ขอเชิญดาวน์โหลดภาค 1 ของหนังสืออาจารย์สุลักษณ์ที่ถูกแบน

ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หนังสือเล่มใหม่ล่าสุดของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ‘ส.ศิวรักษ์’ เรื่อง “ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม” ได้ถูกตำรวจสันติบาลเก็บยึดออกจากแผง ด้วยข้อหาว่า “ลงข้อความอันอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน” อ้างตาม พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 โดยคำสั่งลงวันที่ 28 ก.ย. 2550

ในเมื่อตำรวจอ้างเหตุผลเชยๆ เรื่อง “ความสงบเรียบร้อย” และ “ศีลธรรมอันดี” กับหนังสือยอดเยี่ยมที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะภาคแรก (1/3) ของหนังสือที่ใช้หัวข้อ “สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ” ก็เป็นที่แน่นอนว่าสาเหตุที่หนังสือเล่มนี้ถูกแบนนั้น คือความเห็นของตำรวจที่ว่าเนื้อหาบางส่วนเข้าข่าย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ทั้งๆ ที่เนื้อหาของบทความทั้งหมดในภาคดังกล่าวของหนังสือ ล้วนเป็นข้อคิดข้อเขียนเชิงวิชาการของหนึ่งใน “สุดยอดปัญญาชนสยาม” ที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวิวาทะเรื่องบทบาทของสถาบันกษัตริย์ไทยในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นวิวาทะที่สังคมไทย “จำเป็น” จะต้องถกกันอย่างกว้างขวาง เพราะสถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งใน “สถาบันหลัก” ของสังคมที่มีอิทธิพลและความเกี่ยวโยงต่อชีวิตคนไทยในแทบทุกมิติ

หนังสือเล่มนี้ไร้ซึ่งข้อความใดๆ ทั้งสิ้นที่ใครก็ตามที่มีสามัญสำนึกจะดูออกว่าเป็นการ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าอาจารย์สุลักษณ์จะเอ่ยถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันบ้าง ก็ล้วนแต่เป็นการเอ่ยถึงอย่างชื่นชมหรือไร้อคติทั้งนั้น เช่น:

“…อย่างเศรษฐกิจพอเพียงของเรา พระเจ้าอยู่หัวท่านดำรงพระชนม์อย่างเรียบง่ายมาก เป็นแบบอย่างเพราะแม้กระทั่งมีดโกน ท่านจะใช้จนกระทั่งเก่าขึ้นสนิม ฯลฯ แต่เท่านั้นยังไม่พอครับ เราจะต้องดูตัวโครงสร้าง ตัวค่าใช้จ่ายในราชสำนัก โครงการในพระราชดำริ ฯลฯ ต้องมาพิจารณาดูให้ตลอด จึงจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจริงจัง…”

นอกจากจะเป็นการกระทำที่ “เกินกว่าเหตุ” และไร้เหตุผลเพียงพอรองรับในความเห็นของผู้เขียน การสั่งแบนหนังสือในครั้งนี้ยังเป็นการกระทำที่ “เปิ่น” ไม่น้อย เมื่อคำนึงว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการรวมข้อเขียนในรอบปีของอาจารย์สุลักษณ์ ที่อยู่ในแผงมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 (5 เดือนก่อนมีคำสั่งยึด) และแทบทุกชิ้นได้รับการตีพิมพ์ไปแล้วก่อนหน้านี้ ตอนนี้ท่านก็ยังหาอ่านได้บนเว็บต่างๆ รวมทั้งจากเว็บไซต์ส่วนตัวของอาจารย์เองด้วย

เราต้องทนความ “ใจแคบ,” “ล้าหลัง,” และ “กลั่นแกล้ง” ของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาท และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปอีกนานเท่าไร เราจึงจะสามารถมี “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” และ “เสรีภาพทางวิชาการ” อย่างเต็มที่จริงๆ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติคุ้มครองไว้?

