การประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (Compulsory License หรือย่อว่า CL) กับยารักษาโรค 3 รายการของกระทรวงสาธารณสุขไทยเมื่อหลายเดือนก่อน ได้กลายเป็น ‘ประเด็นร้อน’ ขึ้นมาทันทีเมื่ออเมริกาประกาศปรับอันดับประเทศไทยไปอยู่ในรายชื่อ ‘Priority Watch List’ หรือ ‘ประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ’ ในด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งถึงแม้ว่าการที่ไทยเข้าไปอยู่ในรายชื่อนี้จะไม่ได้เท่ากับการ ‘กดสวิทช์’ ให้อเมริกาตอบโต้ด้วยมาตรการกีดกันทางการค้าโดยอัตโนมัติ ความ ‘ประจวบเหมาะ’ ของการเลื่อนชั้นในขณะที่ไทยยังไม่ยอมอ่อนข้อให้กับบริษัทยาของอเมริกา ก็ส่อนัยยะสำคัญที่ทำให้ผู้สังเกตการณ์หลายๆ คนสงสัยว่า รัฐบาลอเมริกากำลังถูกกดดันจากอุตสาหกรรมยาให้ใช้ประเทศไทยเป็นกรณีตัวอย่างในการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ หรือไม่?
ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะเห็นด้วยว่าประเทศไทยมีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์มากมายจริงๆ โดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนก็ไม่คิดว่าเรื่องนี้ควรเอามาเกี่ยวโยงกับเรื่อง CL เพราะเป็นคนละประเด็นกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องผิดกฎหมายชัดเจน ในขณะที่การประกาศใช้ CL ของไทยบนยารักษาโรคเอดส์ราคาแพง 2 ตัว คือ Efavirenz และ Lopinavir+Retronavir (ชื่อการค้า Kaletra) นั้นทำไปอย่างถูกกฎหมาย ถูกขั้นตอน และมีความชอบธรรมทุกประการ ดังที่ผู้เขียนจะพยายามสรุปสาระสำคัญๆ ของประเด็นที่มีคนเข้าใจผิด (และบริษัทยาพยายามหว่านล้อมให้คนเข้าใจผิด) และข้อเท็จจริงในบทความนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ความพยายามของบริษัทยาที่จะต่อต้านการประกาศใช้ CL ของไทยนั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าความพยายามของ ‘ผู้ผูกขาดเคยตัว’ (ประเภทของบริษัทที่แย่ที่สุดในระบบทุนนิยม) ที่พยายามกีดกันไม่ให้เกิดการแข่งขันที่จะบั่นทอนอำนาจผูกขาดของตัวเอง อันจะส่งผลให้ราคายาถูกลงมากในที่สุด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง มิพักต้องพูดถึงเรื่องมนุษยธรรมด้วย
(หมายเหตุก่อนอ่าน 1: ผู้เขียนไม่มีข้อมูลพอที่จะตัดสินใจได้ว่า การประกาศใช้ CL บนยาอีกตัวที่ไม่เกี่ยวกับโรคเอดส์ คือยา Clopidogrel นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ และถ้าหากผู้เขียนใช้ข้อมูลเท็จ หรือเหตุผลไม่ถูกต้องในบทความชิ้นนี้ ขอความกรุณาผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วย
UPDATE 8/5 ความเห็นกรณี Clopidogrel จากบล็อกของคุณ Rachanont: “Clopidogrel นี่อาจจะไม่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจทั่วไป เพราะ Aspirin ยังมีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกัน และรักษาอาการจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ยกเว้นผู้ป่วยที่แพ้ aspirin หรือเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจาก aspirin อาจจำเป็นต้องใช้ Clopidogrel ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ Clopidrogel ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน กับผู้ป่วยที่ใช้สิทธิเบิกของข้าราชการมากกว่าที่จะเป็นบุคคลทั่วไป สาเหตุข้อหนึ่งอาจจะเกิดจากการที่มันมีราคาแพง แต่อีกข้อหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการทำการตลาดของบริษัทยา ทำให้ผู้ป่วยที่มีเงินชอบที่จะใช้ยาตัวนี้มากกว่า Aspirin ขอย้ำนะครับ ผลจากการตลาด มากกว่าประสิทธิภาพของยาครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่ายานี้ไม่ได้จำเป็นมากจนต้องทำ CL ครับ”)
