Category: Uncategorized

backer2.jpg

โลก(ไม่)ลืม คน(ไม่)สำคัญ + คน(ไม่)สำคัญ ฉบับ e-book

แนะนำหนังสือใหม่ของตัวเอง เล่มที่ 2 จาก 3 เล่มที่จะออกในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ 18-28 ต.ค. 2555 ค่ะ

fakelike.jpg

[แปล] การจัดการกับ “ไลค์ปลอม” ของเฟซบุ๊ก

[ช่วงนี้สังเกตเห็นจำนวน “ไลค์” บนหลายเพจบนเฟซบุ๊กลดลงฮวบฮาบ ไปอ่านบล็อกเฟซบุ๊กพบว่า ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. 2555 ได้เริ่มใช้ระบบใหม่กำจัด “ไลค์ปลอม” โดยเฉพาะไลค์ที่ได้มาโดยไม่ซื่อ

บทบาทของนักลงทุนในการป้องปรามคอร์รัปชัน (2) : นโยบายออกเสียงแทน (proxy voting policy)

[เขียนคอลัมน์ รู้ทันตลาดทุน ให้กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจทุกจันทร์เว้นจันทร์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และบนเว็บกรุงเทพธุรกิจด้วย แต่ตอนนี้เมื่อเช้าจัดหน้าเละมาก จนอ่านไม่รู้เรื่อง (ตอนนี้หายแล้ว) ก็เลยเอามาแปะบนบล็อกนี้ค่ะ]

บทบาทของนักลงทุนในการป้องปรามคอร์รัปชัน (2): นโยบายออกเสียงแทน (proxy voting policy)
(คอลัมน์ รู้ทันตลาดทุน ตอนที่ 78)

ตอนที่แล้วผู้เขียนพูดถึงเหตุผลและหลักการที่นักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน ควรมีส่วนในการป้องปรามคอร์รัปชัน โดยสรุปข้อเสนอแนะจาก International Corporate Governance Network (ICGN) เครือข่ายนักลงทุนสถาบันด้านธรรมาภิบาลชั้นแนวหน้าของโลก

“เครื่องมือ” สำคัญชิ้นหนึ่งที่นักลงทุนสถาบันใช้ได้ง่ายๆ ในการต่อกรกับคอร์รัปชัน คือนโยบายการออกเสียงในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้น (proxy voting policy) เพราะไหนๆ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล ฯลฯ ก็มีหน้าที่ต้องไปประชุมผู้ถือหุ้นแทน (proxy) ผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นตัวจริงของบริษัทอยู่แล้ว ถ้ากองทุนเหล่านี้จะกำหนดนโยบายการออกเสียงหุ้นที่ถือให้สะท้อนหลักธรรมาภิบาลที่ดี ประกาศนโยบายเหล่านั้นต่อสาธารณะและทำตามอย่างเคร่งครัด ก็จะเป็นก้าวที่สำคัญต่อการยกระดับธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนและป้องปรามคอร์รัปชัน เพราะคอร์รัปชันเกิดได้แต่ในองค์กรที่ระบบธรรมาภิบาลบกพร่องอย่างรุนแรงเท่านั้น

นอกจากนี้ นโยบายการออกเสียงแทนยังสามารถเป็น “จุดขาย” ของกองทุน ดึงดูดนักลงทุนที่อยากมีส่วนยกระดับธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจ

proiprai.jpg

แนะนำหนังสือ “บันทึกจากหุบเขาฝนโปรยไพร”

  ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ writer’s pick นิตยสาร IMAGE ฉบับเดือนสิงหาคม 2012  นังสือทั้งหมดทั้งมวลในโลกแบ่งได้เป็นสองประเภทเท่านั้นในทัศนะของผู้เขียน คือหนังสือที่อ่านเร็วได้

รวมคลิป animation ชุด “ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา”

เห็น เพจ V-Reform (เครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป) แนะนำว่าคลิป animation ตอน “ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพยากร” เป็นตอนสุดท้ายแล้ว เลยรวบรวมมาไว้ที่เดียวกัน เพื่อความสะดวกในการค้นค่ะ 🙂

คลิป animation สรุปเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ “ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา” ที่เขียนให้กับสมัชชาปฏิรูปเมื่อปี 2554 (ยังดาวน์โหลดในฟอร์แมท epub และ PDF ได้จากบล็อกนี้) ทั้งหมดมี 4 ตอน สร้างสรรค์โดยทีมงานกระต่ายตื่นตัว และ V-Reform – ขอขอบคุณทั้งสองกลุ่มมา ณ ที่นี้ 😀

ตอนที่ 1: ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา (คลิปสรุป)

ตอนที่ 2: ความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ

discover-inner.jpg

คำนิยมหนังสือ “สวมวิญญาณนักเศรษฐศาสตร์”

หนังสือออกสักพักแล้ว แต่เพิ่งนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้เอาคำนิยมมาแปะในนี้ วันนี้เลยเอามาแปะค่ะ เพราะชอบทั้งคนเขียนและคนแปลมาก 🙂 ป.ล. หนังสือใหม่สองเล่มของตัวเองที่ออกในงานหนังสือ เม.ย. 2555 คือ

corruption-cases.jpg

เนื้อหาร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง 4 ฉบับ + คดีทุจริตที่จะถูกลบล้างถ้าผ่าน

แวะมาแปะลิ้งก์ดาวน์โหลดสั้นๆ ค่ะ 1. ร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง ฉบับ สนธิ บุญยรัตกลิน (ที่มา:

faces.jpg

[โพสประจำปี] คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต

ในโอกาสครบรอบ 1 2 ปี การสลายการชุมนุมโหด 19 พฤษภาคม 2553 อยากบันทึกสั้นๆ ว่า

เคล็ดลับ/ข้อควรระวังในการเลือกซื้อหนังสือ

หลังจากที่ได้เดินเที่ยวงานสัปดาห์หนังสือกับเพื่อนมาแล้วสองวัน ซื้อหนังสือเยอะเกินโควตาที่ตั้งโดยประเมินความสามารถในการข่มความอยากของตัวเองต่ำเกินไป 5 เท่า ก็ได้ข้อสรุปกับเพื่อนว่าน่าจะประมวลเคล็ดลับและข้อควรระวังบางข้อที่พวกเรา(ซึ่งตอนนี้ก็ถือว่าคุ้นเคยกับวงการนี้ระดับหนึ่ง)ใช้ในการเลือกซื้อหนังสือมาแบ่งปันคนอื่น เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อกระเป๋าสตางค์บ้างไม่มากก็น้อยค่ะ เพราะกิเลสเรื่องหนังสือว่าดับยากแล้ว การซื้อหนังสือที่ด้อยคุณภาพมาโดยไม่รู้ตัวน่าเจ็บใจกว่ากันอีก :p เคล็ดลับ/ข้อควรระวังในการเลือกซื้อหนังสือ

breath-smile-t.png

ลมหายใจและรอยยิ้ม & บูธที่วางหนังสือ สนพ.ชายขอบ

พบกับ ลมหายใจและรอยยิ้ม หนังสือรวมบทกวีสามบรรทัดที่แต่งแต้มรอยยิ้มให้กับทวิตเตอร์ โดย @Simp1y ได้แล้ววันนี้ที่งานหนังสือ ศูนย์สิริกิติ์ ราคาปก 100 บาท