ข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการลงประชามติร่าง รธน. 2550

เมื่อวานเอาผลการลงประชามติร่าง รธน. 2550 อย่างเป็นทางการมาทำแผนที่ประเทศไทยเล่นๆ ดู เพราะรู้สึกว่าแผนที่ที่สื่อมวลชนทำมันไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ เพราะเอาแต่ผลรวมว่า “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” ในแต่ละจังหวัดมาวาดเป็นสีแดงหรือสีเขียว ทั้งๆ ที่เปอร์เซ็นต์การออกเสียงมีความน่าสนใจมากกว่า เพราะจังหวัดที่มีคะแนนข้างใดข้างหนึ่งเพียง 40-50% คงไม่อาจแปลว่าคนจังหวัดนี้สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนร่าง รธน. อย่างล้นหลาม ไม่เหมือนกับจังหวัดที่คะแนนข้างใดข้างหนึ่งออกมาสูงมาก เช่น 70% หรือมากกว่านั้น

ผู้เขียนคิดว่าทุกคนคงรู้ๆ กันอยู่ว่าคนส่วนใหญ่ที่ไปลงประชามติในครั้งนี้คงไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแน่ๆ เพราะอ่านไม่ทัน (เราเป็นประเทศที่สองรองจากรัฐบาลทหารพม่า ที่ให้ประชาชนลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ไม่ใช่มาตราสำคัญๆ แต่ร่างรัฐธรรมนูญของเรายาวกว่าของพม่าเยอะ ยาวที่สุดในโลกเลยด้วยซ้ำ) แถมตัวร่างรัฐธรรมนูญเองก็ไม่ใช่เอกสารที่ ‘น่าอ่าน’ แต่อย่างใด เพราะไม่ได้เขียนด้วย ‘ภาษาชาวบ้าน’ ที่เราจะเข้าใจได้ง่ายๆ ดังที่ควรจะเป็น (ใครมีเวลาลองอ่านร่างรัฐธรรมนูญของประเทศภูฏานเปรียบเทียบดูก็ได้) ยังไม่นับข้อเท็จจริงที่ว่า การลงประชามติที่ผ่านไปเป็นการ “มัดมือชก” ประชาชนอย่างน่าเกลียด เพราะไม่รู้ว่า “ไม่เห็นชอบ” แล้วจะได้อะไร แถมรัฐบาลชุดนี้ก็โหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ในทางที่ ‘บิดเบือนข้อเท็จจริง’ ไม่น้อย (ถึงแม้ว่าฝ่ายต่อต้านบางกลุ่ม เช่นพรรคพวกของเนวิน ชิดชอบ จะน่าเกลียดกว่าฝ่ายรัฐบาลเพราะไม่ได้บิดเบือนเฉยๆ แต่ ‘โกหก’ ประชาชนหน้าด้านๆ เช่นโกหกว่าถ้าร่าง รธน. ฉบับนี้ผ่าน ส.ส. หรือ ส.ว. จะไปประกันตัวชาวบ้านไม่ได้แล้ว)

ด้วยเหตุนี้ คนที่ไป “เห็นชอบ” จำนวนมากจึงน่าจะไปรับเพราะอยากเห็น ‘การเมืองนิ่ง’ และ ‘ได้เลือกตั้งเร็ว’ มากกว่าจะไปรับเพราะเห็นด้วยกับเนื้อหาในร่าง รธน. หรือเพราะสนับสนุน คมช. หรือพรรคใดพรรคหนึ่ง ในขณะที่ฝ่าย “ไม่เห็นชอบ” หลายคนก็คงไปโหวตไม่รับเพราะต้องการสนับสนุน ส.ส. พรรคไทยรักไทยเก่า เพราะฝ่ายนี้รณรงค์ให้ไม่รับอย่างชัดเจน (ผู้เขียนคิดว่าใครจะรับเงินหรือไม่รับเงินไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด เพราะคนที่รับเงินหลายคนคงกา “ไม่เห็นชอบ” อยู่ดีไม่ว่าจะได้เงินหรือไม่ และถ้าเราพูดกันตามหลักการแล้วละก็ ใครที่ไปลงประชามติโดยไม่ได้ใช้วิจารณญาณพิจารณา ‘เนื้อหา’ ของรัฐธรรมนูญจริงๆ แต่ไปกาเพราะถูกใครชี้นำหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงจนเชื่อ ก็ไม่ใช่ ‘พลังบริสุทธิ์’ ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอยู่ดี)


