Category: Uncategorized

dabyao.jpg

(บาง)ความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดในงานหนังสือ+คิว

งานหนังสือ ใกล้จะมาอีกแล้ว หลังจากที่เห่อหนังสือใหม่สองเล่มของตัวเอง คือ รอยเลื่อนเขย่าเศรษฐกิจโลก กับ วิชาห้าสิบเล่มเกวียน เล่มสอง 2 ไปแล้ว ก็ได้เวลาเห่อหนังสือน่าอ่านของคนอื่นบ้าง 😀 แบ่งปันรายชื่อหนังสือใหม่บางเล่มที่คิดว่า “ต้องซื้อ” ในงาน เอาไว้ไปเดินงานเมื่อไหร่คงเกิดความเสียหายอีกหลายเล่ม จะถ่ายทุกเล่มที่ซื้อเหมือนงานที่แล้ว ใครใช้ Instagram หรือทวิตเตอร์ ติดตามได้จาก @fringer ค่ะ ปีนี้ไปเดินงานหลายวัน คิวจริงๆ คือวันที่ 2 เม.ย. 13.00-15.30 น. งานเปิดตัว Bookmoby ณ ห้อง Meeting Room 1 ส่วนวันที่ 6 เม.ย. 16.00-17.00 น. แจกลายเซ็นคู่กับคุณอรนุช อนุศักดิ์เสถียร บูธมติชน วันอื่นถ้าไปนั่งเล่นอยู่บูธไหน ติดตามได้จาก Instagram หรือทวิตเตอร์เช่นกัน หวังว่าจะได้พบเพื่อนนักอ่าน-นักเขียนในงานนะคะ 🙂 นวนิยาย เรื่องสั้น การ์ตูน ความโดดเดี่ยวทั้งมวลที่ไม่มีใครสังเกตเห็น โดย นิวัต พุทธประสาท สนพ.เม่นวรรณกรรม ความโดดเดี่ยวทั้งมวลที่ไม่มีใครสังเกตเห็น คดีดาบลาวยาวแดง โดย ภาณุ ตรัยเวช สนพ.มติชน คดีดาบลาวยาวแดง

ซับไตเติลภาษาไทย แอนิเมชั่นชุด “การคิดเชิงวิเคราะห์” (analytical thinking)

ไปเจอชุดคลิป animation เรื่อง “การคิดเชิงวิเคราะห์” (analytical thinking) ของออสเตรเลีย เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรเรื่องการคิดเชิงวิเคราะห์ ทำขึ้นมาสอนเด็ก 8-10 ขวบ แต่คิดว่าเนื้อหามีประโยชน์มากสำหรับผู้ใหญ่ด้วย เลยไปทำซับไตเติลภาษาไทยไว้ ใครสนใจเชิญรับชม + เอาไปใช้สอนได้ค่ะ 😉 คลิป animation ชุดนี้มีทั้งหมด 6 ตอน

[UPDATE 28/1] สไลด์คาสต์ (สไลด์+เสียง) ประกอบการบรรยาย “เศรษฐกิจสีเขียว” & “มูลค่าของธรรมชาติ”

สัปดาห์ที่ผ่านมาไปบรรยายสองเรื่องที่คาบเกี่ยวกัน แวะมาแปะ Slidecast (สไลด์ + ไฟล์เสียง) สำหรับท่านผู้ฟังในห้องและท่านอื่นที่อาจสนใจค่ะ

สวัสดี “ปีสิ้นโลก” & สรุปสิ่งที่ได้ทำ-ทำไม่สำเร็จ ปี 2011

ลาทีปีกระต่ายเมาหมัด ปีหน้าก็เข้าสู่ปีที่เขาว่ากันว่าจะ “สิ้นโลก” แล้ว แต่ไม่ว่าใครจะอยู่หรือจะไป เราคงรู้กันชัดเจนถ้วนหน้าแล้วว่าโลกนี้ “อยู่ยาก” ขึ้นทุกวัน – มาดูกันว่าใครจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมก่อนกัน

tothemoon.jpg

เกมผจญภัยบน PC ดีที่สุดที่ได้เล่นในรอบปี

วิกฤตน้ำท่วมกรุงยังไม่ซา ถึงแม้บ้านจะ(ยัง)ไม่ท่วมก็รวบรวมสมาธิทำงานได้อย่างยากเย็น ช่วงนี้เลย “มีเวลา” เล่นเกมมากเป็นพิเศษ ทั้งเกมคอมพิวเตอร์และบอร์ดเกม เลยอยากรวบรวมเกมคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดที่ได้เล่นในรอบปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ ต.ค.53) คือทั้งสนุก ได้แง่คิด และคุ้มราคา (ไม่ใช่ $20 แต่เล่นแป๊บเดียวจบ) มาแนะนำคอเกมทุกท่าน รวมทั้งคนที่ไม่ใช่คอเกมแต่อยากรู้ว่าเกมคอมสมัยนี้ “โต” ขึ้นขนาดไหนแล้ว 🙂 คลิ้กที่ชื่อเกมหรือรูปเพื่อไปที่เว็บเกมค่ะ ทุกเกมยกเว้น A New Beginning เป็น digital download สามารถสั่งซื้อออนไลน์แล้วโหลดมาเล่นได้ทันที 

