อ่านข่าวคุณโชติศักดิ์ อ่อนสูง ถูกฟ้องข้อหาิหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ข่าวที่สื่อกระแสหลักไม่ตีพิมพ์…ตามระเบียบ ยกเว้น Bangkok Post) แล้วทำให้นึกถึงบทความชิ้นนี้ของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
(หลังจากที่ไปอ่านความเห็นต่อกรณีนี้ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ก็ยิ่งรู้สึกเศร้ากับภาวะ “ไร้วุฒิภาวะ” ของสังคม ทำไมการแยกแยะระหว่าง “เรื่องที่ควรเป็นกฎหมาย” กับ “เรื่องที่ควรเป็นค่านิยม/ศีลธรรม” ถึงได้เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญที่จะอธิบายให้คนหลายๆ คนเข้าใจ? และทำไมคนไทยหลายคนจึงยังไม่เข้าใจคำว่า “สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก”? :/ )
หลัก 6 ประการซึ่งถูกประกาศในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีใจความว่า
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
…………………………………………………………………………………………..
อย่างตรงไปตรงมานะครับ ในทัศนะของผม ผมคิดว่าการอภิวัฒน์ของท่านอาจารย์ปรีดีคือความล้มเหลวครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย เพราะว่าเราชอบคิดว่า ความสำเร็จของวันที่ 24 มิ.ย. 2475 คือการอภิวัฒน์ แต่ผมคิดว่าท่านอาจารย์ปรีดีไม่ได้คิดอย่างนั้น
24 มิ.ย. 2475 เป็นเงื่อนไขประการแรกที่จะมีการอภิวัฒน์โดยเริ่มจาการยึดอำนาจจากพวกเจ้า ซึ่งไม่พร้อมที่จะดำเนินการอภิวัฒน์ประเทศไทย และก็อย่างที่ทุกท่านก็ทราบอยู่แล้วว่าท่านอาจารย์ปรีดีไม่ประสบความสำเร็จในการอภิวัฒน์ประเทศไทย ถูกขับไล่ให้ไปอยู่ต่างประเทศจากกรณีเค้าโครงเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นการอภิวัฒน์ก็ล้มเหลวมาโดยตลอด รวมทั้งหลัก 6 ประการด้วย
ในหนังสือเชิญมาร่วมงานบอกว่า รัฐบาลไทยทุกรัฐบาลมาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้นโยบายตามหลัก 6 ประการทั้งสิ้น ซึ่งผมคิดว่าไม่จริง รัฐบาลทุกรัฐบาลเบี้ยวหลัก 6 ประการมาโดยตลอด ตั้งแต่ 2475 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เบี้ยวหลัก 6 ประการมาโดยตลอดโดยวิธีการ 2 อย่าง คือ
วิธีเบี้ยว วิธีที่ 1 หลัก 6 ประการถูกตีความให้เป็น 6 ทั้งๆ ที่ผมคิดว่า เห็นได้ชัดเจนว่า หลัก 6 ประการสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันอย่างแยกจากกันไมได้ เพราะเราไม่สามารถพูดเรื่องอธิปไตยหรือเอกราชของประเทศให้หลุดไปจากเรื่องของความกินดีอยู่ดี เรื่องเศรษฐกิจบ้านเมืองเรื่องเดียวกัน
แล้วก็คงจำได้นะครับว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดครองประเทศไทย แล้วดำเนินนโยบายพัฒนา นโยบายการพัฒนาคืออะไร นโยบายพัฒนาคือการตัดสินใจว่าทรัพยากรที่มีอยู่นั้นเอาไปใช้ทำอะไร ให้ใครเป็นคนใช้ ใครเป็นคนได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถามว่า คุณดำเนินนโยบายการพัฒนาโดยไม่มีอำนาจทางการต่อรองทางการเมืองได้ไหม ทรัพยากรชนิดนี้อยู่ในลักษณะนี้ วันหนึ่งรัฐบอกว่า เฮ้ย ทรัพยากรใช้แบบนี้มันไม่รวยหรอก เอาไปให้ไอ้หมอนั่นใช้ดีกว่า ประเทศจะได้รวย ถามว่าระบบนี้คืออะไร
อ่านข่าวคุณโชติศักดิ์ อ่อนสูง ถูกฟ้องข้อหาิหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ข่าวที่สื่อกระแสหลักไม่ตีพิมพ์…ตามระเบียบ ยกเว้น Bangkok Post) แล้วทำให้นึกถึงบทความชิ้นนี้ของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
(หลังจากที่ไปอ่านความเห็นต่อกรณีนี้ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ก็ยิ่งรู้สึกเศร้ากับภาวะ “ไร้วุฒิภาวะ” ของสังคม ทำไมการแยกแยะระหว่าง “เรื่องที่ควรเป็นกฎหมาย” กับ “เรื่องที่ควรเป็นค่านิยม/ศีลธรรม” ถึงได้เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญที่จะอธิบายให้คนหลายๆ คนเข้าใจ? และทำไมคนไทยหลายคนจึงยังไม่เข้าใจคำว่า “สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก”? :/ )
หลัก 6 ประการซึ่งถูกประกาศในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีใจความว่า
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
…………………………………………………………………………………………..
