ความถูกผิดและการสานเสวนา – โคทม อารียา

คัดลอกจากนสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2551

ความถูกผิดและการสานเสวนา
โดย โคทม อารียา

เมื่อวันก่อนได้รับหนังสือ “เล่านิทานเซ็น” เล่าเรื่องโดย อ.อภิปัญโญ มาหนึ่งเล่ม มีนิทานเรื่องหนึ่งตั้งชื่อว่า “เรื่องของความถูกผิด” ซึ่งมีหมายเหตุประกอบว่า เล่าในยุคสมัยของนักเทศน์ผู้มีความมั่นใจตัวเองสูง ผูกขาดเหมาความถูกต้องเป็นของตนฝ่ายเดียว ซึ่งอยากนำมาเล่าต่อโดยสังเขป สำหรับยุคสมัยนี้ที่มีความขัดแย้งสูง ประกอบกับมีผู้เสนอให้ใช้การสานเสวนา (dialogue) เพื่อช่วยลดความขัดแย้ง การสานเสวนาคือวิธีการสื่อสารอย่างหนึ่ง ซึ่งจะประสบผลสำเร็จในการช่วยลดความขัดแย้งหรือไม่ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการไม่ผูกขาดความถูกผิดนั่นเอง

นิทานเรื่องนี้ อยู่ในสมัยจีนโบราณ ณ วัดพุทธศาสนาแห่งหนึ่ง จะตีระฆังทุกเช้าตอนตีสี่เพื่อให้คนในวัดตื่นมาทำวัตรเช้า มีภิกษุรูปหนึ่ง จะตื่นก่อนเวลามาส่องไฟตามทาง เพื่อจะจับหอยทากที่คลานอยู่ ไปปล่อยในที่ปลอดภัยไม่ให้ถูกเหยียบตาย มาวันหนึ่งเมื่ออยู่พร้อมหน้ากัน ภิกษุรูปอื่นก็สอบถามว่า “ทำไปทำไม” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผมมีชีวิตอยู่เพื่อประกอบความดี นอกจากสวดมนต์ภาวนาแล้วก็ต้องการทำบุญกุศลเป็นพิเศษด้วย” ภิกษุอีกรูปหนึ่งค้านว่า “ท่านทำเช่นนี้ เท่ากับทำให้ชาวสวนเดือนร้อน อีกทั้งหอยทากเหล่านี้เป็นตัวแพร่โรค” ภิกษุอีกรูปหนึ่งแย้งว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านไม่เจตนาให้เป็นภัยแก่ผู้คน หากต้องการปลดปล่อยสัตว์จากภัยภิบัติ อีกทั้งให้พวกเราบำเพ็ญความบริสุทธิ์โดยไม่ต้องทำให้ชีวิตต้องตกล่วงไปด้วย”

เมื่อตกลงกันได้ทั้งหมดก็พากันไปหาหลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านนิ่งฟังคำชี้แจงด้วยความเห็นใจ จ้องหน้าตั้งใจฟังคนนั้นที คนนี้ที ภิกษุรูปแรกชี้แจงว่า “ผมเพียรทำความดี แม้น้อยหนึ่งก็ไม่เป็นไร เหมือนหยาดน้ำทีละหยด อาจเต็มตุ่มได้ จะว่าเป็นบาปได้อย่างไรครับหลวงพ่อ” พอฟังจบท่านอาจารย์ ตอบแสดงความชอบใจว่า “ถูก-ถูก ถูกแล้ว”

ภิกษุรูปที่สองชี้แจงว่า “ผู้ใดเหยียบหอยทาก เมื่อไม่มีเจตนา ก็มิใช่กรรมอันใด แต่หอยทากทำลายพืชผลและเป็นตัวเพาะโรค ทางราชการขอให้ช่วยกันกำจัด ทั้งคนในวัดและนอกวัดจะได้ไม่มีโรค เป็นผลดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มิใช่หรือครับหลวงพ่อ” พอฟังจบ ท่านอาจารย์ตอบแสดงความชอบใจว่า“ถูก-ถูก ถูกแล้ว”