(หมายเหตุก่อนอ่าน 2: จะว่าไป ประเด็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นอีกประเด็นร้อนที่มีคนเข้าใจผิดกันมาก เพราะคนจำนวนมากยังไม่เข้าใจว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันนั้น ‘แย่’ ขนาดไหน มัวแต่คิดว่าถ้ารัฐเอาจริงกับการจับกุมผู้ผลิตและผู้ใช้เทปผีซีดีเถื่อนแล้ว เรื่องทุกอย่างก็จะ ‘จบ’ ผู้เขียนมีความเห็นในเรื่องนี้หลายประเด็นที่อยากเล่าให้ฟัง ในฐานะเจ้าของเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่มีเกมเก่าเก็บแต่ยังผิดกฎหมายให้ดาวน์โหลดฟรี แต่คงต้องเก็บไว้เล่าในโอกาสหน้า เพราะเดี๋ยวจะผิดประเด็นอีกแล้ว)
(หมายเหตุก่อนอ่าน 3: ข้อมูลในการเขียนในวันนี้รวบรวมจากข่าวหนังสือพิมพ์ในรอบเดือนที่ผ่านมา และเอกสาร/บทความบนเว็บไซต์ต่างๆ ดังต่อไปนี้: Consumer Project on Technology: Thailand, สมุดปกขาวชี้แจงประเด็น CL ของกระทรวงสาธารณสุข [PDF, 85 หน้า], The Truth About The Drug Companies (บทความโดย Marcia Angell ได้รับการแปลเป็นไทยแล้วในชื่อ “กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ”), Patients Before Profits: TRIPS and Trade Rules on Intellectual Property (บทความของ Oxfam), Timeline of Trade Disputes involving Thailand and access to medicines, ความปั่นป่วนหลัง ‘บังคับใช้สิทธิ’ : เขาว่าไทยเป็นหัวขโมย ?!!?)
1. ประเทศไทยกำลังใช้ ‘ช่องโหว่’ ของกฎหมาย / นโยบายนี้เป็นการ ‘ละเมิด’ สิทธิบัตรของบริษัทยา
ข้อเท็จจริง: การประกาศใช้ CL ของไทย ทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อตกลงกับองค์กรการค้าโลก (WTO) และกฎหมายไทยทุกประการ และก็ไม่ใช่ว่ากระทำไปโดยไม่มีผลตอบแทนให้กับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรเลย เพราะกำหนดค่าลิขสิทธิ์ไว้ที่ 0.5% ของราคาขาย
การประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (Compulsory License หรือย่อว่า CL) กับยารักษาโรค 3 รายการของกระทรวงสาธารณสุขไทยเมื่อหลายเดือนก่อน ได้กลายเป็น ‘ประเด็นร้อน’ ขึ้นมาทันทีเมื่ออเมริกาประกาศปรับอันดับประเทศไทยไปอยู่ในรายชื่อ ‘Priority Watch List’ หรือ ‘ประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ’ ในด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งถึงแม้ว่าการที่ไทยเข้าไปอยู่ในรายชื่อนี้จะไม่ได้เท่ากับการ ‘กดสวิทช์’ ให้อเมริกาตอบโต้ด้วยมาตรการกีดกันทางการค้าโดยอัตโนมัติ ความ ‘ประจวบเหมาะ’ ของการเลื่อนชั้นในขณะที่ไทยยังไม่ยอมอ่อนข้อให้กับบริษัทยาของอเมริกา ก็ส่อนัยยะสำคัญที่ทำให้ผู้สังเกตการณ์หลายๆ คนสงสัยว่า รัฐบาลอเมริกากำลังถูกกดดันจากอุตสาหกรรมยาให้ใช้ประเทศไทยเป็นกรณีตัวอย่างในการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ หรือไม่?
ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะเห็นด้วยว่าประเทศไทยมีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์มากมายจริงๆ โดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนก็ไม่คิดว่าเรื่องนี้ควรเอามาเกี่ยวโยงกับเรื่อง CL เพราะเป็นคนละประเด็นกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องผิดกฎหมายชัดเจน ในขณะที่การประกาศใช้ CL ของไทยบนยารักษาโรคเอดส์ราคาแพง 2 ตัว คือ Efavirenz และ Lopinavir+Retronavir (ชื่อการค้า Kaletra) นั้นทำไปอย่างถูกกฎหมาย ถูกขั้นตอน และมีความชอบธรรมทุกประการ ดังที่ผู้เขียนจะพยายามสรุปสาระสำคัญๆ ของประเด็นที่มีคนเข้าใจผิด (และบริษัทยาพยายามหว่านล้อมให้คนเข้าใจผิด) และข้อเท็จจริงในบทความนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ความพยายามของบริษัทยาที่จะต่อต้านการประกาศใช้ CL ของไทยนั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าความพยายามของ ‘ผู้ผูกขาดเคยตัว’ (ประเภทของบริษัทที่แย่ที่สุดในระบบทุนนิยม) ที่พยายามกีดกันไม่ให้เกิดการแข่งขันที่จะบั่นทอนอำนาจผูกขาดของตัวเอง อันจะส่งผลให้ราคายาถูกลงมากในที่สุด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง มิพักต้องพูดถึงเรื่องมนุษยธรรมด้วย
(หมายเหตุก่อนอ่าน 1: ผู้เขียนไม่มีข้อมูลพอที่จะตัดสินใจได้ว่า การประกาศใช้ CL บนยาอีกตัวที่ไม่เกี่ยวกับโรคเอดส์ คือยา Clopidogrel นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ และถ้าหากผู้เขียนใช้ข้อมูลเท็จ หรือเหตุผลไม่ถูกต้องในบทความชิ้นนี้ ขอความกรุณาผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วย
UPDATE 8/5 ความเห็นกรณี Clopidogrel จากบล็อกของคุณ Rachanont: “Clopidogrel นี่อาจจะไม่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจทั่วไป เพราะ Aspirin ยังมีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกัน และรักษาอาการจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ยกเว้นผู้ป่วยที่แพ้ aspirin หรือเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจาก aspirin อาจจำเป็นต้องใช้ Clopidogrel ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้ที่ใช้ Clopidrogel ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน กับผู้ป่วยที่ใช้สิทธิเบิกของข้าราชการมากกว่าที่จะเป็นบุคคลทั่วไป สาเหตุข้อหนึ่งอาจจะเกิดจากการที่มันมีราคาแพง แต่อีกข้อหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการทำการตลาดของบริษัทยา ทำให้ผู้ป่วยที่มีเงินชอบที่จะใช้ยาตัวนี้มากกว่า Aspirin ขอย้ำนะครับ ผลจากการตลาด มากกว่าประสิทธิภาพของยาครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่ายานี้ไม่ได้จำเป็นมากจนต้องทำ CL ครับ”)
(หมายเหตุก่อนอ่าน 2: จะว่าไป ประเด็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นอีกประเด็นร้อนที่มีคนเข้าใจผิดกันมาก เพราะคนจำนวนมากยังไม่เข้าใจว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันนั้น ‘แย่’ ขนาดไหน มัวแต่คิดว่าถ้ารัฐเอาจริงกับการจับกุมผู้ผลิตและผู้ใช้เทปผีซีดีเถื่อนแล้ว เรื่องทุกอย่างก็จะ ‘จบ’ ผู้เขียนมีความเห็นในเรื่องนี้หลายประเด็นที่อยากเล่าให้ฟัง ในฐานะเจ้าของเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่มีเกมเก่าเก็บแต่ยังผิดกฎหมายให้ดาวน์โหลดฟรี แต่คงต้องเก็บไว้เล่าในโอกาสหน้า เพราะเดี๋ยวจะผิดประเด็นอีกแล้ว)
(หมายเหตุก่อนอ่าน 3: ข้อมูลในการเขียนในวันนี้รวบรวมจากข่าวหนังสือพิมพ์ในรอบเดือนที่ผ่านมา และเอกสาร/บทความบนเว็บไซต์ต่างๆ ดังต่อไปนี้: Consumer Project on Technology: Thailand, สมุดปกขาวชี้แจงประเด็น CL ของกระทรวงสาธารณสุข [PDF, 85 หน้า], The Truth About The Drug Companies (บทความโดย Marcia Angell ได้รับการแปลเป็นไทยแล้วในชื่อ “กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ”), Patients Before Profits: TRIPS and Trade Rules on Intellectual Property (บทความของ Oxfam), Timeline of Trade Disputes involving Thailand and access to medicines, ความปั่นป่วนหลัง ‘บังคับใช้สิทธิ’ : เขาว่าไทยเป็นหัวขโมย ?!!?)
