[เพิ่งได้อ่านเอกสารชิ้นนี้ น่าสนใจดีและเห็นว่าไม่ยาวมากเลยแปลมาแบ่งกันอ่านค่ะ (อาจจะใส่เป็นภาคผนวกของ “คู่มือสื่อพลเมือง” ซึ่งยังเขียนไม่เสร็จเลย) ตอนนี้งานยุ่งหัวฟูเหมือนเดิมหลังจากหายไปซานฟรานซิสโกสัปดาห์หนึ่งเพื่อไปงาน SoCap’09 ตอนนี้กำลังเขียนเรียบเรียงประสบการณ์เป็นบทความอยู่ ดูรูปที่ถ่ายในซานฟรานสองวันหลังงานเลิกได้ที่ Flickr set หน้านี้ (มีแต่ SFMOMA กับ Exploratorium เป็นส่วนใหญ่ อยู่แห่งละครึ่งวันก็หมดเวลาแล้ว :P)]
ถ้าอยากดาวน์โหลด PDF ของบทความด้านล่างนี้แทนเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ [PDF, 3 หน้า] – อยากให้คนที่ทำงานสื่อกระแสหลักได้อ่านและนำไปอภิปราย & เผยแพร่เยอะๆ 😉
แถลงการณ์อินเทอร์เน็ต
แปลจาก The Internet Manifesto – ต้นฉบับดั้งเดิมเป็นภาษาเยอรมัน
1. อินเทอร์เน็ตไม่เหมือนโลกนอกเน็ต
อินเทอร์เน็ตสร้างโลกสาธารณะหลายใบ เงื่อนไขทางการค้า และทักษะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากโลกนอกเน็ต สื่อจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของพวกเขาให้สอดคล้องกับความเป็นจริงด้านเทคโนโลยีของทุกวันนี้ แทนที่จะเพิกเฉยหรือท้าทายมัน สื่อมีหน้าที่พัฒนารูปแบบสื่อสารมวลชนที่ดีที่สุดที่ตั้งอยู่บนเทคโนโลยีล่าสุด ทั้งนี้รวมถึงผลิตภัณฑ์และวิธีวิทยาทางสื่อสารมวลชนใหม่ๆ ด้วย
2. อินเทอร์เน็ตคืออาณาจักรสื่อขนาดจิ๋ว
เว็บจัดเรียงโครงสร้างสื่อที่มีอยู่เดิมเสียใหม่ ด้วยการข้ามพ้นพรมแดนเก่าๆ และภาวะตลาดที่มีผู้เล่นน้อยราย การตีพิมพ์และเผยแผ่เนื้อหาสื่อไม่ต้องขึ้นอยู่กับการลงทุนมหาศาลอีกต่อไป โชคดีที่แนวคิดเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนเองกำลังถูก ‘เยียวยา’ (cured) ให้หลุดพ้นจากหน้าที่ ‘ยามเฝ้าประตู’ (gatekeeping function) สิ่งที่ยังเหลืออยู่มีเพียงคุณภาพของสื่อสารมวลชนเอง อันเป็นวิธีสร้างความแตกต่างระหว่างการเป็น ‘สื่อสารมวลชน’ กับการ ‘ตีพิมพ์’ เฉยๆ (mere publication)
3. อินเทอร์เน็ตคือสังคมของเรา สังคมของเราคืออินเทอร์เน็ต
เวทีที่ตั้งอยู่บนเว็บหลายแห่ง เช่น social network, วิกิพีเดีย หรือยูทูบ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสำหรับคนส่วนใหญ่ในซีกโลกตะวันตก เว็บเหล่านี้เข้าถึงได้ง่ายดายพอๆ กับโทรศัพท์หรือโทรทัศน์ ถ้าบริษัทสื่อมวลชนอยากจะดำรงอยู่ต่อไป พวกเขาจะต้องเข้าใจโลกของผู้ใช้ในวันนี้ และโอบอุ้มรูปแบบการสื่อสารของพวกเขา ซึ่งรวมถึงรูปแบบพื้นฐานของการสื่อสารในสังคม – การฟังและตอบกลับ หรือที่เรารู้จักในชื่อ บทสนทนา (dialog)