ภิกษุรูปที่สามชี้แจงว่า “การบำเพ็ญธรรม ซึ่งมีคนหนึ่งเสียสละ เปิดโอกาสให้ทุกๆคน ประกอบความหลุดรอดไปตามทางของเขา สัตว์ใดๆแม้จะอยู่ในร่างที่ต่ำต้อย แต่ก็มีธรรมชาติแห่งความตรัสรู้อยู่ได้มิใช่หรือครับหลวงพ่อ” พอฟังจบ ท่านอาจารย์ตอบแสดงความชอบใจว่า “ถูก-ถูก ถูกแล้ว”

ขณะนั้น สามเณรรูปหนึ่งนิ่งฟังอยู่ข้างหลังหลวงพ่อ ก็อดขัดขึ้นไม่ได้ว่า “หลวงพ่อได้แต่ร้องร้องว่า ถูกๆๆ มันจะถูกไปหมดทุกฝ่ายได้อย่างไร ถ้าฝ่ายหนึ่งถูก ฝ่ายอื่นก็ต้องผิดซิ หลวงพ่อ” ท่านอาจารย์หันมาฟัง พอฟังจบ ก็ตอบแสดงความชอบใจอีกว่า “เอ๊ะ ที่เธอว่าก็ถูก ถูกแล้ว” นิทานก็จบลง


คัดลอกจากนสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2551

ความถูกผิดและการสานเสวนา
โดย โคทม อารียา

เมื่อวันก่อนได้รับหนังสือ “เล่านิทานเซ็น” เล่าเรื่องโดย อ.อภิปัญโญ มาหนึ่งเล่ม มีนิทานเรื่องหนึ่งตั้งชื่อว่า “เรื่องของความถูกผิด” ซึ่งมีหมายเหตุประกอบว่า เล่าในยุคสมัยของนักเทศน์ผู้มีความมั่นใจตัวเองสูง ผูกขาดเหมาความถูกต้องเป็นของตนฝ่ายเดียว ซึ่งอยากนำมาเล่าต่อโดยสังเขป สำหรับยุคสมัยนี้ที่มีความขัดแย้งสูง ประกอบกับมีผู้เสนอให้ใช้การสานเสวนา (dialogue) เพื่อช่วยลดความขัดแย้ง การสานเสวนาคือวิธีการสื่อสารอย่างหนึ่ง ซึ่งจะประสบผลสำเร็จในการช่วยลดความขัดแย้งหรือไม่ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการไม่ผูกขาดความถูกผิดนั่นเอง

นิทานเรื่องนี้ อยู่ในสมัยจีนโบราณ ณ วัดพุทธศาสนาแห่งหนึ่ง จะตีระฆังทุกเช้าตอนตีสี่เพื่อให้คนในวัดตื่นมาทำวัตรเช้า มีภิกษุรูปหนึ่ง จะตื่นก่อนเวลามาส่องไฟตามทาง เพื่อจะจับหอยทากที่คลานอยู่ ไปปล่อยในที่ปลอดภัยไม่ให้ถูกเหยียบตาย มาวันหนึ่งเมื่ออยู่พร้อมหน้ากัน ภิกษุรูปอื่นก็สอบถามว่า “ทำไปทำไม” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผมมีชีวิตอยู่เพื่อประกอบความดี นอกจากสวดมนต์ภาวนาแล้วก็ต้องการทำบุญกุศลเป็นพิเศษด้วย” ภิกษุอีกรูปหนึ่งค้านว่า “ท่านทำเช่นนี้ เท่ากับทำให้ชาวสวนเดือนร้อน อีกทั้งหอยทากเหล่านี้เป็นตัวแพร่โรค” ภิกษุอีกรูปหนึ่งแย้งว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านไม่เจตนาให้เป็นภัยแก่ผู้คน หากต้องการปลดปล่อยสัตว์จากภัยภิบัติ อีกทั้งให้พวกเราบำเพ็ญความบริสุทธิ์โดยไม่ต้องทำให้ชีวิตต้องตกล่วงไปด้วย”