1. ประเทศไทยกำลังใช้ ‘ช่องโหว่’ ของกฎหมาย / นโยบายนี้เป็นการ ‘ละเมิด’ สิทธิบัตรของบริษัทยา
ข้อเท็จจริง: การประกาศใช้ CL ของไทย ทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อตกลงกับองค์กรการค้าโลก (WTO) และกฎหมายไทยทุกประการ และก็ไม่ใช่ว่ากระทำไปโดยไม่มีผลตอบแทนให้กับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรเลย เพราะกำหนดค่าลิขสิทธิ์ไว้ที่ 0.5% ของราคาขาย
ควรย้ำตรงนี้ก่อนด้วยว่า ไทยไม่ได้เป็นประเทศแรกในโลกที่ประกาศใช้ CL รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเองก็มีการประกาศใช้ CL มาแล้วหลายพันครั้งตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 (ส่วนหนึ่งก็เพราะยาหลายตัวในอเมริกามีราคาแพงเกินฐานะของประชากรจำนวนมากเหมือนกัน)
เนื่องจากไทยมิได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศใดๆ ในการประกาศใช้ CL หากรัฐบาลอเมริกาตัดสินใจดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าเป็นการตอบโต้ ประเทศไทยก็มีสิทธิร้องเรียนต่อ WTO ได้
เนื้อความตอนหนึ่งในจดหมายจากวุฒิสมาชิก 22 คน ที่ร่อนหาสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (U.S. Trade Representative หรือ USTR) สรุปกลยุทธ์ของอเมริกาในเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า
“…ในฐานะประเทศหนึ่งที่ลงนามในสนธิสัญญา WTO รัฐบาลอเมริกาได้รับผลประโยชน์พร้อมกันกับที่พยายามปกป้องผลกำไรของบริษัทยาระดับโลก เจ้าของสิทธิบัตรยาซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการในประเทศที่มีวิกฤตทางสุขภาพ ในการเจรจาชั้นต้น อเมริกาถูกบังคับให้ยอมอ่อนข้อในการลงนามสัญญา WTO เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ (Trade Related Intellectual Property Rights หรือย่อว่า TRIPS) และตอนนี้ก็เลยพยายามรุกคืบด้วยการใช้กรอบการเจรจาแบบทวิภาคีหรือ Free Trade Agreement (FTA) ไปต่อรองกับประเทศที่ติดเชื้อเอดส์ทีละประเทศ เท่ากับเป็นการใช้กลยุทธ์ ‘แยกส่วนแล้วกำราบ’ (divide-and-conquer) สาเหตุส่วนหนึ่งที่การเจรจา FTA กับประเทศไทยที่ผ่านมาต้องชะลอลงก็คือ อเมริกาต้องการให้รัฐบาลไทยตกลงตีกรอบจำกัดเงื่อนไขในการประกาศใช้ CL ให้เข้มงวดกว่าข้อตกลงตาม WTO แต่ในเมื่อประเทศไทยยังไม่ได้ลงนามใน FTA กับอเมริกา การประกาศใช้ CL ของไทยกับยา Efavirenz จึงถูกต้องตามกฎหมาย บนเหตุผลว่าไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตสุขภาพในประเทศ”
2. สถานการณ์ของโรคเอดส์ในไทยยังไม่ใช่ ‘วิกฤตสุขภาพ’ ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่มีความชอบธรรมที่จะประกาศใช้ CL