[เพิ่งได้อ่านเอกสารชิ้นนี้ น่าสนใจดีและเห็นว่าไม่ยาวมากเลยแปลมาแบ่งกันอ่านค่ะ (อาจจะใส่เป็นภาคผนวกของ “คู่มือสื่อพลเมือง” ซึ่งยังเขียนไม่เสร็จเลย) ตอนนี้งานยุ่งหัวฟูเหมือนเดิมหลังจากหายไปซานฟรานซิสโกสัปดาห์หนึ่งเพื่อไปงาน SoCap’09 ตอนนี้กำลังเขียนเรียบเรียงประสบการณ์เป็นบทความอยู่ ดูรูปที่ถ่ายในซานฟรานสองวันหลังงานเลิกได้ที่ Flickr set หน้านี้ (มีแต่ SFMOMA กับ Exploratorium เป็นส่วนใหญ่ อยู่แห่งละครึ่งวันก็หมดเวลาแล้ว :P)]
ถ้าอยากดาวน์โหลด PDF ของบทความด้านล่างนี้แทนเพื่อความสะดวกในการเผยแพร่ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ [PDF, 3 หน้า] – อยากให้คนที่ทำงานสื่อกระแสหลักได้อ่านและนำไปอภิปราย & เผยแพร่เยอะๆ 😉
แถลงการณ์อินเทอร์เน็ต
แปลจาก The Internet Manifesto – ต้นฉบับดั้งเดิมเป็นภาษาเยอรมัน
1. อินเทอร์เน็ตไม่เหมือนโลกนอกเน็ต
อินเทอร์เน็ตสร้างโลกสาธารณะหลายใบ เงื่อนไขทางการค้า และทักษะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากโลกนอกเน็ต สื่อจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของพวกเขาให้สอดคล้องกับความเป็นจริงด้านเทคโนโลยีของทุกวันนี้ แทนที่จะเพิกเฉยหรือท้าทายมัน สื่อมีหน้าที่พัฒนารูปแบบสื่อสารมวลชนที่ดีที่สุดที่ตั้งอยู่บนเทคโนโลยีล่าสุด ทั้งนี้รวมถึงผลิตภัณฑ์และวิธีวิทยาทางสื่อสารมวลชนใหม่ๆ ด้วย
2. อินเทอร์เน็ตคืออาณาจักรสื่อขนาดจิ๋ว
เว็บจัดเรียงโครงสร้างสื่อที่มีอยู่เดิมเสียใหม่ ด้วยการข้ามพ้นพรมแดนเก่าๆ และภาวะตลาดที่มีผู้เล่นน้อยราย การตีพิมพ์และเผยแผ่เนื้อหาสื่อไม่ต้องขึ้นอยู่กับการลงทุนมหาศาลอีกต่อไป โชคดีที่แนวคิดเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนเองกำลังถูก ‘เยียวยา’ (cured) ให้หลุดพ้นจากหน้าที่ ‘ยามเฝ้าประตู’ (gatekeeping function) สิ่งที่ยังเหลืออยู่มีเพียงคุณภาพของสื่อสารมวลชนเอง อันเป็นวิธีสร้างความแตกต่างระหว่างการเป็น ‘สื่อสารมวลชน’ กับการ ‘ตีพิมพ์’ เฉยๆ (mere publication)
3. อินเทอร์เน็ตคือสังคมของเรา สังคมของเราคืออินเทอร์เน็ต
เวทีที่ตั้งอยู่บนเว็บหลายแห่ง เช่น social network, วิกิพีเดีย หรือยูทูบ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสำหรับคนส่วนใหญ่ในซีกโลกตะวันตก เว็บเหล่านี้เข้าถึงได้ง่ายดายพอๆ กับโทรศัพท์หรือโทรทัศน์ ถ้าบริษัทสื่อมวลชนอยากจะดำรงอยู่ต่อไป พวกเขาจะต้องเข้าใจโลกของผู้ใช้ในวันนี้ และโอบอุ้มรูปแบบการสื่อสารของพวกเขา ซึ่งรวมถึงรูปแบบพื้นฐานของการสื่อสารในสังคม – การฟังและตอบกลับ หรือที่เรารู้จักในชื่อ บทสนทนา (dialog)
4. เสรีภาพของอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ละเมิดไม่ได้