ในเมื่อมีตัวอย่างนับไม่ถ้วนที่แสดงให้เราเห็นแล้วว่า บทบัญญัติในกฎหมายหมิ่นประมาทและกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบันสามารถใช้เป็น “ข้ออ้าง” ในการข่มขู่เพื่อ “ปิดปาก” ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือใช้ผลักดันวาระซ่อนเร้นทางการเมืองของผู้มีอำนาจได้อย่างง่ายดาย ประเทศนี้จะเป็น “ประชาธิปไตย” ที่แท้จริงได้อย่างไร? (หมายถึงประชาธิปไตยที่ “เคารพ” ความเห็นของสมาชิกทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความเห็นของเสียงข้างน้อยหรือเสียงข้างมาก ตราบใดที่ความเห็นนั้นมิได้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น)

ตราบใดที่เราไร้ซึ่งเสรีภาพที่แท้จริงในการถกเถียงประเด็นที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของสังคมและการเมืองไทย “สังคมอุดมปัญญา” จะเกิดขึ้นจริงในประเทศนี้ได้อย่างไร? ประเทศเราจะพัฒนาอย่างแท้จริง ไม่ใช่แบบ “กึ่งดิบ กึ่งดี” ในปัจจุบันที่ความอยุติธรรมยังเกิดขึ้นอย่างมโหฬารได้อย่างไร?

เมื่อไรที่เราจะลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายสองฉบับนี้?

ขอเชิญทุกท่านดาวน์โหลดข้อเขียนอันยอดเยี่ยมชุด “ภาคที่ 1 สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ” จากหนังสือที่ถูกแบน ซึ่งผู้เขียนรวบรวมและแปลงเป็น PDF จากเว็บไซต์ต่างๆ ได้จากที่นี่ [PDF, 34 หน้า] หรือคลิ้กที่รูปหนังสือ หรือดาวน์โหลดจากหน้า “Downloads” และขอเชิญชวนให้ใช้วิจารณญาณของแต่ละท่านไตร่ตรองดูเถิดว่า เนื้อหาแบบนี้ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หรือไม่

เพราะผู้เขียนเชื่อว่า เราทุกคนควรมีสิทธิและเสรีภาพโดยสมบูรณ์ ที่กฎหมายคุ้มครองอย่างแท้จริง ในการแสดงความเห็นและอภิปรายกันเรื่องบทบาทของทุกสถาบันในสังคมไทย โดยเฉพาะสถาบันที่มีบทบาทสูงมากอย่างสถาบันกษัตริย์ ตราบใดที่มิได้เป็นการกุเรื่องเท็จเพื่อ “โจมตี” บุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ท้ายนี้ ขอแปะบางส่วนจากเนื้อหาในหนังสือไว้บนบล็อกนี้ เพื่อให้ดูเป็นตัวอย่างของข้อเขียนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวิวาทะสาธารณะที่ยังมีน้อยเกินไปในสังคมไทย คนไทยทุกคนควรอ่าน อภิปราย และร่วมกันเผยแพร่เอกสารฉบับนี้ในวงกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้:


ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หนังสือเล่มใหม่ล่าสุดของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ‘ส.ศิวรักษ์’ เรื่อง “ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทย ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม” ได้ถูกตำรวจสันติบาลเก็บยึดออกจากแผง ด้วยข้อหาว่า “ลงข้อความอันอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน” อ้างตาม พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 โดยคำสั่งลงวันที่ 28 ก.ย. 2550

ในเมื่อตำรวจอ้างเหตุผลเชยๆ เรื่อง “ความสงบเรียบร้อย” และ “ศีลธรรมอันดี” กับหนังสือยอดเยี่ยมที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะภาคแรก (1/3) ของหนังสือที่ใช้หัวข้อ “สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ” ก็เป็นที่แน่นอนว่าสาเหตุที่หนังสือเล่มนี้ถูกแบนนั้น คือความเห็นของตำรวจที่ว่าเนื้อหาบางส่วนเข้าข่าย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ทั้งๆ ที่เนื้อหาของบทความทั้งหมดในภาคดังกล่าวของหนังสือ ล้วนเป็นข้อคิดข้อเขียนเชิงวิชาการของหนึ่งใน “สุดยอดปัญญาชนสยาม” ที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวิวาทะเรื่องบทบาทของสถาบันกษัตริย์ไทยในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นวิวาทะที่สังคมไทย “จำเป็น” จะต้องถกกันอย่างกว้างขวาง เพราะสถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งใน “สถาบันหลัก” ของสังคมที่มีอิทธิพลและความเกี่ยวโยงต่อชีวิตคนไทยในแทบทุกมิติ

