อ่าน บทความใหม่ของอาจารย์ไชยันต์ ไชยพร ที่ลง นสพ. กรุงเทพธุรกิจวันนี้แล้วชอบมาก จึงขอแปะมาแบ่งปันให้อ่านโดยทั่วกัน เพราะสังคมเรายังไม่ค่อยมีการถกเถียงเรื่อง “การจัดลำดับความสำคัญ” ของคุณธรรมจริยธรรมต่างๆ เท่าที่ควร แถมยังดูเหมือนจะลำดับความสำคัญผิดพลาดในหลายๆ กรณีอีกด้วย เพราะไม่ว่าจะคุยกันเรื่องอะไร ดูเหมือน “ประโยชน์สาธารณะ” ที่ไม่มีเจ้าภาพชัดเจนเหมือนกับค่าเสียหายส่วนบุคคลเวลาเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนกับคนด้วยกัน จะต้องกลายเป็นเรื่องสำคัญน้อยที่สุดในสายตาของคนส่วนใหญ่ทุกทีไป
ผู้เขียนคิดว่าเรื่องนี้น่าจะสะท้อนระดับวุฒิภาวะของสังคมเราได้ดีระดับหนึ่ง ดังนั้นถ้าถกเถียงอภิปรายเรื่องนี้กันมากๆ ก็น่าจะดึงวุฒิภาวะโดยรวมให้สูงขึ้นได้
คนดีที่เป็นพลเมืองเลว
โดย ไชยันต์ ไชยพร (ลิ้งก์ไปยังเว็บอื่นๆ เพิ่มเติมโดยเจ้าของบล็อก)
ในเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ต้องขอออกตัวว่า ผมไม่ใช่นักกฎหมาย แต่แม้ว่าไม่ใช่นักกฎหมาย ก็ไม่ได้หมายความว่า จะคิดทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายไม่ได้ เพราะมันมีข้อความที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า “คนไทยทุกคน มีหน้าที่ต้องรู้กฎหมายไทย” ถึงเวลาทำอะไรไปแล้วมีคนกล่าวหาว่าผิดกฎหมาย จะทำไขสือตาใสปฏิเสธว่าไม่รู้ เพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดไม่ได้ ดังนั้น ผมจึงมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะต้องทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาเรื่องกฎหมาย
เหตุการณ์ที่ผ่านมาไม่นานนี้ ทำให้ผมเกิดความสงสัยอย่างยิ่งว่า บุตรมีสิทธิอันชอบธรรมหรือไม่ที่จะปฏิเสธให้ถ้อยคำในกระบวนการหาหลักฐานข้อเท็จจริงในการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยอ้างเหตุผลในทำนองที่ว่า ไม่สามารถให้การที่เป็นการให้ร้ายต่อบุพการี ?
จากกรณีดังกล่าว หลายคนอาจนึกถึงคำว่า “อุทลุม” ซึ่งแหล่งข้อมูลได้อธิบายไว้ว่า คำว่า อุทลุม “เป็นถ้อยคำที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า เป็นคำวิเศษณ์ หมายความว่า ผิดประเพณี ผิดธรรมะ” ขณะเดียวกัน ถ้าใครไปพลิกดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ก็จะพบข้อความบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้”
การที่กฎหมายไทยห้ามไม่ให้ลูกฟ้องพ่อแม่ ก็ด้วยการกระทำดังกล่าวต่อบุพการีขัดต่อจารีตประเพณีไทยของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะขนาดในปรัชญาการเมืองกรีกโบราณของเพลโตเอง ก็มีข้อเขียนเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบุตรฟ้องบิดาของตนในบทสนทนาที่ชื่อ ยูไทโฟร โดยที่เนื้อเรื่องเริ่มต้นจากการที่บุรุษที่ชื่อ ยูไทโฟร ไปร้องต่อศาลเพื่อให้ดำเนินการกับบิดาของเขาในข้อหาฆ่าคนตาย โสกราติสซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในบทสนทนาของเพลโต ก็ตั้งคำถามซักไซ้ไล่เรียงถึงความชอบธรรมที่ยูไทโฟรผู้บุตรจะฟ้องบิดาของตน