ข้อเท็จจริง: คำถามที่ว่า เราต้องมีคนป่วยเป็นโรคร้ายแรง ‘เท่าไหร่’ จึงจะสมควรถือว่าเกิด ‘วิกฤตสุขภาพ’ ขึ้นแล้วในประเทศนั้น คงเป็น ‘ปัญหาโลกแตก’ ซึ่งไม่มีทางที่ทุกคนจะเห็นตรงกันได้ แต่ถ้าเราลองดูสถานการณ์ปัจจุบันของโรคเอดส์ในประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ จะพบว่าสถานการณ์โรคเอดส์ในไทยนั้นน่าจะเรียกได้ว่าเข้าขั้น ‘วิกฤต’ แล้ว โดยไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศนอกทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกากลาง ที่มีอัตราการติดเชื้อ HIV ในผู้ใหญ่ (15-49 ปี) สูงเกือบ 2% และมีผู้ป่วยกว่า 580,000 ราย ณ สิ้นปี 2005 ปัจจุบันมีคนไทยตายจากโรคเอดส์กว่า 55,000-60,000 คนในแต่ละปี
นอกจากนี้ รายงานสถานการณ์เอดส์ในไทยประจำปี 2004 ของสหประชาชาติก็ระบุชัดเจนว่า ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการต่อกรกับโรคเอดส์ จากที่เคยรณรงค์เจาะกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศ (เช่น ส่งเสริมให้ใช้ถุงยางอนามัย) ในทศวรรษ 1990 เพราะความเสี่ยงจากการติดเชื้อ HIV ได้กระจายออกจากสถานให้บริการทางเพศ ไปสู่กลุ่มเสี่ยงใหม่ๆ ที่ยังไม่เข้าใจเรื่อง safe sex เช่น กลุ่มเด็กวัยรุ่น เนื่องจากพฤติกรรมการมีเซ็กซ์ของคนไทยได้เปลี่ยนไปมาก (เช่น เด็กผู้ชายจำนวนมากไม่จำเป็นต้องเที่ยวซ่องแล้ว เพราะเพื่อนผู้หญิงยอมนอนด้วย และปัจจุบันก็มี ‘ผู้หญิงขายตัว’ จำนวนมากที่ทำงานเสมือนเป็นผู้ประกอบการเอง ไม่ได้ทำงานประจำซ่องอีกต่อไป) ในขณะเดียวกัน งบประมาณรัฐเพื่อการรักษาและป้องกันโรคเอดส์ก็ลดลงทุกปี จาก 1,516 ล้านบาทในปี 1999 เหลือเพียง 1,003 ล้านบาทเท่านั้นในปี 2003 และในจำนวนนี้ สัดส่วนของงบประมาณที่ใช้ในการป้องกันโรคเอดส์ก็ลดลงจาก 10.8% เหลือ 8.0% ระหว่างช่วงปีเดียวกัน
3. การประกาศใช้ CL ของไทย ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอเมริกันหรือองค์กรโลกบาลใดๆ
ข้อเท็จจริง: ข้อนี้เป็นความเข้าใจผิดที่สื่อกระแสหลักในไทยยังไม่กระจายข่าวเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญเพราะแสดงให้เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลอเมริกันไม่ได้เหมือนกันหมดทุกชุด ย้อนไปเมื่อปี 2000 สมัยที่ Bill Clinton ยังเป็นประธานาธิบดีอยู่ ผู้แทนการค้าของอเมริกาประจำประเทศไทยคือ Charlene Barshefsky ได้เขียนจดหมายถึง ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในขณะนั้น มีใจความสนับสนุน CL ชัดเจนว่า:
“ถ้ารัฐบาลไทยมองว่าการประกาศใช้ CL เป็นเรื่องจำเป็นต่อการแก้ไขวิกฤตสุขภาพในประเทศ อเมริกาจะไม่ต่อต้าน หากการใช้ CL นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของข้อตกลง TRIPS ตาม WTO”
นอกจากนี้ ธนาคารโลกเองก็ได้แนะนำให้ประเทศไทยประกาศใช้ CL ในการแก้ปัญหาโรคเอดส์ โดย “ข้อเสนอ #7” (Finding 7) ในรายงานเมื่อเดือนสิงหาคม 2006 เรื่อง “The Economics of Effective AIDS Treatment: Evaluating Policy Options for Thailand” (หน้า 169) ระบุว่า:
“เนื่องจากยาที่ใช้ในการรักษาโรคเอดส์ตัวที่สอง (second-line therapy หมายถึงยาที่จะใช้ก็ต่อเมื่อยาตัวแรกไม่ได้ผล ซึ่ง Efavirenz อยู่ในข่ายนี้) ล้วนอยู่ภายใต้สิทธิบัตร ผลิต และจำหน่ายโดยบริษัทยาข้ามชาติ ประเทศไทยต้องยอมจ่ายค่ายาราคาแพงที่บริษัทผู้ผูกขาดเหล่านี้เรียกร้อง หรือไม่ก็ใช้สิทธิภายใต้ข้อตกลง WTO ในการประกาศใช้ CL เพื่อผลิตยาราคาถูก ภายใต้เงื่อนไขค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องตกลงกัน
เนื่องจากประเทศไทยน่าจะได้ประโยชน์มหาศาลทางการค้าจากข้อตกลงทวิภาคี (FTA) กับอเมริกา รัฐบาลไทยอาจรู้สึกอยากยอมสละสิทธิในการประกาศใช้ CL สำหรับยารักษาโรคเอดส์ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางการค้า รายงานนี้พบว่าการสละสิทธินี้มีราคาสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารัฐบาลใช้ CL เพื่อลดราคายาตัวที่สองลง 90% รัฐบาลไทยจะสามารถลดภาระงบประมาณลงได้ถึง 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 127,000 ล้านบาท) ระหว่างปัจจุบันถึงปี 2025 และลดต้นทุนในการช่วยชีวิตผู้ป่วยจาก 85,800 บาทต่อปีต่อคน เหลือ 37,600 บาทต่อปีต่อคน
ระดับค่าลิขสิทธิ์ที่ WTO ระบุว่าต้องจ่ายควบคู่ไปกับการประกาศใช้ CL นั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน ประเทศไทยสามารถเพิ่มพลังในการต่อรองกับบริษัทยาข้ามชาติได้ด้วยการผนึกกำลังกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ”
4. การประกาศใช้ CL จะทำให้บริษัทยาสูญเสียรายได้อย่างไม่เป็นธรรม
ข้อเท็จจริง: ตลาดยาในประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าไม่ถึง 10% ของมูลค่าตลาดยาทั่วโลก ตลาดยาในประเทศไทยมีมูลค่าไม่ถึง 0.5% ของมูลค่าตลาดทั่วโลก และถ้านับเฉพาะยาที่มีสิทธิบัตรก็มีมูลค่าไม่ถึง 0.1% ด้วยซ้ำไป ดังนั้นการประกาศใช้ CL ของไทย จึงแทบจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ เลยต่อฐานะทางการเงินของบริษัทยาทั้งสามแห่ง
นอกจากนี้ เป้าหมายของการประกาศใช้ CL คือการผลิตหรือนำเข้ายาราคาต่ำ เพื่อให้ผู้ป่วยด้อยฐานะมีโอกาสเข้าถึงยาได้ ไม่ใช่ลดราคายามีสิทธิบัตรราคาแพงให้กับผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร เรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาย้ำหลายครั้งแล้วว่า จะนำยา CL ไปใช้สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐเท่านั้น ไม่ได้เอาไปขายต่อทั้งในหรือนอกประเทศ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีฐานะดี (ซึ่งน่าจะมีจำนวนไม่เกิน 20% ของผู้ป่วยทั้งประเทศ) ก็สามารถซื้อและใช้ยาต้นแบบ ‘ของแท้’ ที่มีราคาแพงต่อไป (ในฐานะสมาชิกชนชั้นกลางคนหนึ่ง ผู้เขียนยืนยันได้ว่าชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ที่ ‘จ่ายได้’ จะยินดีจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่แพทย์เรียกเก็บ เพราะมองเรื่องสุขภาพว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรประหยัด หรือเอาชีวิตไปเสี่ยงกับการรักษาแบบใช้บัตรทอง)