หนังสือเล่มนี้ไร้ซึ่งข้อความใดๆ ทั้งสิ้นที่ใครก็ตามที่มีสามัญสำนึกจะดูออกว่าเป็นการ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าอาจารย์สุลักษณ์จะเอ่ยถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันบ้าง ก็ล้วนแต่เป็นการเอ่ยถึงอย่างชื่นชมหรือไร้อคติทั้งนั้น เช่น:

“…อย่างเศรษฐกิจพอเพียงของเรา พระเจ้าอยู่หัวท่านดำรงพระชนม์อย่างเรียบง่ายมาก เป็นแบบอย่างเพราะแม้กระทั่งมีดโกน ท่านจะใช้จนกระทั่งเก่าขึ้นสนิม ฯลฯ แต่เท่านั้นยังไม่พอครับ เราจะต้องดูตัวโครงสร้าง ตัวค่าใช้จ่ายในราชสำนัก โครงการในพระราชดำริ ฯลฯ ต้องมาพิจารณาดูให้ตลอด จึงจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจริงจัง…”

นอกจากจะเป็นการกระทำที่ “เกินกว่าเหตุ” และไร้เหตุผลเพียงพอรองรับในความเห็นของผู้เขียน การสั่งแบนหนังสือในครั้งนี้ยังเป็นการกระทำที่ “เปิ่น” ไม่น้อย เมื่อคำนึงว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการรวมข้อเขียนในรอบปีของอาจารย์สุลักษณ์ ที่อยู่ในแผงมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 (5 เดือนก่อนมีคำสั่งยึด) และแทบทุกชิ้นได้รับการตีพิมพ์ไปแล้วก่อนหน้านี้ ตอนนี้ท่านก็ยังหาอ่านได้บนเว็บต่างๆ รวมทั้งจากเว็บไซต์ส่วนตัวของอาจารย์เองด้วย

เราต้องทนความ “ใจแคบ,” “ล้าหลัง,” และ “กลั่นแกล้ง” ของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาท และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปอีกนานเท่าไร เราจึงจะสามารถมี “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” และ “เสรีภาพทางวิชาการ” อย่างเต็มที่จริงๆ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติคุ้มครองไว้?

ในเมื่อมีตัวอย่างนับไม่ถ้วนที่แสดงให้เราเห็นแล้วว่า บทบัญญัติในกฎหมายหมิ่นประมาทและกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบันสามารถใช้เป็น “ข้ออ้าง” ในการข่มขู่เพื่อ “ปิดปาก” ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือใช้ผลักดันวาระซ่อนเร้นทางการเมืองของผู้มีอำนาจได้อย่างง่ายดาย ประเทศนี้จะเป็น “ประชาธิปไตย” ที่แท้จริงได้อย่างไร? (หมายถึงประชาธิปไตยที่ “เคารพ” ความเห็นของสมาชิกทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความเห็นของเสียงข้างน้อยหรือเสียงข้างมาก ตราบใดที่ความเห็นนั้นมิได้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น)

ตราบใดที่เราไร้ซึ่งเสรีภาพที่แท้จริงในการถกเถียงประเด็นที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของสังคมและการเมืองไทย “สังคมอุดมปัญญา” จะเกิดขึ้นจริงในประเทศนี้ได้อย่างไร? ประเทศเราจะพัฒนาอย่างแท้จริง ไม่ใช่แบบ “กึ่งดิบ กึ่งดี” ในปัจจุบันที่ความอยุติธรรมยังเกิดขึ้นอย่างมโหฬารได้อย่างไร?

เมื่อไรที่เราจะลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายสองฉบับนี้?