อย่างตรงไปตรงมานะครับ ในทัศนะของผม ผมคิดว่าการอภิวัฒน์ของท่านอาจารย์ปรีดีคือความล้มเหลวครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย เพราะว่าเราชอบคิดว่า ความสำเร็จของวันที่ 24 มิ.ย. 2475 คือการอภิวัฒน์ แต่ผมคิดว่าท่านอาจารย์ปรีดีไม่ได้คิดอย่างนั้น
24 มิ.ย. 2475 เป็นเงื่อนไขประการแรกที่จะมีการอภิวัฒน์โดยเริ่มจาการยึดอำนาจจากพวกเจ้า ซึ่งไม่พร้อมที่จะดำเนินการอภิวัฒน์ประเทศไทย และก็อย่างที่ทุกท่านก็ทราบอยู่แล้วว่าท่านอาจารย์ปรีดีไม่ประสบความสำเร็จในการอภิวัฒน์ประเทศไทย ถูกขับไล่ให้ไปอยู่ต่างประเทศจากกรณีเค้าโครงเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นการอภิวัฒน์ก็ล้มเหลวมาโดยตลอด รวมทั้งหลัก 6 ประการด้วย
ในหนังสือเชิญมาร่วมงานบอกว่า รัฐบาลไทยทุกรัฐบาลมาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้นโยบายตามหลัก 6 ประการทั้งสิ้น ซึ่งผมคิดว่าไม่จริง รัฐบาลทุกรัฐบาลเบี้ยวหลัก 6 ประการมาโดยตลอด ตั้งแต่ 2475 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เบี้ยวหลัก 6 ประการมาโดยตลอดโดยวิธีการ 2 อย่าง คือ
วิธีเบี้ยว วิธีที่ 1 หลัก 6 ประการถูกตีความให้เป็น 6 ทั้งๆ ที่ผมคิดว่า เห็นได้ชัดเจนว่า หลัก 6 ประการสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันอย่างแยกจากกันไมได้ เพราะเราไม่สามารถพูดเรื่องอธิปไตยหรือเอกราชของประเทศให้หลุดไปจากเรื่องของความกินดีอยู่ดี เรื่องเศรษฐกิจบ้านเมืองเรื่องเดียวกัน
แล้วก็คงจำได้นะครับว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดครองประเทศไทย แล้วดำเนินนโยบายพัฒนา นโยบายการพัฒนาคืออะไร นโยบายพัฒนาคือการตัดสินใจว่าทรัพยากรที่มีอยู่นั้นเอาไปใช้ทำอะไร ให้ใครเป็นคนใช้ ใครเป็นคนได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถามว่า คุณดำเนินนโยบายการพัฒนาโดยไม่มีอำนาจทางการต่อรองทางการเมืองได้ไหม ทรัพยากรชนิดนี้อยู่ในลักษณะนี้ วันหนึ่งรัฐบอกว่า เฮ้ย ทรัพยากรใช้แบบนี้มันไม่รวยหรอก เอาไปให้ไอ้หมอนั่นใช้ดีกว่า ประเทศจะได้รวย ถามว่าระบบนี้คืออะไร
เพราะฉะนั้นนโยบายพัฒนากับสิทธิเสรีภาพทางการเมืองจึงเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน คุณแยกเรื่องของเศรษฐกิจออกจากอำนาจทางการเมืองไม่ได้ แต่คนไทยไปถูกหลอกว่า หลัก 6 ประการนั้นแยกออกจากกันได้ ความจริงคือ คุณเชื่อจอมพลสฤษดิ์ แล้วก็เชื่อสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ นายกรัฐมนตรีปัจจุบันก็ทำแบบเดียวกับจอมพลสฤษดิ์ คือคุณอยู่เฉยๆ เดี๋ยวผมจะทำให้ดีเอง ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ นี่คือวิธีเบี้ยวหลัก 6 วิธีที่หนึ่ง