คลิป “ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา” | หนังสือผู้เขียนในงานมหกรรมหนังสือ ’54

โพสนี้จับฉ่ายเล็กน้อย ขออภัยค่ะ ช่วงนี้พอมีเวลาหายใจ เลยรีบอัพบล็อกก่อนที่จะหายไปจมอยู่ใต้กองงาน (และบอร์ดเกม :P) รอบใหม่ เรื่องแรก แนะนำคลิปวีดีโอที่สรุปเนื้อหาบางส่วนจาก “ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา”

_inwhale.jpg

หนังสือใหม่จาก สนพ.ชายขอบ ในงานมหกรรมหนังสือ ต.ค. นี้

แจ้งข่าวดีสำหรับมิตรรักนักกลอนค่ะ ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 5-16 ต.ค. นี้ ที่ศูนย์สิริกิติ์ สำนักพิมพ์ชายขอบจะมีหนังสือกลอนออกใหม่สองเล่ม คือ ในท้องปลาวาฬ โดย

[Fwd mail] โปรแกรมการตอบคำถามหุ่นยนต์นายกหญิงตัวแรกของโลก

เพื่อนส่งฟอร์เวิร์ดเมลมาให้ แบ่งปันความขำค่ะ ;D —- สวนดุสิตโพย ได้สำรวจโปรแกรมการตอบคำถามหุ่นยนต์นายกหญิงตัวแรกของโลก พบว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ได้ตอบคำถามตามโพยสำรวจดังนี้

board_game.jpg

บอร์ดเกมที่รัก กับคอลัมน์ “เล่นจนเป็นเรื่อง”

ผู้เขียนเป็นคนชอบเล่นเกมหลากหลายแนวตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่หมากฮอส หมากรุก (เล่นกับพ่อเป็นหลัก) โตมาหน่อยก็เล่นเกมไพ่สารพัดชนิด เกมคอมพิวเตอร์เกมแรกที่จำได้ว่าเล่นคือ Cosmic Crusader สี่สีสวยงามบนเครื่อง IBM XT ตั้งแต่ตัวกะเปี๊ยก พอไปเรียนต่อเมืองนอกก็ชอบเล่นเกม RPG เช่น Dungeons & Dragons ที่ต้องมีคนนำเกมเก่งๆ เล่นทีหมดเวลาเป็นวันๆ ชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์มากจนทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเกมชื่อ Home of the Underdogs (HOTU) ในปี 1998 สมัยเรียนโทอยู่ที่อเมริกา เน้นรีวิวเกมดีที่ขายไม่ค่อยดีและมีให้ดาวน์โหลดกว่า 5,000 เกม ก่อนที่จะปิดมันไปในปี 2008 เพราะเว็บโฮสล้มละลายและเจ้าของก็ไม่มีเวลาดูแลต่อตั้งแต่ผันตัวมาเป็นบล็อกเกอร์และนักเขียน (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บนี้ได้ที่เว็บ Review with Extreme Prejudice (ภาษาอังกฤษ เป็นบทสัมภาษณ์ที่ยาวมาก) และบนบล็อกนี้ (เขียนไว้นานแล้ว ภาษาอังกฤษอีกเหมือนกัน))

หลังจากที่ไม่ได้ทำ HOTU แล้ว ก็ไม่รู้สึกว่าอยากทำเว็บอะไรเกี่ยวกับเกมอีก แต่ยังเล่นเกมอย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่มีเวลาว่าง สามปีก่อนเคยเขียนคอลัมน์ชื่อ Serious Game เกี่ยวกับเกมคอมพิวเตอร์ที่ “สอน” ประเด็นสังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม ให้กับนิตยสาร ฟิ้ว แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้เขียนอีก …จนได้มารู้จักกับบอร์ดเกม (เกมกระดาน) สมัยใหม่ และตกหลุมรักเกมประเภทนี้อย่างจังราวต้นปี 2554 ที่ผ่านมานี่เอง 

วิธีการเสนองานเขียนหรืองานแปลให้ สนพ.

เนื่องจากทุกเดือนจะมีคนเขียนอีเมลมาถามว่า ถ้าอยากเขียน/แปลหนังสือต้องทำอย่างไร เลยถามพลอยแสง บ.ก.ผู้น่ารักว่ามีไหม คนที่เขียน FAQ เรื่องนี้ไปแล้ว เพราะมันน่าจะมีสิ ว่าแล้วพลอยก็จัดแจงถามพี่พจจี้ นักแปลผู้น่ารัก และพี่พจจี้ก็ไปขุดจากกรุกระทู้เก่าๆ ในพันทิปมาให้ เลยเอามาแปะในนี้เพื่อใช้เป็นลิงก์สำหรับทุกคนที่สนใจจะเขียนหรือแปลหนังสือ เพราะคนตั้งกระทู้นี้คือคุณไอซ์เรียบเรียงได้ชัดเจนดีทีเดียว ขอขอบคุณพลอย พี่พจจี้ และคุณไอซ์ ไว้ ณ ที่นี้ 😀