เมื่อเช้าต้องเข้ารายการ “เช้าทันโลก” FM96.5 เกี่ยวกับที่ไปลงนามในจดหมายเปิดผนึกร่วมกับเพื่อนนักเขียน เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่สัญญาณโทรศัพท์ห่วยมาก ขออภัยทุกท่านที่ฟัง FM96.5 ค่ะ
ข้อมูลสำหรับผู้สนใจ: ถาม-ตอบว่าด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ ข้ออ้างของฝ่ายที่สนับสนุนให้คงมาตรา 112 ไว้ดังเดิม
[UPDATE 11/6] ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรรายการ “ตอบโจทย์” ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์คุณอานันท์ ปันยารชุน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 คุณอานันท์ (ซึ่งคงไม่มีใครเข้าใจผิดว่าเป็นพวก “ล้มเจ้า”) อธิบายปัญหาของคนจำพวก “ultra royalist” และปัญหาของมาตรา 112 ค่อนข้างชัดเจน ขอเชิญรับชม และอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ หน้านี้ของโอเพ่นออนไลน์ 🙂
สรุปประเด็นสั้นๆ ที่ต้องการจะพูดแต่ไม่ได้พูดในรายการ “เช้าทันโลก” –
1) ข้อเท็จจริง ในเรื่องนี้มีคนรับรู้น้อยมาก เนื่องจากศาลพิจารณาคดีแบบปิดลับ ไม่เปิดเผยคำพิพากษา และสื่อไม่ทำข่าว : ระหว่างปี 2548-2552 มีคนโดนคดีหมิ่นฯ และคดีอยู่ในชั้นศาล (ชั้นต้นจนถึงฎีกา) ปีละกว่า 100 คน รวม 547 คน ศาลตัดสินไปแล้ว 247 คน อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนอีกเกือบพัน แต่สื่อไม่รายงานข่าว (ส่วนหนึ่งเพราะเคยมีสื่อรายงานแล้วถูกฟ้องไปด้วย แต่อีกส่วนคือเพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจแล้ว) คดีที่คนทั่วไปรับรู้ปัจจุบันมีแต่คดีที่ “คนดัง” ไม่กี่คนโดน เช่น ส.ศิวรักษ์ จตุพร พรหมพันธุ์ ดา ตอร์ปิโด เป็นต้น (ซึ่งสองกรณีหลังในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย)
ในเมื่อสังคมรู้เรื่องนี้น้อยมาก ทุกคดีก็สืบสวนและพิพากษาแบบปิดลับ สื่อก็ไม่รายงานข่าว สังคมจึงถกเถียงกันไม่ได้เลยว่าในจำนวนคนหนึ่งพันห้าร้อยกว่าคนที่ถูกฟ้อง (ปัจจุบันตัวเลขคงมากกว่านี้ไปแล้ว) นั้น “เข้าข่ายหมิ่นฯ จริง” กี่คน การบังคับใช้กฎหมายนี้มีปัญหามากขนาดไหน คดีบางคดีที่ผู้เขียนได้รับรู้จากการทำงานร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต ยืนยันได้ว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หลายกรณีวิจารณ์สถาบันด้วยซ้ำ ไม่ใช่ตัวบุคคล (พระมหากษัตริย์) จึงไม่น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่ปัญหาคือผู้ต้องหามีโอกาสที่จะชนะคดีน้อยมาก เพราะที่ผ่านมาแม้แต่การเขียนนิยายยังถูกฟ้องและศาลพิพากษาจำคุก (ถึงแม้นักเขียนชาวออสเตรเลียในคดีนี้จะได้รับพระราชทานอภัยโทษในภายหลัง (เหมือนกับชาวต่างชาติคนอื่นๆ) ก็ติดคุกไปหลายเดือน)
2) ปัญหาของ ตัวบท มีมากมาย: เช่น ความผิดฐาน “ดูหมิ่น” ไม่มีนิยามชัดเจน อนุญาตให้ใครก็ได้ฟ้องใครก็ได้ ไม่มี “ข้อยกเว้นความผิด” เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาท กล่าวคือ ผู้ที่แม้แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตใจ ไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ เพื่อไม่ต้องรับผิดได้ อีกทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้พิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนกล่าวนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อขอให้ยกเว้นโทษ
ทั้งหมดนี้ทำให้ที่ผ่านมาหลายกรณีคนฟ้อง(ซึ่งตำรวจรับฟ้องและทำคดี) ไม่แยกแยะระหว่าง “การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม” (ไม่ควรผิดกฎหมาย) “การวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิง” (ไม่ควรผิดกฎหมาย) และ “การหมิ่นประมาทหรืออาฆาตมาดร้าย” (ผิดกฎหมายแน่ๆ)
เมื่อเช้าต้องเข้ารายการ “เช้าทันโลก” FM96.5 เกี่ยวกับที่ไปลงนามในจดหมายเปิดผนึกร่วมกับเพื่อนนักเขียน เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่สัญญาณโทรศัพท์ห่วยมาก ขออภัยทุกท่านที่ฟัง FM96.5 ค่ะ
ข้อมูลสำหรับผู้สนใจ: ถาม-ตอบว่าด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ ข้ออ้างของฝ่ายที่สนับสนุนให้คงมาตรา 112 ไว้ดังเดิม