ด้วยเหตุนี้ การประกาศใช้ CL เพื่อผลิตยาเลียนแบบจึงทำให้บริษัทยาไม่น่าจะสูญเสียฐานลูกค้าเดิมไป ตรงกันข้าม การประกาศใช้ CL ยังเป็น ‘ช่องทางใหม่’ ที่น่าจะทำให้บริษัทยาข้ามชาติเกิดความกระตือรือร้นที่จะผลิตยาเวอร์ชั่นราคาถูกออกมาแข่งกับผู้ผลิตยาเลียนแบบรายอื่นๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าไปสู่ระดับล่าง เพราะตลาดยาเลียนแบบนั้นเปิดกว้างให้แข่งขันได้โดยเสรี ไม่เหมือนกับยาต้นแบบใต้สิทธิบัตรที่ผูกขาดเพียงเจ้าเดียว
5. กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ CL อย่างกะทันหัน โดยไม่มีการเจรจาเรื่องนี้กับบริษัทยาก่อน
ข้อเท็จจริง: ตามข้อตกลง WTO รัฐบาลไทยไม่จำเป็นต้องเจรจากับเจ้าของสิทธิบัตรก่อนที่จะประกาศใช้ CL แต่ในความเป็นจริง กระทรวงสาธารณสุขก็ได้พยายามเจรจากับเจ้าของสิทธิบัตรมาตลอดตั้งแต่ปี 2548 โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของสิทธิบัตร นอกจากนี้ ในช่วงปี 2548-2549 กรมควบคุมโรคก็ได้เชิญบริษัทยาทุกแห่งที่จำหน่ายยาต้านไวรัสเอดส์มาเจรจาขอลดราคายา แต่การดำเนินการได้ผลน้อยมากเพราะมีบางรายเท่านั้นที่ยอมลดราคา และก็ยอมลดไม่มาก (ดูเอกสารหลักฐานได้ในสมุดปกขาวของกระทรวงสาธารณสุข)
ความเข้าใจผิดและข้อเท็จจริงที่เหลือต่อไปนี้แปลจากบทความเรื่อง Pharma’s Seven Deadly Lies about Thai Compulsory Licenses โดย Brook Baker, Health GAP
6. ธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) กล่าวว่า บริษัทยาต้องลงทุนวิจัยนับ 10 ปี แล้วอยู่ดีๆ รัฐบาลไทยก็ประกาศใช้ CL เท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สินของเขาไป
ข้อเท็จจริง: สิทธิบัตรไม่ใช่ ‘ทรัพย์สิน’ ตามความเข้าใจดั้งเดิม แต่เป็นสิทธิที่รัฐบาลมอบให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่ง เพื่อสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของผู้คิดค้น และประโยชน์ของสังคมส่วนรวม สิทธิภายใต้สิทธิบัตรจึงมีเงื่อนไขมากมาย รวมทั้งสิทธิของรัฐบาลในการออก CL รัฐบาลทั่วโลกรวมทั้งรัฐบาลอเมริกันเองด้วย ได้ออก CL มาแล้วหลายพันครั้ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยา นับตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา นอกจากนี้ CL ก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งในกฎหมายไทยเมื่อบริษัทยาทั้งสามคือ Merck, Abbott, และ Sanofi-Aventis ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศไทย เป็นไปได้อย่างไรที่สิทธิบัตรซึ่งรัฐบาลออกให้ภายใต้เงื่อนไขว่าจะสามารถออก CL ได้ จะแปรเปลี่ยนไปเป็น ‘สิทธิสัมบูรณ์’ (absolute right) ที่ถูกละเมิดเมื่อรัฐบาลออก CL นั้นจริงๆ?
