[ดาวน์โหลดเวอร์ชั่น PDF ของบทความแปลด้านล่างนี้ได้ที่นี่ค่ะ]
การพูดว่า “จงออกไปจากที่นี่” จะไม่ช่วยแก้ปัญหาให้เราเลย
แปลจาก Saying ‘good riddance’ is no answer to our problems โดย สนิทสุดา เอกชัย, แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล
ถ้าคุณอยู่ในเครือข่ายของคนไทยบนเฟซบุ๊ค คุณก็คงจะได้เห็นคลิปวีดีโอที่มีการส่งต่อกันมากที่สุดในสัปดาห์นี้ – บทสุนทรพจน์อันกินใจของนักร้อง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ที่แสดงความรักอย่างหวงแหนและลึกล้ำของเขาที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทสุนทรพจน์ดังกล่าวกลายเป็นปรากฏการณ์ยอดนิยมในทันที กลายเป็นสิ่งที่ส่งต่อกันบนเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เผยแพร่ซ้ำบนโทรทัศน์ และรายงานในหน้าหนังสือพิมพ์ในประเทศแทบทุกฉบับ กว่าคุณพงษ์พัฒน์จะกล่าวคำรับรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงชายสมทบยอดเยี่ยมจบ ผู้ชมทั้งห้องก็เต็มไปด้วยน้ำตา ขณะที่ผู้ชมยืนขึ้นปรบมือให้กับคุณพงษ์พัฒน์ ในคืนเดียวกันนั้นเองกรุงเทพฯ ก็ถูกเผาในการจลาจลทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่เราจำความได้
ในสุนทรพจน์ คุณพงษ์พัฒน์เปรียบเปรยว่าประเทศไทยเปรียบเสมือนบ้าน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปรียบเสมือนพ่อผู้เจริญรอยตามบรรพบุรุษของท่าน เสียสละให้กับบ้านเมืองด้วยการทุ่มเททำงานเพื่อทุกคนในบ้านอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย
“ถ้ามีใครสักคนโกรธใครมาก็ไม่รู้ ไม่ได้ดั่งใจเรื่องอะไรมาก็ไม่รู้ แล้วก็พาลมาลงที่พ่อ เกลียดพ่อ ด่าพ่อ คิดจะไล่พ่อออกจากบ้าน ผมจะเดินไปบอกกับคนคนนั้นว่า ‘ถ้าเกลียดพ่อ ไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ เพราะที่นี่คือแผ่นดินของพ่อ’”
“ผมรักในหลวงครับ” เขาประกาศท่ามกลางเสียงปรบมือดังกระหึ่ม “และผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในที่นี้รักในหลวงเหมือนกัน พวกเราสีเดียวกันครับ ศีรษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน!” ฉันขอสารภาพว่า สิ่งที่เขาพูดนั้นทำให้ฉันน้ำตาคลอเหมือนกัน
ฉันมีคำสารภาพอีกเรื่องหนึ่ง ถึงแม้ว่าฉันจะคับแค้นใจเหมือนกับคุณพงษ์พัฒน์ที่ในหลวงทรงถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมจากข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง รวมทั้งการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและถ้อยคำที่มีแต่ความเกลียดชัง ฉันก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีแก้ปัญหาแบบ “จงออกไปจากที่นี่” ของเขาซึ่งดูเหมือนว่าจะโดนใจผู้คนจำนวนมาก
วิธีแก้ปัญหาของคุณพงษ์พัฒน์คือความเชื่อที่ว่า ถ้าเราไม่ชอบอะไร วิธีแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ก็คือกำจัดมันไปซะ ความคิดแบบนี้คือรากฐานของการเมืองที่ขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรง การเมืองที่กำลังทำลายประเทศของเราอยู่ในขณะนี้
