสักคนโกรธใครมาก็ไม่รู้ ไม่ได้ดั่งใจเรื่องอะไรมาก็ไม่รู้ แล้วก็พาลมาลงที่พ่อ เกลียดพ่อ ด่าพ่อ คิดจะไล่พ่อออกจากบ้าน ผมจะเดินไปบอกกับคนคนนั้นว่า ‘ถ้าเกลียดพ่อ ไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ เพราะที่นี่คือแผ่นดินของพ่อ’”

“ผมรักในหลวงครับ” เขาประกาศท่ามกลางเสียงปรบมือดังกระหึ่ม “และผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในที่นี้รักในหลวงเหมือนกัน พวกเราสีเดียวกันครับ ศีรษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน!” ฉันขอสารภาพว่า สิ่งที่เขาพูดนั้นทำให้ฉันน้ำตาคลอเหมือนกัน

ฉันมีคำสารภาพอีกเรื่องหนึ่ง ถึงแม้ว่าฉันจะคับแค้นใจเหมือนกับคุณพงษ์พัฒน์ที่ในหลวงทรงถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมจากข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง รวมทั้งการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและถ้อยคำที่มีแต่ความเกลียดชัง ฉันก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีแก้ปัญหาแบบ “จงออกไปจากที่นี่” ของเขาซึ่งดูเหมือนว่าจะโดนใจผู้คนจำนวนมาก

วิธีแก้ปัญหาของคุณพงษ์พัฒน์คือความเชื่อที่ว่า ถ้าเราไม่ชอบอะไร วิธีแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ก็คือกำจัดมันไปซะ ความคิดแบบนี้คือรากฐานของการเมืองที่ขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรง การเมืองที่กำลังทำลายประเทศของเราอยู่ในขณะนี้

[UPDATE 15/6] มองนานาทัศนะต่อวิกฤตการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค Profile Pictures

[UPDATE 15/6: อัพเดทสไลด์ถึงสถานการณ์ 1 เดือนหลังการสลายการชุมนุม] ไปนำเสนอสไลด์สั้นๆ ในวงคุยที่กรุงเทพธุรกิจ เรื่อง “สื่อสารอย่างไรไม่พาสังคมวิกฤต” เกี่ยวกับ

[UPDATE 24/5] เมษาเลือดโหยไห้ใช่ความฝัน จะถอยกันคนละก้าวมิได้หรือ…

[UPDATE 24/5]: ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการรวมเล่มกลอนสดชุดนี้ พร้อมภาพประกอบ เชิงอรรถขยายความ ลำดับเหตุการณ์ และบทสรุปสุดท้ายหลังการสลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค. 2553 รอติดตามจาก สนพ. ชายขอบ ไม่นานเกินรอค่ะ ระหว่างนี้ดาวน์โหลดกลอนสดทั้งชุดได้ที่นี่ [PDF, 100 หน้า]

[UPDATE 22/4]: เพื่ออรรถรสในการอ่านและไม่ให้ขาดตอน จะอัพเดทโพสนี้ไปเรื่อยๆ ด้วยกลอนท่อนล่าสุดที่แต่งตอบกันในช่องคอมเม้นท์ของหน้านี้ค่ะ เมื่ออัพเดทเสร็จก็จะไปลบโพสในคอมเม้นท์ เพื่อให้คอมเม้นท์เป็นช่องสำหรับการแสดงข้อคิดเห็นจริงๆ ของผู้ที่แวะมาอ่าน 🙂

20/4: วันนี้แต่งกลอนในทวิตเตอร์ ฟีดไปโพสที่เฟซบุ๊ค คุณสุรวิชช์ วีรวรรณ คอลัมนิสต์และนักเขียนชื่อดังให้เกียรติมาต่อกลอน ต่อกันไปมาจนชักจะจริงจังขึ้นเรื่อยๆ เลยย้ายมาแปะในโพสนี้ เพื่อต่อกลอนกันต่อ 🙂

บทที่ผู้เขียนแต่งแสดงด้วยตัวปกติ บทที่คุณสุรวิชช์แต่งตอบแสดงด้วยตัวหนา

20 เม.ย. 53 17.26 น.

เมษาเลือดโหยไห้ใช่ความฝัน
จะถอยกันคนละก้าวมิได้หรือ
ท่านนายกฯ ก็ลาออกให้โลกลือ
แกนนำแดงก็เลิกดื้อเลิกป่วนกรุง

20 เม.ย. 53 17.58 น.

เหมือนวจีไพเราะเสนาะหู
คำพรั่งพรูคนละก้าวที่หมายมุ่ง
ฟังดูดีมีคุณธรรมย้ำจรุง
แต่ปรุงแต่งแผลงเร้นดูเช่นไร

เหมือนโจรขึ้นบ้านยามดึกดื่น
ก็ลุกตื่นเต้นเข่นขับไล่
โจรก็เรียกพวกมาตวาดไป
ให้เลิกราสาไถยไปคนละทาง

20 เม.ย. 53 18.01 น.