7. ธีระ ฉกาจนโรดม พรีม่า กล่าวด้วยว่า ทุกอย่างเจรจาได้
ข้อเท็จจริง: สำหรับบริษัทยาผู้ทำธุรกิจผูกขาด ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะเจรจาได้ บริษัท Abbott ปฏิเสธเป็นเวลาติดกัน 6 เดือนที่จะลดราคา Kaletra ลงจาก $2,200 ต่อปี (Abbott ยอมลดราคาในบราซิลก็ต่อเมื่อรัฐบาลบราซิลขู่เป็นเวลาหลายเดือนว่าจะประกาศใช้ CL)
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าบริษัทยาจะยอมเจรจาลดราคาลงเยอะๆ บริษัทเหล่านั้นก็มักจะขู่บังคับให้ประเทศคู่ค้ายอมตกลงว่าจะไม่ไปหาซื้อยาเลียนแบบจากที่อื่นซึ่งมีราคาถูกกว่า เมื่อมองจากมุมนี้จะเห็นว่า เป้าหมายหลักของบริษัทยาคือต้องการกีดกันคู่แข่งขันที่ผลิตยาเลียนแบบ
8. Harvey Bale แห่ง International Federal of Pharmaceutical Manufacturers and Association กล่าวว่า “ยาเลียนแบบอาจนำไปสู่การบิดเบือนผลประโยชน์ทางพาณิชย์ และทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในอันตราย” บริษัทยาทั้งสามยังอ้างด้วยว่า CL อาจนำไปสู่คุณภาพยาที่แย่ลง
ข้อเท็จจริง: เป็นเรื่องน่าแปลกที่พวกเขาเหล่านี้มองว่า ‘การบิดเบือนผลประโยชน์ทางพาณิชย์’ จะเกิดจากการแข่งขันเสรีและราคายาเลียนแบบที่ถูกลง ไม่ใช่จากธุรกิจผูกขาดและการตั้งราคายาต้นแบบสูงเกินควร การที่บริษัทผู้ผลิตยาต้นแบบที่ร่ำรวยมหาศาล (มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันกว่า 90% ของมูลค่าตลาดยาทั่วโลก) กำลังบ่นว่าผู้ผลิตยาเลียนแบบ (ส่วนแบ่งการตลาดน้อยกว่า 10%) จะเอาเปรียบพวกเขานั้น เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อเลย
ในแง่ของคุณภาพยา นาย Harvey Bale ยกข้ออ้างเดิมๆ ว่า “ยาเลียนแบบมีคุณภาพด้อยกว่า” แต่เขาไม่พูดว่า ยาเลียนแบบ Efavirenz หลายยี่ห้อได้ผ่านการรับรองคุณภาพ (pre-qualification) จากองค์กรอนามัยโลกหรือ WHO แล้ว (ยาเลียนแบบ Kaletra กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนนี้) และในทำนองเดียวกัน องค์กรอาหารและยาของอเมริกาหรือ FDA ก็ได้อนุมัติยาต้านเชื้อไวรัสหลายสิบตัว ที่ผลิตในโรงงานกว่า 70 แห่งในอินเดียที่ FDA ให้การรับรองเอง
9. CL จะลดแรงจูงใจของบริษัทยาในการลงทุนด้านวิจัย
ข้อเท็จจริง: ตลาดยาในประเทศแถบทวีปเอเชียและแอฟริการวมกันมีมูลค่าเพียง 5.1% ของมูลค่าตลาดยาทั่วโลก จากตัวเลขของ Information Management Group ถึงแม้ว่าตลาดประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางจะโตเร็วกว่าตลาดในประเทศพัฒนาแล้ว บริษัทยาข้ามชาติก็ยังทำกำไรส่วนใหญ่จากอเมริกา แคนาดา ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งซื้อยาคิดเป็นมูลค่ากว่า 89% ของตลาดทั้งโลก บริษัทยามักจะอ้างว่า CL ลดแรงจูงใจในการใช้เงินลงทุนวิจัยยาใหม่ๆ แต่พวกเขาไม่เคยยอมรับว่า ยาเลียนแบบเหล่านั้นไม่เคยส่งผลกระทบต่อกำไรจากการผูกขาดของพวกเขาในประเทศร่ำรวย ส่วนแบ่งรายได้ที่จิ๊บจ๊อยมากจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะกระทบต่อแรงจูงใจด้านการทำวิจัยของพวกเขาได้อย่างไร?