สถาปัตยกรรมเปิด (open architecture) ของอินเทอร์เน็ตคือกฎไอทีพื้นฐานของสังคมที่สื่อสารกันแบบดิจิตอล และดังนั้นมันจึงเป็นกฎไอทีพื้นฐานของสื่อสารมวลชนด้วย สถาปัตยกรรมนี้จะต้องไม่ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อปกป้องผลประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ ที่มักจะถูกอำพรางอยู่เบื้องหลังข้ออ้างเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ การปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะทำด้วยวิธีใดก็ตาม เป็นอันตรายต่อการไหลเวียนอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร และบั่นทอนสิทธิขั้นพื้นฐานของเราที่จะเข้าถึงข้อมูลในระดับที่เราแต่ละคนต้องการ (self-determined level of information)
5. อินเทอร์เน็ตคือชัยชนะของข้อมูลข่าวสาร
บริษัทสื่อมวลชน ศูนย์วิจัย สถาบันของภาครัฐ และองค์กรอื่นๆ เป็นผู้รวบรวมและจัดหมวดหมู่ของข้อมูลในโลกก่อนหน้าที่จะมีอินเทอร์เน็ต เนื่องเพราะมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยี แต่วันนี้ พลเมืองทุกคนสามารถตั้งโปรแกรมกรองข่าวของตัวเอง ขณะที่เสิร์ชเอนจินก็สามารถเข้าถึงข้อมูลมหาศาลในระดับที่เราไม่เคยเข้าถึงได้มาก่อน ปัจเจกชนสามารถรับรู้ข่าวสารด้วยตัวเองได้มากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
6. อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสื่อสารมวลชน
อินเทอร์เน็ตทำให้วงการสื่อสารมวลชนสามารถทำหน้าที่ทางสังคมและด้านการศึกษาด้วยวิธีใหม่ เช่น การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในฐานะกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างไม่มีวันหยุดนิ่ง การข้ามพ้นลักษณะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ของสื่อสิ่งพิมพ์เป็นประโยชน์ต่อสื่อเอง สื่อที่อยากอยู่รอดในโลกแห่งข้อมูลใบใหม่นี้จะต้องมีอุดมการณ์แบบใหม่ ความคิดด้านสื่อใหม่ๆ และรู้สึกสนุกที่จะหาวิธีใช้โลกนี้ให้เป็นประโยชน์
7. เน็ตต้องอาศัยการสร้างเครือข่าย
ลิ้งก์คือความสัมพันธ์ เรารู้จักกันและกันผ่านลิ้งก์ ใครที่ไม่ใช้มัน (เช่น ลิ้งก์ไปหาเว็บอื่น-ผู้แปล) เท่ากับกีดกันตัวเองออกจากวิวาทะทางสังคม ข้อนี้รวมถึงเว็บไซต์ของบริษัทสื่อกระแสหลักด้วย
8. ลิ้งก์มอบรางวัล, การอ้างอิงเป็นเครื่องประดับ
เสิร์ชเอนจินและ aggregator (เว็บไซต์/โปรแกรม เช่น Technorati ที่ ‘รวบรวม’ ลิ้งก์จากเว็บต่างๆ-ผู้แปล) ส่งเสริมสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพ เพราะเว็บ/โปรแกรมเหล่านี้ทำให้เนื้อหาคุณภาพสูงหาง่ายกว่าเดิมมากในระยะยาว และดังนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญของโลกสาธารณะใบใหม่ที่โยงกันเป็นเครือข่าย การอ้างอิงผ่านลิ้งก์และอ้างแหล่งที่มา โดยเฉพาะการอ้างอิงที่ผู้ผลิตเนื้อหามิได้ยินยอมหรือแม้แต่ได้รับค่าตอบแทน เป็นสิ่งที่ทำให้วิวาทะทางสังคมที่เป็นเครือข่ายนั้นถือกำเนิดได้ตั้งแต่ต้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การปกป้องคุ้มครอง
9. อินเทอร์เน็ตคือเวทีใหม่สำหรับวิวาทะทางการเมือง