เมื่อตกลงกันได้ทั้งหมดก็พากันไปหาหลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านนิ่งฟังคำชี้แจงด้วยความเห็นใจ จ้องหน้าตั้งใจฟังคนนั้นที คนนี้ที ภิกษุรูปแรกชี้แจงว่า “ผมเพียรทำความดี แม้น้อยหนึ่งก็ไม่เป็นไร เหมือนหยาดน้ำทีละหยด อาจเต็มตุ่มได้ จะว่าเป็นบาปได้อย่างไรครับหลวงพ่อ” พอฟังจบท่านอาจารย์ ตอบแสดงความชอบใจว่า “ถูก-ถูก ถูกแล้ว”

ภิกษุรูปที่สองชี้แจงว่า “ผู้ใดเหยียบหอยทาก เมื่อไม่มีเจตนา ก็มิใช่กรรมอันใด แต่หอยทากทำลายพืชผลและเป็นตัวเพาะโรค ทางราชการขอให้ช่วยกันกำจัด ทั้งคนในวัดและนอกวัดจะได้ไม่มีโรค เป็นผลดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มิใช่หรือครับหลวงพ่อ” พอฟังจบ ท่านอาจารย์ตอบแสดงความชอบใจว่า“ถูก-ถูก ถูกแล้ว”

ภิกษุรูปที่สามชี้แจงว่า “การบำเพ็ญธรรม ซึ่งมีคนหนึ่งเสียสละ เปิดโอกาสให้ทุกๆคน ประกอบความหลุดรอดไปตามทางของเขา สัตว์ใดๆแม้จะอยู่ในร่างที่ต่ำต้อย แต่ก็มีธรรมชาติแห่งความตรัสรู้อยู่ได้มิใช่หรือครับหลวงพ่อ” พอฟังจบ ท่านอาจารย์ตอบแสดงความชอบใจว่า “ถูก-ถูก ถูกแล้ว”

ขณะนั้น สามเณรรูปหนึ่งนิ่งฟังอยู่ข้างหลังหลวงพ่อ ก็อดขัดขึ้นไม่ได้ว่า “หลวงพ่อได้แต่ร้องร้องว่า ถูกๆๆ มันจะถูกไปหมดทุกฝ่ายได้อย่างไร ถ้าฝ่ายหนึ่งถูก ฝ่ายอื่นก็ต้องผิดซิ หลวงพ่อ” ท่านอาจารย์หันมาฟัง พอฟังจบ ก็ตอบแสดงความชอบใจอีกว่า “เอ๊ะ ที่เธอว่าก็ถูก ถูกแล้ว” นิทานก็จบลง

แต่ผู้เล่าคือ อ.อภิปัญโญ เฉลยความต่อไปว่า ความเห็นรายแรกถือหลักแห่งกรรม ปรารภว่าตนอยู่ในกองทุกข์ แล้วมีแต่ตนที่ต้องเพียรหาทางออก ความเห็นรายที่สองถือหลักวิทยาศาสตร์ ถือเหตุผลและอรรถประโยชน์ ความเห็นรายที่สามเป็นทัศนะอย่างโพธิสัตวภูมิ คือแทนที่จะเพ่งเพื่อตัว กลับเพ่งเพื่อผู้อื่น และสัตว์อื่น หวังจะนำสู่แดนที่ปลอดภัยไร้ทุกข์ ความเห็นรายที่สี่ถือหลักตรรกวิทยา คือความเป็นคู่ มีของตรงกันข้ามกันตลอดไป มีผิดก็ต้องมีถูก หากอันใดถูก อันอื่นนอกนั้นก็ต้องผิด แม้จะเป็นความเห็นของสามเณรหน่ออ่อน ท่านอาจารย์ก็ยอมรับหลักตรรกวิทยาได้เช่นกัน