วิธีเบี้ยว วิธีที่ 2 คือไม่เคยปรับเรื่องการตีความ 6 ประการให้เข้ากับสถานการณ์ อาจารย์ปรีดีท่านประกาศหลัก 6 ประการไว้ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2475 สถานการณ์ของโลกมันก็เปลี่ยนแปลงไปตั้งเยอะแยะแล้ว เราไม่สามารถตีความหลัก 6 ประการเหมือนกับ 2475 ได้
เช่น เอกราชของชาติแปลว่าอะไร แปลว่า ชักธงชาติของตัวเองทุกวัน มีศาลที่สามารถตัดสินกะเหรี่ยง หรือฝรั่งมังค่า แค่นั้นเองหรือ หรือการที่เรามีองค์กรเหนือรัฐเหนือชาติที่เราไม่มีอำนาจทางการต่อรองเลย เช่น WTO เราแทบไม่มีอำนาจในการต่อรองเลย เป็นผู้กำหนดเราทุกอย่าง ถามว่าอย่างนี้เรายังเป็นเอกราชอยู่หรือเปล่า ถ้าเรามองเอกราชตื้นๆ ประเทศไทยจะชักธงโดยไร้เอกราชในสนามรบไปอีกอย่างน่ากลัวมากๆ และผมคิดว่าถ้าท่านอาจารย์ปรีดีมีชีวิตอยู่ ทุกวันนี้ท่านจะตีความเอกราชได้ลึกกว่าพวกเรา
ผมคิดว่า เราต้องตีความเรื่องอธิปไตยหรือเอกราชให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ยิ่งเรามีรัฐบาลไปเจรจาต่อรองเอฟทีเอโดยไม่ปรึกษาใครสักคนเดียว เรามีศาลรัฐธรรมนูญที่สามารถตัดสินว่าจดหมายแสดงเจตจำนงต่อไอเอ็มเอฟว่าไม่ใช่สนธิสัญญา คณะรัฐบาลจะไปเซ็นอะไรก็ได้ พวกเราทุกคนที่เป็นเจ้าของประเทศเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเชื่อว่าเราดำรงรักษาเอกราชไว้ได้นั้นก็ไร้ความหมาย
หากมีใครสักคนมีผลประโยชน์ผูกพันกับโลกาภิวัตน์ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็แล้วแต่ ได้ขายประเทศตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะเราไปมองเรื่องสิทธิกับเอกราชแยกออกจากกัน ที่จริงมันเป็นเรื่องเดียวกัน
และเมื่อโลกมันเปลี่ยนแปลง การให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะรัฐบาลอย่างเดียวไม่สามารถรักษาเอกราชของประเทศไว้ได้ คุณต้องมีฐานของประชาชนที่มีสิ่งที่หลัก 6 ประการเรียกว่า เสรีภาพ และอิสรภาพในการที่จะช่วยกันรักษาเอกราชของประเทศเอาไว้
ไม่มีวีรบุรุษในโลกปัจจุบันนี้ เราทุกคนเป็นวีรบุรุษร่วมกัน
สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ในความเป็นจริงทุกวันนี้ ถามว่ามีความหมายอะไรตามหลัก 6 ประการไหม ผมว่ามันไม่มี เราถูกผูกมัดทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางวัฒนธรรมให้คุณไม่สามารถเสมอภาคกันได้ในเรื่องของสิทธิทางการเมือง เพราะฉะนั้นแม้แต่ความเสมอภาคในการเลือกตั้งก็ไม่จริง มันมีข้อผูกมัดทางวัฒนธรรมอีกเป็นอันมากที่ทำให้คนไม่สามารถมีสิทธิเสรีภาพอย่างที่ประกาศในหลัก 6 ประการได้