ประชาธิปไตยรุ่งเรืองเมื่อพลเมืองมีส่วนร่วมและมีเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การโยกย้ายการอภิปรายทางการเมืองจากสื่อกระแสหลักมาสู่อินเทอร์เน็ต และการขยับขยายวงอภิปรายนี้ด้วยการโน้มนำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกว่าเดิม เป็นหนึ่งในหน้าที่ใหม่ของสื่อสารมวลชน
10. เสรีภาพสื่อในวันนี้หมายถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญเยอรมันไม่ได้คุ้มครองสิทธิของวิชาชีพหรือโมเดลธุรกิจกระแสหลักใดๆ อินเทอร์เน็ตข้ามพ้นพรมแดนทางเทคโนโลยีระหว่าง ‘มือสมัครเล่น’ และ ‘มืออาชีพ’ นี่คือเหตุผลที่เสรีภาพของสื่อ (ที่มีอภิสิทธิ์ในฐานะ ‘ฐานันดรที่สี่’-ผู้แปล) จะต้องเป็นจริงด้วยสำหรับใครก็ตามที่มีส่วนร่วมในงานสื่อสารมวลชน กล่าวโดยรวมคือ ไม่ควรมีใครแยกแยะระหว่างสื่อที่ได้รับค่าตอบแทน กับสื่อที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่ควรแยกแยะระหว่างสื่อที่มีคุณภาพกับสื่อที่ไร้คุณภาพ
11. มากขึ้นคือมากขึ้น – “ปัญหาข้อมูลมากเกินไป” ไม่มีจริง
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สถาบันอย่างเช่นโบสถ์ให้น้ำหนักกับอำนาจมากกว่าการตระหนักรู้ของปัจเจก และประกาศเตือนว่าข้อมูลจะไหลบ่าโดยไร้การกลั่นกรอง ตอนที่แท่นพิมพ์ถูกประดิษฐ์ ฝั่งตรงข้ามคือกลุ่มนักทำใบปลิว นักทำสารานุกรม และนักข่าวที่พิสูจน์ให้เห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้นนำมาซึ่งเสรีภาพที่มากขึ้น ทั้งสำหรับปัจเจกชนและสังคมส่วนรวม จนถึงทุกวันนี้ แง่มุมนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย
12. ประเพณีไม่ใช่โมเดลธุรกิจ
ใครๆ ก็สามารถหาเงินบนอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องใช้เนื้อหาด้านสื่อสารมวลชน ทุกวันนี้เราเห็นตัวอย่างมากมาย แต่แล้ว เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเวทีที่มีการแข่งขันสูงมาก โมเดลธุรกิจจึงต้องถูกปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้สอดคล้องกับโครงสร้างของเน็ต ไม่มีใครควรพยายามหลบเลี่ยงเรื่องนี้ด้วยการออกนโยบายที่มุ่งรักษาสถานภาพเดิมให้คงอยู่ต่อไป วงการสื่อสารมวลชนต้องมีการแข่งขันแบบเปิดเพื่อหาวิธีระดมทุนที่ดีที่สุดบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงความกล้าหาญที่จะลงทุนในการลงมือทำตามโมเดลเหล่านั้นจริงๆ
13. ลิขสิทธิ์กลายเป็นหน้าที่พลเมืองบนอินเทอร์เน็ต
ลิขสิทธิ์คือเสาหลักของการจัดระเบียบข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ผู้สร้างเนื้อหามีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะตัดสินใจว่าเนื้อหาที่สร้างนั้นจะมีรูปแบบใดและจะเผยแพร่ไปมากน้อยเพียงใด แต่ในขณะเดียวกัน ลิขสิทธิ์ก็จะต้องไม่ถูกบิดเบือนไปใช้เป็นเครื่องมือพิทักษ์กลไกอุปทาน (supply mechanisms) ที่ล้าสมัยไปแล้ว และปิดกั้นโมเดลใหม่ๆ ในการเผยแพร่เนื้อหา หรือรูปแบบใหม่ๆ ของสัญญาใช้สิทธิ (license scheme) ความเป็นเจ้าของมาพร้อมกับภาระหน้าที่