แต่การให้ข้อมูลข้อเท็จจริงในกระบวนการยุติธรรมมันเป็นคนละเรื่องกับการฟ้องร้อง อุทลุมจึงไม่เกิดขึ้นในกรณีการให้ข้อมูลหรือให้การในศาล ในกรณีการให้ข้อมูลถ้อยคำในคดีที่บิดาถูกกล่าวหา ผู้เป็นบุตรย่อมสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องไปให้ข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อให้ความกระจ่างในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบิดาของตนยืนยันว่าไม่ผิด รวมทั้งหากบุตรเชื่อและรู้ในความบริสุทธิ์ตรงไปตรงมาของบิดาของตน
อ่าน บทความใหม่ของอาจารย์ไชยันต์ ไชยพร ที่ลง นสพ. กรุงเทพธุรกิจวันนี้แล้วชอบมาก จึงขอแปะมาแบ่งปันให้อ่านโดยทั่วกัน เพราะสังคมเรายังไม่ค่อยมีการถกเถียงเรื่อง “การจัดลำดับความสำคัญ” ของคุณธรรมจริยธรรมต่างๆ เท่าที่ควร แถมยังดูเหมือนจะลำดับความสำคัญผิดพลาดในหลายๆ กรณีอีกด้วย เพราะไม่ว่าจะคุยกันเรื่องอะไร ดูเหมือน “ประโยชน์สาธารณะ” ที่ไม่มีเจ้าภาพชัดเจนเหมือนกับค่าเสียหายส่วนบุคคลเวลาเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนกับคนด้วยกัน จะต้องกลายเป็นเรื่องสำคัญน้อยที่สุดในสายตาของคนส่วนใหญ่ทุกทีไป
ผู้เขียนคิดว่าเรื่องนี้น่าจะสะท้อนระดับวุฒิภาวะของสังคมเราได้ดีระดับหนึ่ง ดังนั้นถ้าถกเถียงอภิปรายเรื่องนี้กันมากๆ ก็น่าจะดึงวุฒิภาวะโดยรวมให้สูงขึ้นได้
คนดีที่เป็นพลเมืองเลว
โดย ไชยันต์ ไชยพร (ลิ้งก์ไปยังเว็บอื่นๆ เพิ่มเติมโดยเจ้าของบล็อก)
ในเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ต้องขอออกตัวว่า ผมไม่ใช่นักกฎหมาย แต่แม้ว่าไม่ใช่นักกฎหมาย ก็ไม่ได้หมายความว่า จะคิดทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายไม่ได้ เพราะมันมีข้อความที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า “คนไทยทุกคน มีหน้าที่ต้องรู้กฎหมายไทย” ถึงเวลาทำอะไรไปแล้วมีคนกล่าวหาว่าผิดกฎหมาย จะทำไขสือตาใสปฏิเสธว่าไม่รู้ เพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดไม่ได้ ดังนั้น ผมจึงมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะต้องทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาเรื่องกฎหมาย
เหตุการณ์ที่ผ่านมาไม่นานนี้ ทำให้ผมเกิดความสงสัยอย่างยิ่งว่า บุตรมีสิทธิอันชอบธรรมหรือไม่ที่จะปฏิเสธให้ถ้อยคำในกระบวนการหาหลักฐานข้อเท็จจริงในการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยอ้างเหตุผลในทำนองที่ว่า ไม่สามารถให้การที่เป็นการให้ร้ายต่อบุพการี ?
จากกรณีดังกล่าว หลายคนอาจนึกถึงคำว่า “อุทลุม” ซึ่งแหล่งข้อมูลได้อธิบายไว้ว่า คำว่า อุทลุม “เป็นถ้อยคำที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า เป็นคำวิเศษณ์ หมายความว่า ผิดประเพณี ผิดธรรมะ” ขณะเดียวกัน ถ้าใครไปพลิกดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ก็จะพบข้อความบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้”
การที่กฎหมายไทยห้ามไม่ให้ลูกฟ้องพ่อแม่ ก็ด้วยการกระทำดังกล่าวต่อบุพการีขัดต่อจารีตประเพณีไทยของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะขนาดในปรัชญาการเมืองกรีกโบราณของเพลโตเอง ก็มีข้อเขียนเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบุตรฟ้องบิดาของตนในบทสนทนาที่ชื่อ ยูไทโฟร โดยที่เนื้อเรื่องเริ่มต้นจากการที่บุรุษที่ชื่อ ยูไทโฟร ไปร้องต่อศาลเพื่อให้ดำเนินการกับบิดาของเขาในข้อหาฆ่าคนตาย โสกราติสซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในบทสนทนาของเพลโต ก็ตั้งคำถามซักไซ้ไล่เรียงถึงความชอบธรรมที่ยูไทโฟรผู้บุตรจะฟ้องบิดาของตน
