Category: Uncategorized
เราใช้ทวิตเตอร์กับเฟซบุ๊กแตกต่างกันอย่างไร?
ขออภัยทุกท่านที่ว่างเว้นจากเขียนบล็อกไปนาน เหตุเพราะ 1. งาน(เขียน,แปล,วิจัย,สอน,อื่นๆ)ยุ่งมาก 2. สิ่งที่อยากเขียนมักจะเป็นสิ่งที่ไประบายในคอลัมน์ประจำต่างๆ ได้อยู่แล้ว และ 3. เวลาที่เหลือก็เอาไปเล่นบอร์ดเกมเสียหมด
ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา เวอร์ชัน epub + ข้อแนะนำ
หลังจากที่ใช้เวลานานนับเดือน ในที่สุด ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา เวอร์ชัน epub สำหรับอ่านบน iPhone, iPad, smart phone
slidecast เรื่องอินเทอร์เน็ต กิจการเพื่อสังคม การเงินที่ยั่งยืน และอำนาจเหนือตลาดของธุรกิจหลักทรัพย์
เอาสไลด์กับไฟล์เสียงบรรยายเก่าๆ (1-2 ปีที่ผ่านมา) อีก 4 เรื่องมาทำเป็น slidecast แล้ว ขอเชิญรับชม+ฟังได้ตามสบาย ที่จริงหัวข้อเหล่านี้ได้รับเชิญไปบรรยายอยู่เนืองๆ แต่ไม่ค่อยอยากไปบรรยายแล้วค่ะเพราะ 1) พูดไปเยอะแล้ว 2) ไม่มีเวลา และ 3) เขียนเป็นบทความและรวมเล่มเป็นหนังสือต่างๆ ไปมากกว่าพูด ดังนั้นถ้าใครอยากเชิญไปบรรยายในหัวข้อเหล่านี้ ขอเชิญเอา slidecast ไปฉายหรือเผยแพร่ในเว็บของท่านดีกว่า ฉายได้ตามสบายโดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะใช้ Creative Commons
1. อินเทอร์เน็ตในฐานะ “สื่อสังคม” และกลไกการกำกับดูแลกันเองของชุมชนเน็ต, 25 มกราคม 2552
2. กิจการเพื่อสังคม (social enterprise): เปิดโมเดลต้นแบบ SE โลก – SE ไทย, 20 ตุลาคม 2553
[UPDATE 11/6] ข้อคิดเห็นสั้นๆ เกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา 112
เมื่อเช้าต้องเข้ารายการ “เช้าทันโลก” FM96.5 เกี่ยวกับที่ไปลงนามในจดหมายเปิดผนึกร่วมกับเพื่อนนักเขียน เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่สัญญาณโทรศัพท์ห่วยมาก ขออภัยทุกท่านที่ฟัง FM96.5 ค่ะ
ข้อมูลสำหรับผู้สนใจ: ถาม-ตอบว่าด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ ข้ออ้างของฝ่ายที่สนับสนุนให้คงมาตรา 112 ไว้ดังเดิม
[UPDATE 11/6] ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรรายการ “ตอบโจทย์” ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์คุณอานันท์ ปันยารชุน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 คุณอานันท์ (ซึ่งคงไม่มีใครเข้าใจผิดว่าเป็นพวก “ล้มเจ้า”) อธิบายปัญหาของคนจำพวก “ultra royalist” และปัญหาของมาตรา 112 ค่อนข้างชัดเจน ขอเชิญรับชม และอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ หน้านี้ของโอเพ่นออนไลน์
สรุปประเด็นสั้นๆ ที่ต้องการจะพูดแต่ไม่ได้พูดในรายการ “เช้าทันโลก” –
1) ข้อเท็จจริง ในเรื่องนี้มีคนรับรู้น้อยมาก เนื่องจากศาลพิจารณาคดีแบบปิดลับ ไม่เปิดเผยคำพิพากษา และสื่อไม่ทำข่าว : ระหว่างปี 2548-2552 มีคนโดนคดีหมิ่นฯ และคดีอยู่ในชั้นศาล (ชั้นต้นจนถึงฎีกา) ปีละกว่า 100 คน รวม 547 คน ศาลตัดสินไปแล้ว 247 คน อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนอีกเกือบพัน แต่สื่อไม่รายงานข่าว (ส่วนหนึ่งเพราะเคยมีสื่อรายงานแล้วถูกฟ้องไปด้วย แต่อีกส่วนคือเพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจแล้ว) คดีที่คนทั่วไปรับรู้ปัจจุบันมีแต่คดีที่ “คนดัง” ไม่กี่คนโดน เช่น ส.ศิวรักษ์ จตุพร พรหมพันธุ์ ดา ตอร์ปิโด เป็นต้น (ซึ่งสองกรณีหลังในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย)