ขอเชิญทุกท่านดาวน์โหลดข้อเขียนอันยอดเยี่ยมชุด “ภาคที่ 1 สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ” จากหนังสือที่ถูกแบน ซึ่งผู้เขียนรวบรวมและแปลงเป็น PDF จากเว็บไซต์ต่างๆ ได้จากที่นี่ [PDF, 34 หน้า] หรือคลิ้กที่รูปหนังสือ หรือดาวน์โหลดจากหน้า “Downloads” และขอเชิญชวนให้ใช้วิจารณญาณของแต่ละท่านไตร่ตรองดูเถิดว่า เนื้อหาแบบนี้ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หรือไม่

เพราะผู้เขียนเชื่อว่า เราทุกคนควรมีสิทธิและเสรีภาพโดยสมบูรณ์ ที่กฎหมายคุ้มครองอย่างแท้จริง ในการแสดงความเห็นและอภิปรายกันเรื่องบทบาทของทุกสถาบันในสังคมไทย โดยเฉพาะสถาบันที่มีบทบาทสูงมากอย่างสถาบันกษัตริย์ ตราบใดที่มิได้เป็นการกุเรื่องเท็จเพื่อ “โจมตี” บุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ท้ายนี้ ขอแปะบางส่วนจากเนื้อหาในหนังสือไว้บนบล็อกนี้ เพื่อให้ดูเป็นตัวอย่างของข้อเขียนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวิวาทะสาธารณะที่ยังมีน้อยเกินไปในสังคมไทย คนไทยทุกคนควรอ่าน อภิปราย และร่วมกันเผยแพร่เอกสารฉบับนี้ในวงกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้:

บางตอนจาก “คำกล่าวปิดการอภิปรายทางวิชาการว่าด้วยพระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญ”

…ทางฝ่ายพุทธนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามก็ตรัสว่า พระองค์ทรงได้รับเชิญเสด็จให้เสวยราชย์ โดย ‘เอนกนิกรสโมสรสมมติ’ ก็ย่อมต้องทรงปกครองโดยธรรม เพื่อความผาสุกของมหาชนชาวสยาม และจะไม่ทรงประกอบพระราชกิจอันใดที่สำคัญ เว้นแต่จะได้ทรงหารือและได้รับความเห็นชอบแล้วจากมุขมนตรี แต่ถ้าไม่ทรงปกครองโดยธรรม ‘เอนกนิกรสโมสรสมมติ’ ก็สามารถถอดถอนพระองค์ท่านออกจากสิริราชสมบัติได้

ชาดกทางฝ่ายพุทธแสดงเรื่องในอดีตไว้ชัดเจนว่า ถ้าพระราชาไม่ทรงธรรม ย่อมต้องทรงถูกท้าทายจากอำนาจที่อยู่นอกเหนือสถาบันกษัตริย์ อย่างกรณีของท้าวสามล (ซึ่งมาจากสุวรรณสังข์ชาดก) ท ี่ไม่ให้ความยุติธรรมแก่เจ้าเงาะ เพราะเห็นว่าเป็นคนป่าเถื่อนนั้น พระอินทร์ก็ต้องเสด็จลงมาท้าทายให้ตีคลี และอย่างกรณีของเวสสันดรชาดกนั้น แม้พระยุพราชจะทรงธรรม แต่ราษฎรเห็นว่าทรงมีพระทัยดีเกินไป ก็รวมพลังมวลชนมาขับไล่พระองค์ให้ออกจากราชธานีไป

ตามทางของฝ่ายพุทธศาสนานั้น พระมหากษัตริย์เป็นตัวแทนของอาณาจักร (คือกลไกในการปกครองที่ใช้อำนาจ) ในขณะที่คณะสงฆ์เป็นตัวแทนของธรรมจักร ที่คอยเตือนสติฝ่ายอาณาจักร ให้ใช้อำนาจไปในขอบเขตของความชอบธรรม

ถ้าคณะสงฆ์ทรงไว้ซึ่งศีลาจารวัตร อย่างรู้เท่าทันสังคมและการเมือง ย่อมเป็นห้ามล้อให้วงล้อของอำนาจไม่หมุนออกนอกลู่นอกทาง เช่น กรณีของสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว ในสมัยพระนเรศวร ที่เตือนสติพระเจ้าแผ่นดินไม่ให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองผู้จงรักภักดี หรือในกรณีของสมเด็จพระสังฆราช พระพิมลธรรม และพระพุฒาจารย์ ที่ถูกจองจำจนเป็นเหตุให้สิ้นรัชสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรีภายในเวลาอันไม่ช้าหลังจากนั้น ตราบจนกรณีที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง จุดตะเกียงทั้งๆ ที่เป็นกลางวันแสกๆ เข้าไปในจวนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ นี่ก็เป็นการเตือนสติท่านผู้นั้น ให้พิจารณาตนเอง เพื่อไม่ให้กำเริบเสิบสานเกินเลยพระราชอำนาจของยุวกษัตริย์ เป็นต้น

ตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา เกิดคำว่าชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หรือชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ ขึ้นมา จากจิตสำนึกที่เอาอย่างอังกฤษในเรื่อง God King and Country โดยที่อังกฤษเอาคำทั้งสามนี้มาใช้มอมเมาคนให้ยอมตายเพื่อพระผู้เป็นเจ้า เพื่อพระราชามหากษัตริย์และเพื่อแผ่นดินเกิด โดยที่ฝรั่งได้ทำสงครามทางศาสนากันมานักต่อนัก ทั้งๆ ที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวกัน พระราชาในยุโรปที่ประกาศสงครามกันและกัน เช่น เยอรมันกับอังกฤษนั้นเล่า ก็เป็นพระญาติกันอย่างสนิท แม้ประเทศชาติที่เป็นคู่สงครามกันนั้น ก็ปรากฏว่านายทุนค้าขายกันอย่างร่ำรวยขึ้นมามหาศาลจากการสงคราม แม้จะอยู่ต่างฝ่ายกัน ก็อุดหนุนจุนเจือกันในทางทุนทรัพย์เพื่อผลกำไร โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสรับรู้ด้วย

การที่นายคริสมัส ฮัมเฟรส์ มาถือพุทธจนเป็นนายกพุทธสมาคมคนแรกของอังกฤษนั้น ก็เพราะเขาเห็นว่าพี่ชายเขาต้องไปตายในสงครามโลกครั้งที่ ๑ เพราะถูกรัฐบาลหลอกลวง ให้หลงเชื่อและบังคับขับไสให้ไปตายเพื่อชาติ เพื่อศาสนา และเพื่อพระมหากษัตริย์

ถ้าเราแปลเสียใหม่ว่าชาติไม่ใช่เพียงคนที่พูดภาษาเดียวกัน อาศัยแผ่นดินเกิดอยู่ด้วยกัน โดยอ้างไปในทางสัญชาติและเชื้อชาติ ซึ่งเป็นของปลอมทั้งนั้น หากหมายถึงทุกคนที่เกิดมาอย่างร่วมทุกข์ร่วมสุขกันเป็นมนุษยชาติทั้งหมด เราก็ย่อมจะเกื้อกูลกันและกัน และอุทิศตนเพื่อรับใช้ผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและด้อยโอกาส แม้เขาจะต่างสัญชาติต่างเชื้อชาติจากเรา

ศาสนาก็ไม่ได้หมายความว่าของเราดีที่สุด เราเป็นคนส่วนใหญ่ในแผ่นดิน ศาสนาของเราต้องเป็นศาสนาประจำชาติ ท่านอาจารย์พุทธทาสเตือนเรา ให้ไม่หลงไปกับลัทธิศาสนาที่นำเราไปสู่ความเห็นแก่ตัว นำเราไปสู่ความเป็นชาตินิยม อำนาจนิยม ทุนนิยม หากให้เห็นว่าศาสนาของเพื่อนเราก็ไม่จำต้องด้อยไปกว่าของเรา ให้เคารพนับถือศาสนาของเพื่อนเรา แม้คนไม่มีศาสนา ก็ควรเคารพนับถือเขา แล้วร่วมมือกัน หาทางขจัดความโลภโกรธหลง ซึ่งแสดงออกทางทุนนิยม อำนาจนิยม และนิยมนับถือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีโมหจิตเป็นเจ้าเรือน

พระมหากษัตริย์ก็ควรเป็นสมมติเทพที่ปราศจากความศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ในทางเทวราช โดยที่มนุษย์ก็เป็นเทพได้ ถ้าทรงไว้ซึ่งเทวธรรม คือหิริ ความละอายใจ และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ยิ่งถ้าพระราชมหากษัตริย์ทรงประกอบไปด้วยทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตรด้วยแล้ว ท่านย่อมมีค่าแห่งความเป็นมนุษย์ชั้นนำที่ทุกคนควรเอาเยี่ยง ดังพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระราชปรารภไว้อย่างชัดเจนว่าทรงเป็นสามัญมนุษย์ ที่พูดผิด ทำผิดได้ ถ้าใครจงรักภักดี ก็ควรวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ท่าน