แต่การให้ข้อมูลข้อเท็จจริงในกระบวนการยุติธรรมมันเป็นคนละเรื่องกับการฟ้องร้อง อุทลุมจึงไม่เกิดขึ้นในกรณีการให้ข้อมูลหรือให้การในศาล ในกรณีการให้ข้อมูลถ้อยคำในคดีที่บิดาถูกกล่าวหา ผู้เป็นบุตรย่อมสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องไปให้ข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อให้ความกระจ่างในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบิดาของตนยืนยันว่าไม่ผิด รวมทั้งหากบุตรเชื่อและรู้ในความบริสุทธิ์ตรงไปตรงมาของบิดาของตน
นอกเสียจากว่า บุตรจะตระหนักว่า ถ้าเปิดเผยข้อเท็จจริงไปแล้ว จะเป็นหลักฐานมัดตัวบิดาของตน ซึ่งในกรณีแบบนี้ ไม่แปลกที่หลายคนอาจเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้ที่เป็นบุตร
แต่ในกรณีที่บุตรเป็นผู้กระทำธุรกรรม ซึ่งยังผลให้เกิดข้อสงสัย-ข้อกล่าวหากับตัวบิดา ในฐานะที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังธุรกรรมดังกล่าว ย่อมยากที่จะปฏิเสธไม่ให้ข้อมูล-ข้อเท็จจริง เพราะเป็นกรรมที่กระทำด้วยตัวเองตามกฎหมาย อีกทั้งตนก็บรรลุนิติภาวะแล้วด้วย
อีกทั้งกรณีข้อกล่าวหาที่มีต่อบิดาของตนนั้น ได้กลายเป็นความขัดแย้งแบ่งประชาชนร่วมชาติออกเป็นสองฝ่ายลุกเป็นไฟทั้งประเทศ ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าไม่ผิด อีกฝ่ายเชื่อว่าผิด แต่จะถูกจะผิดอย่างไร ก็ต้องให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินไปให้ถึงที่สุด ถ้าผิดก็ว่าตามผิด แต่ถ้าไม่ผิด ก็จะได้เฮกัน เรื่องก็จะได้จบลง แต่เมื่อไม่ร่วมมือที่จะให้กระบวนการดำเนินไปได้โดยสะดวก ความขัดแย้งนี้ก็จำต้องดำเนินต่อไป
อย่างไรก็ตาม คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยังเห็นว่า การปฏิเสธที่จะให้ถ้อยคำดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องของคุณธรรมของผู้เป็นบุตรที่พึงปฏิบัติต่อบุพการี ที่สมาชิกในครอบครัวต้องให้ความสำคัญต่อการปกป้องสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะผู้เป็นบิดาของตน ความกตัญญูกตเวทิตาถือเป็นคุณธรรมยิ่งใหญ่ไม่เฉพาะในสังคมไทย แต่รวมถึงสังคมอื่นๆ โดยทั่วไป
แน่นอนว่า ในสภาวะปกติที่คนในครอบครัวหนึ่งมีปัญหาในทางกฎหมายกับอีกครอบครัวหนึ่ง คนในแต่ละครอบครัวก็ย่อมต้องถือผลประโยชน์ และความเป็นหนึ่งเดียวของครอบครัวของตนเป็นสำคัญโดยเบื้องแรก ไม่มีใครปฏิเสธได้
แต่ถ้าหากผลประโยชน์ของครอบครัวของตนเกิดเป็นปัญหาขัดแย้งกับผลประโยชน์สาธารณะ ในแง่นี้ ความขัดแย้งในเรื่องจริยธรรมคุณธรรมเกิดขึ้นทันที นั่นคือ จริยธรรมคุณธรรมของความเป็นสมาชิกในครอบครัวกับจริยธรรมคุณธรรมของความเป็นพลเมือง
เมื่อเกิดปัญหาทางสองแพร่งที่คนๆ หนึ่ง ต้องเลือกระหว่างการเป็นลูกที่ดีกับการเป็นพลเมืองดี เธอควรจะเลือกอะไร ?
จะว่าไปแล้ว หากเจ้าชายสิทธัตถะไม่ทรงทิ้งครอบครัวของพระองค์ไป แต่กลับเลือกที่จะเป็นลูกที่ดี สามีที่ดี พ่อที่ดีตามหลักจริยธรรมคุณธรรมของครอบครัวโดยทั่วไปแล้ว โลกก็คงไม่มีพระพุทธเจ้าอย่างที่มีทุกวันนี้ !