14. อินเทอร์เน็ตมี ‘สกุลเงิน’ จำนวนมาก
บริการสื่อออนไลน์มักจะหาทุนจากโฆษณา นำเสนอเนื้อหาแลกกับการดึงดูดคนให้เข้ามา เวลาของผู้อ่าน ผู้ชม หรือผู้ฟังนั้นมีค่า ในอุตสาหกรรมสื่อ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในวิธีคิดพื้นฐานเรื่องการระดมทุน รูปแบบอื่นๆ ในการระดมทุนที่มีความชอบธรรมทางวิชาชีพจะต้องได้รับการคิดค้นและทดสอบ
15. อะไรที่อยู่บนเน็ตจะอยู่ต่อไปบนเน็ต
อินเทอร์เน็ตกำลังยกระดับสื่อสารมวลชนขึ้นสู่คุณภาพอีกชั้นหนึ่ง ข้อเขียน เสียง และภาพในเน็ตไม่จำเป็นจะต้องดำรงอยู่เพียงชั่วคราวอีกต่อไป เนื้อหาเหล่านี้สืบค้นได้ตลอดเวลา สะสมผ่านกาลเวลาเป็นกรุประวัติศาสตร์ร่วมสมัย วงการสื่อสารมวลชนจะต้องคำนึงถึงการพัฒนา การตีความ และข้อผิดพลาดของข้อมูล กล่าวคือ สื่อจะต้องยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและแก้ไขอย่างโปร่งใส
16. คุณภาพยังเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด
อินเทอร์เน็ตหักล้างสินค้าพิมพ์เดียวกันที่ขายทีละมากๆ มีเพียงสื่อที่โดดเด่น น่าเชื่อถือ และยอดเยี่ยมเท่านั้นที่จะมีผู้ติดตามอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว ผู้ใช้มีความต้องการสูงกว่าเดิม สื่อจะต้องตอบสนองพวกเขาและเคารพในหลักการที่ตัวเองชอบเขียน
17. ทุกคนทำเพื่อทุกคน
เว็บคือโครงสร้างพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนทางสังคมที่มีสมรรถภาพสูงกว่าสื่อมวลชนแห่งศตวรรษที่ 20 – เวลาใดก็ตามที่เกิดความไม่มั่นใจ คน “รุ่นวิกิพีเดีย” สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว สืบสาวข่าวไปจนถึงต้นตอ ค้นคว้าวิจัย ตรวจสอบความถูกต้อง และประเมินข้อมูลหลักฐาน ไม่ว่าจะต่างคนต่างทำหรือทำกันเป็นกลุ่ม นักข่าวที่ดูแคลนกิจกรรมนี้และไม่ยอมรับทักษะดังกล่าวจะถูกผู้ใช้เน็ตเหล่านี้มองข้ามไป และผู้ใช้เน็ตก็ทำถูกแล้ว เพราะอินเทอร์เน็ตทำให้เราทุกคนสามารถสื่อสารโดยตรงกับคนที่เคยถูกเรียกว่า “ผู้รับสาร” ไม่ว่าจะเป็นผู้อ่าน ผู้ฟัง หรือผู้ชม และใช้ความรู้ของพวกเขาให้เป็นประโยชน์ สิ่งที่คนต้องการตอนนี้ไม่ใช่นักข่าวที่รู้ดีทุกเรื่อง แต่เป็นคนที่สามารถสื่อสารและสืบค้นหาความจริง.
อินเทอร์เน็ต, 07.09.2009
- Markus Beckedahl
- Mercedes Bunz
- Julius Endert
- Johnny Haeusler
- Thomas Knüwer
- Sascha Lobo
- Robin Meyer-Lucht
- Wolfgang Michal
- Stefan Niggemeier
- Kathrin Passig
- Janko Röttgers
- Peter Schink
- Mario Sixtus
- Peter Stawowy
- Fiete Stegers