[ดาวน์โหลดเวอร์ชั่น PDF ของบทความแปลด้านล่างนี้ได้ที่นี่ค่ะ]
การพูดว่า “จงออกไปจากที่นี่” จะไม่ช่วยแก้ปัญหาให้เราเลย
แปลจาก Saying ‘good riddance’ is no answer to our problems โดย สนิทสุดา เอกชัย, แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล
ถ้าคุณอยู่ในเครือข่ายของคนไทยบนเฟซบุ๊ค คุณก็คงจะได้เห็นคลิปวีดีโอที่มีการส่งต่อกันมากที่สุดในสัปดาห์นี้ – บทสุนทรพจน์อันกินใจของนักร้อง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ที่แสดงความรักอย่างหวงแหนและลึกล้ำของเขาที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทสุนทรพจน์ดังกล่าวกลายเป็นปรากฏการณ์ยอดนิยมในทันที กลายเป็นสิ่งที่ส่งต่อกันบนเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เผยแพร่ซ้ำบนโทรทัศน์ และรายงานในหน้าหนังสือพิมพ์ในประเทศแทบทุกฉบับ กว่าคุณพงษ์พัฒน์จะกล่าวคำรับรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงชายสมทบยอดเยี่ยมจบ ผู้ชมทั้งห้องก็เต็มไปด้วยน้ำตา ขณะที่ผู้ชมยืนขึ้นปรบมือให้กับคุณพงษ์พัฒน์ ในคืนเดียวกันนั้นเองกรุงเทพฯ ก็ถูกเผาในการจลาจลทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่เราจำความได้
ในสุนทรพจน์ คุณพงษ์พัฒน์เปรียบเปรยว่าประเทศไทยเปรียบเสมือนบ้าน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปรียบเสมือนพ่อผู้เจริญรอยตามบรรพบุรุษของท่าน เสียสละให้กับบ้านเมืองด้วยการทุ่มเททำงานเพื่อทุกคนในบ้านอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย
“ถ้ามีใครสักคนโกรธใครมาก็ไม่รู้ ไม่ได้ดั่งใจเรื่องอะไรมาก็ไม่รู้ แล้วก็พาลมาลงที่พ่อ เกลียดพ่อ ด่าพ่อ คิดจะไล่พ่อออกจากบ้าน ผมจะเดินไปบอกกับคนคนนั้นว่า ‘ถ้าเกลียดพ่อ ไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ เพราะที่นี่คือแผ่นดินของพ่อ’”
“ผมรักในหลวงครับ” เขาประกาศท่ามกลางเสียงปรบมือดังกระหึ่ม “และผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในที่นี้รักในหลวงเหมือนกัน พวกเราสีเดียวกันครับ ศีรษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน!” ฉันขอสารภาพว่า สิ่งที่เขาพูดนั้นทำให้ฉันน้ำตาคลอเหมือนกัน
ฉันมีคำสารภาพอีกเรื่องหนึ่ง ถึงแม้ว่าฉันจะคับแค้นใจเหมือนกับคุณพงษ์พัฒน์ที่ในหลวงทรงถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมจากข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง รวมทั้งการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและถ้อยคำที่มีแต่ความเกลียดชัง ฉันก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีแก้ปัญหาแบบ “จงออกไปจากที่นี่” ของเขาซึ่งดูเหมือนว่าจะโดนใจผู้คนจำนวนมาก
วิธีแก้ปัญหาของคุณพงษ์พัฒน์คือความเชื่อที่ว่า ถ้าเราไม่ชอบอะไร วิธีแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ก็คือกำจัดมันไปซะ ความคิดแบบนี้คือรากฐานของการเมืองที่ขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรง การเมืองที่กำลังทำลายประเทศของเราอยู่ในขณะนี้
ความรุนแรงไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าเราไม่เชื่อว่าความรุนแรงรังแต่จะนำมาซึ่งความรุนแรง
ฉันก็เหมือนกับคนรุ่นเดียวกับฉันส่วนใหญ่ ตรงที่เติบโตมากับความเคารพในหลวงอย่างลึกซึ้ง สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงตรากตรำทำงานตลอดพระชนม์ชีพเพื่อผู้อ่อนแอและผู้ยากไร้ในประเทศนี้ และในการที่ทรงเป็นเสาแห่งทศพิธราชธรรมและความดีงาม ในห้วงยามที่สังคมเราถูกคอร์รัปชั่นบ่อนเซาะ และเราเองก็กำลังจมดิ่งลงไปในปลักความเป็นปัจเจกที่เห็นแก่ตัว
เป็นเรื่องน่าแค้นใจที่เห็นคนที่เรารักถูกโจมตีอย่างโหดร้าย แต่วุฒิภาวะของเรานั้นวัดจากการกระทำของเรา ความอดทนอดกลั้นคือวุฒิภาวะ ความพยายามที่จะทบทวนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อรับประกันว่าเราจะสามารถถกเถียงกันได้อย่างมีเหตุมีผลภายในขอบเขตของความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรมนั้นคือวุฒิภาวะ การกำจัดไม่ใช่วุฒิภาวะ
เพราะประเทศนั้นเป็นมากกว่าบ้าน ประเทศประกอบด้วยคนต่างวัฒนธรรม ความเชื่อ และความคับแค้นใจ เมื่อใดที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์ เราไม่สามารถทำแค่เตะคนที่เราไม่ชอบออกไปจากบ้าน
ถ้าเราเคารพในหลวงจริงๆ เราก็จะต้องเคารพวิถีทางที่มีไมตรีจิตต่อคนทุกหมู่เหล่าของพระองค์ด้วย
สมัยที่ประเทศนี้ถูกสั่นคลอนด้วยขบวนการคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 2510-2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังเขตอันตรายเพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งคนที่คล้อยตามแนวคิดของคอมมิวนิสต์ด้วย
สมัยที่ชาวเขาถูกสังคมประณามว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติดและผู้ทำลายป่า ในหลวงทรงแนะนำพวกเขาให้ปลูกพืชทดแทน ส่งเสริมให้พวกเขาได้รับสัญชาติไทย และตรัสเรื่องสิทธิในที่ดินของบรรพบุรุษ สมัยที่ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้น คำแนะนำของพระองค์คือให้เราหยิบยื่นความเป็นมิตร พยายามเข้าใจความเดือดร้อนของผู้คน และช่วยเหลือพวกเขา
สังคมกระแสหลักมองกลุ่มคนชายขอบเหล่านี้ว่าเป็นคนนอก กระทั่งมองว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ แต่วิถีทางของในหลวงนั้นเป็นวิถีแห่งไมตรีจิตและความเมตตาเสมอมา
เราจะหยุดยั้งความรุนแรงทางการเมืองที่สุ่มเสี่ยงว่าจะดำเนินต่อไปหลังจากการยอมแพ้ที่ราชประสงค์ได้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ ทัศนคติที่มุ่งกำจัดคนจะดำเนินต่อไปไม่ได้
แรงจูงใจของแกนนำคนเสื้อแดงอาจน่ากังขา แต่ความเดือดร้อนของผู้ตามของพวกเขาคือความจริง
ลองจินตนาการถึงความคับแค้นใจที่ติดอยู่บนบันไดขั้นล่างสุดในสังคม หรือความรู้สึกโกรธแค้นและแปลกแยกที่ไร้อนาคต ท่ามกลางความมั่งคั่งของเมืองใหญ่และความเหลื่อมล้ำที่เรื้อรัง
ประเทศไทยต้องการมติใหม่ทางการเมือง เพื่อป้องกันการเกิดการจลาจลทั่วประเทศ แต่สิ่งนี้จะเป็นเพียงฝันกลางวันเท่านั้นตราบใดที่เราไม่แยแสไมตรีจิต และวิธีคิดแบบมุ่งกำจัดยังคงครอบงำสังคม.