ไม่ควรที่ใครจะเอาพระองค์ท่านหรือสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในการโจมตีใคร เพื่อสร้างลัทธิอัตตนิยมให้ตนเอง หรือเพื่อสร้างความเขื่องให้ตนเองในนามของคำว่ารักชาติ ศาสน์ กษัตริย์อย่างมืดบอดอีกต่อไป ตรัสว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกรายเป็นการทำร้ายพระองค์ท่าน ดังมีพระราชกระแสว่า “ถ้าแตะต้องพระราชมติไม่ได้ เมืองไทยก็ไม่มีทางเจริญ” (ดู King Bhumibol: Strength of the Land ฉบับสำนักนายกรัฐมนตรี ค.ศ. ๒๐๐๐ หน้า ๑๕๐ และปรากฏอยู่ในพระราชดำรัสเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ)

น่าเสียดายที่ผู้ซึ่งทำตนเป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา ยังหาเรื่องร้องเรียนให้มีการจับกุมในเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ตลอดมา โดยไม่ฟังพระบรมราโชวาทเอาเลย เป็นเหตุให้หน่วยงานทางด้านสิทธิมนุษยชนสากลต้องเข้ามาประท้วงคำสั่งที่ให้เก็บนิตยสารฟ้าเดียวกัน และดำเนินคดีกับบรรณาธิการนิตยสารนั้นในเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

แม้หนังสือที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในต่างประเทศ เพียงเอ่ยถึงองค์พระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์ ก็มีคำสั่งห้ามนำหนังสือนั้นๆ เข้ามาสู่ราชอาณาจักรเอาเลย โดยเฉพาะก็เรื่อง (๑) The Devil’s Discus by Rayne Kruger (1964) และ (๒) The Revolutionary King by William Stevenson (1999) รวมถึงเล่มล่าสุด (๓) The King Never Smiles by Paul M. Handley (2006) แล้วนี่มิเป็นการกระทำอันแสดงความอัปยศออกไปในนานาชาติละหรือ และนี่ไม่ขัดพระราชปรารภดอกหรือ โดยที่ในระบบโลกาภิวัตน์ในบัดนั้น การห้ามปรามดังกล่าว เป็นไปได้ละหรือ

แม้รัฐธรรมนูญของไทยในฐานกฎหมายสูงสุดจะเพิ่งมีมาแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่เราไม่เข้าใจเนื้อหาสาระแห่งธรรม ที่ควรจะควบคุมอำนาจรัฐ ให้โปร่งใสและตรวจสอบได้ เราจึงฉีกรัฐธรรมนูญกันทิ้ง อย่างปราศจากความเคารพธรรมหรือความถูกต้องด้วยประการทั้งปวง

ที่ร้ายอย่างสุดๆ ก็คือการทำลายล้างรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังหนึ่งว่าสถาบันดังกล่าวอยู่ตรงข้ามกับธรรมะ จนเผด็จการบางคนเสแสร้งและสรรสร้างให้สถาบันกษัตริย์ศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ อย่างวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ทั้งๆ ที่นั่นคือไสยศาสตร์ ศาสตร์แห่งความหลับใหล ในขณะที่พุทธศาสตร์ คือศาสตร์แห่งการตื่น ซึ่งย่อมเป็นไปตามทางของอหิงสธรรม ที่ปราศจากความรุนแรง อันเป็นเนื้อหาของศีล คือความเป็นปกติทั้งของแต่ละคนและสังคม

สถาบันพระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญ จึงควรเกื้อกูลกันและกัน เพื่อความปกติของสังคม อย่างไปพ้นความโลภ ซึ่งแสดงออกทางทุนนิยม โดยที่บัดนี้ทุนนิยมมาในคราบของบรรษัทข้ามชาติและสยบยอมกับอภิมหาอำนาจอีกด้วย กล่าวคือทุนนิยมกับอำนาจนิยมผนวกกำลังกันทำให้โลภะและโทสะแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้น โดยใช้วิธีมอมเมาในทางโมหะอีกด้วย