พี่น้องประชาชนไทยเราจำนวนไม่น้อย อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับปัญหาความขัดแย้งทางจริยธรรมคุณธรรมแบบนี้ เพราะที่ผ่านมา หลายคนมักจะเข้าใจว่า จริยธรรมคุณธรรมมีชุดเดียว ถ้าคนไหนทำดีมีจริยธรรมคุณธรรมก็ย่อมเป็นคนดี เป็นลูกที่ดีก็ย่อมเป็นพลเมืองดีด้วยในเวลาเดียวกัน ไม่น่ามีปัญหาอะไร หรือใครเป็นพ่อที่ดีรักลูกปกป้องลูกที่แสนเลว สังคมไทยเราก็ยังเห็นใจว่า ผู้เป็นพ่อก็ยังมีจริยธรรมคุณธรรมความเป็นพ่อ แต่ไม่เคยฉุกคิดว่า เขาคนนั้นเป็นพลเมืองที่เลว
เช่นเดียวกันกับลูกที่ดีที่ปกป้องพ่อที่เลว หรือช่วยกันคนละไม้คนละมือในครอบครัวปกป้องผลประโยชน์ของครอบครัว โดยไม่สนใจว่าสาธารณะจะเสียประโยชน์ไปแค่ไหน อย่างนี้ก็ถือได้ว่าเป็นพลเมืองเลวกันทั้งครอบครัว และไม่มีจริยธรรมคุณธรรมพอที่จะอยู่ร่วมแผ่นดินกับคนอื่นๆ ได้
การที่คนหรือครอบครัวแต่ละครอบครัวมาอยู่รวมกันเป็นสังคมเป็นบ้านเป็นเมือง ทำให้มีการแบ่งงานกันทำ มีการปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้ความถนัด ตลอดจนสินค้าข้าวของต่างๆ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าอยู่ลำพังครอบครัวเดียวในป่าดงพงไพร ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้คนและครอบครัวแต่ละครอบครัวอยากจะอยู่รวมกันเป็นสังคมก็คือ ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมนั่นเอง เพราะถ้ามาอยู่รวมกันแล้ว มีแต่แข่งขันกอบโกยผลประโยชน์เข้าครอบครัวของตน ท้ายที่สุด สังคมก็จะเป็นสังคมต่อไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครที่เสียเปรียบอยากจะอยู่ต่อไป สู้ไปอยู่ตามลำพัง แต่คุณภาพชีวิตต่ำลงมาหน่อย ก็ยังจะดีกว่าที่จะต้องเผชิญกับความอยุติธรรมอยู่ร่ำไป
ดังนั้น เมื่อคนมาอยู่รวมกัน ก็ต้องเข้าใจถึงสิ่งที่เป็นผลประโยชน์สาธารณะ หากยังยืนยันที่จะมุ่งแต่ผลประโยชน์ของครอบครัว โดยยืนยันจริยธรรมคุณธรรมของความเป็นสมาชิกในครอบครัวเหนือจริยธรรมคุณธรรมความเป็นพลเมือง ก็แปลว่า คนเหล่านั้นยังไม่มีจิตสำนึกของความเป็นคนร่วมชาติร่วมแผ่นดิน แต่มองสังคมเป็นพื้นที่ที่ตนจะฉกฉวยแก่งแย่งแข่งขันกอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างเข้ากระเป๋าครอบครัวของตน
ครอบครัวจะอยู่ไม่ได้ หากไม่มีผืนแผ่นดินรองรับให้ย่ำเดินตั้งแต่เล็กจนโต ครอบครัวจะอยู่ไม่ได้ หากไม่มีผู้คนอาชีพอื่นๆ ที่เพาะปลูกทำไร่ไถ่นา ไม่มีคนซื้อสินค้าของครอบครัวของตน จนทำให้ครอบครัวของตนร่ำรวยสุดหล้าฟ้าดิน
และสิ่งที่คนร่วมแผ่นดินทุกคนยอมเสียสละให้เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมก็คือ ภาษี ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานชัดเจนที่สุด ขนาดนักเรียนชั้นมัธยมต้นก็ตอบได้กันทุกคน และคงไม่ต้องพูดถึงว่า หากบุคคลที่เลือกที่จะหาทางทุกทาง เพื่อที่จะเลี่ยงภาษีอย่างถูกกฎหมายเป็นผู้ที่ถึงกับดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว บุคคลนั้นจะขาดจริยธรรมคุณธรรมของความเป็นพลเมืองร่วมแผ่นดินเพียงใด และทรยศต่อความไว้วางใจของพลเมืองร่วมแผ่นดินขนาดไหน?