ในเมื่อสังคมรู้เรื่องนี้น้อยมาก ทุกคดีก็สืบสวนและพิพากษาแบบปิดลับ สื่อก็ไม่รายงานข่าว สังคมจึงถกเถียงกันไม่ได้เลยว่าในจำนวนคนหนึ่งพันห้าร้อยกว่าคนที่ถูกฟ้อง (ปัจจุบันตัวเลขคงมากกว่านี้ไปแล้ว) นั้น “เข้าข่ายหมิ่นฯ จริง” กี่คน การบังคับใช้กฎหมายนี้มีปัญหามากขนาดไหน คดีบางคดีที่ผู้เขียนได้รับรู้จากการทำงานร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต ยืนยันได้ว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หลายกรณีวิจารณ์สถาบันด้วยซ้ำ ไม่ใช่ตัวบุคคล (พระมหากษัตริย์) จึงไม่น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่ปัญหาคือผู้ต้องหามีโอกาสที่จะชนะคดีน้อยมาก เพราะที่ผ่านมาแม้แต่การเขียนนิยายยังถูกฟ้องและศาลพิพากษาจำคุก (ถึงแม้นักเขียนชาวออสเตรเลียในคดีนี้จะได้รับพระราชทานอภัยโทษในภายหลัง (เหมือนกับชาวต่างชาติคนอื่นๆ) ก็ติดคุกไปหลายเดือน)
2) ปัญหาของ ตัวบท มีมากมาย: เช่น ความผิดฐาน “ดูหมิ่น” ไม่มีนิยามชัดเจน อนุญาตให้ใครก็ได้ฟ้องใครก็ได้ ไม่มี “ข้อยกเว้นความผิด” เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาท กล่าวคือ ผู้ที่แม้แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตใจ ไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ เพื่อไม่ต้องรับผิดได้ อีกทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้พิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนกล่าวนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อขอให้ยกเว้นโทษ
ทั้งหมดนี้ทำให้ที่ผ่านมาหลายกรณีคนฟ้อง(ซึ่งตำรวจรับฟ้องและทำคดี) ไม่แยกแยะระหว่าง “การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม” (ไม่ควรผิดกฎหมาย) “การวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิง” (ไม่ควรผิดกฎหมาย) และ “การหมิ่นประมาทหรืออาฆาตมาดร้าย” (ผิดกฎหมายแน่ๆ)
slidecast เรื่อง “ความมั่งคั่งในสังคมอุดมสุข” และ “ทุนนิยมที่มีหัวใจ”
ทำ slidecast (สไลด์ประกอบเสียงบรรยาย) สองชุดแรกในชีวิตเสร็จเมื่อคืนด้วยความภูมิใจ ไม่ยากเท่าที่คิด เลยเอามาแบ่งปันค่ะ รับชมและฟังจากบล็อกนี้ได้ตามสบาย ดูสไลด์ทั้งหมดได้ที่ หน้า Profile
คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต
ในโอกาสครบรอบ 1 ปี การสลายการชุมนุมโหด 19 พฤษภาคม 2553 อยากบันทึกสั้นๆ ว่า “เราต้องไม่ลืม”
แนวปฏิบัติของเฟซบุ๊กเรื่องโปรโมชั่น – คำแปลและคำอธิบาย
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการและบริษัทไทยแห่กันใช้เฟซบุ๊กทำโปรโมชั่นมากมาย หลายอันสร้างเงื่อนไขให้คนทำกิจกรรมต่างๆ บนเฟซบุ๊กโดยใช้ฟังก์ชั่นของเฟซบุ๊ก เช่น ให้อัพโหลดรูปหรือโพสบน Wall บริษัท เรื่องทำนองนี้ผู้ใช้เน็ตไทยอาจยังไม่รวมกลุ่มกันแสดงความรำคาญเป็นกิจลักษณะ แต่ผู้ใช้เน็ตต่างประเทศจำนวนมหาศาลร้องเรียนและกดดันเฟซบุ๊กให้จัดการกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง (เฟซบุ๊กเองก็ไม่เคยได้ชื่อว่าเคารพในข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้สักเท่าไรนัก) ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 54 เฟซบุ๊กอัพเดท แนวปฏิบัติเรื่องโปรโมชั่น ออกมา เลยอยากแปลแปะไว้ในบล็อกนี้ พร้อม คำอธิบายจาก TheBlueDoor blog เพราะนักการตลาดหลายท่านกำลังละเมิดแนวปฏิบัติเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว ขอเชิญชวนให้ทุกท่านแจ้งบริษัทที่ทำโปรโมชั่นถ้าหากพบว่ารายใดละเมิดแนวปฏิบัติข้างล่างนี้ ถ้านานวันเข้าบริษัทไม่แก้ไข ก็สามารถไปร้องเรียนเฟซบุ๊กได้
ถ้ามีเวลา จะแปลแนวปฏิบัติเรื่องการโฆษณาในโอกาสต่อไป
UPDATE 15/5/54: สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมและตัวอย่างโปรโมชั่นที่ทำได้ อ่านได้ในบทความทำความเข้าใจกับโปรโมชั่นบน Facebook แบบไม่ผิดกฏกันเถอะ บน thumbsup
UPDATE 17/5/54: ถ้ายังไม่แน่ใจ ดูตัวอย่างแคมเปญที่ทำได้และไม่ได้ ชัดๆ บน Faceblog.in.th
แนวปฏิบัติเรื่องโปรโมชั่น
แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมคำอธิบายจาก TheBlueDoor blog ในวงเล็บ
แนวปฏิบัตินี้ รวมถึง ประกาศเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของเฟซบุ๊ก, แนวปฏิบัติเรื่องโฆษณา, นโยบายว่าด้วยการเขียนแอพพลิเคชั่น และนโยบายอื่นๆ ของเฟซบุ๊ก ครอบคลุมการสื่อสารของคุณเกี่ยวกับการจัดการประกวด (contest), การแข่งขัน (competition), การจับรางวัล (sweepstakes) หรือข้อเสนออื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน (“โปรโมชั่น”) บนเฟซบุ๊ก
ถ้าคุณใช้เฟซบุ๊กสื่อสารหรือจัดโปรโมชั่น คุณมีความรับผิดชอบที่จะจัดการโปรโมชั่นดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฏหมาย รวมถึงกฏกติกา เงื่อนไขข้อเสนอ และคุณสมบัติของผู้เข้าร่วม (เช่น ข้อกำหนดเรื่องอายุและภูมิลำเนา) และจะต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโปรโมชั่นและของรางวัล (เช่น เงื่อนไขการรับสมัคร และการได้รับอนุญาตจากทางการถ้าจำเป็น) โปรดตระหนักว่าลำพังการทำตามแนวปฏิบัตินี้มิได้แปลว่าโปรโมชั่นของคุณถูกต้องตามกฏหมาย โปรโมชั่นอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์จำนวนมาก และถ้าหากคุณไม่มั่นใจว่าโปรโมชั่นของคุณถูกต้องตามกฎหมายใดหรือไม่ กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
1. โปรโมชั่นบนเฟซบุ๊กจะต้องกระทำผ่านแอพพลิเคชั่นบนเว็บไซต์ Facebook.com – บนหน้า Canvas Page หรือแอพพลิเคชั่นบนแท็บ Page เท่านั้น (แปลว่าไม่ให้จัดโปรโมชั่นใดๆ นอกเหนือจากผ่านแอพพลิเคชั่น เช่น จัดบนหน้า Wall ของเฟซบุ๊กตรงๆ ไม่ได้)
2. โปรโมชั่นบนเฟซบุ๊กจะต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
a. ข้อความยกเว้นความรับผิดชอบให้กับเฟซบุ๊กโดยผู้สมัครหรือผู้เข้าร่วมแต่ละคน (ผู้เข้าร่วมต้องติ๊กกล่องที่บอกว่า “เข้าใจดีว่าเฟซบุ๊กไม่ได้ร่วมจัดโปรโมชั่นนี้” หรือแสดงประโยคนี้อย่างชัดเจนในหน้า “เงื่อนไขและข้อกำหนด” ที่คนต้องติ๊ก “รับทราบและยินยอม” ก่อนส่งใบสมัคร)
b. ข้อความที่ระบุว่าโปรโมชั่นดังกล่าวไม่ได้รับการอุดหนุน ส่งเสริม จัดการ หรือเกี่ยวข้องใดๆ กับเฟซบุ๊ก (ให้บอกว่าเฟซบุ๊กไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับโปรโมชั่นของคุณ)