เมื่อวานเอาผลการลงประชามติร่าง รธน. 2550 อย่างเป็นทางการมาทำแผนที่ประเทศไทยเล่นๆ ดู เพราะรู้สึกว่าแผนที่ที่สื่อมวลชนทำมันไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ เพราะเอาแต่ผลรวมว่า “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” ในแต่ละจังหวัดมาวาดเป็นสีแดงหรือสีเขียว ทั้งๆ ที่เปอร์เซ็นต์การออกเสียงมีความน่าสนใจมากกว่า เพราะจังหวัดที่มีคะแนนข้างใดข้างหนึ่งเพียง 40-50% คงไม่อาจแปลว่าคนจังหวัดนี้สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนร่าง รธน. อย่างล้นหลาม ไม่เหมือนกับจังหวัดที่คะแนนข้างใดข้างหนึ่งออกมาสูงมาก เช่น 70% หรือมากกว่านั้น

ผู้เขียนคิดว่าทุกคนคงรู้ๆ กันอยู่ว่าคนส่วนใหญ่ที่ไปลงประชามติในครั้งนี้คงไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแน่ๆ เพราะอ่านไม่ทัน (เราเป็นประเทศที่สองรองจากรัฐบาลทหารพม่า ที่ให้ประชาชนลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ไม่ใช่มาตราสำคัญๆ แต่ร่างรัฐธรรมนูญของเรายาวกว่าของพม่าเยอะ ยาวที่สุดในโลกเลยด้วยซ้ำ) แถมตัวร่างรัฐธรรมนูญเองก็ไม่ใช่เอกสารที่ ‘น่าอ่าน’ แต่อย่างใด เพราะไม่ได้เขียนด้วย ‘ภาษาชาวบ้าน’ ที่เราจะเข้าใจได้ง่ายๆ ดังที่ควรจะเป็น (ใครมีเวลาลองอ่านร่างรัฐธรรมนูญของประเทศภูฏานเปรียบเทียบดูก็ได้) ยังไม่นับข้อเท็จจริงที่ว่า การลงประชามติที่ผ่านไปเป็นการ “มัดมือชก” ประชาชนอย่างน่าเกลียด เพราะไม่รู้ว่า “ไม่เห็นชอบ” แล้วจะได้อะไร แถมรัฐบาลชุดนี้ก็โหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ในทางที่ ‘บิดเบือนข้อเท็จจริง’ ไม่น้อย (ถึงแม้ว่าฝ่ายต่อต้านบางกลุ่ม เช่นพรรคพวกของเนวิน ชิดชอบ จะน่าเกลียดกว่าฝ่ายรัฐบาลเพราะไม่ได้บิดเบือนเฉยๆ แต่ ‘โกหก’ ประชาชนหน้าด้านๆ เช่นโกหกว่าถ้าร่าง รธน. ฉบับนี้ผ่าน ส.ส. หรือ ส.ว. จะไปประกันตัวชาวบ้านไม่ได้แล้ว)

ด้วยเหตุนี้ คนที่ไป “เห็นชอบ” จำนวนมากจึงน่าจะไปรับเพราะอยากเห็น ‘การเมืองนิ่ง’ และ ‘ได้เลือกตั้งเร็ว’ มากกว่าจะไปรับเพราะเห็นด้วยกับเนื้อหาในร่าง รธน. หรือเพราะสนับสนุน คมช. หรือพรรคใดพรรคหนึ่ง ในขณะที่ฝ่าย “ไม่เห็นชอบ” หลายคนก็คงไปโหวตไม่รับเพราะต้องการสนับสนุน ส.ส. พรรคไทยรักไทยเก่า เพราะฝ่ายนี้รณรงค์ให้ไม่รับอย่างชัดเจน (ผู้เขียนคิดว่าใครจะรับเงินหรือไม่รับเงินไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด เพราะคนที่รับเงินหลายคนคงกา “ไม่เห็นชอบ” อยู่ดีไม่ว่าจะได้เงินหรือไม่ และถ้าเราพูดกันตามหลักการแล้วละก็ ใครที่ไปลงประชามติโดยไม่ได้ใช้วิจารณญาณพิจารณา ‘เนื้อหา’ ของรัฐธรรมนูญจริงๆ แต่ไปกาเพราะถูกใครชี้นำหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงจนเชื่อ ก็ไม่ใช่ ‘พลังบริสุทธิ์’ ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอยู่ดี)

(พูดถึงเรื่อง ‘การเมืองนิ่ง’ ผู้เขียนคิดว่านั่นเป็นความเข้าใจผิดหรือไม่ก็ ‘คิดสั้น’ ค่อนข้างมาก เพราะในเมื่อ รธน. ฉบับนี้ลิดรอนสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระบบเลือกตั้ง (ถึงแม้ว่าจะไปเพิ่มสิทธิอย่างอื่นบางประการให้ เช่น สิทธิในการตรวจสอบรัฐบาลและฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ) ความขัดแย้งระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมก็ย่อมจะคงอยู่ต่อไป แถมการเมืองอาจจะ ‘นิ่งกว่าเดิม’ แค่ 6 เดือนก่อนวันเลือกตั้งเท่านั้น พอได้รัฐบาลใหม่มาแล้วก็วุ่นวายกันต่อ เพราะรัฐบาลภายใต้ รธน. ฉบับนี้จะเป็นรัฐบาลผสมที่อ่อนแออย่างค่อนข้างแน่นอน ด้วยระบบการเลือกตั้งแบบถอยหลังเข้าคลอง และอำนาจอันมหาศาลของ ส.ว. และตุลาการในการแทรกแซงทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ)