ม็อบมิได้มีแต่โจรนะพี่เอ๋ย
มีชาวบ้านคนคุ้นเคยถูกขัดขวาง
ผู้บริสุทธิ์สิ้นชีพตามรายทาง
รัฐจะอ้างว่าไม่เกี่ยวได้ฉันใด

20 เม.ย. 53 18.18 น.

มีมวลชนโดนลูกหลงโจรปล้นบ้าน
น่าสงสารแน่แท้ต้องแก้ไข
แต่ปล่อยให้โจรหลีกลี้แล้วหนีไกล
มาแจ้งให้เขารื้อบ้านพาลชอบกล

20 เม.ย. 53 18.47 น.

ไม่ควรปล่อยให้โจรนั้นลอยนวล
ต้องชักชวนให้มอบตัวทั่วทุกหน
แต่ถ้ารัฐไม่ยอมถอยไปด้วยคน
โจรไม่สนเป็นแน่แก้ยังไง

ถ้าทุกคนเห็นพ้องกัน “นั่นคือโจร”
ใครผาดโผนปราบโจรจริงย่อมยิ่งใหญ่
แต่หากโจรคือฮีโร่ในดวงใจ
ของคนไทยที่เดือดร้อน-ต้องผ่อนปรน

คลุมพานเหลืองด้วยผ้าแดง…

บ่ายวันนี้ต่อกลอนเล่นๆ กับเบิร์ด (ณัฐเมธี สัยเวช) เพื่อนรุ่นน้องในอัลบั้มรูปของเบิร์ดบนเฟซบุ๊คที่ถ่ายอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ลอกมาแปะบนบล็อกนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ค่ะ ปรับปรุงบทที่ตัวเองแต่งจากต้นฉบับเล็กน้อย ถ้าใครอยากต่อกลอนกันก็เชิญตามสะดวกข้างท้ายโพสนี้

สุขสันต์วันสงกรานต์สำหรับทุกท่านที่อ่านบล็อกนี้ด้วยค่ะ ที่จริงบรรยากาศช่วงนี้อาจจะ “สุขสันต์” ยาก ครั้นจะอวยพรว่า “ตั้งสติสงกรานต์” ก็ดูจะหดหู่ไปหน่อย…

ตัวอักษรตัวเอนคือกลอนบทที่เบิร์ดแต่ง ตัวปกติคือบทที่เจ้าของบล็อกแต่งตอบนะคะ

คลุมพานเหลืองด้วยผ้าแดง
เครดิตภาพ: ณัฐเมธี สัยเวช

คลุมพานเหลืองด้วยผ้าแดง
ประกาศแจ้ง…ให้รับรู้
บ้านเมืองนี้ ใช่เพียงมึง แต่มีกู
ผู้คล้ายอยู่ เยี่ยงฝุ่นไคล ใต้ฝ่าตีน

ก่อนเคยเหลืองกลับแดงก็แจ้งอยู่
แต่ไม่รู้นับจากนี้เป็นสีไหน
ตาต่อตา-ฟันต่อฟันกันร่ำไป
ประชาธิปไตยที่ไหนมีเพียงสีเดียว?

หนังสือจากงานหนังสือ ล็อตสุดท้าย(มั๊ง) + 10 เล่มที่อยากแนะนำ

เมื่อวานไปงานหนังสือมาเป็นรอบที่สาม ได้หนังสือมาอีกตามระเบียบ (ดูรูปหนังสือที่ได้จากสองรอบแรกได้ที่นี่) พรุ่งนี้ (วันสุดท้าย) จะไปงานอีกทีแต่ตั้งใจว่าจะไม่ซื้ออะไรแล้วยกเว้น Pluto เล่ม 8 จากบูธเนชั่น

หนังสือที่ได้จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38 :)

ได้เวลาอวดหนังสืออีกแล้ว ปีนี้ไม่รู้สึกว่าประจานตัวเองเท่าไหร่ เพราะซื้อหนังสือน้อยมากเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ดูจากรูปได้เลยนะคะว่าได้อะไรมาบ้าง (คลิ้กที่รูปเพื่อขยาย) ขอขอบคุณมิตรสหายในวงการนักเขียน/บ.ก./สำนักพิมพ์ ที่ให้หนังสือดีมาหลายเล่ม 😀 วันอาทิตย์ที่ 4

บูธที่ขายหนังสือของสำนักพิมพ์ชายขอบในงานสัปดาห์หนังสือ

แวะมารายงานความคืบหน้าของสำนักพิมพ์ชายขอบ สำนักพิมพ์เล็กๆ ของตัวเองที่จะตีพิมพ์แต่บทกวีค่ะ 🙂 รายละเอียดหนังสือใหม่และเก่าทุกเล่มจะอยู่บนเว็บไซต์สำนักพิมพ์ ซึ่งน่าจะเปิดตัวได้ประมาณเดือนหน้า วันนี้มาแจ้งข่าวคราวเฉพาะหน้าก่อน ว่าจะหาซื้อหนังสือของสำนักพิมพ์เราได้ที่บูธไหนบ้างในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38