และในบรรดาสิทธิเสรีภาพทั้งหลายซึ่งบรรดากฎหมายและรัฐธรรมนูญรับรอง ถามว่าอะไรสำคัญที่สุด ผมคิดว่า คือเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งไม่ได้แปลว่าพูดได้ เขียนได้ โฆษณาได้อย่างเดียวนะครับ แต่หมายความถึงการรวมกลุ่มกัน เช่นสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นี่คือสิทธิเสรีภาพอย่างหนึ่ง เพราะการรวมกลุ่มกันในตัวของมันเองเกิดความหมายขึ้นแล้ว ยิ่งเกิดอำนาจต่อรองมากขึ้น ถ้าชาวบ้านไม่พอใจเขื่อนปากมูล แล้วเคลื่อนไหวให้เปิดเขื่อนปากมูล สมาคมอุตสาหกรรมอาจจะบอกว่าการเมืองไม่นิ่ง เศรษฐกิจจะพัง แล้วการเมืองนิ่งคืออะไร สมาคมอุตสาหกรรมเป็นผู้ตีความและบอกว่าอะไรคือนิ่ง อะไรคือไม่นิ่ง เวลาที่รัฐบาลไม่ยอมขึ้นภาษีเหล็ก แล้วเหล็กจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศไป สมาคมอุตสาหกรรมเหล็กก็ออกมาเคลื่อนไหว ถ้ามองจากคนปากมูลก็อาจจะบอกว่าไม่นิ่งนี่หว่า ทำให้ไม่มีใครมาฟังเรื่องเขื่อนบ้าง
ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องความปลอดภัย ถ้าคุณใช้สิทธิเสรีภาพแล้วไม่ปลอดภัย สิทธิเสรีภาพที่คุณมีตามกฎหมายนั้น ถ้าคุณใช้อย่างเต็มที่ถามว่า คุณมีความปลอดภัยหรือไม่ เช่น ไปนั่งอยู่หน้าทำเนียบแล้วโดนเทศกิจอุ้มขึ้นไปขึ้นรถ แล้วบอกว่าคุณทำให้เลอะเทอะ แล้วสิทธิเสรีภาพนี่มีความหมายไหม
หลัก 6 ประการนั้นถูกละเลยตลอดมา แล้วมีผลต่อเอกราช เสรีภาพ และเศรษฐกิจ
ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการศึกษา ผมคิดว่าการศึกษาของเรา การศึกษาไทยมีการขยายตัวมาก 2 ครั้งคือ หลัง 2475 และครั้งที่ 2 คือ หลังสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะต้องการแรงงานมากขึ้น แต่ถามว่า ทุกวันนี้มีไหมการศึกษาที่ขยายตัวอย่างเพียงพอ เราจะพบว่าไม่เพียงพอ เพราะเหตุผลสำคัญคือเราให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบน้อยมาก เมื่อไหร่ก็ตามแต่ที่นึกถึงการศึกษา เรานึกถึงโรงเรียนทุกที เรานึกถึงมหาวิทยาลัยทุกที
ถ้าเราให้ความสำคัญกับการศึกษาเฉพาะการเรียนมหาวิทยาลัย ผมเชื่อว่าเราทุกคนโง่เป็นควายทั้งนั้นเลย เพราะเรารู้อะไรๆ จากการคุยกัน จากการอ่านหนังสือ จากหนัง ทีวี จากการขึ้นรถเมล์ จากการร่วมนินทาคนอื่นเขา ทั้งหมดนี่คือการเรียนรู้ จะมีโรงเรียนกี่โรงเรียนก็แล้วแต่ แต่ถ้าเรายังมีทีวีอย่างที่มันโง่อยู่ทุกวันนี้ แล้วจะทำให้คนไทยฉลาด มันจะเป็นไปได้อย่างไร
เด็กเรียนรู้ที่สนามเด็กเล่น ไม่ใช่ในห้องเรียน แล้วเราไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบการเรียนรู้ที่อยู่นอกห้องเรียน เมื่อไหร่เราถึงจะสามารถทำให้ชาวนาที่อยู่บ้านนอกไม่ว่าจะจบ ป. อะไรก็แล้วแต่มีความรู้เพิ่มขึ้นได้ ถ้ายังทำไม่ได้ ไม่มีทางที่เราจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ผมคิดว่าจนถึงทุกวันนี้ เรามีแต่ระบบการศึกษาที่จะฝึกแรงงาน แต่เราไม่มีระบบการศึกษาที่พัฒนาสมองคน.