อ.อภิปัญโญ เล่าสรุปว่า “คราวใด หากใครมีความรู้สึกว่าถูก-ผิด ขึ้นจริงๆด้วยความยึดมั่นถือมั่นแล้วนั้นแหละ พึงรู้เถิดว่าจิตของตนยังไม่ออกจากบ่วงบาศอันแน่นเหนียวของอุปาทาน” ถ้าจะถูกก็ถือว่าแต่ละฝ่ายถูกด้วยกันทั้งนั้น จะถือเอาเพียงความคิดเห็นที่เพ่งกันคนละที คนละทัศนะนั้นไม่ได้ ย่อมจะเถียงกันตาย พุทธศาสนาอย่างเซ็น ไม่เพ่งเล็งจะเอาถูกผิด เอาดีกว่าหรือเลวกว่า คงจ้องแต่เรื่องจิต ว่าทุกๆขณะนั้นจะอยู่อย่างอิสระจากอุปทาน หรือถูกอะไรปรุงแต่ง

มาถึงเรื่องการสานเสวนา ถ้าเริ่มจากการทำจิตว่างดังที่กล่าวได้ก็ดี ว่ากันไปแล้วการสานเสวนาที่ได้ผลคือการสื่อสารจากใจถึงใจ ผู้พูดพูดจากใจ จากความรู้สึกและความต้องการของตน ไม่ด่วนตัดสินใจแล้วกล่าวโทษเจตนาของอีกฝ่าย สิ่งใดพึงประสงค์หรือไม่ก็บอกความรู้สึกของตนต่อสิ่งนั้น ในขั้นพื้นฐานแล้ว มนุษย์มักมีความต้องการเหมือนๆกัน เช่น ต้องการมีปัจจัย 4 ต้องการเป็นที่ยอมรับ ต้องการให้ผู้อื่นเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของตน ดังนั้นถ้าเราขอให้อีกฝ่ายทำอะไร โดยบอกว่าเรื่องนั้นจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเราในเรื่องใด ก็เป็นไปได้ว่า ผู้ฟังจะเกิดความเข้าใจ เพราะเขาเองมีความต้องการพื้นฐานคล้ายคลึงกัน การพูดเช่นนี้ไม่มุ่งหวังที่จะเปลี่ยนความคิดหรือโน้มน้าวผู้ฟังให้คล้อยตาม หากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็เป็นเพราะผู้ฟังนำไปคิดและเปลี่ยนแปลงเอง ในส่วนของการฟังอย่างเปิดกว้างนั้น คงหมายถึงการฟังอย่างตั้งใจไม่ปิดกั้นหรือด่วนปฏิเสธ ฟังแล้วนำมาคิดไตร่ตรอง ถามตัวเองว่าเข้าใจอะไร รู้สึกอย่างไร ถามว่าผู้อื่นรู้สึกอย่างไร ต้องการอะไรก่อนที่จะพูดตอบหรือนำไปประพฤติปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด

อย่างไรก็ดี การสื่อสารเมื่อมีความขัดแย้งกันนั้น เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังว่าการพูดของเราอาจไม่ชัดเจน หรือการฟังอาจขาดตกบกพร่อง วิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้คือ การเสนอความคิดเดียวกันซ้ำหลายหน ในลีลาการนำเสนอหรือสำนวนที่ต่างๆกัน อีกประเด็นหนึ่งเป็นเรื่องของเจตนา คือเวลานำเสนอความคิดใดจะต้องพิจารณาให้ดีว่าผู้ฟังจะนำคำพูดของเราไปตี ความหรือให้ความหมายว่าอย่างไร คำพูดเดียวกันถ้าพูดต่อมิตรของเรา เขามักตีความว่ามีเจตนาดี แต่ถ้าพูดต่อคนที่ไม่เป็นมิตร เขามักจะตีความไปในทางไม่ดี หรือตีความว่าส่อเจตนาไม่ดีจนได้ ฉันใดฉันนั้น เมื่อเราเป็นผู้ฟัง ก็ต้องพยายามเข้าใจความหมายที่ผู้พูดประสงค์สื่อให้เราทราบ คำพูดเดียวกันถ้าเป็นคำเปรียบเปรย ประชด หรือ พูดด้วยอารมณ์ขำขัน ก็จะต้องเข้าใจว่ามีความหมายเช่นใด ไม่ใช่ยึดตามคำพูดหรือ ที่เรียกว่ายึดตัวอักษรอย่างตรงๆเท่านั้น

