ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม, Dani Rodrik, Raghuram Rajan, วิกฤตการเงินอเมริกา

ช่วงนี้ยุ่งหัวฟูมากๆ กับงานวิจัยสองชิ้นที่ต้องส่งปลายเดือนนี้ ไม่นับงานหลวงงานราษฎร์อื่นๆ ที่ต้องทำเป็นประจำอยู่แล้ว (และต้องทำล่วงหน้าด้วย จะได้หนีไปเที่ยวช่วงปลายปีได้ :D) ดังนั้นวันนี้จึงต้อง “ขัดตาทัพ” ไปก่อน ด้วยการแบ่งปันเอกสารบางชิ้นที่เขียน/แปล/เรียบเรียงเมื่อไม่นานมานี้ในวาระต่างๆ เผื่อจะเป็นประโยชน์ค่ะ (ทั้งหมดนี้อยู่ในหน้า writings ของบล็อกนี้ด้วย ซึ่งจริงๆ ก็มาอัพเดทอยู่เรื่อยๆ แต่ไ่ม่ค่อยได้โพสแจ้ง) 🙂

  1. คิดใหม่เรื่องความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม [PDF, 15 หน้า] แปลจาก Rethinking the Social Responsibility of Business: A Reason Debate โดย Milton Friedman, John Mackey, และ T.J. Rodgers – ใช้ในการสอนวิชา กธ. 301 ธุรกิจกับสังคมและชุมชน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. ดานี ร็อดริก: ‘ความผิดหวังจากโลกาภิวัตน์ในภาคการเงิน’ – สรุปความจากงาน International Symposium ของธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2551 ตีพิมพ์ครั้งแรกใน Special Issue ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2551; ดาวน์โหลดเปเปอร์ประกอบ เรื่อง Why Did Financial Globalization Disappoint? by Dani Rodrik and Arvind Subramanian [PDF, 30 หน้า]
  3. รากุราม ราจัน: ที่มาของวิกฤตการเงิน และนัยต่อการกำกับดูแล – สรุปความจากงาน International Symposium ของธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2551 ตีพิมพ์ครั้งแรกใน Special Issue ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2551; ดาวน์โหลดเปเปอร์ประกอบ เรื่อง The Global Roots of the Current Financial Crisis and its
    Implications for Regulation
    by Raghuram Rajan, Anil Kashyap and Jeremy Stein [PDF, 44 หน้า]

แถมท้ายด้วยสไลด์เกี่ยวกับวิกฤตการเงินในอเมริกาอีกรอบหนึ่ง คราวนี้เป็นภาษาอังกฤษเพราะผู้ฟังเป็นชาวต่างชาติ ดัดแปลงและต่อเติมจากสไลด์ภาษาไทยเรื่องเดียวกันที่เคยโพสเื่มื่อหลายสัปดาห์ก่อน ช่วงนี้กลายเป็น “สไลด์หากิน” ไปแล้ว เพราะวิกฤตอเมริกาสนุกไม่เลิก (สนุกสำหรับนักการเงินผู้สังเกตการณ์ ไม่สนุกเท่าไหร่สำหรับคนเป็นหนี้) ล่าสุดรัฐบาลเพิ่งออกมายอมรับว่าไอ้ $700 พันล้านเหรียญน่ะไ่ม่ควรจะเอาไปซื้อสินทรัพย์เน่าๆ (ที่มูลค่าลดลงทุกวัน) แต่เอาไปเพิ่มทุนให้ธนาคารโดยตรง (เหมือนที่อังกฤษทำ) จะเวิร์คกว่า แย่จริงๆ เมื่อคำนึงว่าความสำคัญของการเพิ่มทุนธนาคารนี่เป็นเบสิกมากๆ เหมือนเป็นวิชา “สินเชื่อ 101” การปฏิเสธบ่ายเบี่ยงที่จะเพิ่มทุนโดยตรง (ซึ่งแปลว่ารัฐบาลจะเป็นเจ้าของธนาคารอย่างน้อยก็ในช่วง 2-3 ปีนี้) ก็ดูจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการไม่อยาก “เสียหน้า” ของรัฐบาลที่เชิดชูอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่แบบสุดขั้วเสียจนรับไม่ได้กับการให้รัฐเป็นเจ้าของกิจการธนาคาร รัฐบาลของประเทศอื่นๆ ที่ต้องโดดเข้าไป “อุ้ม” ธนาคารเหมือนกันไม่เห็นจะต้องเล่นตัว โลเลเรื่องมากอย่างอเมริกาเลย 😛

US Financial Crisis

View SlideShare presentation or Upload your own. (tags: credit crisis)