เราจึงจำต้องตื่นขึ้นด้วยการยึดเอาสถาบันกษัตริย์เป็นแนวทางของสมมติเทพ ซึ่งมีเทวธรรมเป็นแกน และสถาบันนี้ต้องควบคู่ไปกับรัฐธรรมนูญที่มีธรรมาธิปไตยเป็นหัวใจของการเมืองการปกครอง ที่มีความชอบธรรมอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ วิพากษ์วิจารณ์ได้

อนึ่ง พึงตราไว้ด้วยว่ายุคสมัยแห่งโลกาภิวัตน์นั้น บรรษัททุนข้ามชาติและอภิมหาอำนาจจะมีอิทธิพลเข้ามาก้าวก่ายภายในราชอาณาจักร ต่างๆ ยิ่งขึ้น พูดภาษาอย่างเก่าก็คือประเทศชาติจะเป็นดังปเทศราชาหรือประเทศราชในทางเศรษฐกิจ โดยมีจักรวรรดิอย่างใหม่ เช่นสหรัฐและจีนเข้ามาครอบงำ ถ้าเรารู้จักปรับให้สถาบันกษัตริย์มีความกล้าหาญทางจริยธรรมอย่างไม่สยบยอมอยู่กับทุนและอำนาจอันปราศจากความชอบธรรม มาประยุกต์ใช้ ให้สถาบันกษัตริย์เป็นไปตามสาระของจักรวรรดิวัตรร่วมสมัย โดยมีธรรมเป็นอำนาจ อย่างรู้จักวางท่าทีอย่างสมกับยุคสมัย ให้ถูกต้อง ย่อมสะกดลัทธิทุนนิยมและบริโภคนิยมลงได้ สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญก็จะเป็นดังธรรมจักร ที่นำอาณาจักรให้ปลอดพ้นไปจากโลกาภิวัตน์ หรือจักรวรรดินิยมอย่างใหม่

ในขณะที่ธรรมจักรเดิมที่มีผ้ากาสาวพัสตร์เป็นธงชัยนั้น หมดสภาพความเป็นห้ามล้อ หรือความเป็นผู้นำในทางธรรมไปเสียแล้ว เพราะไปสยบยอมกับสถาบันกษัตริย์และลัทธิบริโภคนิยมอย่างเกินเลยไป แต่ถ้าสถาบันกษัตริย์เป็นร่มเงาให้คฤหัสถ์ชนชั้นนำช่วยกันหันมาให้ความสำคัญกับสถาบันสงฆ์ ดังกับเป็นการสังคายนาอย่างใหม่ สถาบันนี้ก็อาจมีพระธรรมวินัยเป็นดังธรรมนูญ และธรรมจักรที่มีคณะสงฆ์เป็นแกนกลางก็อาจร่วมกับสถาบันกษัตริย์และพสกนิกรที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม นำรัฐสีมาอาณาจักรให้ไปสู่ความตื่นจากอวิชชาร่วมสมัย ก็ยังได้

ที่สุดนี้ ขอยืนยันถึงถ้อยคำของตนเองที่แสดงไว้เมื่อทศวรรษก่อนว่า สถาบันกษัตริย์แห่งใดเป็นประชาธิปไตยมาก มีพระราชอำนาจน้อย คล้อยตามไปกับโลกสันนิวาสอย่างทันกาลสมัย ยอมยกให้ราษฎรเป็นใหญ่ แม้ราษฎรจะผิดพลาดไปบ้าง สถาบันกษัตริย์ก็ดำรงอยู่ได้ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ถ้าพระราชาธิราชประกาศความแข็งกร้าว ใกล้ชิดกับกองทัพ ยืนหยัดอยู่เหนือราษฎร ดูถูกประชาชน รังเกียจปัญญาชนที่มีความคิดในทางสร้างสรรค์อย่างก้าวหน้า แม้พวกนี้จะผิดไปบ้างอย่างไร อำนาจราชาธิปไตยไปกระทบหรือขัดขืนกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงไร ก็รังแต่เป็นภัยกับสถาบันกษัตริย์ จนปลาสนาการไปได้ แม้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่างออสเตรีย เยอรมัน รัสเซีย และออตโตมาน ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้