ขอกล่าวถึงการสานเสวนาที่เป็นการพูดอย่างเปิดใจอีกนิดหนึ่ง แต่ขอพูดในแง่ตรงกันข้าม การเปิดใจมิใช่การพูดแบบกำกวม น่าอึดอัด การเปิดใจมิใช่การใช้ความระมัดระวังและความรอบคอบจนทุกอย่างดูเป็นเรื่องของเหตุผล ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดๆ การเปิดใจมิใช่การปฏิบัติตามกฎแห่งความสุภาพจนสิ่งที่สื่อสารกลายเป็นรูปแบบ มิใช่แก่นแท้ของเนื้อหา

นอกจากนั้น การสานเสวนาที่เป็นการฟังอย่างเปิดกว้างเพิ่มเติมในแง่ตรงกันข้ามบ้าง การเปิดกว้างมิใช่เพียงการปล่อยวางไม่ด่วนตัดสินเท่านั้น หากควรเป็นการฟังอย่างตั้งใจและด้วยความเมตตา โดยแสดงความตั้งใจด้วยภาษาท่าทางให้ผู้พูดเห็นด้วย และควรเป็นการฟังอย่างไตร่ตรอง คือนำมาคิดใคร่ครวญเสมือนเป็นการสานเสวนากับตัวเองด้วย เรามักพบเห็นในการประชุมหลายครั้ง ว่าเป็นการผลัดกันพูด แต่ละคนมุ่งเตรียมประเด็นที่ตนเองอยากพูด อยากโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นตาม ซ้ำร้ายอาจทำทีว่าเปิดใจกว้าง ใครพูดอะไรก็ได้ไม่ตอบโต้ แต่อันที่จริงแล้วไม่ฟัง ดูเผินๆแล้วคล้ายเป็นความอดทนต่อความเห็นที่แตกต่าง แต่ก็เป็นความอดทนแบบขอไปที (lazy tolerance) หาใช่การสานเสวนาไม่

ข้อพึงระวังอีกข้อหนึ่งคือความเชื่อที่ว่า การสานเสวนาไม่มีข้อเสียและเป็นคำตอบสำหรับทุกปัญหาความขัดแย้ง อันที่จริง ผู้ที่อยู่ในความขัดแย้งอาจคิดว่าการดำรงความขัดแย้งไว้เป็นคุณมากกว่าเป็นโทษ ในกรณีเช่นนี้ การพูดคุยจะเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความเห็นและข้อมูล แต่จะไม่ช่วยแก้ไขความขัดแย้ง ซ้ำร้ายอาจทำให้ความขัดแย้งขยายตัวออกไป หากมีการนำข้อมูลที่ได้ ไปขยายผลไปขยายความในทางร้าย ไปจับผิดไปชิงไหวชิงพริบกันต่อไป

อย่างไรก็ดี มีคำกล่าวว่า เราจะร่วมมือกันได้เมื่อมีศัตรูร่วมกัน การสานเสวนาอาจเป็นก้าวแรกของความร่วมมือ เพราะศัตรูร่วมคือความไม่เข้าใจกันและการสื่อสารที่ถูกบิดเบือน ถ้าเอาชนะศัตรูนี้ได้ ความร่วมมือเพื่อแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่างอาจจะตามมา

การสานเสวนาจะเริ่มได้ไม่ง่ายนัก ต้องเอาชนะใจตนเองก่อน ว่าตนอาจจะไม่ใช่ฝ่ายถูก หรือฝ่ายที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว จากนั้นจึงเปิดใจเข้าหากัน คำว่า “สาน” ในสานเสวนา จึงจะหมายถึงการสานใจกันนั่นเอง.