c. ข้อความที่ระบุว่าผู้เข้าร่วมโปรโมชั่นกำลังส่งข้อมูลให้กับ [ระบุชื่อผู้รับข้อมูล] ไม่ใช่เฟซบุ๊ก (ให้บอกอย่างชัดเจนว่าคุณรับข้อมูลส่วนตัวจากผู้เข้าร่วมโดยตรง เฟซบุ๊กไม่รู้เรื่องด้วย)
[UPDATE 5/7] PDF “ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา” และหนังสือแจกฟรีอื่นๆ
ในที่สุด “ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา” ที่เขียนให้กับสำนักงานปฏิรูปและแจกฉบับพิมพ์ในงานสมัชชาปฏิรูปไปแล้วก็ได้ฤกษ์คลอดเวอร์ชัน e-book (เสียที) ดาวน์โหลดได้ด้วยการคลิ้กปกหนังสือด้านล่างเลยค่ะ (PDF + ePub, 2.9
เหล่าบล็อกเกอร์เยือนเยอรมนี ตอนที่ 9 (จบ)
[อ่าน ตอนที่หนึ่ง ตอนที่สอง ตอนที่สาม ตอนที่สี่ ตอนที่ห้า ตอนที่หก ตอนที่เจ็ด ตอนที่แปด และดูรูปทั้งหมดที่ถ่ายได้ที่ Flickr set หน้านี้]
Blogger Tour 2011
วันที่แปด: 12 เมษายน 2554
เช้านี้ขึ้นรถไฟจากแฮมบูร์กกลับไปที่เบอร์ลิน ท่ามกลางฝนพรำและอากาศที่หนาวกว่าเมื่อวานมาก นึกในใจว่าโชคดีจริงที่เพิ่งมาฝนตกวันที่เราจะกลับ ถ้าฝนตกเมื่อวานตอนที่เราทัวร์ท่าเรือแฮมบูร์กคงดูไม่จืด
สถานีรถไฟแฮมบูร์กสวยดี ดูไปดูมาข้างในหน้าตาคล้ายกับหัวลำโพง เพียงแต่รถไฟดูล้ำยุคกว่ารถไฟไทยประมาณสองปีแสง
ภายในสถานีรถไฟแฮมบูร์ก
วันนี้ลิซ่าดูอารมณ์ดีมาก คงเป็นเพราะทุกอย่างเป็นไปตามแผน(อันเที่ยงตรงตามแบบฉบับเยอรมัน)เป๊ะ เริ่มตั้งแต่เราไปรอรถไฟก่อนเวลา ไปรอถูกชานชาลา ได้รถไฟขบวนใหม่เอี่ยมที่ลิซ่าบอกว่าเราควรจะได้นั่งตั้งแต่ตอนขามา และตู้รถไฟที่เรามีตั๋วที่นั่งก็มาหยุดอยู่ตรงหน้าเราพอดิบพอดี เรื่องนี้น่าจะนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกได้ เห็นจะมีแต่เยอรมนีกับญี่ปุ่นเท่านั้นที่บ้านเมืองเดินอย่างเป็นระบบขนาดนี้
เหล่าบล็อกเกอร์เยือนเยอรมนี ตอนที่ 8
[อ่าน ตอนที่หนึ่ง ตอนที่สอง ตอนที่สาม ตอนที่สี่ ตอนที่ห้า ตอนที่หก ตอนที่เจ็ด และดูรูปทั้งหมดที่ถ่ายได้ที่ Flickr set หน้านี้]
Blogger Tour 2011
วันที่เจ็ด: 11 เมษายน 2554
วันนี้เป็นวันทำงานวันแรกของสัปดาห์ แน่นอนว่าโปรแกรมเดินสายฟังบรรยายของเราก็เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง นึกขอบคุณลูเซียนอีกครั้งที่จัดโปรแกรมคร่อมเสาร์-อาทิตย์ ให้เรามีเวลาเที่ยวทั้งเบอร์ลินและแฮมบูร์กเมืองละวัน
ถ้าไม่สังเกตให้ดี อาจมองความละเอียดรอบคอบของคนเยอรมันผิดไปว่าเป็นความบังเอิญ เพราะเขาละเอียดทุกเม็ดจริงๆ
อาหารเช้าที่โรงแรมนี้ไม่อร่อยเหมือนกับโรงแรมที่เบอร์ลิน หรือที่จริงอาจอร่อยพอๆ กันก็ได้ แต่คนกินมีอคติเพราะติดใจชีสใส่สมุนไพรของโรงแรมเบอร์ลินเสียแล้ว แต่โดยรวมอาหารก็โอเค มีครัวซองกับ scramble egg ใส่ผักที่โรงแรมเบอร์ลินไม่มี
ParliamentWatch
ตอนเช้าเรานั่งรถแท็กซี่ไปเยือนสำนักงานของ ParliamentWatch (“โครงการจับตารัฐสภา”) สุดยอด “กิจการเพื่อสังคม” แห่งหนึ่งในเยอรมนี เกรกอร์ แฮ็คแม็ก (Gregor Hackmack) ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรนี้พาเดินขึ้นลงบันไดอย่างน่าเวียนหัวเล็กน้อย ต้อนเราเข้าไปในห้องประชุมชั้นสี่ แล้วก็เริ่มแนะนำโครงการที่บ้านเราน่าจะมีเป็นอย่างยิ่ง
เกรกอร์ แฮ็คแม็ก