[UPDATE 11/6] ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรรายการ “ตอบโจทย์” ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์คุณอานันท์ ปันยารชุน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 คุณอานันท์ (ซึ่งคงไม่มีใครเข้าใจผิดว่าเป็นพวก “ล้มเจ้า”) อธิบายปัญหาของคนจำพวก “ultra royalist” และปัญหาของมาตรา 112 ค่อนข้างชัดเจน ขอเชิญรับชม และอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ หน้านี้ของโอเพ่นออนไลน์ 🙂
สรุปประเด็นสั้นๆ ที่ต้องการจะพูดแต่ไม่ได้พูดในรายการ “เช้าทันโลก” –
1) ข้อเท็จจริง ในเรื่องนี้มีคนรับรู้น้อยมาก เนื่องจากศาลพิจารณาคดีแบบปิดลับ ไม่เปิดเผยคำพิพากษา และสื่อไม่ทำข่าว : ระหว่างปี 2548-2552 มีคนโดนคดีหมิ่นฯ และคดีอยู่ในชั้นศาล (ชั้นต้นจนถึงฎีกา) ปีละกว่า 100 คน รวม 547 คน ศาลตัดสินไปแล้ว 247 คน อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนอีกเกือบพัน แต่สื่อไม่รายงานข่าว (ส่วนหนึ่งเพราะเคยมีสื่อรายงานแล้วถูกฟ้องไปด้วย แต่อีกส่วนคือเพราะเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจแล้ว) คดีที่คนทั่วไปรับรู้ปัจจุบันมีแต่คดีที่ “คนดัง” ไม่กี่คนโดน เช่น ส.ศิวรักษ์ จตุพร พรหมพันธุ์ ดา ตอร์ปิโด เป็นต้น (ซึ่งสองกรณีหลังในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย)
ในเมื่อสังคมรู้เรื่องนี้น้อยมาก ทุกคดีก็สืบสวนและพิพากษาแบบปิดลับ สื่อก็ไม่รายงานข่าว สังคมจึงถกเถียงกันไม่ได้เลยว่าในจำนวนคนหนึ่งพันห้าร้อยกว่าคนที่ถูกฟ้อง (ปัจจุบันตัวเลขคงมากกว่านี้ไปแล้ว) นั้น “เข้าข่ายหมิ่นฯ จริง” กี่คน การบังคับใช้กฎหมายนี้มีปัญหามากขนาดไหน คดีบางคดีที่ผู้เขียนได้รับรู้จากการทำงานร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต ยืนยันได้ว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หลายกรณีวิจารณ์สถาบันด้วยซ้ำ ไม่ใช่ตัวบุคคล (พระมหากษัตริย์) จึงไม่น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่ปัญหาคือผู้ต้องหามีโอกาสที่จะชนะคดีน้อยมาก เพราะที่ผ่านมาแม้แต่การเขียนนิยายยังถูกฟ้องและศาลพิพากษาจำคุก (ถึงแม้นักเขียนชาวออสเตรเลียในคดีนี้จะได้รับพระราชทานอภัยโทษในภายหลัง (เหมือนกับชาวต่างชาติคนอื่นๆ) ก็ติดคุกไปหลายเดือน)
2) ปัญหาของ ตัวบท มีมากมาย: เช่น ความผิดฐาน “ดูหมิ่น” ไม่มีนิยามชัดเจน อนุญาตให้ใครก็ได้ฟ้องใครก็ได้ ไม่มี “ข้อยกเว้นความผิด” เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาท กล่าวคือ ผู้ที่แม้แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตใจ ไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ เพื่อไม่ต้องรับผิดได้ อีกทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้พิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนกล่าวนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อขอให้ยกเว้นโทษ
ทั้งหมดนี้ทำให้ที่ผ่านมาหลายกรณีคนฟ้อง(ซึ่งตำรวจรับฟ้องและทำคดี) ไม่แยกแยะระหว่าง “การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม” (ไม่ควรผิดกฎหมาย) “การวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิง” (ไม่ควรผิดกฎหมาย) และ “การหมิ่นประมาทหรืออาฆาตมาดร้าย” (ผิดกฎหมายแน่ๆ)
3) ปัญหาของ การบังคับใช้ ก็มีมาก ส่วนหนึ่งมาจากตัวบทที่คลุมเครือ และค่านิยมของสังคมที่สร้างแรงกดดันอย่างสูงต่อกระบวนการยุติธรรม: เช่น ตำรวจไม่กล้าไม่รับฟ้อง (แม้ในเคสที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่เข้าข่าย) ออกหมายจับแทนหมายเรียก ศาลห้ามประกันตัว(ทำไปตามแรงกดดันของสังคม) ทำให้ผู้ต้องหาทุกคนต้องติดคุกก่อน มักจะติดนานเป็นปีก่อนที่คดีจะถึงชั้นศาล ศาลพิจารณาคดีแบบปิดลับ ห้ามสื่อทำข่าว แนวโน้มที่จะชนะคดีน้อยมาก (เพราะไม่มีเหตุยกเว้นดังที่กล่าวไปแล้ว) ทำให้ผู้ต้องหาเลือกรับสารภาพ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ทำให้ปัญหานอกจากจะไม่เป็นที่รับรู้ในสังคม ยังเป็นเครื่อง “การันตี” ว่าการบังคับใช้กฎหมายนี้จะดำเนินในทางลับได้ต่อไป ปลอดจากการถูกตรวจสอบหรือถกเถียงใดๆ ที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง เพราะแม้แต่ข้อเท็จจริงสังคมยังไม่รู้เลย
4) ขออัญเชิญพระราชดำรัส และฝากคำถามว่า ที่พระองค์ท่านตรัสว่า “พระมหากษัตริย์เดือดร้อน” นั้นหมายถึงอะไร ตัวบท วิธีการบังคับใช้ และค่านิยมที่แวดล้อมกฎหมายนี้ในปัจจุบันนั้น เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์ ช่วยปกป้องสถาบันจาก “ผู้ไม่ประสงค์ดี” จริงหรือไม่