เกริ่นมาตั้งนาน เข้าเรื่องแผนที่ดีกว่า วิธีการระบายสีของผู้เขียนคิดจากผลคะแนน “เห็นชอบ” กับ “ไม่เห็นชอบ” ที่ไม่รวมบัตรเสีย คืนบัตร ฯลฯ (คือคะแนนสองแบบต้องบวกกันได้ 100%) จากผลทางการของ กกต. โดยใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้:

  • สีเขียวอ่อน = คะแนน “เห็นชอบ” อยู่ระหว่าง 60-75%
  • สีเขียว = คะแนน “เห็นชอบ” อยู่ระหว่าง 75-90%
  • สีเขียวเข้ม = คะแนน “เห็นชอบ” สูงกว่า 90% ขึ้นไป
  • สีแดงอ่อน = คะแนน “ไม่เห็นชอบ” อยู่ระหว่าง 60-75%
  • สีแดงเข้ม = คะแนน “ไม่เห็นชอบ” สูงกว่า 75% ขึ้นไป (ไม่มีสีแดงเข้มกว่านี้เพราะไม่มีจังหวัดไหน “ไม่เห็นชอบ” เกิน 90%)
  • สีเหลือง = คะแนน “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” อยู่ระหว่าง 40-60% (เพื่อพยายามหาจังหวัดที่ ‘ก้ำกึ่ง’ ระหว่างทั้งสองฝ่าย)

ผลที่ออกมาและข้อสังเกตมีดังต่อไปนี้ (คลิ้กที่รูปเพื่อขยาย วิธีการทำแผนที่ของผู้เขียนคือไปดาวน์โหลดแผนที่ประเทศไทยเปล่าๆ แบ่งเขตจังหวัดมาจาก Wikipedia แล้วใช้ฟังก์ชั่น “Flood Tool” ในโปรแกรม Paintshop Pro ระบายสีทีละจังหวัด):
ผลการลงประชามติี่ร่าง รธน. 2550

  1. ประเทศไทยมี “ขั้วตรงข้าม” (ในแง่ของจังหวัดที่คนไปออกเสียง “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” ข้างใดข้างหนึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์สูงมาก) ค่อนข้างชัดเจนคือ ภาคใต้ตอนล่าง กับภาคอีสานตอนบน
  2. น่าสังเกตว่าในขณะที่เสียง “เห็นชอบ” มีสูงกว่า 90% ถึง 10 จังหวัด ซึ่งอยู่ภาคใต้หมดเลย เสียง “ไม่เห็นชอบ” สูงสุดมีเพียง 76% เท่านั้น คือที่นครพนม (ฐานที่มั่นของ ‘พ่อใหญ่จิ๋ว’ …ในเมื่อผลออกมาแบบนี้ผู้เขียนจะแปลกใจมากถ้าสมัครได้เป็นหัวหน้าพรรค…) ตัวเลขนี้อาจแสดงให้เห็นความสำเร็จระดับหนึ่งของรัฐบาลในการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่ข้อดีอย่างเดียวของร่าง รธน.
  3. จังหวัดที่มีเสียง ‘ก้ำกึ่ง’ (คือ 40-60% ข้างใดข้างหนึ่ง) มี 14 จังหวัด มีผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 7.62 ล้านคน คิดเป็น 17% ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ ถ้าเอาตัวเลขนี้รวมกับ ‘พลังเงียบ’ อีก 20 ล้านคน คือประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงแต่ไม่ได้มาลงประชามติในครั้งนี้ ก็จะได้ 27.6 ล้านคน หรือ 61.3% ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ ประชาชนกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่ ‘ชี้ชะตา’ ในการเลือกตั้งคราวหน้าได้ดีที่สุด ว่าพรรคไหนจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
  4. จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงในจังหวัดสีเหลือง+แดงอ่อน+แดง มีมากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิในจังหวัดสีเขียวทั้งหมด และคนที่ไปกา “ไม่เห็นชอบ” เพราะสนับสนุนพรรคไทยรักไทยเก่า น่าจะมีมากกว่าคนที่ไปกา “เห็นชอบ” เพราะอยากให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง (ส่วนใหญ่น่าจะอยากให้เลือกตั้งเร็วๆ มากกว่า) ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง พรรคประชาธิปัตย์ก็คงเหนื่อยแน่ๆ และใครจะเป็นนายกฯ คนต่อไป ก็ยังเป็นเรื่องไม่แน่นอนที่เราต้องจับตาดูกันต่อไป